นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่ รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนตุลาคม 2544 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทาง การดำเนินนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจไทยจนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อันเป็นผลจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของภาวะเศรษฐกิจโลก อีกทั้งเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ ยิ่งซ้ำเติมโอกาสในการฟื้นตัวของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยให้กลับลดลงไปอีกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคการส่งออก อย่างไรก็ตาม แรงกระตุ้นจากภาคการคลังที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันจากผลกระทบนี้ลงบ้าง ขณะที่ยังไม่มีแรงกดดันทั้งจากด้านอุปสงค์และด้านต้นทุนที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกจากเป้าที่วางไว้ตลอดช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า
การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า คณะกรรมการฯ เห็นว่า
1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนจากภาวะสงครามที่เกิดขึ้นคาดว่าจะเริ่มส่งผลกระทบชัดเจนต่อระบบเศรษฐกิจ การเงินโลกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงปรับข้อสมมติการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญให้ต่ำลงจากที่ประมาณการไว้เดิม
2. คณะกรรมการฯ ใช้ข้อสมมติว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี ในปลายปีนี้และในไตรมาสแรกของปี 2545 รวมทั้งสิ้นเป็นร้อยละ 0.5 ต่อปี เพื่อช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในครึ่งหลังของปี 2545 แล้ว คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะมี แนวโน้มปรับขึ้นเล็กน้อย
3. คณะกรรมการฯ ใช้ข้อสมมติด้านรายจ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2544 ตามการเบิกจ่ายจริง ส่วนในปี 2545 ใช้ข้อสมมติว่าภาครัฐจะอัดฉีดเม็ดเงิน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงนโยบายเร่งด่วนต่างๆ ของภาครัฐ คาดว่าอัตราเบิกจ่ายจะได้ถึงร้อยละ 91 ทำให้ได้ข้อสมมติงบรายจ่ายประจำและงบลงทุน ในงบประมาณปี 2545 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11.7 และ 13.5 ตามลำดับ และได้ใช้อัตราการขยายตัวนี้เป็นข้อสมมติสำหรับปี 2546 ด้วย
4. ข้อสมมติราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่เฉลี่ย 23 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 ลดลงจากที่ใช้ในรายงานฉบับก่อนตามข้อมูลล่าสุดที่ปรับลดลง และอยู่ที่เฉลี่ย 22 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรล ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไปเช่นเดิม
ภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ และผลกระทบซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะส่งไปยังภาวะเศรษฐกิจการเงินทั่วโลก ทำให้ต้องมีการปรับประมาณการ การส่งออกของไทยให้ต่ำลง และทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลงตามไปด้วย แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดว่าจะสามารถผลักดันให้เศรษฐกิจไทย เริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ในครึ่งหลังของปี 2545 อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประมาณการครั้งนี้ อยู่ในช่วงที่ภาวการณ์ของโลกไม่เป็นปกติ ความไม่แน่นอนของข้อสมมติจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อประมาณการโดยใช้ข้อสมมติ ในกรณีขั้นต่ำและขั้นสูง ประกอบกันไปด้วยแล้ว คณะกรรมการฯ คาดว่าการขยายตัว ทางเศรษฐกิจในปี 2544 จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.3 —1.8 ส่วนในปี 2545 นั้น คาดว่าจะมีโอกาสมากที่สุดที่จะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1- 3
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคณะกรรมการฯ ประเมินว่าตลอดช่วงประมาณการยังไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกนอกเป้าหมาย โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1 — 1.5 ต่อปี ในปี 2544 และหากเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.5 —2.5 ต่อปี ในปี 2545
แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินจากการประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และความเสี่ยงต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินเป็นแบบผ่อนคลายต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสม เพราะเมื่อหักอัตราเงินเฟ้อแล้วอยู่ประมาณร้อยละ 1 ซึ่งนับว่าต่ำมาก อีกทั้งยังเอื้อต่อการรักษาความมั่นคงของฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ และเสถียรภาพของค่าเงินบาท ประกอบด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้ในขณะที่กลไกระบบการเงินยังทำงานไม่เต็มที่ อาจจะยังไม่ได้ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากเท่าที่ต้องการ เปรียบเทียบกับผลกระทบที่จะมีต่อผู้ออม
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ไว้ในระดับเดิมคือร้อยละ 2.5 ต่อปี ต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับที่ 7 ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2545
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก
ภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจไทยจนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อันเป็นผลจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของภาวะเศรษฐกิจโลก อีกทั้งเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ ยิ่งซ้ำเติมโอกาสในการฟื้นตัวของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยให้กลับลดลงไปอีกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคการส่งออก อย่างไรก็ตาม แรงกระตุ้นจากภาคการคลังที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันจากผลกระทบนี้ลงบ้าง ขณะที่ยังไม่มีแรงกดดันทั้งจากด้านอุปสงค์และด้านต้นทุนที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกจากเป้าที่วางไว้ตลอดช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า
การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า คณะกรรมการฯ เห็นว่า
1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนจากภาวะสงครามที่เกิดขึ้นคาดว่าจะเริ่มส่งผลกระทบชัดเจนต่อระบบเศรษฐกิจ การเงินโลกในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงปรับข้อสมมติการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญให้ต่ำลงจากที่ประมาณการไว้เดิม
2. คณะกรรมการฯ ใช้ข้อสมมติว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี ในปลายปีนี้และในไตรมาสแรกของปี 2545 รวมทั้งสิ้นเป็นร้อยละ 0.5 ต่อปี เพื่อช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในครึ่งหลังของปี 2545 แล้ว คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะมี แนวโน้มปรับขึ้นเล็กน้อย
3. คณะกรรมการฯ ใช้ข้อสมมติด้านรายจ่ายภาครัฐในปีงบประมาณ 2544 ตามการเบิกจ่ายจริง ส่วนในปี 2545 ใช้ข้อสมมติว่าภาครัฐจะอัดฉีดเม็ดเงิน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงนโยบายเร่งด่วนต่างๆ ของภาครัฐ คาดว่าอัตราเบิกจ่ายจะได้ถึงร้อยละ 91 ทำให้ได้ข้อสมมติงบรายจ่ายประจำและงบลงทุน ในงบประมาณปี 2545 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11.7 และ 13.5 ตามลำดับ และได้ใช้อัตราการขยายตัวนี้เป็นข้อสมมติสำหรับปี 2546 ด้วย
4. ข้อสมมติราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่เฉลี่ย 23 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 ลดลงจากที่ใช้ในรายงานฉบับก่อนตามข้อมูลล่าสุดที่ปรับลดลง และอยู่ที่เฉลี่ย 22 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรล ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไปเช่นเดิม
ภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ และผลกระทบซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะส่งไปยังภาวะเศรษฐกิจการเงินทั่วโลก ทำให้ต้องมีการปรับประมาณการ การส่งออกของไทยให้ต่ำลง และทำให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลงตามไปด้วย แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล คาดว่าจะสามารถผลักดันให้เศรษฐกิจไทย เริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ในครึ่งหลังของปี 2545 อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประมาณการครั้งนี้ อยู่ในช่วงที่ภาวการณ์ของโลกไม่เป็นปกติ ความไม่แน่นอนของข้อสมมติจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อประมาณการโดยใช้ข้อสมมติ ในกรณีขั้นต่ำและขั้นสูง ประกอบกันไปด้วยแล้ว คณะกรรมการฯ คาดว่าการขยายตัว ทางเศรษฐกิจในปี 2544 จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.3 —1.8 ส่วนในปี 2545 นั้น คาดว่าจะมีโอกาสมากที่สุดที่จะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1- 3
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคณะกรรมการฯ ประเมินว่าตลอดช่วงประมาณการยังไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกนอกเป้าหมาย โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1 — 1.5 ต่อปี ในปี 2544 และหากเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.5 —2.5 ต่อปี ในปี 2545
แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินจากการประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และความเสี่ยงต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินเป็นแบบผ่อนคลายต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสม เพราะเมื่อหักอัตราเงินเฟ้อแล้วอยู่ประมาณร้อยละ 1 ซึ่งนับว่าต่ำมาก อีกทั้งยังเอื้อต่อการรักษาความมั่นคงของฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ และเสถียรภาพของค่าเงินบาท ประกอบด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้ในขณะที่กลไกระบบการเงินยังทำงานไม่เต็มที่ อาจจะยังไม่ได้ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากเท่าที่ต้องการ เปรียบเทียบกับผลกระทบที่จะมีต่อผู้ออม
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ไว้ในระดับเดิมคือร้อยละ 2.5 ต่อปี ต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับที่ 7 ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2545
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก