1. มาตรการการค้า
1.1 โครงการจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและ ผลไม้เพื่อการส่งออก
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2543 ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออกเพื่อยกระดับ มาตรฐานในการส่งออกสินค้าเกษตรไทยลดขั้นตอน และค่าใช้จ่ายในการส่งออก สร้างเสถียรภาพราคา สินค้าผักและผลไม้ในประเทศ รวมทั้งพัฒนาตลาดกลางผักและผลไม้ไทยให้สามารถเป็นแหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระยะเวลาโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับจากวันที่เริ่มเปิดดำเนินการให้บริการ ใช้งบประมาณปี 2544 จำนวน 27.3 ล้านบาท โดย ภาครัฐจะทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าและออกเอกสารสำคัญเพื่อให้บริการในการส่งออกอย่างครบวงจร ส่วนภาคเอกชนจะทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งออก และเป็น ผู้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จแก่ผู้ส่งออก ผู้ค้า และเกษตรกรในรูปแบบ One Stop Service
1.2 การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่มตามข้อผูกพันภายใต้ องค์การการค้าโลก ปี 2543
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 อนุมัติการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่มตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก ปี 2543 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ในโควตา นอกโควตา
รายการสินค้า ปริมาณ (ตัน) อัตราภาษี (%) อัตราภาษี (%)
นมผงขาดมันเนย 55,600 5 225.6
น้ำนมดิบ 2,322.63 20 43
นมพร้อมดื่ม 26.7 20 87.6
1.3 การผ่อนคลายเงื่อนไขการนำเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัว
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2543 อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ... (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 (กำหนดเครื่องวิทยุคมนาคมให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับ ใบอนุญาตให้มีนำเข้า และค้าเครื่องวิทยุคมนาคม) ยกเว้นการขอรับใบอนุญาตนำเข้า และค้าเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบรวงผึ้ง (CELLULAR) และเครื่องวิทยุติดตามตัว (RADIO PAGING) เฉพาะเครื่องที่มีตราอักษร (brand name) แบบหรือรุ่นที่ได้ผ่านการทดสอบรับรองตัวอย่างจากกรมไปรษณีย์โทรเลขรวมถึงเครื่องลูกข่ายของผู้ให้บริการในประเทศหรือผู้ให้บริการต่างประเทศ
1.4 การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 ให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การนำเข้ากากถั่วเหลือง กรณีการ นำเข้าในโควต้าจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ต้องชำระอากรนำเข้าร้อยละ 5 โดยมีเงื่อนไข ให้ผู้มีสิทธินำเข้าต้องทำสัญญากับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรับซื้อกากถั่วเหลือง ที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศทั้งหมดของโรงงานสกัดน้ำมันพืชในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ส่วนการนำเข้า นอกโควต้าต้องชำระอากรนำเข้าร้อยละ 119
สำหรับกรณีนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO ต้องชำระอากรนำเข้าร้อยละ 6 และ ค่าธรรมเนียมพิเศษ 2,519 บาทต่อตัน (ร่างประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. /2543 (อคล.8.3) เรื่อง ยกเลิกการลดอัตราอากร ลดอัตราอากรศุลกากร ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543)
2. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์การนำเข้า ในโควตาต้องชำระอากรร้อยละ 20 และนำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน 2544 การนำเข้านอกโควตา ไม่จำกัดช่วงเวลานำเข้าแต่ต้องชำระอากรร้อยละ 75.4 กรณีนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO หรือชำระอากร ในอัตรากิโลกรัมละ 2.75 บาท และอากรพิเศษร้อยละ 13.97 (รวมแล้วใกล้เคียงกับร้อยละ 75.4) กรณีนำเข้า จากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO โดยทั้งสองกรณีต้อง ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษอีกในอัตรา 180 บาทต่อตัน (ร่างประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. /2543 เรื่อง ยกเลิกการลดและลดอัตราอากรศุลกากร และร่างประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. /2543 เรื่อง การเรียกเก็บอากรพิเศษผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543)
3. การนำเข้าปลาป่นโปรตีน ร้อยละ 60 ขึ้นไป นำเข้าได้โดยไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้าโดยชำระอากรตามปกติ หรือชำระอากรนำเข้าตามข้อผูกพันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนแล้วแต่กรณี
1.5 การผ่อนผันการเรียกเก็บอัตราค่าภาระของท่าเรือกรุงเทพ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการผ่อนผันการเรียกเก็บอัตราค่าภาระของท่าเรือกรุงเทพในอัตราเดิมออกไปอีก จนกว่าการท่าเรือจะปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าภาระ แล้วเสร็จเพื่อลดปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่จะกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า อันจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก
1.6 การร่วมทุนเพื่อซื้อและขายยางจาก มูลภัณฑ์กันชนขององค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย
วันที่ 27 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วมีมติอนุมัติร่างข้อตกลงร่วมทุนเพื่อซื้อและขายยาง จากมูลภัณฑ์กันชนของ INRO และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปซื้อยางจากสต็อกของ INRO ในประเทศไทย ตามความจำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ของประเทศ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมขั้นปฐมของประเทศมาเลเซีย (Dato s Seri Dr.Lim Keng Yaik) ได้ประชุมพิจารณาเรื่องการระบายยางในมูลภัณฑ์กันชนของ INRO และ เห็นชอบให้มีการตั้งบรรษัทร่วมทุนไทย - มาเลเซีย (Thai - Malaysia Joint Venture : TMIV) เพื่อซื้อยางจาก INRO กรณีการระบายมูลภัณฑ์ยางจาก INRO มีผลกระทบต่อราคายาง
2. มาตรการอื่น ๆ
2.1 การเจรจาสองฝ่ายระหว่างไทยกับจีน ในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2543 คณะ รัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการเจรจาสองฝ่ายระหว่างไทยกับจีนในการเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยให้ ฝ่ายไทยเร่งสรุปผล การเจรจากับจีนโดยเร็ว ในประเด็นต่อไปนี้
1. ผลักดันให้จีนลดอัตราภาษีในโควตาของผลิตภัณฑ์ข้าวลงอีก หรือให้จีนบริหารการจัดสรรโควตาข้าวเมล็ดยาวให้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และจัดสรรโควตาผลิตภัณฑ์ข้าวในอัตราที่เหมาะสม
2. ให้จีนพิจารณาเรื่องจีน re-export น้ำตาลทรายไม่ให้มีปริมาณมากเกินไปจนกระทบการส่งออกของไทย
3. ผลักดันให้จีนลดอัตราภาษีในโควตายางพาราลงอีก
2.2 การดำเนินการการค้าต่างตอบแทน
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ ดำเนินการการค้าต่างตอบแทน ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการแล้วเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2541 มีสาระ สำคัญในการกำหนดหลักปฏิบัติสำหรับการซื้อ หรือการจ้างบริการโดยส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
อนึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มี ข้อสังเกต สรุปได้ดังนี้
1. การออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการค้า ต่างตอบแทน นอกจากจะถือว่าเป็นอุปสรรคทางการค้า รูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของ WTO แล้วยังอาจถูกพิจารณาว่าเป็นการดำเนินการที่ขัดกับ การปฏิบัติเยี่ยงชาติ (National Treatment) ของ GATT ด้วย
2. ประเทศไทยอาจจะถูกประเทศสหรัฐอเมริกาใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าโดยการตัด GSP หรือใช้มาตรา 301 ในการดำเนินการตอบโต้ทางการค้าในรูปแบบอื่นๆ ได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1.1 โครงการจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและ ผลไม้เพื่อการส่งออก
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2543 ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออกเพื่อยกระดับ มาตรฐานในการส่งออกสินค้าเกษตรไทยลดขั้นตอน และค่าใช้จ่ายในการส่งออก สร้างเสถียรภาพราคา สินค้าผักและผลไม้ในประเทศ รวมทั้งพัฒนาตลาดกลางผักและผลไม้ไทยให้สามารถเป็นแหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระยะเวลาโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับจากวันที่เริ่มเปิดดำเนินการให้บริการ ใช้งบประมาณปี 2544 จำนวน 27.3 ล้านบาท โดย ภาครัฐจะทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าและออกเอกสารสำคัญเพื่อให้บริการในการส่งออกอย่างครบวงจร ส่วนภาคเอกชนจะทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งออก และเป็น ผู้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จแก่ผู้ส่งออก ผู้ค้า และเกษตรกรในรูปแบบ One Stop Service
1.2 การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่มตามข้อผูกพันภายใต้ องค์การการค้าโลก ปี 2543
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 อนุมัติการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่มตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก ปี 2543 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ในโควตา นอกโควตา
รายการสินค้า ปริมาณ (ตัน) อัตราภาษี (%) อัตราภาษี (%)
นมผงขาดมันเนย 55,600 5 225.6
น้ำนมดิบ 2,322.63 20 43
นมพร้อมดื่ม 26.7 20 87.6
1.3 การผ่อนคลายเงื่อนไขการนำเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัว
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2543 อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ... (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 (กำหนดเครื่องวิทยุคมนาคมให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับ ใบอนุญาตให้มีนำเข้า และค้าเครื่องวิทยุคมนาคม) ยกเว้นการขอรับใบอนุญาตนำเข้า และค้าเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบรวงผึ้ง (CELLULAR) และเครื่องวิทยุติดตามตัว (RADIO PAGING) เฉพาะเครื่องที่มีตราอักษร (brand name) แบบหรือรุ่นที่ได้ผ่านการทดสอบรับรองตัวอย่างจากกรมไปรษณีย์โทรเลขรวมถึงเครื่องลูกข่ายของผู้ให้บริการในประเทศหรือผู้ให้บริการต่างประเทศ
1.4 การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 ให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การนำเข้ากากถั่วเหลือง กรณีการ นำเข้าในโควต้าจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ต้องชำระอากรนำเข้าร้อยละ 5 โดยมีเงื่อนไข ให้ผู้มีสิทธินำเข้าต้องทำสัญญากับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรับซื้อกากถั่วเหลือง ที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศทั้งหมดของโรงงานสกัดน้ำมันพืชในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ส่วนการนำเข้า นอกโควต้าต้องชำระอากรนำเข้าร้อยละ 119
สำหรับกรณีนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO ต้องชำระอากรนำเข้าร้อยละ 6 และ ค่าธรรมเนียมพิเศษ 2,519 บาทต่อตัน (ร่างประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. /2543 (อคล.8.3) เรื่อง ยกเลิกการลดอัตราอากร ลดอัตราอากรศุลกากร ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543)
2. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์การนำเข้า ในโควตาต้องชำระอากรร้อยละ 20 และนำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน 2544 การนำเข้านอกโควตา ไม่จำกัดช่วงเวลานำเข้าแต่ต้องชำระอากรร้อยละ 75.4 กรณีนำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO หรือชำระอากร ในอัตรากิโลกรัมละ 2.75 บาท และอากรพิเศษร้อยละ 13.97 (รวมแล้วใกล้เคียงกับร้อยละ 75.4) กรณีนำเข้า จากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO โดยทั้งสองกรณีต้อง ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษอีกในอัตรา 180 บาทต่อตัน (ร่างประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. /2543 เรื่อง ยกเลิกการลดและลดอัตราอากรศุลกากร และร่างประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก. /2543 เรื่อง การเรียกเก็บอากรพิเศษผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543)
3. การนำเข้าปลาป่นโปรตีน ร้อยละ 60 ขึ้นไป นำเข้าได้โดยไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้าโดยชำระอากรตามปกติ หรือชำระอากรนำเข้าตามข้อผูกพันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนแล้วแต่กรณี
1.5 การผ่อนผันการเรียกเก็บอัตราค่าภาระของท่าเรือกรุงเทพ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการผ่อนผันการเรียกเก็บอัตราค่าภาระของท่าเรือกรุงเทพในอัตราเดิมออกไปอีก จนกว่าการท่าเรือจะปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าภาระ แล้วเสร็จเพื่อลดปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่จะกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า อันจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก
1.6 การร่วมทุนเพื่อซื้อและขายยางจาก มูลภัณฑ์กันชนขององค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย
วันที่ 27 มิถุนายน 2543 คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วมีมติอนุมัติร่างข้อตกลงร่วมทุนเพื่อซื้อและขายยาง จากมูลภัณฑ์กันชนของ INRO และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปซื้อยางจากสต็อกของ INRO ในประเทศไทย ตามความจำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ของประเทศ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมขั้นปฐมของประเทศมาเลเซีย (Dato s Seri Dr.Lim Keng Yaik) ได้ประชุมพิจารณาเรื่องการระบายยางในมูลภัณฑ์กันชนของ INRO และ เห็นชอบให้มีการตั้งบรรษัทร่วมทุนไทย - มาเลเซีย (Thai - Malaysia Joint Venture : TMIV) เพื่อซื้อยางจาก INRO กรณีการระบายมูลภัณฑ์ยางจาก INRO มีผลกระทบต่อราคายาง
2. มาตรการอื่น ๆ
2.1 การเจรจาสองฝ่ายระหว่างไทยกับจีน ในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2543 คณะ รัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการเจรจาสองฝ่ายระหว่างไทยกับจีนในการเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยให้ ฝ่ายไทยเร่งสรุปผล การเจรจากับจีนโดยเร็ว ในประเด็นต่อไปนี้
1. ผลักดันให้จีนลดอัตราภาษีในโควตาของผลิตภัณฑ์ข้าวลงอีก หรือให้จีนบริหารการจัดสรรโควตาข้าวเมล็ดยาวให้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และจัดสรรโควตาผลิตภัณฑ์ข้าวในอัตราที่เหมาะสม
2. ให้จีนพิจารณาเรื่องจีน re-export น้ำตาลทรายไม่ให้มีปริมาณมากเกินไปจนกระทบการส่งออกของไทย
3. ผลักดันให้จีนลดอัตราภาษีในโควตายางพาราลงอีก
2.2 การดำเนินการการค้าต่างตอบแทน
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ ดำเนินการการค้าต่างตอบแทน ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการแล้วเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2541 มีสาระ สำคัญในการกำหนดหลักปฏิบัติสำหรับการซื้อ หรือการจ้างบริการโดยส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
อนึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มี ข้อสังเกต สรุปได้ดังนี้
1. การออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการค้า ต่างตอบแทน นอกจากจะถือว่าเป็นอุปสรรคทางการค้า รูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการของ WTO แล้วยังอาจถูกพิจารณาว่าเป็นการดำเนินการที่ขัดกับ การปฏิบัติเยี่ยงชาติ (National Treatment) ของ GATT ด้วย
2. ประเทศไทยอาจจะถูกประเทศสหรัฐอเมริกาใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าโดยการตัด GSP หรือใช้มาตรา 301 ในการดำเนินการตอบโต้ทางการค้าในรูปแบบอื่นๆ ได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-