กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นาย Joseph Deiss (โจเซฟ ไดรส์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาพันธรัฐสวิสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นแขกของกระทรวงกาต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2543 การเยือนไทยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเยือนภูมิภาคเอเซียซึ่งเป็นทางการครั้งแรกของนาย Deiss โดยจะเดินทางไปยังฟิลิปินส์และบังคลาเทศต่อจากการเยือนประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของการเยือนไทยครั้งนี้ คือ เพื่อหารือข้อราชการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตลอดจนหาลู่ทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่งประเทศทั้งสองในด้านต่างๆ ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่งการเยือน นาย Deiss มีกำหนดการที่สำคัญได้แก่ การเข้าเผ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเข้าเยี่ยมคารวะและพบหารือกับนายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎร พบหารือนายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรีฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และพบหารือกับ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ นาย Deiss จะร่วมลงนามในพิธีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ที่กระทรวงการต่างประเทศในวันที่ 10 ตุลาคม 2543 ด้วย
การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างการเยือนครั้งนี้ จะมีผลให้สนธิสัญญาดังกล่าวซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ในโอกาสการเยือนไทยของนาย Amold koller ประธานาธิบดีสมาพันธ์รัฐสวิสในขณะนั้น มีผลบังคับใช้สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาของประเทศทั้งสองในการกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือในการบังคับการดำเนินคดีให้เป็นไปตามกฎหมายและบริหารงานกระบวนการยุติธรรม นับเป็นความตกลงทวิภาคีระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ฉบับที่ 8 ได้จัดทำระหว่างกัน การโอนตัวนักโทษเพื่อให้นักโทษกลับไปรับโทษต่อในประเทศของตน จะช่วยให้นักโทษอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว และ พยายามกลับตัวเป็นคนดีของสังคมต่อไป
ไทยและสมาพันธรัฐสวิสมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาตลอดนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนสวิตเซอร์แลนด์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2440 (ค.ศ.1897) สวิสและไทยมีความสัมพันธ์อยู่ในฐานะพิเศษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จฯ ไปทรงศึกษาอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งฝ่ายสวิสก็ได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทยมาตลอด รัฐบาลสวิสได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการจัดสร้างศาลาไทยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจัดสรรพื้นที่ในสวนสาธารณะ Parc du Denantou เมืองโลซานน์ให้เป็นสถานที่สร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติดีงกล่าว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความผูกพันของพระมหากษัตริย์ไทยกับเมืองโลซานน์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรงเจริญพระชันษาและประทับอยู่เมืองนี้นานถึง 2 ทศวรรษ ซึ่งขณะที่กำลังอยู่ระหว่างเตรียมก่อสร้าง
สำหรับทางด้านการค้าไทย เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับต้นๆ ของสวิตเซอร์แลนด์ในกลุ่มอาเซียน มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2542 มีมูลค่า 1,075.5 ล้านดอลลลาร์สหรัฐโดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ารวมระหว่างไทยกับสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2542 มีมูลค่า 1,075.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 14.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม - กรกฎาคม ค.ศ. 2000) การค้ารวมมีมูลค่า 631.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.2 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุล 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการลงทุนของสวิสในไทย ในปี 2542 มีมูลค่า 4,582.7 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2541 ซึ่งมูลค่าเพียง 1,646.2 ล้านบาท สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี ค.ศ. 2000 โครงการที่ได้รับอนุมัติมี 5 โครงการ มูลค่า รวม 1,652.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณเกือบ 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปี ค.ศ.1999
รัฐบาลสวิสได้ให้ความช่วยเหลือแก่ไทยและภูมิภาคมาก เช่น ได้ให้ทุนการศึกษาาและฝึกอบรมแก่ไทยทุกปี ให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Asian Institute of Technology (AIT) ให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมวรศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Regional Community Forestry Trainning Center) รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่คณะกรรมมาธิการแม่น้ำโขง
สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการพัฒนา สวิสเป็นสมาชิกกลุ่ม Human Security Network และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Human Security Network ระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ซึ่งดร.สุรินทร์ พิศุสวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปร่วมประชุมระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม ค.ศ.2000 ที่นครลูเซิร์น ในขณะที่ไทยกำลังมีบทบาทสำคัญในด้านการส่งเสริมความช่วยเหลือด้านส่งเสิรมสิทธิมนุษยชน ซึ่งหลายประเทศได้ให้ความเชื่อมั่นจนไทยได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิก Commission on Human Fights - CHR ระหว่างปี ค.ศ. 2001-2003 นอกจากนั้น ไทยก็มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมมนุษยธรรมของภูมิภาค คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 เห็นชอบให้สหพันธ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) จัดตั้งสำนักงานภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงเทพฯ (ย้ายมาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์) และยังมีบทบาทในการผลักดันให้อาเซียนให้ความสำคัญต่อการพัฒนทรัพยากรมนุษย์ของอาเซียนจนได้มีการจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resourcce Development Fund) และไทยจะเสนอต่อที่ประชุมเอเซีย-ยุโรปครั้งที่ 3 (ASEM III) ที่กรุงโซลในเดือนตุลาคมนี้ ให้ใช้สถาบัน AIT ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขงด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
นาย Joseph Deiss (โจเซฟ ไดรส์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาพันธรัฐสวิสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยเป็นแขกของกระทรวงกาต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2543 การเยือนไทยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเยือนภูมิภาคเอเซียซึ่งเป็นทางการครั้งแรกของนาย Deiss โดยจะเดินทางไปยังฟิลิปินส์และบังคลาเทศต่อจากการเยือนประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของการเยือนไทยครั้งนี้ คือ เพื่อหารือข้อราชการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ตลอดจนหาลู่ทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่งประเทศทั้งสองในด้านต่างๆ ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่งการเยือน นาย Deiss มีกำหนดการที่สำคัญได้แก่ การเข้าเผ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเข้าเยี่ยมคารวะและพบหารือกับนายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎร พบหารือนายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรีฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และพบหารือกับ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ นาย Deiss จะร่วมลงนามในพิธีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ที่กระทรวงการต่างประเทศในวันที่ 10 ตุลาคม 2543 ด้วย
การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างการเยือนครั้งนี้ จะมีผลให้สนธิสัญญาดังกล่าวซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ในโอกาสการเยือนไทยของนาย Amold koller ประธานาธิบดีสมาพันธ์รัฐสวิสในขณะนั้น มีผลบังคับใช้สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาของประเทศทั้งสองในการกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือในการบังคับการดำเนินคดีให้เป็นไปตามกฎหมายและบริหารงานกระบวนการยุติธรรม นับเป็นความตกลงทวิภาคีระหว่างไทย-สวิตเซอร์แลนด์ ฉบับที่ 8 ได้จัดทำระหว่างกัน การโอนตัวนักโทษเพื่อให้นักโทษกลับไปรับโทษต่อในประเทศของตน จะช่วยให้นักโทษอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว และ พยายามกลับตัวเป็นคนดีของสังคมต่อไป
ไทยและสมาพันธรัฐสวิสมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาตลอดนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนสวิตเซอร์แลนด์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2440 (ค.ศ.1897) สวิสและไทยมีความสัมพันธ์อยู่ในฐานะพิเศษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จฯ ไปทรงศึกษาอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งฝ่ายสวิสก็ได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทยมาตลอด รัฐบาลสวิสได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการจัดสร้างศาลาไทยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจัดสรรพื้นที่ในสวนสาธารณะ Parc du Denantou เมืองโลซานน์ให้เป็นสถานที่สร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติดีงกล่าว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความผูกพันของพระมหากษัตริย์ไทยกับเมืองโลซานน์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรงเจริญพระชันษาและประทับอยู่เมืองนี้นานถึง 2 ทศวรรษ ซึ่งขณะที่กำลังอยู่ระหว่างเตรียมก่อสร้าง
สำหรับทางด้านการค้าไทย เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับต้นๆ ของสวิตเซอร์แลนด์ในกลุ่มอาเซียน มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2542 มีมูลค่า 1,075.5 ล้านดอลลลาร์สหรัฐโดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ารวมระหว่างไทยกับสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2542 มีมูลค่า 1,075.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 14.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม - กรกฎาคม ค.ศ. 2000) การค้ารวมมีมูลค่า 631.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.2 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุล 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการลงทุนของสวิสในไทย ในปี 2542 มีมูลค่า 4,582.7 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2541 ซึ่งมูลค่าเพียง 1,646.2 ล้านบาท สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี ค.ศ. 2000 โครงการที่ได้รับอนุมัติมี 5 โครงการ มูลค่า รวม 1,652.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณเกือบ 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปี ค.ศ.1999
รัฐบาลสวิสได้ให้ความช่วยเหลือแก่ไทยและภูมิภาคมาก เช่น ได้ให้ทุนการศึกษาาและฝึกอบรมแก่ไทยทุกปี ให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Asian Institute of Technology (AIT) ให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมวรศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Regional Community Forestry Trainning Center) รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่คณะกรรมมาธิการแม่น้ำโขง
สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการพัฒนา สวิสเป็นสมาชิกกลุ่ม Human Security Network และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Human Security Network ระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ซึ่งดร.สุรินทร์ พิศุสวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปร่วมประชุมระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม ค.ศ.2000 ที่นครลูเซิร์น ในขณะที่ไทยกำลังมีบทบาทสำคัญในด้านการส่งเสริมความช่วยเหลือด้านส่งเสิรมสิทธิมนุษยชน ซึ่งหลายประเทศได้ให้ความเชื่อมั่นจนไทยได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิก Commission on Human Fights - CHR ระหว่างปี ค.ศ. 2001-2003 นอกจากนั้น ไทยก็มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมมนุษยธรรมของภูมิภาค คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 เห็นชอบให้สหพันธ์สภากาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC) จัดตั้งสำนักงานภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงเทพฯ (ย้ายมาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์) และยังมีบทบาทในการผลักดันให้อาเซียนให้ความสำคัญต่อการพัฒนทรัพยากรมนุษย์ของอาเซียนจนได้มีการจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resourcce Development Fund) และไทยจะเสนอต่อที่ประชุมเอเซีย-ยุโรปครั้งที่ 3 (ASEM III) ที่กรุงโซลในเดือนตุลาคมนี้ ให้ใช้สถาบัน AIT ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขงด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-