ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เดือนมีนาคมเป็นช่วงปิดงวดของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรทำธุรกรรมมากขึ้นทั้งการกู้และส่งคืน โดยในช่วงไตรมาสแรกปี 2543 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 30,212.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ให้กู้ 26,355.0 ล้านบาท
การรับชำระคืน 28,093.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 24,996.0 ล้านบาท เนื่องจากมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของธนาคาร โดยจูงใจเกษตรกรที่ชำระหนี้คืนภายในวันที่ 31 มีนาคม 2543 ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 3 ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้าง 72,560.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดคงค้าง 66,007.6 ล้านบาท
เงินฝากสินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
สินเชื่อคงค้าง 66,007.60 70,442.00 72,560.90
-9.2 -9 -9.9
ให้กู้ 26,355.00 6,709.10 30,212.30
-22.6 -30 -14.6
ชำระคืน 24,996.00 6,619.30 28,093.30
-7.1 -23.5 -12.4
เงินฝากคงค้าง 31,514.10 29,568.90 n.a.
-31.7 -16.5 (n.a.)
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 2,488.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,959.0 ล้านบาท เงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำคงค้าง 1,801.8 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.4) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,202.9 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำโดยเฉพาะเงินฝากประจำ 2 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจมากกว่าเงินฝากประเภทอื่น ทำให้มีลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่มขึ้นมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเดิมของธนาคารที่เปลี่ยนมาฝากบัญชีเงินฝากประจำแทน
ส่วนสินเชื่อคงค้าง 26,110.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคงค้าง 26,803.2 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารงดปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินเปล่า ประกอบกับยังไม่มีโครงการบ้านจัดสรรโครงการใหม่
เงินฝาก- สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
เงินฝากคงค้าง (ณ สิ้นไตรมาส) 1,959.00 2,064.00 2,488.00
-70.6 -8.9 -27
สินเชื่อคงค้าง (ณ สิ้นไตรมาส) 26,803.20 26,773.10 26,110.00
-4.1 -0.2 (-2.6)
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปล่อยกู้ 36 โครงการ เป็นเงิน 473.4 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ปล่อยกู้ 27 โครงการ เป็นเงิน 312.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 และร้อยละ 51.5 ตามลำดับ เนื่องจากยังคงเน้นการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเช่นเดียวกับปีก่อน
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
จำนวน(โครงการ) 27 38 36
-2,600.00 -123.5 -33.3
เงินให้กู้ 312.3 721 473.4
-1,851.90 -167.9 -51.5
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอนุมัติวงเงินในการปล่อยสินเชื่อทั้งปี 950 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1-2 % ต่อปี (มีการลด MLR เหลือร้อยละ 7 ต่อปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543) ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ปล่อยเงินกู้ 12 โครงการ เป็นเงิน 23.5 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนไม่มีการอำนวยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2541-มีนาคม 2542 อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อใหม่ เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนมีโครงการที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ 12 โครงการ เท่ากัน แต่เงินให้กู้ลดลงถึงร้อยละ 41.2
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
จำนวน (โครงการ) - 12 12
(n.a.) -100 (n.a.)
เงินให้กู้ - 57 23.5
(n.a.) -86.9 (n.a.)
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาคการคลัง
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และอากรขาเข้า ได้ทั้งสิ้น 3,949.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งจัดเก็บได้ 5,554.3 ล้านบาท เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลง ขณะที่อากรขาเข้าจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
ภาษีสรรพากร
นโยบายภาษีใหม่มีส่วนสำคัญที่ทำให้ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สำนักงานสรรพากรจังหวัดในภาคจัดเก็บภาษีอากรได้ทั้งสิ้น 2,180.6 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,797.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพากรลดลงเกือบทุกหมวด ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีสรรพากรหมวดสำคัญที่จัดเก็บได้ลดลงได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก) จัดเก็บได้ 741.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 949.4 ล้านบาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษี โดยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 50,000 บาทแรก
ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 317.9 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 540.6 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 41.2 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และภาษีมูลค่าเพิ่ม 600.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 780.0 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 และยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 จากยอดรายรับของผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มีรายรับเกินกว่า 6 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี เมื่อเดือนเมษายนปีก่อน
สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 257.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จัดเก็บได้ 239.8 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายระยะเวลาในการชำระภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.51 งวดครึ่งหลังของ ปี 2542 ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2543
ภาษีสรรพสามิต
ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ สำนักงานสรรพสามิตในภาคจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ทั้งสิ้น 1,752.2 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,747.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.2 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 1,524.5 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 87.0 ของภาษีสรรพสามิตทั้งหมด) ลดลงถึงร้อยละ 42.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 2,659.0 ล้านบาท จากการที่ผู้รับสัมปทานโรงงานสุราเมื่อต้นปีนี้ยังไม่ดำเนินการผลิตใหม่ เนื่องจากยังมีสินค้าค้างสต็อกอยู่เป็นจำนวนมาก
เป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่ม 214.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 76.3 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดนครราชสีมา ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงที่มียอดจำหน่ายสูงสุด แต่การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มในจังหวัดขอนแก่นกลับลดลง เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การรับชำระคืน 28,093.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 24,996.0 ล้านบาท เนื่องจากมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของธนาคาร โดยจูงใจเกษตรกรที่ชำระหนี้คืนภายในวันที่ 31 มีนาคม 2543 ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 3 ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้าง 72,560.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดคงค้าง 66,007.6 ล้านบาท
เงินฝากสินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
สินเชื่อคงค้าง 66,007.60 70,442.00 72,560.90
-9.2 -9 -9.9
ให้กู้ 26,355.00 6,709.10 30,212.30
-22.6 -30 -14.6
ชำระคืน 24,996.00 6,619.30 28,093.30
-7.1 -23.5 -12.4
เงินฝากคงค้าง 31,514.10 29,568.90 n.a.
-31.7 -16.5 (n.a.)
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 2,488.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,959.0 ล้านบาท เงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำคงค้าง 1,801.8 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.4) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,202.9 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำโดยเฉพาะเงินฝากประจำ 2 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจมากกว่าเงินฝากประเภทอื่น ทำให้มีลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่มขึ้นมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเดิมของธนาคารที่เปลี่ยนมาฝากบัญชีเงินฝากประจำแทน
ส่วนสินเชื่อคงค้าง 26,110.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคงค้าง 26,803.2 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารงดปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินเปล่า ประกอบกับยังไม่มีโครงการบ้านจัดสรรโครงการใหม่
เงินฝาก- สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
เงินฝากคงค้าง (ณ สิ้นไตรมาส) 1,959.00 2,064.00 2,488.00
-70.6 -8.9 -27
สินเชื่อคงค้าง (ณ สิ้นไตรมาส) 26,803.20 26,773.10 26,110.00
-4.1 -0.2 (-2.6)
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปล่อยกู้ 36 โครงการ เป็นเงิน 473.4 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ปล่อยกู้ 27 โครงการ เป็นเงิน 312.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 และร้อยละ 51.5 ตามลำดับ เนื่องจากยังคงเน้นการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องเช่นเดียวกับปีก่อน
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
จำนวน(โครงการ) 27 38 36
-2,600.00 -123.5 -33.3
เงินให้กู้ 312.3 721 473.4
-1,851.90 -167.9 -51.5
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอนุมัติวงเงินในการปล่อยสินเชื่อทั้งปี 950 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1-2 % ต่อปี (มีการลด MLR เหลือร้อยละ 7 ต่อปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543) ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ปล่อยเงินกู้ 12 โครงการ เป็นเงิน 23.5 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนไม่มีการอำนวยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2541-มีนาคม 2542 อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อใหม่ เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนมีโครงการที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ 12 โครงการ เท่ากัน แต่เงินให้กู้ลดลงถึงร้อยละ 41.2
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
(หน่วย : ล้านบาท)
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
จำนวน (โครงการ) - 12 12
(n.a.) -100 (n.a.)
เงินให้กู้ - 57 23.5
(n.a.) -86.9 (n.a.)
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาคการคลัง
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และอากรขาเข้า ได้ทั้งสิ้น 3,949.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งจัดเก็บได้ 5,554.3 ล้านบาท เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลง ขณะที่อากรขาเข้าจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น
ภาษีสรรพากร
นโยบายภาษีใหม่มีส่วนสำคัญที่ทำให้ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สำนักงานสรรพากรจังหวัดในภาคจัดเก็บภาษีอากรได้ทั้งสิ้น 2,180.6 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,797.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสรรพากรลดลงเกือบทุกหมวด ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีสรรพากรหมวดสำคัญที่จัดเก็บได้ลดลงได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก) จัดเก็บได้ 741.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 949.4 ล้านบาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษี โดยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 50,000 บาทแรก
ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 317.9 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 540.6 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 41.2 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และภาษีมูลค่าเพิ่ม 600.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 780.0 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 และยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 จากยอดรายรับของผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มีรายรับเกินกว่า 6 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี เมื่อเดือนเมษายนปีก่อน
สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 257.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จัดเก็บได้ 239.8 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายระยะเวลาในการชำระภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.51 งวดครึ่งหลังของ ปี 2542 ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2543
ภาษีสรรพสามิต
ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ สำนักงานสรรพสามิตในภาคจัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ทั้งสิ้น 1,752.2 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,747.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.2 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 1,524.5 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 87.0 ของภาษีสรรพสามิตทั้งหมด) ลดลงถึงร้อยละ 42.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 2,659.0 ล้านบาท จากการที่ผู้รับสัมปทานโรงงานสุราเมื่อต้นปีนี้ยังไม่ดำเนินการผลิตใหม่ เนื่องจากยังมีสินค้าค้างสต็อกอยู่เป็นจำนวนมาก
เป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่ม 214.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 76.3 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดนครราชสีมา ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงที่มียอดจำหน่ายสูงสุด แต่การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มในจังหวัดขอนแก่นกลับลดลง เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-