สินค้าออกผ่านแดนไทย
ด้านการส่งสินค้าออกของ สปป.ลาว ผ่านแดนไทยไปประเทศที่ 3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2532-2541) เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25.9 โครงสร้างสินค้าออกประกอบด้วย สินค้าสำคัญ คือ เมล็ดกาแฟดิบ ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ไม้แปรรูป ส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งมีบทบาทมากในระยะหลัง จากการย้ายฐานการผลิตมาจากประเทศอื่น เนื่องจาก สปป.ลาว มีต้นทุนถูกกว่า ในปี 2541 มูลค่าส่งออกผ่านแดนไทยมีมูลค่า 6,125.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 48.6
สินค้าจาก สปป.ลาว ส่งออกผ่านแดนไทยไปประเทศที่ 3 ที่สำคัญในปี 2541 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 3,162.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศเยอรมันนี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฯลฯ เมล็ดกาแฟดิบมูลค่า 862.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.0 ส่วนใหญ่ส่งออกไปฝรั่งเศส เยอรมันนี และสหรัฐอเมริกา ไม้แปรรูป ส่งไปญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง มูลค่า 520.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3
สินค้าเข้าผ่านแดนไทย
ด้านสินค้านำเข้าลาวแผ่นแดนไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 โครงสร้างการนำเข้าที่สำคัญประกอบด้วย บุหรี่ต่างประเทศจากสิงคโปร์ สิ่งทอจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เครื่องจักรและอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เยอรมัน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ยานพาหนะจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ในปี 2541 การนำเข้าผ่านแดนไทยมีมูลค่า 9,773.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.8 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 10,265.8 ล้านบาท เนื่องจากการชะลอตัวลงของการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ
สำหรับสินค้าที่ลาวนำเข้าจากประเทศที่ 3 ผ่านแดนไทยในปี 2541 ส่วนใหญ่เป็นบุหรี่จากสิงคโปร์มูลค่า 3,280.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 รองลงมาเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์จากไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และเยอรมันมูลค่า 1,773.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.8 สิ่งทอจากเกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์มูลค่า 1,469.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่จากญี่ปุ่น เกาหลีใต้มูลค่า 875.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่า 216.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.5
5. ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว 9 เดือนแรก ปี 2542 และแนวโน้มตลอดปี
5.1 การส่งออก มีมูลค่า 9,523.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 7,874.7 ล้านบาท เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว หมวดสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบขยายตัวตามการขยายตัวของการลงทุนในประเทศลาว สรุปการส่งออกในแต่ละหมวด ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าการส่งออก 5,516.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 2,716.7 ล้านบาท เนื่องจากมีการส่งออกยานพาหนะและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า 3,041.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า 960.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 สินค้าบริโภคในครัวเรือน (สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ) 1,225.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญในหมวดนี้ที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ ยารักษาโรคส่งออก 69.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.8 เครื่องแต่งกาย 65.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 76.6 อาหารสัตว์ 60.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.8
สินค้าอุปโภคบริโภค
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าอุปโภคบริโภค 2716.70 5516.90 103.10
ยานพาหนะและส่วนประกอบ 604.80 3041.30 402.90
สินค้าบริโภคในครัวเรือน 898.30 1225.30 36.40
เครื่องใช้ไฟฟ้า 565.70 960.40 69.80
ยารักษาโรค 105.20 69.60 -33.80
เครื่องแต่งกาย 281.20 65.80 -76.60
อาหารสัตว์ 71.40 60.80 -14.80
อื่น ๆ 190.10 93.70 -50.70
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าทุน มูลค่าส่งออก 1,801.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 1,774.5 ล้านบาท เนื่องจากลาวยังมีความต้องการสินค้าทุนค่อนข้างสูงเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น สร้างถนน เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า สนามบิน ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นวัสดุก่อสร้าง มูลค่า 1,134.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ปีก่อนซึ่งส่งออก 1,125.0 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของสินค้าทุนทั้งหมด) รองลงมาเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์มูลค่า 386.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 สินค้าทุนอื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ปุ๋ย แก้วและเครื่องแก้ว ฯลฯ 280.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.2
สินค้าทุน
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค. ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าทุน 1774.50 1801.70 1.50
วัสดุก่อสร้าง 1125.00 1134.60 0.80
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 482.60 386.30 -20.00
สินค้าทุนอื่น ๆ 166.90 280.80 68.20
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ การส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบไปลาว ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2542 มีมูลค่า 942.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 305.6 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายการลงทุนในลาวค่อนข้างมาก และวัตถุดิบส่วนหนึ่งลาวยังไม่สามารถผลิตเองได้ วัตถุดิบที่ส่งออกไปลาวส่วนใหญ่เป็นผ้าผืนและอุปกรณ์ตัดเย็บ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 603.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนกว่าเท่าตัว เหล็กและเหล็กกล้า 55.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 65.3 กระดาษและกระดาษแข็ง 44.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.4 สินค้าวัตถุดิบอื่น เช่น พืชไร่ เคมีภัณฑ์ สินแร่ เม็ดพลาสติก ฯลฯ 238.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2541 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 497.00 942.10 89.60
ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 281.20 603.20 114.50
เหล็กและเหล็กกล้า 160.50 55.60 -65.30
กระดาษและกระดาษแข็ง 29.40 44.50 51.40
วัตถุดิบอื่น ๆ 115.70 238.80 106.40
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่งออกมูลค่า 999.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 816.1 ล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ยานพาหนะในลาว
5.2 การนำเข้า
มูลค่า 1,868.9 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมูลค่า 1,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.0 เนื่องจากทางการลาวให้สัมปทานการทำไม้เพิ่ม การนำเข้าไม้จากลาวเพิ่มขึ้น มูลค่า 1,361.8 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนนำเข้า 673.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เศษโลหะนำเข้ามูลค่า 69.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 โค-กระบือและผลิตภัณฑ์ 34.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ของป่า (ชันดิบ น้ำมันยางดิบ ลูกเร่ว เปลือกบง ฯลฯ) 37.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 188.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องจักรใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว
สินค้าเข้า
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าขาเข้า 1010.30 1868.90 85.00
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 673.40 1361.80 102.20
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 153.90 188.00 22.20
เศษโลหะ 43.00 69.50 61.60
ของป่า 20.40 37.20 82.40
โค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ 24.80 34.70 102.20
สินค้าเข้าอื่น ๆ 94.70 247.20 161.00
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5.3 การค้าชายแดนรายด่านศุลกากร 9 เดือนแรกปี 2542
1. ด่านศุลกากรหนองคาย มูลค่าการค้า 4,286.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 5,477.0 ล้านบาท แล้วลดลงร้อยละ 21.86 ล้านบาท มูลค่าการค้าผ่านจุดนี้มีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.2 ของการค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคทั้งหมด แยกเป็นการส่งออก 4,031.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.2 สินค้าหมวดอุปโภคบริโภคส่งออก 1,265.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 จากปีก่อน ส่งออก 999.0 ล้านบาท สินค้าสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 343.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เครื่องใช้ไฟฟ้า 270.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ยารักษาโรค 33.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.3 หมวดสินค้าทุนส่งออก 919.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.2 จากปีก่อนส่งออก 980.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกวัสดุก่อสร้าง 589.0 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.2 รองลงมาเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ 196.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.6 สินค้าในหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบส่งออก 882.5 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนส่งออก 511.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.4 สินค้าสำคัญ ได้แก่ ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บสำหรับอุตสาหกรรมตัดเย็บ ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างมากในลาว มูลค่า 590.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว กระดาษและกระดาษแข็ง 43.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.1 เหล็กและเหล็กกล้า 31.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 68.3 ทางด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 702.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์
สำหรับการนำเข้ามูลค่า 255.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จาก 9 เดือนแรกของปีก่อนซึ่งนำเข้า 228.0 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าไม้แปรรูปซึ่งเป็นสินค้านำเข้าหลักเพิ่มขึ้นจากที่ทางการลาวขยายการให้สัมปทานเพิ่มมูลค่านำเข้า 153.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 ด้านการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์มูลค่า 42.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.1 ทั้งหมดเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาวนำกลับ สินค้าอื่น ๆ เช่น ลูกหยี เศษโลหะ ผ้าพื้นเมือง เศษกระดาษ ฯลฯ 59.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6
2. ด่านมุกดาหาร มูลค่าการค้า 3,470.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว จากปีก่อนซึ่งมูลค่า 1,177.0 ล้านบาท เนื่องจากมีการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า 3,006.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวจากปีก่อนซึ่งส่งออก 1,058.1 ล้านบาท สินค้าในหมวดอุปโภคบริโภคส่งออก 2,666.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า 1,899.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่าตัว (ปีก่อนส่งออกเพียง 93.4) ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งต่อไปประเทศเวียดนาม เครื่องใช้ไฟฟ้า 268.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.5 ส่วนใหญ่เป็นหม้อหุงข้าวและโทรทัศน์สี น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น 70.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.7
ด้านการนำเข้ามูลค่า 464.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวจากปีก่อนนำเข้า 118.9 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เป็นสำคัญ มูลค่า 380.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 64.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งนำเข้าเพียง 4.2 ล้านบาท ทั้งหมดเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว สินค้าอื่น ๆ เช่น พืชไร่ เศษโลหะ ของป่า ฯลฯ 18.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.9
3. ด่านนครพนม มูลค่าการค้า 1,297.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 849.4 ล้านบาท เป็นการส่งออก 541.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 255.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว รองลงมาเป็น วัสดุก่อสร้าง 65.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.7 น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ 56.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.5 เครื่องใช้ไฟฟ้า 37.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 20.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1
การนำเข้ามูลค่า 755.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งนำเข้า 414.2 ล้านบาท สินค้าสำคัญ ได้แก่ ไม้แปรรูป 639.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินค้านำเข้าอื่น ๆ เช่น แร่ดีบุก ของป่า เศษโลหะ ฯลฯ 116.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2
4. ด่านพิบูลมังสาหาร 9 เดือนแรกปี 2542 มูลค่าการค้า 838.9 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นการส่งออก 634.8 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 184.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.8 น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ 166.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (สบู่ ยาสีฟัน ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนม ฯลฯ) 72.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.2 รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 58.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
การนำเข้า 204.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 จากปีก่อนมูลค่า 167.0 ล้านบาท แม้ว่ามีการนำไม้แปรรูปลดลง นำเข้า 93.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.2 แต่มีการนำเข้าเศษโลหะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก มูลค่า 55.4 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนนำเข้าเพียง 0.1 ล้านบาท เครื่องจักรและอุปกรณ์ 41.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.2
5. ด่านเชียงคาน มูลค่าการค้า 51.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.7 ปีก่อน แยกเป็นสินค้าออก 5.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30.4 สินค้าสำคัญ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 2.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 1.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 59.3 ด้านการนำเข้ามูลค่า 45.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 35.9 ล้านบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 35.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.3 สินค้าอื่น ๆ เช่น แร่แบไรต์ หนังโค-กระบือ ของป่า พืชไร่ ฯลฯ 10.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.4
6. ด่านบึงกาฬ มูลค่าการค้า 1,261.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 455.0 ล้านบาท แล้วเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เนื่องจากมีการพัฒนาการขนส่งในลาว ส่งผลต่อเนื่องให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการสินค้าจากเวียดนาม ซึ่งสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมพุ่งสูงขึ้น 1,147.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ 472.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า 361.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว วัสดุก่อสร้าง 139.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 40.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.2
ด้านการนำเข้ามูลค่า 113.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 34.6 ล้านบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 44.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 39.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ของป่า 3.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 56.3 เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการนำเข้าพริกไทยดำจากประเทศเวียดนามผ่านลาวมูลค่าถึง 22.2 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนไม่มีการนำเข้า
7. ด่านเขมราฐ มูลค่าการค้า 28.3 ล้านบาท ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นการส่งออก 18.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.3 สินค้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 6.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 6.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 35.4 วัสดุก่อสร้าง 3.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 การนำเข้า 10.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็นโค-กระบือมีชีวิต 6.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ชันดิบและน้ำมันยางดิบ 3.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
8. ด่านท่าลี่ มูลค่าการค้า 142.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นการส่งออก 123.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากปีก่อน เนื่องจากมีการพัฒนาเส้นทางขนส่งในลาว ส่งผลให้มีความต้องการสินค้ามากขึ้น สินค้าส่วนหนึ่งถูกส่งต่อไปถึงหลวงพระบางทางภาคเหนือของลาว สินค้าส่งออกสำคัญประกอบด้วย สินค้าอุปโภคในครัวเรือน (เช่น ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สบู่ ยาสีฟัน ขนม ฯลฯ) 55.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว วัสดุก่อสร้าง 49.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว น้ำมันเบนซิน/ดีเซล 3.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 49.1 ด้านการนำเข้ามูลค่า 19.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนนำเข้า 6.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็นการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 15.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว สินค้าเข้าอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง ปอกระสา ลูกต๋าว ฯลฯ 3.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
6. การชำระเงินค่าสินค้าและบริการระหว่างผู้ประกอบการค้าไทย-ลาว
การชำระเงินค่าสินค้าและบริการระหว่างผู้ประกอบการค้าไทย-ลาว ส่วนใหญ่ชำระเป็นเงินสดสกุลบาท อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์มีบทบาทในการชำระเงินเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตามนโยบายของทางการทั้ง 2 ประเทศ ที่จะพยายามผลักดันให้การค้าระหว่างกันผ่านสถาบันการเงินมากขึ้น เพื่อความสะดวกทางการค้าและจะนำไปสู่การพัฒนาการค้าในอนาคต
การชำระเงินค่าสินค้าและบริการตามแนวชายแดนไทย-ลาวผ่านธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2541 จำนวน 1,430.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 59.0 ส่วนใหญ่เป็นการโอนเงินทางโทรเลข 859.7 ล้านบาท สัดส่วนประมาณ 60 รองลงมาเป็นการชำระเงินด้วยเช็ค 343.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 24 และชำระเงินด้วยดราฟต์ 227.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 16
จังหวัดหนองคายใช้บริการธนาคารพาณิชย์ชำระเงินค่าสินค้ามากที่สุด 636.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 44.5 ของการชำระเงินผ่านธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ตามปริมาณธุรกรรมทางการค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าจุดผ่านแดนอื่น ๆ รองลงมาเป็นจังหวัดมุกดาหาร 297.7 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี 263.8 ล้านบาท และจังหวัดนครพนม 93.1 ล้านบาท
ทางด้านการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ไทยในกำแพงนครเวียงจันทน์ ชำระค่าสินค้าและบริการ การค้าระหว่างไทยลาวในปี 2541 จำนวน 497.6 ล้านบาท เทียบกับปี 2540 ลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนใหญ่เป็นการชำระเงินโดยการโอนทางโทรเลข 311.8 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 62.7 ของการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ไทยในลาว รองลงมาเป็นการชำระเงินโดยการเปิด L/C 175.8 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 35.3 การชำระเงินโดยดราฟต์ 9.9 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.0
7. ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ สปป.ลาว ที่เป็นผลกระทบต่อการค้าระหว่างไทย-ลาว
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-ลาว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทั้ง 2 ประเทศ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน บนพื้นฐานของการมีประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนที่ผ่านมาไทยได้รับประโยชน์ทางด้านการไฟฟ้าพลังน้ำและสินค้าประเภทไม้จากลาวในขณะที่ลาวเองก็ได้รับประโยชน์จากสินค้าประเภทอาหาร น้ำมัน วัสดุก่อสร้างจากไทยและอาศัยประเทศไทยเป็นประตูสู่นานาประเทศ
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ตลอดจนนโยบายเศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ จะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของการพึ่งพากัน
จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศลาว การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในประเทศไทยและนโยบายของทางการไทยจะมีอิทธิพลต่อการค้าระหว่างไทย-ลาว และต่อเนื่องถึงภาวะเศรษฐกิจในลาวค่อนข้างมาก เช่น การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนของไทยจะมีผลกระทบต่อปริมาณการค้าไทยลาว ตลอดจนกระทบต่อระดับราคาสินค้าของลาว ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและนโยบายของลาวจะส่งผลกระทบต่อไทยเช่นเดียวกัน ถ้าคิดถึงผลกระทบโดยรวมแล้วอาจจะมีไม่มากแต่ถ้ามองถึงภาวะเศรษฐกิจตามแนวชายแดนแล้วได้รับผลกระทบมากพอควร
7.1 ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว
ริมาณการค้าระหว่างประเทศของลาวปี พ.ศ. 2541 มูลค่า 895 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 73.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ประเทศลาว จัดได้ว่าเศรษฐกิจประเทศลาวพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างสูง การส่งออก 342.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นปฐม เช่น ไม้แปรรูป แร่ดีบุก แร่แบไรต์ หินปูน ของป่า เมล็ดกาแฟ แต่ในระยะหลังสินค้าอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างสูงในลาว การนำเข้ามูลค่า 553.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งประเทศลาวยังไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศและสินค้าทุน ซึ่งทางการลาวมีความจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อพัฒนาประเทศ
เปรียบเทียบการนำเข้า การส่งออก กับ GDP ของลาว
หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.
2539 2541 2542
การส่งออก 332.00 317.00 342.00
การนำเข้า 690.00 648.00 553.00
ดุลการค้า -367.00 -331.00 -210.00
GDP 1845.70 1092.20 1225.50
ปริมาณการค้า/GDP 0.55 88.30 0.73
จากข้อมูลของ The Economist Intelligence Unit Limited ปรากฏว่าประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากไทยเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 51.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดในขณะเดียวกันมีสินค้าที่ไทยนำเข้าจากลาวสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 22.1 ของการนำเข้าทั้งหมด ทั้งนี้ ยังไม่รวมสินค้าของลาวผ่านแดนไทย มูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศของลาวทั้งหมด
ประเทศส่งออกสำคัญของลาว ประเทศนำเข้าที่สำคัญของลาว
ร้อยละ (%) ร้อยละ (%)
เวียดนาม 42.7 ไทย 51.9
ไทย 22.1 เวียดนาม 3.9
ฝรั่งเศส 6.3 ญี่ปุ่น 1.6
เบลเยี่ยม 5.6 ฮ่องกง 1.5
เยอรมนี 5.1 จีน 3.8
ที่มา : The Economist Intelligence Unit Limited
จะเห็นได้ว่าการค้าระหว่างประเทศของลาวมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยในสัดส่วนที่สูงมาก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนการกำหนดนโยบายของทางการไทยจะมีผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของลาว ตลอดจนส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศลาว ในขณะเดียวกันการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศของลาวมักจะมีประเด็นการค้าระหว่างไทย-ลาวเป็นสำคัญ
7.2 วิกฤตเศรษฐกิจประเทศลาว ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอาเซียน
จากวิกฤตเศรษฐกิจประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งผลกระทบถึงหลาย ๆ ประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศลาว ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยอย่างสูง ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนี้
ค่าเงินกีบลดลงในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ประเทศไทยประกาศใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 939 กีบ/ดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม 2539 เป็น 5,000 กีบ/ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม 2542 ค่าเงินกีบลดลงร้อยละ 16 ต่อเดือน
ระดับราคาสินค้าในลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 103 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2540 ถึงเดือนกรกฎาคม 2541 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 150 เมื่อเปรียบเทียบจากในเดือนมีนาคม 2541 ถึงเดือนมีนาคม 2542
จากที่อัตราแลกเปลี่ยนของลาวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในค่าเงินกีบ หันไปถือเงินตราต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะเงินดอลลาร์ สรอ. ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินในลาวมีสภาพคล่องทางการเงินลดลง อย่างไรก็ตาม น่าจะเป็นเพียงในระยะสั้นเท่านั้น ในระยะยาวแล้วภาวะเศรษฐกิจน่าจะปรับตัวดีขึ้น
7.3 วิกฤตเศรษฐกิจประเทศลาวกับการค้าชายแดนไทย-ลาว
จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งไทยและลาวทำให้ทั้ง 2 ประเทศ ลดการนำเข้าและพยายามกระตุ้นการส่งออกเพื่อเร่งฟื้นฟูประเทศให้กลับคืนสู่ปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ลดน้อยลงไปเลย ปริมาณการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างสินค้าเข้าจากลาวของไทย เช่น ไม้แปรรูป ไฟฟ้าพลังน้ำ หรือสินค้าเข้าของลาวจากไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าทุนต่างมีความจำเป็นสำหรับทั้ง 2 ประเทศ ในระยะ 9 เดือนแรกปี 2542 ปริมาณการค้าอยู่ในระดับ 11,392.7 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2
8. ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนไทย-ลาว
1. อัตราภาษีของ สปป.ลาว ไม่แน่นอนและแตกต่างกันในแต่ละแขวง การชำระภาษีมีขั้นตอนยุ่งยาก ล่าช้า เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างกัน
2. โครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นสำหรับการค้าระหว่างประเทศไม่เพียงพอ เช่น ความพร้อมของสถาบันการเงิน เส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าในประเทศลาว คลังสินค้า ฯลฯ
3. ค่าเงินกีบมีความผันผวนและมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อไทยในลาวระดับราคาสินค้าไทยในลาวสูงขึ้น ทำให้ความตอ้งการสินค้าไทยไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร สินค้าที่ลาวนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นแก่การครองชีพและยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศลาว
4. ผู้ประกอบธุรกิจการค้าชายแดนขาดแคลนเงินทุนในการประกอบการ
5. การขนส่งสินค้าใน สปป.ลาว มีลักษณะผูกขาด ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมีผลกระทบต่อเนื่องถึงราคาสินค้าสูงตามไปด้วย
6. กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการค้าของทาง สปป.ลาว เปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นอุปสรรคต่อการค้าขายระหว่างกัน เป็นความไม่สะดวกต่อผู้ค้าทั้ง 2 ฝ่าย
-ยังมีต่อ-
-ยก-