1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องของระบบการเงินอยู่ในระดับสูง ยกเว้นในช่วงสิ้นเดือนที่สภาพคล่องปรับตึงตัวขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมในเดือนพฤษภาคม อยู่ในระดับสูง โดยสภาพคล่องปรับตึงตัวขึ้น ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการ ธปท. และตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนทิศทางอัตรา ดอกเบี้ย ประกอบกับเป็นช่วงชำระภาษีนิติบุคคลประจำปี ซึ่งสถาบันการเงินต้องเตรียมสภาพคล่องสำรองไว้เผื่อการ เบิกถอนของภาคธุรกิจ
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย เคลื่อนไหวอยู่ ในเกณฑ์ต่ำ แต่ได้ปรับสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้าย ตามภาวะ สภาพคล่องที่ลดลง โดย ณ วันที่ 31 พฤษภาคม อัตรา ดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมีอัตราปิดที่ร้อยละ 1.3125 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank อยู่ที่ร้อยละ 2.375 ต่อปี
ทั้งนี้ ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคม อัตราดอกเบี้ย ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมีอัตราปิดที่เฉลี่ยร้อยละ 1.19 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 1.60 ต่อปี
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในตลาด ซื้อคืน แม้ว่าฐานะการลงทุนสุทธิจะลดลงจาก 146 พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนเมษายน เป็น 119 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการ สภาพคล่องสำรองที่เพิ่มขึ้นของระบบในช่วงดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ย ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ปรับลดลง จากการที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือนนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ —0.30 และ 4.575 ต่อปีตามลำดับ เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เงินฝากยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวม สินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ลดลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม เงินฝากมียอดคงค้าง 4,954.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.0 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 317.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4,562.6 พันล้านบาท ลดลง 13.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ภาคธุรกิจเอกชน มีการชำระคืนสินเชื่อ ทั้งนี้ สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ มียอดคงค้าง 4,349.6 พันล้านบาท ลดลง 15.1 พันล้านบาท ขณะที่สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจมียอดคงค้าง 213 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2 พันล้านบาท
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวม ลดลง 516.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.2 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ มียอดคงค้าง 5,125.5 พันล้านบาท ลดลง 14.3 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ณ สิ้นเดือน พฤษภาคม 2544 ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อปี (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ยอดคงค้างของฐานเงินเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณเงินยังคงเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม มียอดคงค้าง 517.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4 พันล้านบาท จากเดือนเมษายน สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงิน เปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะ ธปท. เพิ่มการให้กู้ยืมผ่านตลาด ซื้อคืนพันธบัตร เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบ อนึ่ง ในเดือนพฤษภาคม กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขาย พันธบัตรจำนวน 17.0 พันล้านบาท 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง เนื่องจากภาครัฐมีการเกินดุลในเดือนนี้ จากการทยอยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของภาคเอกชน
ปริมาณเงิน M2A ยังคงปรับเพิ่มขึ้น ตามการ เพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์และประจำของระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,417.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 285 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.6 ต่อปี
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 6,091.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 379 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม
ในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม 2544 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองไม่มีการ เปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ค่อนข้างเบาบางในช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวัน อย่างไรก็ดี ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่มีการ เปลี่ยนแปลงผู้ว่าการ ธปท. และตลาดคาดการณ์ว่าทางการ มีแนวโน้มจะปรับเปลี่ยนทิศทางดอกเบี้ย ทำให้อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้นมาก และนักลงทุนมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 2—7 ปี เพิ่มขึ้น 115-133 basis points ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลระยะอื่นมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 40-99 basis points
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องของระบบการเงินอยู่ในระดับสูง ยกเว้นในช่วงสิ้นเดือนที่สภาพคล่องปรับตึงตัวขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมในเดือนพฤษภาคม อยู่ในระดับสูง โดยสภาพคล่องปรับตึงตัวขึ้น ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการ ธปท. และตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนทิศทางอัตรา ดอกเบี้ย ประกอบกับเป็นช่วงชำระภาษีนิติบุคคลประจำปี ซึ่งสถาบันการเงินต้องเตรียมสภาพคล่องสำรองไว้เผื่อการ เบิกถอนของภาคธุรกิจ
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย เคลื่อนไหวอยู่ ในเกณฑ์ต่ำ แต่ได้ปรับสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้าย ตามภาวะ สภาพคล่องที่ลดลง โดย ณ วันที่ 31 พฤษภาคม อัตรา ดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมีอัตราปิดที่ร้อยละ 1.3125 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank อยู่ที่ร้อยละ 2.375 ต่อปี
ทั้งนี้ ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคม อัตราดอกเบี้ย ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมีอัตราปิดที่เฉลี่ยร้อยละ 1.19 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 1.60 ต่อปี
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในตลาด ซื้อคืน แม้ว่าฐานะการลงทุนสุทธิจะลดลงจาก 146 พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนเมษายน เป็น 119 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการ สภาพคล่องสำรองที่เพิ่มขึ้นของระบบในช่วงดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ย ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ปรับลดลง จากการที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือนนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ —0.30 และ 4.575 ต่อปีตามลำดับ เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เงินฝากยังคงเพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวม สินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ลดลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม เงินฝากมียอดคงค้าง 4,954.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.0 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 317.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4,562.6 พันล้านบาท ลดลง 13.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ภาคธุรกิจเอกชน มีการชำระคืนสินเชื่อ ทั้งนี้ สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ มียอดคงค้าง 4,349.6 พันล้านบาท ลดลง 15.1 พันล้านบาท ขณะที่สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจมียอดคงค้าง 213 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2 พันล้านบาท
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวม ลดลง 516.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.2 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ มียอดคงค้าง 5,125.5 พันล้านบาท ลดลง 14.3 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ณ สิ้นเดือน พฤษภาคม 2544 ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อปี (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ยอดคงค้างของฐานเงินเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณเงินยังคงเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม มียอดคงค้าง 517.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4 พันล้านบาท จากเดือนเมษายน สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงิน เปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะ ธปท. เพิ่มการให้กู้ยืมผ่านตลาด ซื้อคืนพันธบัตร เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบ อนึ่ง ในเดือนพฤษภาคม กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขาย พันธบัตรจำนวน 17.0 พันล้านบาท 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง เนื่องจากภาครัฐมีการเกินดุลในเดือนนี้ จากการทยอยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของภาคเอกชน
ปริมาณเงิน M2A ยังคงปรับเพิ่มขึ้น ตามการ เพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์และประจำของระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,417.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 285 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.6 ต่อปี
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 6,091.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 379 พันล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม
ในช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม 2544 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองไม่มีการ เปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ค่อนข้างเบาบางในช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวัน อย่างไรก็ดี ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนที่มีการ เปลี่ยนแปลงผู้ว่าการ ธปท. และตลาดคาดการณ์ว่าทางการ มีแนวโน้มจะปรับเปลี่ยนทิศทางดอกเบี้ย ทำให้อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้นมาก และนักลงทุนมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 2—7 ปี เพิ่มขึ้น 115-133 basis points ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลระยะอื่นมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 40-99 basis points
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-