มาตรการ ก.ล.ต.
1. การปรับโครงสร้างของบริษัท จดทะเบียนที่เป็น Holding Company และมีบริษัทในเครือหลายแห่งประกอบธุรกิจหลายประเภทที่ไม่อยู่ในตลาดฯ หรือกลุ่มบริษัทหนึ่งที่มีบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในตลาดฯ และบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้น มักมีการทำ Swap หุ้นกัน ดังนั้น เพื่อความชัดเจน ก.ล.ต. จึงออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อ หลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับ โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ สาระสำคัญคือกำหนดให้ (1) อนุญาตบริษัทจดทะเบียน และ Holding Company ให้เสนอขายหลักทรัพย์ โดยต้องได้รับมติผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้น และ หลักทรัพย์ใหม่กับหลักทรัพย์เดิม ที่นำมาแลกกันต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกัน และ (2) ต้องมีการเปิดเผยข้อมูล และการทำการ Tender Offer ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2543 และ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มกราคม 2543 เป็นต้น
2. การแก้ไขประกาศเรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ หลักทรัพย์ เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC: Thai Security Finance Corporation) ทางการได้อนุญาตให้ TSFC สามารถให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนรายย่อย (Margin Loan) ได้ จากเดิมให้กู้ยืมเงินได้เฉพาะบริษัทหลักทรัพย์เท่านั้นและยังได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของ TSFC ให้สามารถประกอบกิจการยืมและให้กู้ยืมหลักทรัพย์ (SBL : Securities Borrowing and Lending) ได้ ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ วันที่ 4 มกราคม 2543 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มกราคม 2543 เป็นต้นไป
3. การยกเว้นการบังคับใช้อัตราส่วน การลงทุนของกองทุนที่จัดตั้งตามมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อ 10 สิงหาคม 2542 สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ และทรัพย์สินประเภทตราสารทุน
ของกระทรวงการคลัง ธปท. และกองทุนฟื้นฟูฯ ตราสารหนี้บางประเภทและหน่วยลงทุน ซึ่งปกติ จะติดกฎเกณฑ์ว่าต้องมีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และ ผ่อนผันให้กองทุนดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีเงินฝาก ในสถาบันการเงินไม่เกินร้อยละ 45 ของมูลค่า สินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นไป
4. การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ที่เสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัดที่มีจำนวนเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 43 เป็นต้นไป ก.ล.ต.กำหนดให้หุ้นกู้ที่เสนอขายแก่บุคคลใน วงจำกัด (หุ้นกู้ PP) ต้องได้รับการจัดอันดับความ น่าเชื่อถือตลอดอายุหุ้นกู้ ยกเว้นการเสนอขายไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือ การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 10 ราย หรือการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายหุ้นกู้อันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ รวมทั้งกรณี นิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัดภายในประเทศด้วย
5. ก.ล.ต. รับโอนงานกำกับดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 ซึ่งทำให้ก.ล.ต. ต้องแก้ไขประกาศ 4 ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ (1) นิยามของคำว่า ลูกค้าของกองทุนส่วนบุคคล ให้รวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย (2) ก.ล.ต. ให้บริษัทจัดการสามารถ ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนและ ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ นอกจากนี้ ก.ล.ต. ห้ามบริษัทจัดการให้สมาชิกของกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (3) เพิ่มประเภทผู้รับฝากทรัพย์สินนอกเหนือจาก ธ.พ. บง. บงล. ยังมีบริษัทประกันชีวิต บลจ. สถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายจัดตั้ง และ (4) ผู้จัดการกองทุนสามารถยื่นขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือ ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือทั้ง 2 ประเภท ได้ในเวลาเดียวกัน ประกาศเมื่อ 4 เม.ย. และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 เม.ย. นี้
6. การแก้ไขหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund : TTF) โดยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมสามารถถือหุ้นเพิ่มทุนได้โดยตรงเพื่อความสะดวกในการใช้ TTF เป็นเครื่องมือเพื่อการระดมทุนโดยการออกหุ้นทุน ขายให้แก่ผู้ลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ 12 พ.ค. และมีผลบังคับใช้ 16 มิ.ย นี้เป็นต้นไป
7. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของบริษัทที่มีขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) โดยเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ Good Corporate Governance และระบบการควบคุมภายในที่ดีของผู้อนุญาต สาระสำคัญคือกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในและการจัดเก็บเอกสารที่สำคัญ อาทิ ระบบการควบคุมภายในระดับผู้บริหาร การมีคณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการอิสระ และการจัดเก็บเอกสารสำคัญของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย สามารถตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาอันควรเมื่อได้รับการร้องขอ เป็นต้น ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2543
8. การแก้ไขหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ จะต้องเป็นบริษัทที่ออกจะต้องเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพต้องแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าในตลาดตราสารหนี้ และยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุน ตราสารชนิดใหม่ๆ ของภาคเอกชน ทั้งนี้ ประกาศและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9 มิ.ย. 43 นี้เป็นต้นไป
9. การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ สาระสำคัญ คือ (1) คุณสมบัติผู้ออกกรณี Private Placement ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งตามกฎหมายไทยและมีมติของผู้ถือหุ้นให้ออก ซึ่งสามารถใช้หุ้นหรือดัชนี หรือ Set 50 Index เป็นตัวอ้างอิงได้ แต่ต้องเสนอ ก.ล.ต. ก่อน ส่วนกรณี Public Offering ต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับ PP
และผู้บริหารไม่มีลักษณะต้องห้าม บริษัทที่ออก Derivative Warrant (D.W.) ต้องไม่มีประวัติขาด ความรับผิดชอบ (2) มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท รวมทั้ง (3) ในวันเสนอ D.W. ต้อง ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 4 อันดับสูงสุด นอกจากนี้ (4) กรณี D.W. ออกเพื่อการฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้ จะต้องมีลักษณะคล้าย D.W. ที่ออกโดยกระทรวงการคลังภายใต้โครงการ 14 สิงหาคม 2541 ผู้ออกจะต้องเป็นสถาบันการเงินไทยหรือต่างประเทศหรือบริษัทเฉพาะกิจ (SPV) และ มีหลักเกณฑ์การอนุญาตผ่อนปรนกว่ากรณี D.W. ทั่วไป ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ 11 มิ.ย. 2543 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 มิ.ย. 2543 นี้เป็นต้นไป
10. มาตรการเร่งด่วนสนับสนุนตลาดทุนไทย คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) แถลงเมื่อ 18 ก.ค. 2543 ประกอบด้วยมาตรการสนับสนุนตลาดทุนไทย 3 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มอุปทาน การเสริมสร้างอุปสงค์ และ การปรับปรุงโครงสร้างตลาด สาระสำคัญมีดังนี้
1) การเพิ่มอุปทาน (Supply) ที่สำคัญคือ
1.1 การผลักดันให้มีการกระจายหุ้น ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป
1.2 การจูงใจให้บริษัทที่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
1.3 การสนับสนุนให้บริษัทนอก ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
1.4 เพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนชาวไทยสามารถลงทุนในตราสารทางการเงินที่ทำให้ได้รับ ผลตอบแทนเช่นเดียวกับนักลงทุนในต่างประเทศ (Exchange Traded Fund) ซึ่งตราสารนี้จะถูกกำหนดเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมาย และนำมาจดทะเบียน ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ซึ่งจะส่งผลในการ เพิ่มปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
1.5 การเร่งให้มีสินค้าประเภทตราสารอนุพันธ์
2 ) การเสริมสร้างอุปสงค์ (Demand) ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 การเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนชาว ต่างประเทศที่ไม่สามารถลงทุนในกองทุนรวม Thai Trust Fund สามารถลงทุนในตราสารทางการเงินอื่นได้ด้วยการออก Non- Voting Depository Receipt (NVDR) ซึ่งเป็นรูปบริษัทเฉพาะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งขึ้น เพื่อไปซื้อขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้เมื่อชาวต่างประเทศมีการซื้อหรือขายคืน ซึ่งจะได้ผลตอบแทนทางการเงินเพียงแต่ไม่มีสิทธิในการออกเสียงเท่านั้น
2.2 การสนับสนุนให้มี Internet Trading ในวงกว้างเพื่อลดต้นทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์
2.3 การสนับสนุนให้มีการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุโดยการใช้กองทุนรวมที่มี ข้อกำหนดพิเศษเป็นเครื่องมือ (Retirement Mutual Fund : RMF)
3) การปรับปรุงโครงสร้างตลาด (market) ที่สำคัญมีดังนี้
3.1 การปรับโครงสร้างของตลาด หลักทรัพย์ฯ ให้เป็นบริษัทเอกชน
3.2 การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
3.3 การพิจารณาลดอัตราค่าธรรมเนียม ในการเป็นบริษัทจดทะเบียน
11. แผนพัฒนาตลาดทุนไทยปี 2543-2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบจัดทำแนวทางการพัฒนาตลาดทุนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเป็น 6 ด้านได้แก่
1) ตลาดตราสารทุนจะพัฒนาสินค้าให้เป็น ที่น่าสนใจของผู้ลงทุนส่งเสริมการขยายฐานผู้ลงทุนและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความคล่องตัวและมีความสามารถในเชิงแข่งขัน
2) ตลาดตราสารหนี้จะพัฒนาตลาดแรก ให้มีสินค้าประเภทใหม่ๆ และให้มีคุณภาพสนับสนุน การลงทุนทั้งจากผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนทั่วไป และพัฒนาตลาดรองโดยวางโครงสร้างพื้นฐานให้มี ความสมบูรณ์
3) ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะผลักดันกฎหมายให้มีผลใช้บังคับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ จำเป็นและเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
4) ธุรกิจหลักทรัพย์จะวางโครงสร้าง การประกอบธุรกิจให้มีความคล่องตัวและเหมาะสมสนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการให้บริการ และปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่นและเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ
5) ธุรกิจจัดการลงทุนจะปรับปรุง โครงสร้างและรูปแบบการประกอบธุรกิจให้มีความ มั่นคง ความคล่องตัว และมีการจัดการที่ดี รวมทั้งสามารถกำกับดูแลให้ผู้บริหารทรัพย์สินของประชาชนแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมให้มีการระดมเงินออมผ่านเครื่องมือ ที่มีประสิทธิภาพและสร้างระบบคุ้มครองประโยชน์ ของผู้ลงทุน
6) ผู้ลงทุนจะให้ความคุ้มครองและความรู้แก่ผู้ลงทุนจัดให้มีข้อมูลสำหรับผู้ลงทุนอย่างเพียงพอเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน
12. มาตรการอื่นๆ ของ ก.ล.ต.
1) การปรับปรุงเกณฑ์การทำธุรกรรมและการให้บริการด้านอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (OTC Derivatives) ของบริษัทหลักทรัพย์ ให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวยิ่งขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการทำธุรกรรมด้านอนุพันธ์ที่จะมีขึ้นในอนาคต โดยการทำอนุพันธ์จะต้อง ทำเป็นเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ที่มีคู่สัญญาเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือถ้าบริษัทหลักทรัพย์ทำเพื่อฐานะอนุพันธ์ของบริษัทฯ เอง บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้อง มีคุณสมบัติตามที่ ก.ล.ต. กำหนดและต้องได้รับอนุญาต จาก ก.ล.ต.ด้วย นอกจากนั้น ก.ล.ต.ยังกำหนดให้สินค้าอ้างอิงเป็นตราสารทางการเงิน จำกัดประเภทผู้ลงทุนเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 5 กันยายน 43 เป็นต้นไป
2) การปรับปรุงการมีสำนักงานสาขา ของบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งการจัดตั้งสำนักงานสาขา เต็มรูปแบบ (Full Branch) และสำนักงานสาขาออนไลน์ (Cyber Branch) โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. หากบริษัทหลักทรัพย์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งในด้านฐานะทางการเงินประวัติการดำเนินธุรกิจ สำหรับสำนักงานสาขาออนไลน์สามารถให้บริการได้เพียงให้ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านเครื่องมือสื่อสาร On Line แต่จะต้องไม่ให้บริการแนะนำในด้านการลงทุนและไม่มีการให้บริการชำระราคาและส่งมอบ หลักทรัพย์ใดๆ นอกจากนี้ สาขาดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ อาทิ ต้องดำรงอัตราส่วน Net Capital Rule (NCR) ตามเกณฑ์ รวมทั้งจะต้องมี ผู้ถือหุ้นล่าสุดเป็นบวก และอื่นๆ ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 5 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
3) ปรับปรุงเกณฑ์การให้กู้ยืมเงิน เพื่อซื้อ หลักทรัพย์ฯ โดยกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ฯ จะให้กู้ยืมได้เฉพาะสำหรับการซื้อหลักทรัพย์จดทะเบียน ที่ไม่ใช่ประเภทใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และ ออปชั่น โดยให้บริษัทหลักทรัพย์กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 หรือตามอัตราที่ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดแล้วแต่อัตราใด จะสูงกว่า ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
4) ปรับปรุงข้อกำหนดสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์ ที่กำหนด โดยรวมถึงกรณีบริษัทหลักทรัพย์มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่ำกว่าศูนย์ (NCR ติดลบ) ติดต่อกันเกิน 5 วันทำการ และให้รวมเงินลงทุนของบริษัท หลักทรัพย์ฯ หรือการดำเนินการตามภาระผูกพันที่ ค้างอยู่ในระหว่างที่ถูกระงับการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
5) การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ที่จะขอรับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและการกำหนด
อัตราค่าธรรมเนียมโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เฉพาะกองทุนส่วนบุคคลต้องมีทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท แต่ถ้าบริษัทหลักทรัพย์มีการประกอบธุรกิจ การเก็บรักษาทรัพย์สินหรือลงทุนใน หลักทรัพย์เพื่อบริษัท หรือรับผิดชอบการชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมให้คิดในอัตราร้อยละ 0.0045 ของค่าเฉลี่ยของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 กันยายน 2543 เป็นต้นไป นอกจากนี้ บริษัทจัดการ (ทั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด) กองทุน ส่วนบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องมีเงินกองทุนหมุนเวียน ที่เพียงพอต่อประมาณการรายจ่ายในการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการในระยะเวลา 12 เดือน และให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำรงหลักประกัน หรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกิน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันให้มีมูลค่าเพียงพอตามที่ ก.ล.ต.กำหนด ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
6) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ เป็นนายหน้าซื้อขายและการค้าหลักทรัพย์ฯ อันเป็น ตราสารแห่งหนี้ และมิใช่ตราสารแห่งหนี้ โดยกำหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีระบบควบคุมภายในที่ดี ควบคุมระบบบริหารความเสี่ยง และระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์สำหรับการติดต่อให้บริการลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์ต้องรู้ข้อมูลของลูกค้าอย่างเพียงพอเพื่อสามารถให้บริการได้อย่างเหมาะสม มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกค้า และเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าเป็นอย่างดี รวมทั้งบุคคลากรที่ ต้องติดต่อกับลูกค้าต้องมาขึ้นทะเบียนกับ ก.ล.ต. ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2543 และ 1 มกราคม 2544 ตามลำดับ เป็นต้นไป
13. การแก้ไขเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล ประจำปีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ประเด็น เกี่ยวกับกรรมการอิสระ ระยะเวลาห้ามขายหุ้น (Silent Period) การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อ Internet การจัดทำข้อมูลประจำปี และการจัดทำงบการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการโอนงานด้านกำกับดูแลการ เปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนตาม MOU ที่ ก.ล.ต.ได้จัดทำร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้ง ให้แก้ไขนิยามผู้บริหารที่มีหน้าที่ต้องรายงานการถือครอง หลักทรัพย์ด้วย สาระดังกล่าวอยู่ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้แก่ (1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย.43 (2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะ การเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออก หลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ธ.ค. 43 และ (3) การจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 44
14. การอนุญาตให้ควบและรวมกองทุนรวม และการเปิดให้บริการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยอนุญาตให้ กองทุนรวมที่มีลักษณะคล้ายกันสามารถควบหรือ รวมกันได้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการลงทุนของกองทุนรวม และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขอบเขตในการให้บริการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับแนวทางกำกับดูแลการทำธุรกรรมด้านหลักทรัพย์ ผ่านสื่อ On-Line สำหรับการให้บริการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ขยายขอบเขตการให้บริการ ให้ครอบคลุมถึง การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทาง Internet เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine) และบริการทางโทรศัพท์ (Telebanking) ซึ่งจะต้องออกประกาศ 3 ฉบับคือ (1) การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม (2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชำระบัญชีของกองทุนรวม เนื่องจากการ ควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม และ (3) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป
15. การปรับปรุงเกณฑ์การจัดการ กองทุนส่วนบุคคล โดยอนุญาตให้บริษัทจัดการ กองทุนส่วนบุคคล (บริษัทจัดการ) สามารถมอบการจัดการช่วง หรือการร่วมจัดการในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้กับบุคคลอื่น เพื่อให้สามารถบริการแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนของลูกค้า ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย 43 เป็นต้นไป
มาตรการตลาดหลักทรัพย์
1. ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นชอบให้นำระบบการซื้อขายผ่าน INTERNET โดยจะบริการให้เฉพาะบริษัทสมาชิกก่อน โดยจะเน้นความปลอดภัยของข้อมูลของหลักทรัพย์ ขั้นตอนการดำเนินงานจะมี 2 ชั้นคือชั้นที่ 1 เป็นการปฏิบัติระหว่างตลาดฯ กับบริษัทสมาชิก และชั้นที่ 2 เป็นการปฏิบัติระหว่างบริษัทสมาชิกกับลูกค้า ทั้งนี้ ประกาศและมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2543 เป็นต้นไป
2. ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นชอบให้ปรับอัตรา ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน ซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2543 มีอัตรา ขั้นต่ำที่ร้อยละ 0.25 สำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม ยกเว้นลูกค้าเป็น Sub-Broker ที่ได้มีการเปิดเสรีอัตราค่าธรรมเนียมฯ ทั้งนี้ ให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2543 นอกจากนี้ตลาดฯ จะเปิดเสรีอัตราค่าธรรมเนียมฯ ทุกประเภท ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2545 เป็นต้นไป
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เลื่อนเวลาปิด ทำการเป็นเวลา 17.00 น ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ ยังคงเป็นเวลาปิดปกติ (16.30 น.) ซึ่งหลังจากเวลาปิดการซื้อขายอีกอย่างน้อย 5 นาที ตลาดฯ จะให้โอกาสสมาชิกส่งคำสั่งซื้อเพิ่มเติม หลังจากนั้นจึงใช้วิธี Call Market คำนวณราคาปิดซึ่งใช้หลักเกณฑ์คือ (1) เป็นราคาปิดที่ทำให้เกิดการซื้อขายได้ปริมาณมากที่สุด (2) ถ้ามีราคาที่ทำให้เกิดปริมาณซื้อขายมากที่สุด มากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาใกล้เคียงกับราคาซื้อขาย ครั้งสุดท้ายก่อนหน้านั้นมากที่สุด และ (3) ถ้ามีราคา ที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายก่อนหน้านั้นมากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่สูงกว่าเป็นราคาที่ใช้คำนวณ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2543 เป็นต้นไป
4. ตลาดหลักทรัพย์มีนโยบายที่จะเพิ่มความหลากหลายของสินค้าในตลาด MAI ได้ขยายเงื่อนไขการรับบริษัทเข้ามาจดทะเบียนให้มีความ ผ่อนคลายขึ้น โดย (1) บริษัทอาจจะมีกำไรสุทธิ ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ก่อนเข้าตลาด 1 ปี หรือมี ยอดขายไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท ในปีหลังสุด ก่อนเข้าตลาดฯ และ หรือมี Market Capitalization ไม่น้อยกว่า 1.5 พันล้านบาท (2) มีส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท และ (3) ราคาตรา (Par Value) เดิมกำหนดราคาไว้ไม่ต่ำกว่า 10 บาท เป็นไม่ต่ำกว่า 5 บาท ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 มิ.ย.2543 เป็นต้นไป
5. มาตรการอื่นๆ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1) การจัดตั้งบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิ ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depository Receipt : NVDR) โดยกำหนดให้ NVDR เป็นหลักทรัพย์ และสามารถออก NVDR ที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์จดทะเบียนใดๆ ก็ได้ ซึ่งจะต้องออกโดยบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 การเสนอขาย NVDR จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. การออก NVDR นี้เป็นมาตรการ เสริมสร้างอุปสงค์ที่จะแก้ไขอุปสรรคกรณีการลงทุน ของผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศให้สามารถลงทุน ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว (Thai Trust Fund: TTF) ได้
2) การจัดตั้งโครงการประมูลทางเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และระบบ Market Maker ให้แก่สมาชิกและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นจะทำการประชาพิจารณ์ในกลุ่มสมาชิกและบริษัทจดทะเบียน ซึ่งโครงการนี้ จะเริ่มในปี 2544
3) การอนุญาตให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกอบธุรกิจอื่น โดยเฉพาะบริษัทย่อยเพื่อให้บริการและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการ ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ internet ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเสริมสร้างอุปสงค์ที่สนับสนุนให้มี internet trading เพื่อลดต้นทุนในการซื้อขาย หลักทรัพย์
6. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศเปลี่ยนวิธีคำนวณ Market Capitalization โดยตัดหน่วยลงทุน (Unit Trusts) ออกจากการคำนวณเช่นเดียวกันกับ Derivative Warrants ทั้งนี้ เนื่องจากการนำหน่วย ลงทุน (Unit Trusts) มาร่วมคำนวณจะทำให้เกิด การนับซ้ำ ผลของการปรับวิธีการคำนวณดังกล่าว จะทำให้การคำนวณ Market Capitalization ของไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล และจะมีมูลค่าลดลง เล็กน้อยประมาณร้อยละ 1 ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย 43 เป็นต้นไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การปรับโครงสร้างของบริษัท จดทะเบียนที่เป็น Holding Company และมีบริษัทในเครือหลายแห่งประกอบธุรกิจหลายประเภทที่ไม่อยู่ในตลาดฯ หรือกลุ่มบริษัทหนึ่งที่มีบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในตลาดฯ และบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้น มักมีการทำ Swap หุ้นกัน ดังนั้น เพื่อความชัดเจน ก.ล.ต. จึงออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขาย หลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทำคำเสนอซื้อ หลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับ โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ สาระสำคัญคือกำหนดให้ (1) อนุญาตบริษัทจดทะเบียน และ Holding Company ให้เสนอขายหลักทรัพย์ โดยต้องได้รับมติผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้น และ หลักทรัพย์ใหม่กับหลักทรัพย์เดิม ที่นำมาแลกกันต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกัน และ (2) ต้องมีการเปิดเผยข้อมูล และการทำการ Tender Offer ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2543 และ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มกราคม 2543 เป็นต้น
2. การแก้ไขประกาศเรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจ หลักทรัพย์ เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC: Thai Security Finance Corporation) ทางการได้อนุญาตให้ TSFC สามารถให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนรายย่อย (Margin Loan) ได้ จากเดิมให้กู้ยืมเงินได้เฉพาะบริษัทหลักทรัพย์เท่านั้นและยังได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของ TSFC ให้สามารถประกอบกิจการยืมและให้กู้ยืมหลักทรัพย์ (SBL : Securities Borrowing and Lending) ได้ ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ วันที่ 4 มกราคม 2543 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มกราคม 2543 เป็นต้นไป
3. การยกเว้นการบังคับใช้อัตราส่วน การลงทุนของกองทุนที่จัดตั้งตามมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อ 10 สิงหาคม 2542 สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ และทรัพย์สินประเภทตราสารทุน
ของกระทรวงการคลัง ธปท. และกองทุนฟื้นฟูฯ ตราสารหนี้บางประเภทและหน่วยลงทุน ซึ่งปกติ จะติดกฎเกณฑ์ว่าต้องมีมูลค่ารวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และ ผ่อนผันให้กองทุนดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีเงินฝาก ในสถาบันการเงินไม่เกินร้อยละ 45 ของมูลค่า สินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นไป
4. การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ ที่เสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัดที่มีจำนวนเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 43 เป็นต้นไป ก.ล.ต.กำหนดให้หุ้นกู้ที่เสนอขายแก่บุคคลใน วงจำกัด (หุ้นกู้ PP) ต้องได้รับการจัดอันดับความ น่าเชื่อถือตลอดอายุหุ้นกู้ ยกเว้นการเสนอขายไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือ การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ ต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 10 ราย หรือการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายหุ้นกู้อันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ รวมทั้งกรณี นิติบุคคลเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัดภายในประเทศด้วย
5. ก.ล.ต. รับโอนงานกำกับดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 ซึ่งทำให้ก.ล.ต. ต้องแก้ไขประกาศ 4 ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ (1) นิยามของคำว่า ลูกค้าของกองทุนส่วนบุคคล ให้รวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย (2) ก.ล.ต. ให้บริษัทจัดการสามารถ ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนและ ธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ได้ นอกจากนี้ ก.ล.ต. ห้ามบริษัทจัดการให้สมาชิกของกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพกู้ยืมเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (3) เพิ่มประเภทผู้รับฝากทรัพย์สินนอกเหนือจาก ธ.พ. บง. บงล. ยังมีบริษัทประกันชีวิต บลจ. สถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายจัดตั้ง และ (4) ผู้จัดการกองทุนสามารถยื่นขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนรวมหรือ ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือทั้ง 2 ประเภท ได้ในเวลาเดียวกัน ประกาศเมื่อ 4 เม.ย. และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 เม.ย. นี้
6. การแก้ไขหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund : TTF) โดยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมสามารถถือหุ้นเพิ่มทุนได้โดยตรงเพื่อความสะดวกในการใช้ TTF เป็นเครื่องมือเพื่อการระดมทุนโดยการออกหุ้นทุน ขายให้แก่ผู้ลงทุนต่างประเทศ ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ 12 พ.ค. และมีผลบังคับใช้ 16 มิ.ย นี้เป็นต้นไป
7. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของบริษัทที่มีขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) โดยเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ Good Corporate Governance และระบบการควบคุมภายในที่ดีของผู้อนุญาต สาระสำคัญคือกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในและการจัดเก็บเอกสารที่สำคัญ อาทิ ระบบการควบคุมภายในระดับผู้บริหาร การมีคณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการอิสระ และการจัดเก็บเอกสารสำคัญของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย สามารถตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาอันควรเมื่อได้รับการร้องขอ เป็นต้น ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2543
8. การแก้ไขหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ จะต้องเป็นบริษัทที่ออกจะต้องเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพต้องแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าในตลาดตราสารหนี้ และยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุน ตราสารชนิดใหม่ๆ ของภาคเอกชน ทั้งนี้ ประกาศและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9 มิ.ย. 43 นี้เป็นต้นไป
9. การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ สาระสำคัญ คือ (1) คุณสมบัติผู้ออกกรณี Private Placement ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งตามกฎหมายไทยและมีมติของผู้ถือหุ้นให้ออก ซึ่งสามารถใช้หุ้นหรือดัชนี หรือ Set 50 Index เป็นตัวอ้างอิงได้ แต่ต้องเสนอ ก.ล.ต. ก่อน ส่วนกรณี Public Offering ต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับ PP
และผู้บริหารไม่มีลักษณะต้องห้าม บริษัทที่ออก Derivative Warrant (D.W.) ต้องไม่มีประวัติขาด ความรับผิดชอบ (2) มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท รวมทั้ง (3) ในวันเสนอ D.W. ต้อง ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 4 อันดับสูงสุด นอกจากนี้ (4) กรณี D.W. ออกเพื่อการฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้ จะต้องมีลักษณะคล้าย D.W. ที่ออกโดยกระทรวงการคลังภายใต้โครงการ 14 สิงหาคม 2541 ผู้ออกจะต้องเป็นสถาบันการเงินไทยหรือต่างประเทศหรือบริษัทเฉพาะกิจ (SPV) และ มีหลักเกณฑ์การอนุญาตผ่อนปรนกว่ากรณี D.W. ทั่วไป ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ 11 มิ.ย. 2543 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 มิ.ย. 2543 นี้เป็นต้นไป
10. มาตรการเร่งด่วนสนับสนุนตลาดทุนไทย คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ ( ก.ล.ต.) แถลงเมื่อ 18 ก.ค. 2543 ประกอบด้วยมาตรการสนับสนุนตลาดทุนไทย 3 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มอุปทาน การเสริมสร้างอุปสงค์ และ การปรับปรุงโครงสร้างตลาด สาระสำคัญมีดังนี้
1) การเพิ่มอุปทาน (Supply) ที่สำคัญคือ
1.1 การผลักดันให้มีการกระจายหุ้น ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป
1.2 การจูงใจให้บริษัทที่ได้รับการ ส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
1.3 การสนับสนุนให้บริษัทนอก ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
1.4 เพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนชาวไทยสามารถลงทุนในตราสารทางการเงินที่ทำให้ได้รับ ผลตอบแทนเช่นเดียวกับนักลงทุนในต่างประเทศ (Exchange Traded Fund) ซึ่งตราสารนี้จะถูกกำหนดเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมาย และนำมาจดทะเบียน ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ซึ่งจะส่งผลในการ เพิ่มปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
1.5 การเร่งให้มีสินค้าประเภทตราสารอนุพันธ์
2 ) การเสริมสร้างอุปสงค์ (Demand) ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 การเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนชาว ต่างประเทศที่ไม่สามารถลงทุนในกองทุนรวม Thai Trust Fund สามารถลงทุนในตราสารทางการเงินอื่นได้ด้วยการออก Non- Voting Depository Receipt (NVDR) ซึ่งเป็นรูปบริษัทเฉพาะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งขึ้น เพื่อไปซื้อขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้เมื่อชาวต่างประเทศมีการซื้อหรือขายคืน ซึ่งจะได้ผลตอบแทนทางการเงินเพียงแต่ไม่มีสิทธิในการออกเสียงเท่านั้น
2.2 การสนับสนุนให้มี Internet Trading ในวงกว้างเพื่อลดต้นทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์
2.3 การสนับสนุนให้มีการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุโดยการใช้กองทุนรวมที่มี ข้อกำหนดพิเศษเป็นเครื่องมือ (Retirement Mutual Fund : RMF)
3) การปรับปรุงโครงสร้างตลาด (market) ที่สำคัญมีดังนี้
3.1 การปรับโครงสร้างของตลาด หลักทรัพย์ฯ ให้เป็นบริษัทเอกชน
3.2 การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
3.3 การพิจารณาลดอัตราค่าธรรมเนียม ในการเป็นบริษัทจดทะเบียน
11. แผนพัฒนาตลาดทุนไทยปี 2543-2545 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบจัดทำแนวทางการพัฒนาตลาดทุนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเป็น 6 ด้านได้แก่
1) ตลาดตราสารทุนจะพัฒนาสินค้าให้เป็น ที่น่าสนใจของผู้ลงทุนส่งเสริมการขยายฐานผู้ลงทุนและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความคล่องตัวและมีความสามารถในเชิงแข่งขัน
2) ตลาดตราสารหนี้จะพัฒนาตลาดแรก ให้มีสินค้าประเภทใหม่ๆ และให้มีคุณภาพสนับสนุน การลงทุนทั้งจากผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนทั่วไป และพัฒนาตลาดรองโดยวางโครงสร้างพื้นฐานให้มี ความสมบูรณ์
3) ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะผลักดันกฎหมายให้มีผลใช้บังคับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ จำเป็นและเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
4) ธุรกิจหลักทรัพย์จะวางโครงสร้าง การประกอบธุรกิจให้มีความคล่องตัวและเหมาะสมสนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการให้บริการ และปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่นและเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ
5) ธุรกิจจัดการลงทุนจะปรับปรุง โครงสร้างและรูปแบบการประกอบธุรกิจให้มีความ มั่นคง ความคล่องตัว และมีการจัดการที่ดี รวมทั้งสามารถกำกับดูแลให้ผู้บริหารทรัพย์สินของประชาชนแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมให้มีการระดมเงินออมผ่านเครื่องมือ ที่มีประสิทธิภาพและสร้างระบบคุ้มครองประโยชน์ ของผู้ลงทุน
6) ผู้ลงทุนจะให้ความคุ้มครองและความรู้แก่ผู้ลงทุนจัดให้มีข้อมูลสำหรับผู้ลงทุนอย่างเพียงพอเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน
12. มาตรการอื่นๆ ของ ก.ล.ต.
1) การปรับปรุงเกณฑ์การทำธุรกรรมและการให้บริการด้านอนุพันธ์นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (OTC Derivatives) ของบริษัทหลักทรัพย์ ให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวยิ่งขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการทำธุรกรรมด้านอนุพันธ์ที่จะมีขึ้นในอนาคต โดยการทำอนุพันธ์จะต้อง ทำเป็นเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ที่มีคู่สัญญาเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือถ้าบริษัทหลักทรัพย์ทำเพื่อฐานะอนุพันธ์ของบริษัทฯ เอง บริษัทหลักทรัพย์นั้นต้อง มีคุณสมบัติตามที่ ก.ล.ต. กำหนดและต้องได้รับอนุญาต จาก ก.ล.ต.ด้วย นอกจากนั้น ก.ล.ต.ยังกำหนดให้สินค้าอ้างอิงเป็นตราสารทางการเงิน จำกัดประเภทผู้ลงทุนเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 5 กันยายน 43 เป็นต้นไป
2) การปรับปรุงการมีสำนักงานสาขา ของบริษัทหลักทรัพย์ ทั้งการจัดตั้งสำนักงานสาขา เต็มรูปแบบ (Full Branch) และสำนักงานสาขาออนไลน์ (Cyber Branch) โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. หากบริษัทหลักทรัพย์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งในด้านฐานะทางการเงินประวัติการดำเนินธุรกิจ สำหรับสำนักงานสาขาออนไลน์สามารถให้บริการได้เพียงให้ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านเครื่องมือสื่อสาร On Line แต่จะต้องไม่ให้บริการแนะนำในด้านการลงทุนและไม่มีการให้บริการชำระราคาและส่งมอบ หลักทรัพย์ใดๆ นอกจากนี้ สาขาดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ อาทิ ต้องดำรงอัตราส่วน Net Capital Rule (NCR) ตามเกณฑ์ รวมทั้งจะต้องมี ผู้ถือหุ้นล่าสุดเป็นบวก และอื่นๆ ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 5 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
3) ปรับปรุงเกณฑ์การให้กู้ยืมเงิน เพื่อซื้อ หลักทรัพย์ฯ โดยกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ฯ จะให้กู้ยืมได้เฉพาะสำหรับการซื้อหลักทรัพย์จดทะเบียน ที่ไม่ใช่ประเภทใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์และ ออปชั่น โดยให้บริษัทหลักทรัพย์กำหนดอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 หรือตามอัตราที่ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดแล้วแต่อัตราใด จะสูงกว่า ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
4) ปรับปรุงข้อกำหนดสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่ดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิไม่ได้ตามเกณฑ์ ที่กำหนด โดยรวมถึงกรณีบริษัทหลักทรัพย์มีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่ำกว่าศูนย์ (NCR ติดลบ) ติดต่อกันเกิน 5 วันทำการ และให้รวมเงินลงทุนของบริษัท หลักทรัพย์ฯ หรือการดำเนินการตามภาระผูกพันที่ ค้างอยู่ในระหว่างที่ถูกระงับการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
5) การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ที่จะขอรับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและการกำหนด
อัตราค่าธรรมเนียมโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เฉพาะกองทุนส่วนบุคคลต้องมีทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท แต่ถ้าบริษัทหลักทรัพย์มีการประกอบธุรกิจ การเก็บรักษาทรัพย์สินหรือลงทุนใน หลักทรัพย์เพื่อบริษัท หรือรับผิดชอบการชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมให้คิดในอัตราร้อยละ 0.0045 ของค่าเฉลี่ยของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 กันยายน 2543 เป็นต้นไป นอกจากนี้ บริษัทจัดการ (ทั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด) กองทุน ส่วนบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องมีเงินกองทุนหมุนเวียน ที่เพียงพอต่อประมาณการรายจ่ายในการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการในระยะเวลา 12 เดือน และให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลดำรงหลักประกัน หรือสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกิน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันให้มีมูลค่าเพียงพอตามที่ ก.ล.ต.กำหนด ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
6) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ เป็นนายหน้าซื้อขายและการค้าหลักทรัพย์ฯ อันเป็น ตราสารแห่งหนี้ และมิใช่ตราสารแห่งหนี้ โดยกำหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีระบบควบคุมภายในที่ดี ควบคุมระบบบริหารความเสี่ยง และระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์สำหรับการติดต่อให้บริการลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์ต้องรู้ข้อมูลของลูกค้าอย่างเพียงพอเพื่อสามารถให้บริการได้อย่างเหมาะสม มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกค้า และเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าเป็นอย่างดี รวมทั้งบุคคลากรที่ ต้องติดต่อกับลูกค้าต้องมาขึ้นทะเบียนกับ ก.ล.ต. ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2543 และ 1 มกราคม 2544 ตามลำดับ เป็นต้นไป
13. การแก้ไขเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล ประจำปีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ประเด็น เกี่ยวกับกรรมการอิสระ ระยะเวลาห้ามขายหุ้น (Silent Period) การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อ Internet การจัดทำข้อมูลประจำปี และการจัดทำงบการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการโอนงานด้านกำกับดูแลการ เปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนตาม MOU ที่ ก.ล.ต.ได้จัดทำร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้ง ให้แก้ไขนิยามผู้บริหารที่มีหน้าที่ต้องรายงานการถือครอง หลักทรัพย์ด้วย สาระดังกล่าวอยู่ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้แก่ (1) การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย.43 (2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะ การเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออก หลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ธ.ค. 43 และ (3) การจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 44
14. การอนุญาตให้ควบและรวมกองทุนรวม และการเปิดให้บริการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยอนุญาตให้ กองทุนรวมที่มีลักษณะคล้ายกันสามารถควบหรือ รวมกันได้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการลงทุนของกองทุนรวม และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขอบเขตในการให้บริการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับแนวทางกำกับดูแลการทำธุรกรรมด้านหลักทรัพย์ ผ่านสื่อ On-Line สำหรับการให้บริการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ขยายขอบเขตการให้บริการ ให้ครอบคลุมถึง การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทาง Internet เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine) และบริการทางโทรศัพท์ (Telebanking) ซึ่งจะต้องออกประกาศ 3 ฉบับคือ (1) การควบกองทุนรวมและการรวมกองทุนรวม (2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการชำระบัญชีของกองทุนรวม เนื่องจากการ ควบกองทุนรวมหรือการรวมกองทุนรวม และ (3) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป
15. การปรับปรุงเกณฑ์การจัดการ กองทุนส่วนบุคคล โดยอนุญาตให้บริษัทจัดการ กองทุนส่วนบุคคล (บริษัทจัดการ) สามารถมอบการจัดการช่วง หรือการร่วมจัดการในการจัดการกองทุนส่วนบุคคลให้กับบุคคลอื่น เพื่อให้สามารถบริการแก่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนของลูกค้า ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย 43 เป็นต้นไป
มาตรการตลาดหลักทรัพย์
1. ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นชอบให้นำระบบการซื้อขายผ่าน INTERNET โดยจะบริการให้เฉพาะบริษัทสมาชิกก่อน โดยจะเน้นความปลอดภัยของข้อมูลของหลักทรัพย์ ขั้นตอนการดำเนินงานจะมี 2 ชั้นคือชั้นที่ 1 เป็นการปฏิบัติระหว่างตลาดฯ กับบริษัทสมาชิก และชั้นที่ 2 เป็นการปฏิบัติระหว่างบริษัทสมาชิกกับลูกค้า ทั้งนี้ ประกาศและมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2543 เป็นต้นไป
2. ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นชอบให้ปรับอัตรา ค่าธรรมเนียมในการเป็นนายหน้าหรือตัวแทน ซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2543 มีอัตรา ขั้นต่ำที่ร้อยละ 0.25 สำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม ยกเว้นลูกค้าเป็น Sub-Broker ที่ได้มีการเปิดเสรีอัตราค่าธรรมเนียมฯ ทั้งนี้ ให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2543 นอกจากนี้ตลาดฯ จะเปิดเสรีอัตราค่าธรรมเนียมฯ ทุกประเภท ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2545 เป็นต้นไป
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เลื่อนเวลาปิด ทำการเป็นเวลา 17.00 น ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ ยังคงเป็นเวลาปิดปกติ (16.30 น.) ซึ่งหลังจากเวลาปิดการซื้อขายอีกอย่างน้อย 5 นาที ตลาดฯ จะให้โอกาสสมาชิกส่งคำสั่งซื้อเพิ่มเติม หลังจากนั้นจึงใช้วิธี Call Market คำนวณราคาปิดซึ่งใช้หลักเกณฑ์คือ (1) เป็นราคาปิดที่ทำให้เกิดการซื้อขายได้ปริมาณมากที่สุด (2) ถ้ามีราคาที่ทำให้เกิดปริมาณซื้อขายมากที่สุด มากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาใกล้เคียงกับราคาซื้อขาย ครั้งสุดท้ายก่อนหน้านั้นมากที่สุด และ (3) ถ้ามีราคา ที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายก่อนหน้านั้นมากกว่า 1 ราคา ให้ใช้ราคาที่สูงกว่าเป็นราคาที่ใช้คำนวณ ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2543 เป็นต้นไป
4. ตลาดหลักทรัพย์มีนโยบายที่จะเพิ่มความหลากหลายของสินค้าในตลาด MAI ได้ขยายเงื่อนไขการรับบริษัทเข้ามาจดทะเบียนให้มีความ ผ่อนคลายขึ้น โดย (1) บริษัทอาจจะมีกำไรสุทธิ ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ก่อนเข้าตลาด 1 ปี หรือมี ยอดขายไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท ในปีหลังสุด ก่อนเข้าตลาดฯ และ หรือมี Market Capitalization ไม่น้อยกว่า 1.5 พันล้านบาท (2) มีส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท และ (3) ราคาตรา (Par Value) เดิมกำหนดราคาไว้ไม่ต่ำกว่า 10 บาท เป็นไม่ต่ำกว่า 5 บาท ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 มิ.ย.2543 เป็นต้นไป
5. มาตรการอื่นๆ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1) การจัดตั้งบริษัทที่ออกใบแสดงสิทธิ ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depository Receipt : NVDR) โดยกำหนดให้ NVDR เป็นหลักทรัพย์ และสามารถออก NVDR ที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์จดทะเบียนใดๆ ก็ได้ ซึ่งจะต้องออกโดยบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 การเสนอขาย NVDR จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. การออก NVDR นี้เป็นมาตรการ เสริมสร้างอุปสงค์ที่จะแก้ไขอุปสรรคกรณีการลงทุน ของผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศให้สามารถลงทุน ในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว (Thai Trust Fund: TTF) ได้
2) การจัดตั้งโครงการประมูลทางเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และระบบ Market Maker ให้แก่สมาชิกและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นจะทำการประชาพิจารณ์ในกลุ่มสมาชิกและบริษัทจดทะเบียน ซึ่งโครงการนี้ จะเริ่มในปี 2544
3) การอนุญาตให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกอบธุรกิจอื่น โดยเฉพาะบริษัทย่อยเพื่อให้บริการและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการ ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ internet ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการเสริมสร้างอุปสงค์ที่สนับสนุนให้มี internet trading เพื่อลดต้นทุนในการซื้อขาย หลักทรัพย์
6. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศเปลี่ยนวิธีคำนวณ Market Capitalization โดยตัดหน่วยลงทุน (Unit Trusts) ออกจากการคำนวณเช่นเดียวกันกับ Derivative Warrants ทั้งนี้ เนื่องจากการนำหน่วย ลงทุน (Unit Trusts) มาร่วมคำนวณจะทำให้เกิด การนับซ้ำ ผลของการปรับวิธีการคำนวณดังกล่าว จะทำให้การคำนวณ Market Capitalization ของไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล และจะมีมูลค่าลดลง เล็กน้อยประมาณร้อยละ 1 ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย 43 เป็นต้นไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-