1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
นโยบายและมาตรการข้าวปี 2542/43 ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ปีการผลิต 2542/43 ซึ่งผลการรวบรวมข้าวเปลือก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 มกราคม 2543 มีปริมาณรวม 69,772.38 ตัน มูลค่า 413.52 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของ ธกส. ปีการผลิต 2542/43 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 มีจำนวน 61,697 ราย ปริมาณข้าว 327,851 ตัน มูลค่า 1,603,853 ล้านบาท
ภาวะการซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มลดลง ตลาดค่อนข้างซบเซา ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ยังรีรอการรับซื้อข้าวเนื่องจากปริมาณข้าวในสต๊อกมีเพียงพอในการส่งมอบประกอบกับยังไม่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าใน Lot ใหญ่ ๆ
ข่าวจากกรมการค้าต่างประเทศ รายงานว่าทางกรมได้รับรายงานจากหน่วยงานที่นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ National Food Authority (NFA) ประกาศจะเปิดประมูลนำเข้าข้าวจำนวน 130,000 ตัน ซึ่งจะเป็นการเปิดประมูลนำเข้าข้าวทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดย NFA มีเงื่อนไขในการนำเข้าสำหรับเอกชนคือ จะต้องมาจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวกับ NFA เสียก่อนจึงจะมีสิทธิยื่นประมูลนำเข้าข้าวจำนวน 130,000 ตันได้
การจดทะเบียนจะต้องติดต่อไปที่ National Food Authority 101 Matimyas Building E.Rodriguez Sr. หรือที่เบอร์ (632) 7432696 Fax (632) 7121110 ดังนั้นผู้ส่งออกข้าวไทยที่สนใจจะเข้าร่วมการประมูลข้าวรายการนี้จะต้องเร่งจดทะเบียนกับ NFA โดยด่วนเพราะหาก NFA ประกาศวันเปิดประมูลอย่างเป็นทางการแล้วผู้ส่งออกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอาจจะมีปัญหา ไม่สามารถเข้าร่วมการประมูลได้ทัน
การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ผ่านหน่วยงานของรัฐในขณะนี้จะมีการนำเข้าได้ 2 ช่องทางคือ (1) การนำเข้าผ่าน National Food Authority หรือ NFA (2) การนำเข้าผ่าน Philippine International Trading Corporation หรือ PITC ซึ่งเป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศ
ข้อแตกต่างของการนำเข้าผ่านหน่วยงานทั้ง 2 คือ การนำเข้าของ NFA เป็นการเปิดประมูลนำเข้าข้าว แต่การนำเข้าของ PITC เป็นการนำเข้าในลักษณะของการค้าต่างตอบแทน (Countertrade)
อนึ่ง เท่าที่ผ่านมา NFA เคยแจ้งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าข้าวในต้นปี 2543 เนื่องจากมีสต๊อกข้าวคงเหลืออยู่ในประเทศประมาณ 3,076 ตันแต่การประกาศเปิดประมูลในครั้งนี้น่าจะเกิดจากการประเมินสต๊อกข้าวคงเหลือภายในประเทศใหม่ส่วนทาง PITC ได้เคยแสดงความจำนงที่จะทำการค้าต่างตอบแทนกับไทยในเดือนพฤศจิกายน 2542 ที่ผ่านมาด้วยข้อเสนอที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าฟิลิปปินส์กับข้าวไทยจำนวน 100,000 ตันซึ่งทางฟิลิปปินส์ได้ส่งรายการสินค้าที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนกับฝ่ายไทยมาให้พิจารณาแล้วตั้งแต่การประชุม Joint Working Group on Trade and Investment ในเดือนพฤศจิกายน เช่นกัน
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 16 กุมภาพันธ์ 2543 ไทยส่งออกข้าวรวม 697,176 ตัน ลดลงจาก 822,683 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.26
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,796 บาท สูงขึ้นจากเกวียนละ 6,776 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,751 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,773 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 18-19% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยเกวียนละ 4,769 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,866 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,795 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯสัปดาห์นี้เฉลี่ย ตันละ 8,385 บาท ลดลงจากตันละ 8,460 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บีสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,315 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปของเงินบาท ตันละ 25 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลก ปี 2542/43 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2543 ว่าจะมี 590.65 ล้านตันข้าวเปลือกสูงขึ้นจาก 584.04 ล้านตันข้าวเปลือก ของปี 2541/42 ร้อยละ 1.13 เป็นผลมาจากผลผลิตข้าวของจีน คาดว่าจะมากกว่าปีที่แล้วถึง 2.72 ล้านตันข้าวเปลือก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก อาทิเช่น จีนบังคลาเทศ ปากีสถาน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ และไทย
ส่วนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2542/43 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดว่าผลผลิตจะมี 397.42 ล้านตันข้าวสาร สูงขึ้นจาก 392.96 ล้านตันข้าวสาร ของปี 2541/42 ร้อยละ 1.13 ใช้ในประเทศจะมี 396.68 ล้านตันข้าวสาร การส่งออก 23.09 ล้านตันข้าวสาร ทำให้สต๊อกปลายปีคงเหลือ 59.41 ล้านตันข้าวสาร
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 7.42 เซนต์ (6.08 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 6.95 เซนต์ (5.70 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 7.00 เซนต์ (5.34 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 3.71 เซนต์ (3.04 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 37.26 บาท
ผลผลิตข้าวเปลือกโลก
(ประมาณการเดือนกุมภาพันธ์ 2543)
หน่วย : ล้านตันข้าวเปลือก
ประเทศ ปี 2542/43 ปี 2541/42 ผลต่างร้อยละ
(1) (2) (1)และ(2)
ออสเตรเลีย 1.06 1.39 -23.74
บังคลาเทศ 29.25 28.65 2.09
บราซิล 10.29 11.45 -10.13
พม่า 16.47 16.03 2.74
จีน 201.43 198.71 1.37
อียิปต์ 5.43 4.20 22.65
อินเดีย 126.70 129.01 -2.31
อินโดนีเซีย 50.79 50.79 0.00
ญี่ปุ่น 11.47 11.20 2.41
เกาหลีใต้ 7.09 6.89 2.90
ปากีสถาน 7.20 7.01 2.71
ฟิลิปปินส์ 11.92 10.27 16.07
ไต้หวัน 1.99 1.86 6.99
เวียดนาม 30.46 30.47 -0.03
อียู 2.66 2.59 2.70
สหรัฐฯ 9.55 8.53 11.96
อื่น ๆ 66.66 64.99 2.57
รวม 590.65 584.04 1.13
บัญชีสมดุลข้าวโลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543)
ปี 2542/43 ปี 2541/42 ผลต่างร้อยละ
(1) (2) (1)และ(2)
สต๊อกต้นปี 58.67 54.92 6.83
ผลผลิต 397.42 392.96 1.13
นำเข้า 23.09 25.23 -8.48
ใช้ในประเทศ 396.68 389.21 1.92
ส่งออก 23.09 25.23 -8.48
สต๊อกปลายปี 59.41 58.67 1.26
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 14 - 20 ก.พ. 2543-
นโยบายและมาตรการข้าวปี 2542/43 ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ปีการผลิต 2542/43 ซึ่งผลการรวบรวมข้าวเปลือก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 มกราคม 2543 มีปริมาณรวม 69,772.38 ตัน มูลค่า 413.52 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของ ธกส. ปีการผลิต 2542/43 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 มีจำนวน 61,697 ราย ปริมาณข้าว 327,851 ตัน มูลค่า 1,603,853 ล้านบาท
ภาวะการซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มลดลง ตลาดค่อนข้างซบเซา ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ยังรีรอการรับซื้อข้าวเนื่องจากปริมาณข้าวในสต๊อกมีเพียงพอในการส่งมอบประกอบกับยังไม่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าใน Lot ใหญ่ ๆ
ข่าวจากกรมการค้าต่างประเทศ รายงานว่าทางกรมได้รับรายงานจากหน่วยงานที่นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ National Food Authority (NFA) ประกาศจะเปิดประมูลนำเข้าข้าวจำนวน 130,000 ตัน ซึ่งจะเป็นการเปิดประมูลนำเข้าข้าวทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดย NFA มีเงื่อนไขในการนำเข้าสำหรับเอกชนคือ จะต้องมาจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวกับ NFA เสียก่อนจึงจะมีสิทธิยื่นประมูลนำเข้าข้าวจำนวน 130,000 ตันได้
การจดทะเบียนจะต้องติดต่อไปที่ National Food Authority 101 Matimyas Building E.Rodriguez Sr. หรือที่เบอร์ (632) 7432696 Fax (632) 7121110 ดังนั้นผู้ส่งออกข้าวไทยที่สนใจจะเข้าร่วมการประมูลข้าวรายการนี้จะต้องเร่งจดทะเบียนกับ NFA โดยด่วนเพราะหาก NFA ประกาศวันเปิดประมูลอย่างเป็นทางการแล้วผู้ส่งออกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอาจจะมีปัญหา ไม่สามารถเข้าร่วมการประมูลได้ทัน
การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ผ่านหน่วยงานของรัฐในขณะนี้จะมีการนำเข้าได้ 2 ช่องทางคือ (1) การนำเข้าผ่าน National Food Authority หรือ NFA (2) การนำเข้าผ่าน Philippine International Trading Corporation หรือ PITC ซึ่งเป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศ
ข้อแตกต่างของการนำเข้าผ่านหน่วยงานทั้ง 2 คือ การนำเข้าของ NFA เป็นการเปิดประมูลนำเข้าข้าว แต่การนำเข้าของ PITC เป็นการนำเข้าในลักษณะของการค้าต่างตอบแทน (Countertrade)
อนึ่ง เท่าที่ผ่านมา NFA เคยแจ้งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าข้าวในต้นปี 2543 เนื่องจากมีสต๊อกข้าวคงเหลืออยู่ในประเทศประมาณ 3,076 ตันแต่การประกาศเปิดประมูลในครั้งนี้น่าจะเกิดจากการประเมินสต๊อกข้าวคงเหลือภายในประเทศใหม่ส่วนทาง PITC ได้เคยแสดงความจำนงที่จะทำการค้าต่างตอบแทนกับไทยในเดือนพฤศจิกายน 2542 ที่ผ่านมาด้วยข้อเสนอที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าฟิลิปปินส์กับข้าวไทยจำนวน 100,000 ตันซึ่งทางฟิลิปปินส์ได้ส่งรายการสินค้าที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนกับฝ่ายไทยมาให้พิจารณาแล้วตั้งแต่การประชุม Joint Working Group on Trade and Investment ในเดือนพฤศจิกายน เช่นกัน
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 16 กุมภาพันธ์ 2543 ไทยส่งออกข้าวรวม 697,176 ตัน ลดลงจาก 822,683 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.26
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,796 บาท สูงขึ้นจากเกวียนละ 6,776 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,751 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,773 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 18-19% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยเกวียนละ 4,769 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,866 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,795 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯสัปดาห์นี้เฉลี่ย ตันละ 8,385 บาท ลดลงจากตันละ 8,460 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.89
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บีสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,315 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปของเงินบาท ตันละ 25 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลก ปี 2542/43 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2543 ว่าจะมี 590.65 ล้านตันข้าวเปลือกสูงขึ้นจาก 584.04 ล้านตันข้าวเปลือก ของปี 2541/42 ร้อยละ 1.13 เป็นผลมาจากผลผลิตข้าวของจีน คาดว่าจะมากกว่าปีที่แล้วถึง 2.72 ล้านตันข้าวเปลือก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก อาทิเช่น จีนบังคลาเทศ ปากีสถาน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ และไทย
ส่วนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2542/43 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯได้คาดว่าผลผลิตจะมี 397.42 ล้านตันข้าวสาร สูงขึ้นจาก 392.96 ล้านตันข้าวสาร ของปี 2541/42 ร้อยละ 1.13 ใช้ในประเทศจะมี 396.68 ล้านตันข้าวสาร การส่งออก 23.09 ล้านตันข้าวสาร ทำให้สต๊อกปลายปีคงเหลือ 59.41 ล้านตันข้าวสาร
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 7.42 เซนต์ (6.08 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 6.95 เซนต์ (5.70 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 7.00 เซนต์ (5.34 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 3.71 เซนต์ (3.04 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 37.26 บาท
ผลผลิตข้าวเปลือกโลก
(ประมาณการเดือนกุมภาพันธ์ 2543)
หน่วย : ล้านตันข้าวเปลือก
ประเทศ ปี 2542/43 ปี 2541/42 ผลต่างร้อยละ
(1) (2) (1)และ(2)
ออสเตรเลีย 1.06 1.39 -23.74
บังคลาเทศ 29.25 28.65 2.09
บราซิล 10.29 11.45 -10.13
พม่า 16.47 16.03 2.74
จีน 201.43 198.71 1.37
อียิปต์ 5.43 4.20 22.65
อินเดีย 126.70 129.01 -2.31
อินโดนีเซีย 50.79 50.79 0.00
ญี่ปุ่น 11.47 11.20 2.41
เกาหลีใต้ 7.09 6.89 2.90
ปากีสถาน 7.20 7.01 2.71
ฟิลิปปินส์ 11.92 10.27 16.07
ไต้หวัน 1.99 1.86 6.99
เวียดนาม 30.46 30.47 -0.03
อียู 2.66 2.59 2.70
สหรัฐฯ 9.55 8.53 11.96
อื่น ๆ 66.66 64.99 2.57
รวม 590.65 584.04 1.13
บัญชีสมดุลข้าวโลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543)
ปี 2542/43 ปี 2541/42 ผลต่างร้อยละ
(1) (2) (1)และ(2)
สต๊อกต้นปี 58.67 54.92 6.83
ผลผลิต 397.42 392.96 1.13
นำเข้า 23.09 25.23 -8.48
ใช้ในประเทศ 396.68 389.21 1.92
ส่งออก 23.09 25.23 -8.48
สต๊อกปลายปี 59.41 58.67 1.26
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 14 - 20 ก.พ. 2543-