สถาบันออกใบรับรอง HALAL
อินโดนีเซียมีสถาบันออกใบรับรองเครื่องหมาย HALAL สำหรับสินค้าที่ใช้บริโภคในประเทศให้เป็นไปตามแนวทางอิสลาม โดยมีสถาบัน (แห่งเดียว) เรียกว่า The Assessment Institute of Foods, Drugs and Cosmetics ขึ้นตรงกับ The Indonesia Council of Ulama หรือสภาอิสลามแห่งชาติ โดยสถาบันฯ มีชื่อเรียกทั่วไปว่า AIFDC-ICU ภาษาท้องถิ่น คือ Lembaga Pengkajian Pangan, Obat-obatan dan Kosmetika, Majelis Ulama Indonesia หรือ LP. Pom Mui
สถาบัน AIFDC-ICU จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 1989 ภายใต้คำสั่งสภาอิสลามแห่งชาติ ที่ 081/MUI/I/1989 โดยมีหน้าที่ประเมินอาหาร ตามขั้นตอนตรวจสอบ ทดลอง และหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อให้ชาวมุสลิมในประเทศอินโดนีเซีได้บริโภคอาหารได้ถูกต้องตามแนวทางอิสลาม (HALAL) และสอดคล้องกับ Standard Operation Procedure (SOP) โดยสถาบันประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น ด้านอาหาร เคมี ชีวเคมี และด้านศาสนาอิสลาม ทั้งนี้สถาบันมีการจัดสัมมนาเชิงวิชาการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาเพื่อหาบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของ Biotechnology ที่นำไปผลิตวัตถุดิบหรือส่วนผสมในสินค้าอาหาร ยา และเครื่องสำอางขั้นตอนการออกใบรับรอบ HALAL
1. ผู้สมัครที่ประสงค์จะให้อาหารของตนเข้าโครงการอาหาร HALAL จะต้องกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มจำนวน 3 ประเภท คือ 1) แบบยื่นขอใบรับรอง 2) แบบระบุรายละเอียดวัตถุดิบและส่วนผสมของสินค้า 3) แบบการยืนยันของบริษัทฯ ขอเข้าร่วมโครงการฯ
2. เอกสารประกอบคำขอ เช่น ข้อมูลด้านระบบคุณภาพ ขั้นตอนการดำเนินการด้านมาตรฐาน ประเภทของวัตถุดิบ และส่วนผสมที่ใช้ในสินค้า และเอกสารอื่นที่เป็นข้อมูลสนับสนุนการยื่นขอใบรับรอง
3. เมื่อสถาบันฯ ไดรับคำขอและเอกสารประกอบครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว จะส่งคณะตรวจสอบ (AIFDC Auditors) ไปตรวจสอบโรงงานผลิต และหากจำเป็นก็จะนำตัวอย่างสินค้านั้นมาทดลองในห้องแล็บการพิจารณาผล
หลังจากได้ดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว สถาบันจะเชิญประชุมคณะผู้ตรวจสอบและผู้แทนจากหน่วยงานของสภาอิสลามแห่งชาติ เรียกว่า FATWA Commission ร่วมกันพิจารณา และเมื่อมีมติเห็นชอบแล้วจึงออกใบรับรอง HALAL
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ส่วนผสม และสารผสมในอาหาร บริษัทจะต้องหารือกับสถาบันฯ ทันที และเมื่อบริษัทนั้นได้ใบรับรองไปแล้ว อย่างน้อยต้องมีผู้ตรวจสอบ HALAL ภายในของบริษัท 1 คน เพื่อดำเนินการมาตรฐาน HALAL ของสินค้าที่ผ่านการรับรองระยะเวลาการใช้ใบรับรอง HALAL
1. สำหรับอาหารทั่วไปใบรับรอง HALAL มีระยะเวลาการใช้ได้ถึง 2 ปี ยกเว้นเนื้อสัตว์นำเข้าที่อนุญาตเฉพาะการขนส่ง 1 เที่ยว (Every One Shipment)
2. สถาบัน AIFDC จะมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าของสินค้า ก่อนหนังสือรับรองจะหมดอายุล่วงหน้า 2 เดือน
3. บริษัทควรยื่นขอใบรับรองฉบับใหญ่ล่วงหน้า ก่อนหนังสือรับรองจะหมดอายุ 1 เดือน
4. หากไม่ยื่นขอใบรับรองฉบับใหม่ ผู้ผลิตรายนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำใบรับรอง หรือตัวสำเนาไปใช้ในกรณีใด ๆ โดยสถาบันฯ จะจัดทำรายชื่อบริษัทที่ใบรับรองหมดอายุใน HALAL Journal ของสถาบันฯ
5. เมื่อใบรับรอง HALAL หมดอายุจะต้องนำใบรับรองคืนกลับสถาบันฯ ทันทีขั้นตอนการตรวจสอบในโรงงานผลิตสินค้า
1. คณะตรวจสอบจะออกไปตรวจสอบโรงงานผลิตเมื่อได้รับแจ้งจากทางโรงงานว่าพร้อมจะให้ตรวจ ซึ่งโรงงานจะต้องให้ความร่วมมือจัดทำเอกสารโดยเตรียมข้อมูลที่มีความชัดเจนและเที่ยวตรงให้กับคณะฯ ในระหว่างการตรวจด้วย
2. คณะฯ จะนำตัวอย่างสินค้าไปเข้าห้องทดลองของสถาบันฯ ต่อไป
3. หากในกรณีจำเป็น คณะผู้ตรวจสอบสามารถทำการตรวจโรงงานได้ทันทีการมอบใบรับรอง HALAL
1. เมื่อสรุปผลการตรวจสอบแล้ว สถาบันฯ จะรวบรวมเอกสารและผลการตรวจสอบและเชิญประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องจากสภาอิสลามแห่งชาติ คือ คณะกรรมาธิการ FATWA (ว่าด้วยอาหารอันเป็นไปตามแนวทางอิสลาม) เพื่อพิจารณาออกใบรับรอง HALAL
2. เมื่อที่ประชุมเห็นชอบ สถาบันจะดำเนินการออกใบรับรองในเร็ววัน
3. และเมื่อได้รับใบรับรอง บริษัทผู้ผลิตสินค้านั้นจะสามารถใช้ใบรับรองได้เมื่อได้ชำระค่าธรรมเนียมครบถ้วนแล้วใบรับรอง HALAL
1. ใบรับรอง HALAL จะออกในนาม Indonesia Council of Ulama (ICU) หรือสถาบันอิสลามแห่งชาติ ทั้งนี้จะมีการประกาศสินค้า HALAL ที่ผ่านการรับรองให้ทราบเป็นการทั่วไป และสินค้านั้นจะมีตัวเลขกำกับ
2. สินค้าอาหาร HALAL จะต้องถูกต้องตามแนวทางอิสลาม (Satisfy Islammic Requirement) ได้แก่
- ไม่มีเนื้อสุกรและส่วนอื่นของสุกรปะปน และไม่มีแอลกอฮอล์
- ส่วนประกอบที่เป็นเนื้อสัตว์จะต้องผ่านกรรมวิธีการฆ่าที่ถูกต้องตามวิธีอิสลาม (เชือดในนามของพระองค์อัลเลาฮ์ ซ.บ.)
- เครื่องดื่มทุกชนิดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (ถือว่า HALAL)
- จะต้องไม่ใช่อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้กับสุกรในคราวเดียวกัน โดยจะต้องนำอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้กับสุกรมาแล้วไปทำความสะอาดให้ถูกต้องก่อน จึงจะนำมาใช้กับสินค้าเพื่อเป็น HALAL
3. ใบรับรอง HALAL ไม่สามารถโอนสิทธิกันได้
4. เมื่อใบรับรองหมดอายุจะไม่สามารถนำไปใช้ในกรณีใด ๆ ได้อีก ทั้งนี้รวมทั้งสำเนาใบรับรอง
5. ในกรณีใบรับรองสูญหายจะต้องรายงานไปยังสถาบันฯ ทันที
6. ใบรับรอง HALAL จะถือเป็นสิทธิและทรัพย์สินของสถาบัน AIFDC และเมื่อสถาบันฯ จะประสงค์ขอคืนตามเหตุผลอันสมควรแล้ว บริษัทต้องคืนใบรับรองตามขอ
7. ทั้งนี้การออกมติรับรองสินค้า HALAL ให้ถือมติของสภาอิสลามแห่งชาติเป็นที่สุด
(ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์)
-วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2/2544 วันที่ 31 มกราคม 2544--
-อน-
อินโดนีเซียมีสถาบันออกใบรับรองเครื่องหมาย HALAL สำหรับสินค้าที่ใช้บริโภคในประเทศให้เป็นไปตามแนวทางอิสลาม โดยมีสถาบัน (แห่งเดียว) เรียกว่า The Assessment Institute of Foods, Drugs and Cosmetics ขึ้นตรงกับ The Indonesia Council of Ulama หรือสภาอิสลามแห่งชาติ โดยสถาบันฯ มีชื่อเรียกทั่วไปว่า AIFDC-ICU ภาษาท้องถิ่น คือ Lembaga Pengkajian Pangan, Obat-obatan dan Kosmetika, Majelis Ulama Indonesia หรือ LP. Pom Mui
สถาบัน AIFDC-ICU จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 1989 ภายใต้คำสั่งสภาอิสลามแห่งชาติ ที่ 081/MUI/I/1989 โดยมีหน้าที่ประเมินอาหาร ตามขั้นตอนตรวจสอบ ทดลอง และหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อให้ชาวมุสลิมในประเทศอินโดนีเซีได้บริโภคอาหารได้ถูกต้องตามแนวทางอิสลาม (HALAL) และสอดคล้องกับ Standard Operation Procedure (SOP) โดยสถาบันประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น ด้านอาหาร เคมี ชีวเคมี และด้านศาสนาอิสลาม ทั้งนี้สถาบันมีการจัดสัมมนาเชิงวิชาการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาเพื่อหาบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของ Biotechnology ที่นำไปผลิตวัตถุดิบหรือส่วนผสมในสินค้าอาหาร ยา และเครื่องสำอางขั้นตอนการออกใบรับรอบ HALAL
1. ผู้สมัครที่ประสงค์จะให้อาหารของตนเข้าโครงการอาหาร HALAL จะต้องกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มจำนวน 3 ประเภท คือ 1) แบบยื่นขอใบรับรอง 2) แบบระบุรายละเอียดวัตถุดิบและส่วนผสมของสินค้า 3) แบบการยืนยันของบริษัทฯ ขอเข้าร่วมโครงการฯ
2. เอกสารประกอบคำขอ เช่น ข้อมูลด้านระบบคุณภาพ ขั้นตอนการดำเนินการด้านมาตรฐาน ประเภทของวัตถุดิบ และส่วนผสมที่ใช้ในสินค้า และเอกสารอื่นที่เป็นข้อมูลสนับสนุนการยื่นขอใบรับรอง
3. เมื่อสถาบันฯ ไดรับคำขอและเอกสารประกอบครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว จะส่งคณะตรวจสอบ (AIFDC Auditors) ไปตรวจสอบโรงงานผลิต และหากจำเป็นก็จะนำตัวอย่างสินค้านั้นมาทดลองในห้องแล็บการพิจารณาผล
หลังจากได้ดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว สถาบันจะเชิญประชุมคณะผู้ตรวจสอบและผู้แทนจากหน่วยงานของสภาอิสลามแห่งชาติ เรียกว่า FATWA Commission ร่วมกันพิจารณา และเมื่อมีมติเห็นชอบแล้วจึงออกใบรับรอง HALAL
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ส่วนผสม และสารผสมในอาหาร บริษัทจะต้องหารือกับสถาบันฯ ทันที และเมื่อบริษัทนั้นได้ใบรับรองไปแล้ว อย่างน้อยต้องมีผู้ตรวจสอบ HALAL ภายในของบริษัท 1 คน เพื่อดำเนินการมาตรฐาน HALAL ของสินค้าที่ผ่านการรับรองระยะเวลาการใช้ใบรับรอง HALAL
1. สำหรับอาหารทั่วไปใบรับรอง HALAL มีระยะเวลาการใช้ได้ถึง 2 ปี ยกเว้นเนื้อสัตว์นำเข้าที่อนุญาตเฉพาะการขนส่ง 1 เที่ยว (Every One Shipment)
2. สถาบัน AIFDC จะมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าของสินค้า ก่อนหนังสือรับรองจะหมดอายุล่วงหน้า 2 เดือน
3. บริษัทควรยื่นขอใบรับรองฉบับใหญ่ล่วงหน้า ก่อนหนังสือรับรองจะหมดอายุ 1 เดือน
4. หากไม่ยื่นขอใบรับรองฉบับใหม่ ผู้ผลิตรายนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำใบรับรอง หรือตัวสำเนาไปใช้ในกรณีใด ๆ โดยสถาบันฯ จะจัดทำรายชื่อบริษัทที่ใบรับรองหมดอายุใน HALAL Journal ของสถาบันฯ
5. เมื่อใบรับรอง HALAL หมดอายุจะต้องนำใบรับรองคืนกลับสถาบันฯ ทันทีขั้นตอนการตรวจสอบในโรงงานผลิตสินค้า
1. คณะตรวจสอบจะออกไปตรวจสอบโรงงานผลิตเมื่อได้รับแจ้งจากทางโรงงานว่าพร้อมจะให้ตรวจ ซึ่งโรงงานจะต้องให้ความร่วมมือจัดทำเอกสารโดยเตรียมข้อมูลที่มีความชัดเจนและเที่ยวตรงให้กับคณะฯ ในระหว่างการตรวจด้วย
2. คณะฯ จะนำตัวอย่างสินค้าไปเข้าห้องทดลองของสถาบันฯ ต่อไป
3. หากในกรณีจำเป็น คณะผู้ตรวจสอบสามารถทำการตรวจโรงงานได้ทันทีการมอบใบรับรอง HALAL
1. เมื่อสรุปผลการตรวจสอบแล้ว สถาบันฯ จะรวบรวมเอกสารและผลการตรวจสอบและเชิญประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องจากสภาอิสลามแห่งชาติ คือ คณะกรรมาธิการ FATWA (ว่าด้วยอาหารอันเป็นไปตามแนวทางอิสลาม) เพื่อพิจารณาออกใบรับรอง HALAL
2. เมื่อที่ประชุมเห็นชอบ สถาบันจะดำเนินการออกใบรับรองในเร็ววัน
3. และเมื่อได้รับใบรับรอง บริษัทผู้ผลิตสินค้านั้นจะสามารถใช้ใบรับรองได้เมื่อได้ชำระค่าธรรมเนียมครบถ้วนแล้วใบรับรอง HALAL
1. ใบรับรอง HALAL จะออกในนาม Indonesia Council of Ulama (ICU) หรือสถาบันอิสลามแห่งชาติ ทั้งนี้จะมีการประกาศสินค้า HALAL ที่ผ่านการรับรองให้ทราบเป็นการทั่วไป และสินค้านั้นจะมีตัวเลขกำกับ
2. สินค้าอาหาร HALAL จะต้องถูกต้องตามแนวทางอิสลาม (Satisfy Islammic Requirement) ได้แก่
- ไม่มีเนื้อสุกรและส่วนอื่นของสุกรปะปน และไม่มีแอลกอฮอล์
- ส่วนประกอบที่เป็นเนื้อสัตว์จะต้องผ่านกรรมวิธีการฆ่าที่ถูกต้องตามวิธีอิสลาม (เชือดในนามของพระองค์อัลเลาฮ์ ซ.บ.)
- เครื่องดื่มทุกชนิดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (ถือว่า HALAL)
- จะต้องไม่ใช่อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้กับสุกรในคราวเดียวกัน โดยจะต้องนำอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้กับสุกรมาแล้วไปทำความสะอาดให้ถูกต้องก่อน จึงจะนำมาใช้กับสินค้าเพื่อเป็น HALAL
3. ใบรับรอง HALAL ไม่สามารถโอนสิทธิกันได้
4. เมื่อใบรับรองหมดอายุจะไม่สามารถนำไปใช้ในกรณีใด ๆ ได้อีก ทั้งนี้รวมทั้งสำเนาใบรับรอง
5. ในกรณีใบรับรองสูญหายจะต้องรายงานไปยังสถาบันฯ ทันที
6. ใบรับรอง HALAL จะถือเป็นสิทธิและทรัพย์สินของสถาบัน AIFDC และเมื่อสถาบันฯ จะประสงค์ขอคืนตามเหตุผลอันสมควรแล้ว บริษัทต้องคืนใบรับรองตามขอ
7. ทั้งนี้การออกมติรับรองสินค้า HALAL ให้ถือมติของสภาอิสลามแห่งชาติเป็นที่สุด
(ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์)
-วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2/2544 วันที่ 31 มกราคม 2544--
-อน-