เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ปรับลดประมาณการภาวะเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลก จะชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.8 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 3.2 ในปี 2544 (เทียบกับประมาณการเดิม ร้อยละ 4.2 ในปี 2544) เป็นผลจากการชะลอตัวของประเทศพัฒนาแล้วเป็นสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 เทียบกับที่เคยขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีก่อนหน้า ส่วนสหภาพยุโรปชะลอตัวน้อยกว่าภูมิภาคอื่นเนื่องจากการกระตุ้นอุปสงค์ภายในของประเทศในกลุ่ม โดยการลดภาษีเงินได้ในบางประเทศ และอัตราการจ้างงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนประเทศอาเซียนและประเทศ อุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งพึ่งพาการส่งออก ชะลอตัวมากตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอุปสงค์ที่ ลดลงของสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี ส่วนญี่ปุ่นยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ปลายปี 2543 แต่การ ลงทุนในภาคธุรกิจ การส่งออก และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงปัญหาในภาคสถาบันการเงินที่ยังไม่คลี่คลาย ทางด้านประเทศตะวันออกกลาง ยุโรป กลางและ ยุโรปตะวันออก เครือรัฐเอกราชและ อัฟริกาก็ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกเช่น เดียวกัน
ปริมาณการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัว ลดลงจากปีก่อนมากในทุกกลุ่มประเทศ โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในปี 2544 เทียบกับร้อยละ 12.4 ในปี 2543 เป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปในทุกภูมิภาค
อัตราเงินเฟ้อ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำโดยขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2544 โดยญี่ปุ่นยังคงมีอัตราเงินเฟ้อติดลบในครึ่งปีแรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะลดลงจากร้อยละ 6.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 5.7 ราคาสินค้าขั้นปฐมในตลาดโลกมีการแข่งขันมากขึ้นจะลดลงร้อยละ 0.5 ส่วนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงร้อยละ 9.6 หลังจากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 56.9 ในปีก่อน เนื่องจากระดับสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ซึ่งเป็น ผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ในระดับสูงกว่า ปีก่อน และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจส่วนรวม
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับลดลงในปี 2544 โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ลดอัตราดอกเบี้ยรวม 6 ครั้งในเดือนมกราคม 2 ครั้ง มีนาคม เมษายน พฤษภาคม และล่าสุดในเดือนมิถุนายน เป็นร้อยละ 6.0, 5.5, 5.0, 4.5, 4.0 และ 3.75 ตามลำดับ เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับสหภาพยุโรปที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินร่วมกันคาดว่าอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินยูโรจะอยู่ในระดับ ร้อยละ 4.4 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุล เงินเยนคาดว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ปริมาณการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัว ลดลงจากปีก่อนมากในทุกกลุ่มประเทศ โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในปี 2544 เทียบกับร้อยละ 12.4 ในปี 2543 เป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปในทุกภูมิภาค
อัตราเงินเฟ้อ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำโดยขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2544 โดยญี่ปุ่นยังคงมีอัตราเงินเฟ้อติดลบในครึ่งปีแรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะลดลงจากร้อยละ 6.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 5.7 ราคาสินค้าขั้นปฐมในตลาดโลกมีการแข่งขันมากขึ้นจะลดลงร้อยละ 0.5 ส่วนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงร้อยละ 9.6 หลังจากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 56.9 ในปีก่อน เนื่องจากระดับสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ซึ่งเป็น ผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ในระดับสูงกว่า ปีก่อน และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจส่วนรวม
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับลดลงในปี 2544 โดยในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ลดอัตราดอกเบี้ยรวม 6 ครั้งในเดือนมกราคม 2 ครั้ง มีนาคม เมษายน พฤษภาคม และล่าสุดในเดือนมิถุนายน เป็นร้อยละ 6.0, 5.5, 5.0, 4.5, 4.0 และ 3.75 ตามลำดับ เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับสหภาพยุโรปที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินร่วมกันคาดว่าอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินยูโรจะอยู่ในระดับ ร้อยละ 4.4 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุล เงินเยนคาดว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-