ปี 2542 ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดพะเยาเริ่มฟื้นตัวหลังจากที่หดตัวลงในปีก่อน โดยการผลิต ภาคเกษตรส่วนใหญ่ขยายตัวตามพืชเศรษฐกิจหลัก ขณะที่ภาคนอกเกษตรปรับตัวดีขึ้นตามการใช้จ่ายภาคเอกชน และรายได้ของแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ ประกอบกับมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากโครงการมิยาซาวาตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การผลิตภาคเหมืองแร่เพิ่มขึ้นตามการผลิตลิกไนต์และหินปูน ภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อลดลง ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐลดลงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับลดงบประมาณเป็นสำคัญ
ภาคเกษตร การผลิตภาคเกษตรขยายตัวตามพืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็น 246,018 เมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.0 ปีก่อน ลำไย ขยายตัวในเกณฑ์สูงถึงกว่า 9 เท่าตัว เป็น 5,050 เมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 94.4 เหลือ 465 เมตริกตันปีก่อน เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ส่วนกระเทียมและหอมแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 และร้อยละ 9.3 ตามลำดับ จากการ ขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจทางด้านราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูงปีก่อน ส่วนข้าวโพดและฝ้ายผลผลิตลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 4.9 เหลือ 128,486 เมตริกตัน และร้อยละ 26.9 เหลือ 4,249 เมตริกตัน ตามลำดับ จากการลดพื้นที่ปลูกเป็นสำคัญ ทางด้านราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ลดลงจากปีก่อนตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ลำไยราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.34 บาท หรือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 74.4 ข้าวนาปีราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 5,191 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 หอมแดงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.61 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.7 ส่วนกระเทียมราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.39 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.5 อย่างไรก็ตาม ราคาพืชผลส่วนใหญ่ ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
ภาคนอกเกษตร การใช้จ่ายภาคเอกชน เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นจากปีก่อนพิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญได้แก่ ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 59.1 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.5 เหลือ 66 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตรา จัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 14.9 ปีก่อน ขณะที่รายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 22.6 นอกจากนี้จำนวนผู้ประกันตนในจังหวัดพะเยา จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพิ่มขึ้น จากปีก่อนร้อยละ 17.6 ซึ่งแสดงถึงการมีงานทำเพิ่มขึ้นส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนปีนี้ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน แม้ว่าการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์จะลดลงร้อยละ 12.2 แต่ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 54.3 ปีก่อน และสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรมที่ยังคงลดลงต่อเนื่องร้อยละ 2.3 แต่ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 11.1 ปีก่อน ภาคเหมืองแร่ การผลิตแร่ลิกไนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 18.1 ปีก่อน ส่วนหินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 34.5 ปีก่อน ตามความต้องการใช้ในการก่อสร้างถนนในจังหวัดพะเยาเป็นสำคัญ
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชน ปี 2542 จังหวัดพะเยาไม่มีโครงการได้รับอนุมัติ ส่งเสริมการลงทุนเช่นเดียวกับปีก่อน แต่เมื่อพิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญการลงทุนและก่อสร้างเริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนรายและจำนวนเงินลงทุนร้อยละ 15.4 และ ร้อยละ 70.2 ปีก่อนเป็น 15 ราย จำนวนเงินลงทุน 97 ล้านบาท ตามลำดับ ที่น่าสนใจได้แก่ โรงงานผลิตคอนกรีต โรงสีข้าว โรงงานขิงดอง โรงเลื่อยไม้ โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น การก่อสร้างเริ่มปรับตัวดีขึ้น จากพื้นที่ได้รับ อนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 62.7 ปีก่อน ทั้งนี้เป็นการเพิ่มในส่วนของพื้นที่ก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ ทางด้านการก่อสร้างภาครัฐยังคงเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน ได้แก่ การก่อสร้างถนน 4 เลน เส้นทางพะเยา-เชียงราย และพะเยา-ลำปาง การก่อสร้างอาคารเรียนของสถาบันการศึกษาของรัฐและศูนย์อัญมณีภาคเหนือ ส่วนสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แม้ว่า จะยังลดลงต่อเนื่องร้อยละ 5.2 และร้อยละ 5.6 แต่ต่ำกว่าเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.8 และร้อยละ 24.3 ปีก่อน ตามลำดับ
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดพะเยา) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เป็น 13,417 ล้านบาทเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.5 ปีก่อน จากการเบิกถอนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เป็น 5,856 ล้านบาท ตามการใช้จ่ายของภาครัฐโดยเฉพาะการใช้จ่ายตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ส่วนเงินนำฝากลดลงร้อยละ 1.5 เหลือ 7,561 ล้านบาท ทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินนำฝากสุทธิลดลงถึงร้อยละ 45.2 เหลือ 1,705 ล้านบาท
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก ที่สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,347 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ปีก่อน ขณะที่ สินเชื่อ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,674 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.7 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 15.7 ปีก่อน ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดการให้สินเชื่อใหม่และเร่งรัดการชำระหนี้ต่อเนื่องจากปีก่อน โดยลดลงมากในสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ส่วน ปริมาณการใช้เช็ค ผ่านสำนักหักบัญชี จังหวัดพะเยา จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้องขึ้น ส่งผลให้ธุรกรรมการใช้เช็คในการทำการค้าปรับตัวดีขึ้น โดยจำนวนเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.6 เป็น 100,789 ฉบับ แม้ว่ามูลค่าเช็คเรียกเก็บจะลดลงร้อยละ 13.9 เหลือ 4,205 ล้านบาทก็ตาม แต่ต่ำกว่าปีก่อนที่ลดลงถึงร้อยละ 60.5 ทางด้านจำนวนและมูลค่าเช็คคืนลดลงร้อยละ 42.7 เหลือ 1,621 ฉบับ และร้อยละ 42.8 เหลือ 70,648 บาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการระมัดระวังการใช้เช็คของภาคธุรกิจ ส่งผลให้สัดส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 1.6 เทียบกับร้อยละ 3.1 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 1,807 ราย วงเงิน 1,546.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,797 ราย วงเงิน 1,423.4 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 676 ราย วงเงิน 419.6 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,131 ราย เป็นเงิน 1,127.0 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดพะเยาในปีงบประมาณ 2542 แม้ว่าเงินในงบประมาณขาดดุล 3,882 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับขาดดุล 3,920 ล้านบาทปีก่อน สอดคล้องกับรายจ่ายที่ลดลงร้อยละ 1.5 เหลือ 4,153 ล้านบาท ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 8.7 เหลือ 271 ล้านบาท ทั้งนี้รายได้ลดลงมากในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเฉพาะภาษีที่เก็บจากเงินได้จากดอกเบี้ยลดลงเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ แต่เมื่อรวมดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 2,020 ล้านบาท ลดลงเทียบกับเกินดุล 3,102 ล้านบาทปีก่อน ทำให้ขาดดุลเงินสด 1,862 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับขาดดุล 818 ล้านบาทปีก่อน สำหรับการใช้จ่ายตามโครงการเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโครงการมิยาซาวา ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 273 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเพื่อการจ้างงานเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร การผลิตภาคเกษตรขยายตัวตามพืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็น 246,018 เมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.0 ปีก่อน ลำไย ขยายตัวในเกณฑ์สูงถึงกว่า 9 เท่าตัว เป็น 5,050 เมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 94.4 เหลือ 465 เมตริกตันปีก่อน เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ส่วนกระเทียมและหอมแดงเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 และร้อยละ 9.3 ตามลำดับ จากการ ขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจทางด้านราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูงปีก่อน ส่วนข้าวโพดและฝ้ายผลผลิตลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 4.9 เหลือ 128,486 เมตริกตัน และร้อยละ 26.9 เหลือ 4,249 เมตริกตัน ตามลำดับ จากการลดพื้นที่ปลูกเป็นสำคัญ ทางด้านราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ลดลงจากปีก่อนตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ลำไยราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.34 บาท หรือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 74.4 ข้าวนาปีราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 5,191 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 หอมแดงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.61 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.7 ส่วนกระเทียมราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.39 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.5 อย่างไรก็ตาม ราคาพืชผลส่วนใหญ่ ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
ภาคนอกเกษตร การใช้จ่ายภาคเอกชน เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นจากปีก่อนพิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญได้แก่ ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 59.1 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.5 เหลือ 66 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตรา จัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 14.9 ปีก่อน ขณะที่รายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 22.6 นอกจากนี้จำนวนผู้ประกันตนในจังหวัดพะเยา จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพิ่มขึ้น จากปีก่อนร้อยละ 17.6 ซึ่งแสดงถึงการมีงานทำเพิ่มขึ้นส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนปีนี้ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน แม้ว่าการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์จะลดลงร้อยละ 12.2 แต่ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 54.3 ปีก่อน และสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรมที่ยังคงลดลงต่อเนื่องร้อยละ 2.3 แต่ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 11.1 ปีก่อน ภาคเหมืองแร่ การผลิตแร่ลิกไนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 18.1 ปีก่อน ส่วนหินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 34.5 ปีก่อน ตามความต้องการใช้ในการก่อสร้างถนนในจังหวัดพะเยาเป็นสำคัญ
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชน ปี 2542 จังหวัดพะเยาไม่มีโครงการได้รับอนุมัติ ส่งเสริมการลงทุนเช่นเดียวกับปีก่อน แต่เมื่อพิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญการลงทุนและก่อสร้างเริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนรายและจำนวนเงินลงทุนร้อยละ 15.4 และ ร้อยละ 70.2 ปีก่อนเป็น 15 ราย จำนวนเงินลงทุน 97 ล้านบาท ตามลำดับ ที่น่าสนใจได้แก่ โรงงานผลิตคอนกรีต โรงสีข้าว โรงงานขิงดอง โรงเลื่อยไม้ โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น การก่อสร้างเริ่มปรับตัวดีขึ้น จากพื้นที่ได้รับ อนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 62.7 ปีก่อน ทั้งนี้เป็นการเพิ่มในส่วนของพื้นที่ก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ ทางด้านการก่อสร้างภาครัฐยังคงเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน ได้แก่ การก่อสร้างถนน 4 เลน เส้นทางพะเยา-เชียงราย และพะเยา-ลำปาง การก่อสร้างอาคารเรียนของสถาบันการศึกษาของรัฐและศูนย์อัญมณีภาคเหนือ ส่วนสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แม้ว่า จะยังลดลงต่อเนื่องร้อยละ 5.2 และร้อยละ 5.6 แต่ต่ำกว่าเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.8 และร้อยละ 24.3 ปีก่อน ตามลำดับ
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดพะเยา) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เป็น 13,417 ล้านบาทเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.5 ปีก่อน จากการเบิกถอนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เป็น 5,856 ล้านบาท ตามการใช้จ่ายของภาครัฐโดยเฉพาะการใช้จ่ายตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ส่วนเงินนำฝากลดลงร้อยละ 1.5 เหลือ 7,561 ล้านบาท ทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินนำฝากสุทธิลดลงถึงร้อยละ 45.2 เหลือ 1,705 ล้านบาท
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก ที่สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,347 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ปีก่อน ขณะที่ สินเชื่อ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,674 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.7 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 15.7 ปีก่อน ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดการให้สินเชื่อใหม่และเร่งรัดการชำระหนี้ต่อเนื่องจากปีก่อน โดยลดลงมากในสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ส่วน ปริมาณการใช้เช็ค ผ่านสำนักหักบัญชี จังหวัดพะเยา จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้องขึ้น ส่งผลให้ธุรกรรมการใช้เช็คในการทำการค้าปรับตัวดีขึ้น โดยจำนวนเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.6 เป็น 100,789 ฉบับ แม้ว่ามูลค่าเช็คเรียกเก็บจะลดลงร้อยละ 13.9 เหลือ 4,205 ล้านบาทก็ตาม แต่ต่ำกว่าปีก่อนที่ลดลงถึงร้อยละ 60.5 ทางด้านจำนวนและมูลค่าเช็คคืนลดลงร้อยละ 42.7 เหลือ 1,621 ฉบับ และร้อยละ 42.8 เหลือ 70,648 บาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการระมัดระวังการใช้เช็คของภาคธุรกิจ ส่งผลให้สัดส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 1.6 เทียบกับร้อยละ 3.1 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 1,807 ราย วงเงิน 1,546.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,797 ราย วงเงิน 1,423.4 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 676 ราย วงเงิน 419.6 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,131 ราย เป็นเงิน 1,127.0 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดพะเยาในปีงบประมาณ 2542 แม้ว่าเงินในงบประมาณขาดดุล 3,882 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับขาดดุล 3,920 ล้านบาทปีก่อน สอดคล้องกับรายจ่ายที่ลดลงร้อยละ 1.5 เหลือ 4,153 ล้านบาท ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 8.7 เหลือ 271 ล้านบาท ทั้งนี้รายได้ลดลงมากในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเฉพาะภาษีที่เก็บจากเงินได้จากดอกเบี้ยลดลงเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ แต่เมื่อรวมดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 2,020 ล้านบาท ลดลงเทียบกับเกินดุล 3,102 ล้านบาทปีก่อน ทำให้ขาดดุลเงินสด 1,862 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับขาดดุล 818 ล้านบาทปีก่อน สำหรับการใช้จ่ายตามโครงการเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโครงการมิยาซาวา ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 273 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเพื่อการจ้างงานเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-