วันที่ 16 สิงหาคม 2544 เวลา 13.00 นาฬิกา นายวิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการ
การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1
การกำหนดจำนวนปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทางกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการศึกษาระดับอนุบาลและ
จะขยายการศึกษาภาคบังคับให้ครอบคลุมในระดับอนุบาล ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นด้วยในเรื่องนี้เพราะ
การศึกษาในระดับอนุบาล เพราะเป็นการศึกษาระดับที่จะวางรากฐานของการพัฒนาเด็กและเตรียมความพร้อม
ในการเรียนต่อในระดับต่อไป แต่ปัญหาคือว่าถ้าทำเช่นนี้จะนับจำนวนปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ตามที่
รัฐธรรมนูญกำหนดนั้นจะนับจากระดับไหน ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่ามี 2 แนวทาง คือ 1. นับจากประถมศึกษาที่ 1
จนถึงมัธยมศึกษาที่ 6 แล้วให้ความสำคัญในระดับอนุบาลโดยรัฐมีมาตรการสนับสนุนให้จัดได้อย่างกว้างขวางทั่วถึงและ
มีคุณภาพ 2. ถ้าจะรวมเอาระดับอนุบาลเข้าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานก็ให้นับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น 15 ปี โดยไม่ตัด
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เหตุผล คือ การนับซึ่งเป็นสากลการศึกษาภาคบังคับก็จะนับตั้งแต่ประถมศึกษาที่ 1
ถึงประถมศึกษาที่ 6 และขยายถึงมัธยมศึกษาตอนต้นในขณะนี้ เพราะฉะนั้นการนับการศึกษา ขั้นพื้นฐานนับจากประถมศึกษาที่ 1
ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย 12 ปี ก็น่าจะเหมาะสม แต่ก็ไม่อยากให้ละทิ้งในระดับอนุบาลเพราะเป็นส่วนที่สำคัญ แนวใด
แนวหนึ่งที่รัฐบาลจะจัดถ้าทำได้ก็เป็นการดี คณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ แม้ว่าจะนับรวม
ระดับอนุบาลเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือไม่นับนั้น แต่อยากให้จัดให้หลากหลายเพื่อเป็นการเตรียมขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก
และอยากให้รัฐบาลเข้ามาให้การสนับสนุน
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ยังได้พิจารณา เรื่อง การขยายอำนาจการศึกษา
ไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้ก็มีพระราชบัญญัติกำหนด แผนขั้นตอน มีการจัดทำแผนปฏิบัติ
ซึ่งคณะครูเป็นห่วงว่าจะมีการถ่ายโอนสถานศึกษาไปให้การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อบต.
โดยที่ยังไม่มีการสร้างความพร้อม ดังนั้นทางคณะกรรมาธิการฯ จึงเชิญผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้แทนคณะกรรมการกำหนดแผนและการกระจายอำนาจ และผู้แทนสำนักงานปฏิรูป
การศึกษามาชี้แจงถึงแนวทางที่คิดว่าจะกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ
ขั้นตอนอย่างราบรื่นนั้นเตรียมไว้อย่างไรบ้าง เราะจะมีการประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ
ประมาณวันที่ 24 สิงหาคม 2544 ซึ่งทุกฝ่ายชี้แจงว่าได้ประชุมเตรียมการหาแนวทางที่จะทำแผนปฏิบัติการ
ร่วมกันในลักษณะที่เป็นที่ยอมรับกันได้ แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่ ซึ่งจากการประชุมชี้แจงของ
คณะกรรมาธิการฯ ในวันนี้ ทุก ๆ ฝ่ายจะนำสิ่งที่ยังไม่ชัดเจนไปปรึกษาหรือกันต่อไป ในส่วนของทาง
คณะกรรมาธิการฯ ก็ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ ขึ้นมาเพื่อศึกษาปัญหาเฉพาะหน้าที่ได้มีการโอนงบประมาณ
ไปให้ อบต. ดูแลเรื่องเกี่ยวกับนมและอาหารกลางวัน ซึ่งได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้
ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่ามีความสำคัญจึงตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ ขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาเรื่องนี้ พร้อมทั้ง
จะหาข้อเสนอแนะที่จะทำให้เรื่องนี้หมดปัญหาไป
-----------------------------------------------------
ปัณรสี ทิพย์โกศัย / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์
การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1
การกำหนดจำนวนปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทางกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการศึกษาระดับอนุบาลและ
จะขยายการศึกษาภาคบังคับให้ครอบคลุมในระดับอนุบาล ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นด้วยในเรื่องนี้เพราะ
การศึกษาในระดับอนุบาล เพราะเป็นการศึกษาระดับที่จะวางรากฐานของการพัฒนาเด็กและเตรียมความพร้อม
ในการเรียนต่อในระดับต่อไป แต่ปัญหาคือว่าถ้าทำเช่นนี้จะนับจำนวนปีของการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ตามที่
รัฐธรรมนูญกำหนดนั้นจะนับจากระดับไหน ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่ามี 2 แนวทาง คือ 1. นับจากประถมศึกษาที่ 1
จนถึงมัธยมศึกษาที่ 6 แล้วให้ความสำคัญในระดับอนุบาลโดยรัฐมีมาตรการสนับสนุนให้จัดได้อย่างกว้างขวางทั่วถึงและ
มีคุณภาพ 2. ถ้าจะรวมเอาระดับอนุบาลเข้าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานก็ให้นับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น 15 ปี โดยไม่ตัด
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เหตุผล คือ การนับซึ่งเป็นสากลการศึกษาภาคบังคับก็จะนับตั้งแต่ประถมศึกษาที่ 1
ถึงประถมศึกษาที่ 6 และขยายถึงมัธยมศึกษาตอนต้นในขณะนี้ เพราะฉะนั้นการนับการศึกษา ขั้นพื้นฐานนับจากประถมศึกษาที่ 1
ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย 12 ปี ก็น่าจะเหมาะสม แต่ก็ไม่อยากให้ละทิ้งในระดับอนุบาลเพราะเป็นส่วนที่สำคัญ แนวใด
แนวหนึ่งที่รัฐบาลจะจัดถ้าทำได้ก็เป็นการดี คณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ แม้ว่าจะนับรวม
ระดับอนุบาลเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือไม่นับนั้น แต่อยากให้จัดให้หลากหลายเพื่อเป็นการเตรียมขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก
และอยากให้รัฐบาลเข้ามาให้การสนับสนุน
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ยังได้พิจารณา เรื่อง การขยายอำนาจการศึกษา
ไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้ก็มีพระราชบัญญัติกำหนด แผนขั้นตอน มีการจัดทำแผนปฏิบัติ
ซึ่งคณะครูเป็นห่วงว่าจะมีการถ่ายโอนสถานศึกษาไปให้การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อบต.
โดยที่ยังไม่มีการสร้างความพร้อม ดังนั้นทางคณะกรรมาธิการฯ จึงเชิญผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้แทนคณะกรรมการกำหนดแผนและการกระจายอำนาจ และผู้แทนสำนักงานปฏิรูป
การศึกษามาชี้แจงถึงแนวทางที่คิดว่าจะกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ
ขั้นตอนอย่างราบรื่นนั้นเตรียมไว้อย่างไรบ้าง เราะจะมีการประชุมคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ
ประมาณวันที่ 24 สิงหาคม 2544 ซึ่งทุกฝ่ายชี้แจงว่าได้ประชุมเตรียมการหาแนวทางที่จะทำแผนปฏิบัติการ
ร่วมกันในลักษณะที่เป็นที่ยอมรับกันได้ แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่ ซึ่งจากการประชุมชี้แจงของ
คณะกรรมาธิการฯ ในวันนี้ ทุก ๆ ฝ่ายจะนำสิ่งที่ยังไม่ชัดเจนไปปรึกษาหรือกันต่อไป ในส่วนของทาง
คณะกรรมาธิการฯ ก็ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ ขึ้นมาเพื่อศึกษาปัญหาเฉพาะหน้าที่ได้มีการโอนงบประมาณ
ไปให้ อบต. ดูแลเรื่องเกี่ยวกับนมและอาหารกลางวัน ซึ่งได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้
ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่ามีความสำคัญจึงตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ ขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาเรื่องนี้ พร้อมทั้ง
จะหาข้อเสนอแนะที่จะทำให้เรื่องนี้หมดปัญหาไป
-----------------------------------------------------
ปัณรสี ทิพย์โกศัย / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์