พลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมาจากแหล่งพลังงานที่สำคัญ ได้แก่ แร่เชื้อเพลิงและไฟฟ้าพลังน้ำ โดยกลุ่มแร่เชื้อเพลิงประกอบด้วย
ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท น้ำ มันดิบ และถ่านหิน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศค่อนข้างสูงประมาณร้อยละ 62
ของความต้องการใช้ในประเทศ
ความต้องการใช้พลังงานในประเทศจะขยายตัวเป็น 1.3 |1.5 เท่า ของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ในอนาคต
มีความเสี่ยงในด้านพลังงานที่มีอยู่ กับปริมาณสำรองแร่เชื้อเพลิงในประเทศ
ความมั่นคงทางด้านพลังงานในประเทศอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาจาก ปริมาณสำรองของกลุ่มเชื้อเพลิง โดยน้ำมันดิบมีปริมาณ
สำรองเพียง 12 ปี คอนเดนเสท 14 ปี ก๊าซธรรมชาติ 18 ปี ขณะที่ ลิกไนต์ 78 ปี แต่ลิกไนต์มีปัญหาด้านคุณภาพ จึงไม่เป็นไปตามศักยภาพ
สพช. ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือและเร่งดำเนินการจัดหาแหล่งพลังงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
รวมทั้งการนำเข้าแร่เชื้อเพลิง ทั้งนี้ หลักการจัดหาพลังงานต้องคำนึงถึง แหล่งปริมาณสำรอง การกระจายแหล่งและชนิดของพลังงาน
เพื่อลดความเสี่ยง ราคาเหมาะสม ก่อประสิทธิภาพสูงสุด แต่มีมลภาวะต่ำสุด
ผลกระทบจากการจัดปริมาณพลังงานสำรองที่มีอยู่ในและนอกประเทศ มีทั้งข้อดี คือ ความมั่นคงด้านพลังงานเพิ่มขึ้น ประหยัด
เงินตราต่างประเทศ สิ่งแวดล้อมดีขึ้น แต่ก็มีข้อเสีย คือผู้บริโภคต้องรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะราคาเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
สูงกว่าราคาแหล่งผลิตในประเทศ
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ตารางที่ 2 ปริมาณพลังงานสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย ณ 31 ธันวาคม 2543P
แหล่ง ถ่านหิน/ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ * (พันล้านลูกบาศก์ฟุต) คอนเดนเสท น้ำมันดิบ
(ล้านตัน) (ล้านบาร์เรล) (ล้านบาร์เรล)
รวม 1,372.00 12,704.80 266.3 249.4
การใช้ในปี 2543 17.7 713 19.1 20.9
ระยะเวลาการใช้ (ปี) 77.5 17.8 13.9 11.9
หมายเหตุ : * รวม พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ( Joint Development Area : JDA ) ในส่วนที่เป็นของไทย P ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : ฝ่ายข้อมูลปิโตรเลียม กองแร่เชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 ปริมาณพลังงานสำรองของไทย ณ 31 ธันวาคม 2543 p
แหล่ง น้ำมันดิบ คอนเดนเสท (ล้านบาร์เรล) ก๊าซธรรมชาติ
(ล้านบาร์เรล) (ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต)
ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves) 156.18 266.27 12.705
ปริมาณสำรองที่คาดหมาย (Probable Reserves) 79.99 228.16 9.599
ปริมาณสำรองที่เป็นไปได้ (Possible Reserves) 160.65 229.45 11.401
รวม 538.76 901.47 39.73
หมายเหตุ P ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : ฝ่ายข้อมูลปิโตรเลียม กองแร่เชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท น้ำ มันดิบ และถ่านหิน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศค่อนข้างสูงประมาณร้อยละ 62
ของความต้องการใช้ในประเทศ
ความต้องการใช้พลังงานในประเทศจะขยายตัวเป็น 1.3 |1.5 เท่า ของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ในอนาคต
มีความเสี่ยงในด้านพลังงานที่มีอยู่ กับปริมาณสำรองแร่เชื้อเพลิงในประเทศ
ความมั่นคงทางด้านพลังงานในประเทศอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาจาก ปริมาณสำรองของกลุ่มเชื้อเพลิง โดยน้ำมันดิบมีปริมาณ
สำรองเพียง 12 ปี คอนเดนเสท 14 ปี ก๊าซธรรมชาติ 18 ปี ขณะที่ ลิกไนต์ 78 ปี แต่ลิกไนต์มีปัญหาด้านคุณภาพ จึงไม่เป็นไปตามศักยภาพ
สพช. ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือและเร่งดำเนินการจัดหาแหล่งพลังงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
รวมทั้งการนำเข้าแร่เชื้อเพลิง ทั้งนี้ หลักการจัดหาพลังงานต้องคำนึงถึง แหล่งปริมาณสำรอง การกระจายแหล่งและชนิดของพลังงาน
เพื่อลดความเสี่ยง ราคาเหมาะสม ก่อประสิทธิภาพสูงสุด แต่มีมลภาวะต่ำสุด
ผลกระทบจากการจัดปริมาณพลังงานสำรองที่มีอยู่ในและนอกประเทศ มีทั้งข้อดี คือ ความมั่นคงด้านพลังงานเพิ่มขึ้น ประหยัด
เงินตราต่างประเทศ สิ่งแวดล้อมดีขึ้น แต่ก็มีข้อเสีย คือผู้บริโภคต้องรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะราคาเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
สูงกว่าราคาแหล่งผลิตในประเทศ
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ตารางที่ 2 ปริมาณพลังงานสำรองที่พิสูจน์แล้วของไทย ณ 31 ธันวาคม 2543P
แหล่ง ถ่านหิน/ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ * (พันล้านลูกบาศก์ฟุต) คอนเดนเสท น้ำมันดิบ
(ล้านตัน) (ล้านบาร์เรล) (ล้านบาร์เรล)
รวม 1,372.00 12,704.80 266.3 249.4
การใช้ในปี 2543 17.7 713 19.1 20.9
ระยะเวลาการใช้ (ปี) 77.5 17.8 13.9 11.9
หมายเหตุ : * รวม พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ( Joint Development Area : JDA ) ในส่วนที่เป็นของไทย P ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : ฝ่ายข้อมูลปิโตรเลียม กองแร่เชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 ปริมาณพลังงานสำรองของไทย ณ 31 ธันวาคม 2543 p
แหล่ง น้ำมันดิบ คอนเดนเสท (ล้านบาร์เรล) ก๊าซธรรมชาติ
(ล้านบาร์เรล) (ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต)
ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves) 156.18 266.27 12.705
ปริมาณสำรองที่คาดหมาย (Probable Reserves) 79.99 228.16 9.599
ปริมาณสำรองที่เป็นไปได้ (Possible Reserves) 160.65 229.45 11.401
รวม 538.76 901.47 39.73
หมายเหตุ P ตัวเลขเบื้องต้น
ที่มา : ฝ่ายข้อมูลปิโตรเลียม กองแร่เชื้อเพลิง กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-