สศอ.ชูดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน เพิ่มฐานข้อมูลสู่ความเชื่อมั่น เริ่ม ต.ค.ดึง 3 กลุ่มอุตฯหลัก ที่มีค่าถ่วงน้ำหนักสูงเข้าคำนวณเข้ม หวังเป็นดัชนีหลักสร้างประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเต็มที่
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน เพื่อให้เป็นดัชนีหลักสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ได้เพิ่มฐานการคำนวณเข้าไปอีก 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก คือ การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน การผลิตเม็ดพลาสติก และการผลิตคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการรวมทั้งผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดัชนีอุตสาหกรรม ได้รับทราบทิศทางของภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,121 โรงงานครอบคลุม 53 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 215 ผลิตภัณฑ์ จากเดิมใช้ 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 203 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 144.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 จากระดับ 138.24 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 71.07 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 69.77
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2548 มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 เกือบทุกตัวชี้วัด โดย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 154.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 จากระดับ 146.77 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 137.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 จากระดับ 133.84 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 161.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.23 จากระดับ 153.61 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 141.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.99 จากระดับ 127.67 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 165.60 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.07 จากระดับ 154.67
ส่วนดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 106.78 ลดลงร้อยละ 1.81 จากระดับ 108.75 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 ดร.อรรชกา กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายแห่งเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อสต๊อกสินค้าไว้ก่อนที่จะปิดปรับปรุงเครื่องจักรตามรอบการบำรุงรักษาเครื่อง อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลดังกล่าวประกอบด้วย การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ทั้งเหล็กทรงกลมและเหล็กทรงแบนมีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมามาก เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่เร่งผลิตเพื่อคงคลังสินค้าไว้ ก่อนปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามรอบปี ส่วนภาวะการจำหน่ายมีทิศทางที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ
การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ มีการผลิตเพิ่มจากเดือนก่อนในสินค้าเส้นด้ายและผ้าทอโพลีเอสเตอร์ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการที่มีในตลาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นการเร่งผลิตของผู้ประกอบการบางรายก่อนปิดปรับปรุงเครื่องจักรตามรอบปี ส่วนการจำหน่ายยังมีการขยายตัวแต่อยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวจากเดือนก่อน เช่นเดียวกันกับการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ (เบียร์) ในเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่มีการผลิตสูงเนื่องจากเข้าสู่เทศกาลการท่องเที่ยวและเป็นการเร่งผลิต เพื่อเตรียมไว้จำหน่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ใกล้เข้ามา จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคมปรับลดลงเล็กน้อย ประกอบด้วย การผลิตยานยนต์ ซึ่งมีภาวะการผลิตลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 2.9 เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายมีการชะลอคำสั่งซื้อ เพื่อรอดูรูปโฉมของรถรุ่นใหม่ของค่ายรถยนต์ที่จะมีการเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ในช่วงสิ้นปี ส่วนภาวะการจำหน่ายยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถกะบะ 1 ตัน ส่วนการจำหน่ายในประเทศชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคยังรอรถรุ่นใหม่ๆที่จะเปิดตัวในงานมอร์เตอร์โชว์เช่นกัน
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ในเดือนตุลาคมมีภาวะการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 5.6 เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันสำเร็จรูปรายใหญ่เริ่มหยุดการผลิตเพื่อการซ่อมบำรุงตามรอบปี ส่วนการจำหน่ายรวมก็มีทิศทางลดลงร้อยละ 4.7 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง โดยการผลิตลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 231.4 ล้านลิตร ส่วนการจำหน่ายลดลง 157.1 ล้านลิตร เช่นเดียวกันกับ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุรวมทั้งสินค้าที่เกี่ยวข้อง มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 4.6 และ 9.7 ตามลำดับ โดยเฉพาะการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดไม่เกิน 21 นิ้ว ซึ่งเป็นไปตามแผนการผลิตของบริษัทแม่ รวมทั้งคำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายที่ลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน เพื่อให้เป็นดัชนีหลักสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ได้เพิ่มฐานการคำนวณเข้าไปอีก 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก คือ การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน การผลิตเม็ดพลาสติก และการผลิตคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการรวมทั้งผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดัชนีอุตสาหกรรม ได้รับทราบทิศทางของภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,121 โรงงานครอบคลุม 53 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 215 ผลิตภัณฑ์ จากเดิมใช้ 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 203 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 144.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 จากระดับ 138.24 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 71.07 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 69.77
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2548 มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 เกือบทุกตัวชี้วัด โดย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 154.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 จากระดับ 146.77 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 137.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 จากระดับ 133.84 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 161.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.23 จากระดับ 153.61 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 141.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.99 จากระดับ 127.67 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 165.60 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.07 จากระดับ 154.67
ส่วนดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 106.78 ลดลงร้อยละ 1.81 จากระดับ 108.75 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 ดร.อรรชกา กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายแห่งเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อสต๊อกสินค้าไว้ก่อนที่จะปิดปรับปรุงเครื่องจักรตามรอบการบำรุงรักษาเครื่อง อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลดังกล่าวประกอบด้วย การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ทั้งเหล็กทรงกลมและเหล็กทรงแบนมีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมามาก เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่เร่งผลิตเพื่อคงคลังสินค้าไว้ ก่อนปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามรอบปี ส่วนภาวะการจำหน่ายมีทิศทางที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ
การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ มีการผลิตเพิ่มจากเดือนก่อนในสินค้าเส้นด้ายและผ้าทอโพลีเอสเตอร์ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการที่มีในตลาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นการเร่งผลิตของผู้ประกอบการบางรายก่อนปิดปรับปรุงเครื่องจักรตามรอบปี ส่วนการจำหน่ายยังมีการขยายตัวแต่อยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวจากเดือนก่อน เช่นเดียวกันกับการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ (เบียร์) ในเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่มีการผลิตสูงเนื่องจากเข้าสู่เทศกาลการท่องเที่ยวและเป็นการเร่งผลิต เพื่อเตรียมไว้จำหน่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ใกล้เข้ามา จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคมปรับลดลงเล็กน้อย ประกอบด้วย การผลิตยานยนต์ ซึ่งมีภาวะการผลิตลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 2.9 เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายมีการชะลอคำสั่งซื้อ เพื่อรอดูรูปโฉมของรถรุ่นใหม่ของค่ายรถยนต์ที่จะมีการเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ในช่วงสิ้นปี ส่วนภาวะการจำหน่ายยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถกะบะ 1 ตัน ส่วนการจำหน่ายในประเทศชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคยังรอรถรุ่นใหม่ๆที่จะเปิดตัวในงานมอร์เตอร์โชว์เช่นกัน
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ในเดือนตุลาคมมีภาวะการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 5.6 เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันสำเร็จรูปรายใหญ่เริ่มหยุดการผลิตเพื่อการซ่อมบำรุงตามรอบปี ส่วนการจำหน่ายรวมก็มีทิศทางลดลงร้อยละ 4.7 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง โดยการผลิตลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 231.4 ล้านลิตร ส่วนการจำหน่ายลดลง 157.1 ล้านลิตร เช่นเดียวกันกับ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุรวมทั้งสินค้าที่เกี่ยวข้อง มีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 4.6 และ 9.7 ตามลำดับ โดยเฉพาะการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดไม่เกิน 21 นิ้ว ซึ่งเป็นไปตามแผนการผลิตของบริษัทแม่ รวมทั้งคำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายที่ลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-