สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน 35 คน เพื่อพิจารณาญัตติเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2544 นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ
นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประธานการประชุม
โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณากระทู้ถามสด 3 กระทู้ กระทู้ถามทั่วไป 3 กระทู้ และพิจารณาญัตติ 6 ฉบับ
กระทู้ถามสดที่ 1 เป็นกระทู้ของนายธีระชัย แสนแก้ว เรื่อง การระบาดของโรคหนอนกออ้อยและโรคใบขาว ซึ่งนายชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า ได้มีการสั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์จัดอบรม และชี้แจงให้เกษตรกร
เข้าใจเกี่ยวกับโรคหนอนกออ้อยและโรคใบขาว และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังแนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนพันธ์อ้อยใหม่
เพื่อมิให้เกิดโรคระบาดต่อไป
กระทู้ถามสดที่ 2 เป็นของนายเชน เทือกสุบรรณ เรื่องความเดือดร้อนจาก โรคระบาดสัตว์
โดยนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงว่า พยายามเร่งรัดให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดูแลอย่างใกล้ชิด และมีการฉีดวัคซีนป้องกันอยู่ตลอดเวลา คาดว่าโรคระบาดคงจะลดน้อยลง
กระทู้ถามสดที่ 3 เป็นของนายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่องปัญหาการพักชำระหนี้ให้เกษตรกรรายย่อย 3 ปี ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ ชี้แจงว่า ในการดำเนินโครงการขณะนี้
รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นควบคุมติดตามโครงการการพักชำระหนี้เกษตรกรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมี
นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ คณะกรรมการชุดนี้มีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงบประมาณ และมีคณะกรรมการประจำจังหวัดขึ้นมาควบคุมด้วย สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วม โครงการนั้นจะต้องเป็นลูกหนี้ของ ธกส.
และต้องเป็นหนี้ไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งเกษตรกรที่มี คุณสมบัติทั้งหมดมีจำนวน 2,100,000 คน รัฐบาลขอยืนยันว่ามาตรการเหล่านี้จะต้อง
ฟื้นฟูเกษตรกรให้เข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระหว่างการพักชำระหนี้ และในสัปดาห์หน้า รัฐบาลจะชี้แจงแนวปฏิบัติให้กับพนักงาน ธกส.
ทั่วประเทศทราบแนวทางการดำเนินโครงการ โดยมุ่งเน้นให้ออกไปบริการกับประชาชนมากกว่าที่จะต้องรอให้เกษตรกร เดินทางมาที่ ธกส.
ส่วนการพิจารณากระทู้ถามทั่วไป กระทู้แรกเป็นของนายเสกสรรค์ แสนภูมิ เรื่อง แก้ไขทะเบียนตำรับยา ซึ่งมีตัวยา
ฟินิลโปรปาโนลามีนเป็นส่วนผสม ซึ่งนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ทางกระทรวงฯ ได้จัดทำ
ตำรับยา ทุกชนิดที่มีส่วนผสมของฟีนิลโปรปาโนลามีน และแจ้งถึงอันตรายของยาที่มีส่วนผสมให้ประชาชนได้รับทราบผ่านทางสื่อมวลชน
เป็นระยะ ๆ เพื่อมิให้ประชาชนได้รับอันตรายจากการใช้ยาดังกล่าว
กระทู้ถามทั่วไปที่ 2 เป็นของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ เรื่อง ปัญหาน้ำเน่าเสีย ในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เขตมีนบุรี
โดยนายพิเชษฐ สถิรชวาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ชี้แจงว่า ทางกระทรวงได้เข้มงวดกวดขันอย่างจริงจัง และมีพระราชบัญญัติ
ควบคุมปัญหาน้ำเน่าเสียอยู่แล้ว หากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินการตามกฎหมายทันที
กระทู้ถามทั่วไปที่ 3 เป็นของนายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เรื่องการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการ
เฉลิมพระเกียรติ โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ได้ชี้แจงว่า รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการศึกษา
มีการขยายการรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการขยายสาขาวิทยบริการของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพิ่มขึ้นอีก 10 สาขา
ใน 10 จังหวัด เพื่อรองรับความต้องการของชุมชน
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่องขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย ซึ่งมีญัตติ
ในทำนองเดียวกันถึง 6 ฉบับ คือ
1. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาอุทกภัย ซึ่งนายไพร พัฒโน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
2. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
และ นายจตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นผู้เสนอ
3. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ซึ่งนายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เป็นผู้เสนอ
4. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งนายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
5. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้ง ซึ่งนายภูมิ สาระพล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
6. ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ เป็นผู้เสนอ
สำหรับญัตติทั้ง 6 ฉบับนี้ ที่ประชุมได้พิจารณารวมกัน ซึ่งการพิจารณาญัตติ ดังกล่าว สมาชิกส่วนใหญ่ได้อภิปรายเรียกร้องให้รัฐบาลหาทาง
แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคใช้สอยและให้เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม
ส่วนปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีนั้น สมาชิกได้ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือ ด้วยความรวดเร็วและทันท่วงที เพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
หลังจากเสร็จสิ้นการอภิปราย ที่ประชุมได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน 35 คน เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยให้แล้วเสร็จ
ภายในกำหนดเวลา 30 วัน แล้วรายงานให้ที่ประชุมฯ ทราบ คณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวประกอบด้วย
1. นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร
2. นายสมาน วงศ์วรายุทธ
3. นายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์
4. นายสมศักดิ์ สิงหลกะ
5. นายวิรัตน์ ขาวอุปถัมภ์
6. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
7. นายภูมิ สาระผล
8. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์
9. นายจินดา วงศ์สวัสดิ์
10. นายทองดี มนิสสาร
11. พันจ่าอากาศโท กิตติคุณ นาคะบุตร
12. นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล
13. นายสมบัติ รัตโน
14. นางสาวตรีนุช เทียนทอง
15. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
16. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
17. นายวิทยา บุรณศิริ
18. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
19. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์
20. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์
21. นายไพร พัฒโน
22. นายนราพัฒน์ แก้วทอง
23. นายไพศาล จันทวารา
24. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร
25. นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์
26. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
27. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
28. นางคมคาย พลบุตร
29. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร
30. นายชัย ชิดชอบ
31. นายวิสันต์ เดชเสน
32. นายเฉลิมชัย อุฬารกุล
33. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ
34. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ
35. นายต่อพงศ์ ไชยสาส์น
-----------------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2544 นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ
นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประธานการประชุม
โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณากระทู้ถามสด 3 กระทู้ กระทู้ถามทั่วไป 3 กระทู้ และพิจารณาญัตติ 6 ฉบับ
กระทู้ถามสดที่ 1 เป็นกระทู้ของนายธีระชัย แสนแก้ว เรื่อง การระบาดของโรคหนอนกออ้อยและโรคใบขาว ซึ่งนายชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า ได้มีการสั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์จัดอบรม และชี้แจงให้เกษตรกร
เข้าใจเกี่ยวกับโรคหนอนกออ้อยและโรคใบขาว และติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังแนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนพันธ์อ้อยใหม่
เพื่อมิให้เกิดโรคระบาดต่อไป
กระทู้ถามสดที่ 2 เป็นของนายเชน เทือกสุบรรณ เรื่องความเดือดร้อนจาก โรคระบาดสัตว์
โดยนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงว่า พยายามเร่งรัดให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดูแลอย่างใกล้ชิด และมีการฉีดวัคซีนป้องกันอยู่ตลอดเวลา คาดว่าโรคระบาดคงจะลดน้อยลง
กระทู้ถามสดที่ 3 เป็นของนายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่องปัญหาการพักชำระหนี้ให้เกษตรกรรายย่อย 3 ปี ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ ชี้แจงว่า ในการดำเนินโครงการขณะนี้
รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นควบคุมติดตามโครงการการพักชำระหนี้เกษตรกรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมี
นายปองพล อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ คณะกรรมการชุดนี้มีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงบประมาณ และมีคณะกรรมการประจำจังหวัดขึ้นมาควบคุมด้วย สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วม โครงการนั้นจะต้องเป็นลูกหนี้ของ ธกส.
และต้องเป็นหนี้ไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งเกษตรกรที่มี คุณสมบัติทั้งหมดมีจำนวน 2,100,000 คน รัฐบาลขอยืนยันว่ามาตรการเหล่านี้จะต้อง
ฟื้นฟูเกษตรกรให้เข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระหว่างการพักชำระหนี้ และในสัปดาห์หน้า รัฐบาลจะชี้แจงแนวปฏิบัติให้กับพนักงาน ธกส.
ทั่วประเทศทราบแนวทางการดำเนินโครงการ โดยมุ่งเน้นให้ออกไปบริการกับประชาชนมากกว่าที่จะต้องรอให้เกษตรกร เดินทางมาที่ ธกส.
ส่วนการพิจารณากระทู้ถามทั่วไป กระทู้แรกเป็นของนายเสกสรรค์ แสนภูมิ เรื่อง แก้ไขทะเบียนตำรับยา ซึ่งมีตัวยา
ฟินิลโปรปาโนลามีนเป็นส่วนผสม ซึ่งนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ทางกระทรวงฯ ได้จัดทำ
ตำรับยา ทุกชนิดที่มีส่วนผสมของฟีนิลโปรปาโนลามีน และแจ้งถึงอันตรายของยาที่มีส่วนผสมให้ประชาชนได้รับทราบผ่านทางสื่อมวลชน
เป็นระยะ ๆ เพื่อมิให้ประชาชนได้รับอันตรายจากการใช้ยาดังกล่าว
กระทู้ถามทั่วไปที่ 2 เป็นของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ เรื่อง ปัญหาน้ำเน่าเสีย ในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เขตมีนบุรี
โดยนายพิเชษฐ สถิรชวาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ชี้แจงว่า ทางกระทรวงได้เข้มงวดกวดขันอย่างจริงจัง และมีพระราชบัญญัติ
ควบคุมปัญหาน้ำเน่าเสียอยู่แล้ว หากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินการตามกฎหมายทันที
กระทู้ถามทั่วไปที่ 3 เป็นของนายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เรื่องการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการ
เฉลิมพระเกียรติ โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ได้ชี้แจงว่า รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการศึกษา
มีการขยายการรับนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการขยายสาขาวิทยบริการของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพิ่มขึ้นอีก 10 สาขา
ใน 10 จังหวัด เพื่อรองรับความต้องการของชุมชน
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาญัตติ เรื่องขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย ซึ่งมีญัตติ
ในทำนองเดียวกันถึง 6 ฉบับ คือ
1. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาอุทกภัย ซึ่งนายไพร พัฒโน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
2. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
และ นายจตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นผู้เสนอ
3. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ซึ่งนายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เป็นผู้เสนอ
4. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งนายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
5. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้ง ซึ่งนายภูมิ สาระพล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
6. ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ เป็นผู้เสนอ
สำหรับญัตติทั้ง 6 ฉบับนี้ ที่ประชุมได้พิจารณารวมกัน ซึ่งการพิจารณาญัตติ ดังกล่าว สมาชิกส่วนใหญ่ได้อภิปรายเรียกร้องให้รัฐบาลหาทาง
แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคใช้สอยและให้เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม
ส่วนปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีนั้น สมาชิกได้ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือ ด้วยความรวดเร็วและทันท่วงที เพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
หลังจากเสร็จสิ้นการอภิปราย ที่ประชุมได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน 35 คน เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยให้แล้วเสร็จ
ภายในกำหนดเวลา 30 วัน แล้วรายงานให้ที่ประชุมฯ ทราบ คณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวประกอบด้วย
1. นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร
2. นายสมาน วงศ์วรายุทธ
3. นายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์
4. นายสมศักดิ์ สิงหลกะ
5. นายวิรัตน์ ขาวอุปถัมภ์
6. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
7. นายภูมิ สาระผล
8. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์
9. นายจินดา วงศ์สวัสดิ์
10. นายทองดี มนิสสาร
11. พันจ่าอากาศโท กิตติคุณ นาคะบุตร
12. นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล
13. นายสมบัติ รัตโน
14. นางสาวตรีนุช เทียนทอง
15. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
16. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
17. นายวิทยา บุรณศิริ
18. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
19. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์
20. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์
21. นายไพร พัฒโน
22. นายนราพัฒน์ แก้วทอง
23. นายไพศาล จันทวารา
24. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร
25. นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์
26. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
27. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
28. นางคมคาย พลบุตร
29. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร
30. นายชัย ชิดชอบ
31. นายวิสันต์ เดชเสน
32. นายเฉลิมชัย อุฬารกุล
33. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ
34. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ
35. นายต่อพงศ์ ไชยสาส์น
-----------------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร