นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยผลการใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ ของไทยในปี 2542 สรุปได้ ดังนี้
1. สินค้าไทยมีการใช้สิทธิ GSP รวมทั้งสิ้น 1,952.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย ลดลงจากปี 2541 ซึ่งมีมูลค่า 2,692.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 27.48 ทั้งนี้เนื่องจาก สินค้าที่ไทยเคยใช้สิทธิ GSP สูง ในปี 2541 เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์สี พิกัด 84716035 เฟอร์นิเจอร์ไม้ พิกัด 94036080 ถูกสหรัฐฯ ปรับลดอัตราภาษีนำเข้า ( MFN) ในปี 2542 ลงเหลือร้อยละ 0 จึงทำให้สินค้าดังกล่าวไม่อยู่ในบัญชีสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP อีกต่อไป ทำให้มูลค่าการใช้สิทธิรวมลดลง สำหรับสินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP สูงในปี 2542 นั้น 5 รายการแรก คือ เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ พัดลม กรอบรูปทำด้วยไม้ ภาชนะหุงต้มและเครื่องครัวอื่น ๆ และเครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมวีดีโอมีขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 35.56 ซม. ซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP สูงเป็นประจำทุกปี
2. จากสถิตินำเข้าสินค้าไทยของสหรัฐฯ ในปี 2542 ปรากฏว่าไม่มีสินค้ารายการใดมี มูลค่านำเข้าสูงเกินระดับเพดานขั้นสูงที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ โดยในปี 2542 กำหนดไว้เท่ากับ 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 50 ดังนั้นในปี 2543 จึงไม่มีสินค้าไทยถูกตัดสิทธิ GSP อย่างไรก็ตาม มีสินค้าไทยที่นำเข้าสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 50 แต่มูลค่านำเข้าสินค้ารายการนั้นจากทั่วโลกต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ โดยในปี 2542 กำหนดไว้เท่ากับ 14.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ประเทศไทยสามารถยื่นขอผ่อนผันไม่ให้สหรัฐฯ ระงับสิทธิ GSP กรณี De Minimis ได้ รวม 6 รายการ คือ มะละกอแห้ง แป้งข้าว หอยลายต้มบรรจุในภาชนะอัดลม ลิ้นจี่และลำไยปรุงแต่ง มะละกอส่วนที่ไม่ใช่เนื้อปรุงแต่ง เครื่องรับโทรทัศน์พร้อมวีดีโอมีขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 34.29 ซม. ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้สินค้าดังกล่าวถูกระงับสิทธิ GSP แล้ว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2543 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสหรัฐฯ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสินค้าไทยที่สามารถ ส่งออกภายใต้ GSP สหรัฐฯ โดยไม่ถูกจำกัดเพดานการส่งออก เนื่องจากสหรัฐฯ คืนสิทธิ GSP กรณียกเว้นเพดานการส่งออกให้ตั้งแต่ปี 2540 และ 2541 มี 9 รายการ คือ หนังกระบือฟอก จอภาพคอมพิวเตอร์สีพร้อม อุปกรณ์ต่อพ่วง จอภาพคอมพิวเตอร์สี โทรศัพท์วีดีทัศน์ ชุดเครื่องรับโทรศัพท์ ดอกไม้ประดิษฐ์ทำด้วยวัตถุอื่น ๆ เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ เฟอร์นิเจอร์ไม้อื่น ๆ และเครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะเงินมีมูลค่าไม่เกิน 18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อโหลชิ้น ดังนั้น ผู้ส่งออกจึงควรใช้ประโยชน์จากการได้รับสิทธิ GSP ในสินค้าเหล่านี้ให้มากที่สุด
--กรมการส่งเสริมการส่งออก พฤษภาคม 2543--
-ยก-
1. สินค้าไทยมีการใช้สิทธิ GSP รวมทั้งสิ้น 1,952.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย ลดลงจากปี 2541 ซึ่งมีมูลค่า 2,692.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 27.48 ทั้งนี้เนื่องจาก สินค้าที่ไทยเคยใช้สิทธิ GSP สูง ในปี 2541 เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์สี พิกัด 84716035 เฟอร์นิเจอร์ไม้ พิกัด 94036080 ถูกสหรัฐฯ ปรับลดอัตราภาษีนำเข้า ( MFN) ในปี 2542 ลงเหลือร้อยละ 0 จึงทำให้สินค้าดังกล่าวไม่อยู่ในบัญชีสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP อีกต่อไป ทำให้มูลค่าการใช้สิทธิรวมลดลง สำหรับสินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP สูงในปี 2542 นั้น 5 รายการแรก คือ เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ พัดลม กรอบรูปทำด้วยไม้ ภาชนะหุงต้มและเครื่องครัวอื่น ๆ และเครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมวีดีโอมีขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 35.56 ซม. ซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP สูงเป็นประจำทุกปี
2. จากสถิตินำเข้าสินค้าไทยของสหรัฐฯ ในปี 2542 ปรากฏว่าไม่มีสินค้ารายการใดมี มูลค่านำเข้าสูงเกินระดับเพดานขั้นสูงที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ โดยในปี 2542 กำหนดไว้เท่ากับ 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 50 ดังนั้นในปี 2543 จึงไม่มีสินค้าไทยถูกตัดสิทธิ GSP อย่างไรก็ตาม มีสินค้าไทยที่นำเข้าสหรัฐฯ โดยมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 50 แต่มูลค่านำเข้าสินค้ารายการนั้นจากทั่วโลกต่ำกว่ามูลค่าขั้นต่ำที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ โดยในปี 2542 กำหนดไว้เท่ากับ 14.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ประเทศไทยสามารถยื่นขอผ่อนผันไม่ให้สหรัฐฯ ระงับสิทธิ GSP กรณี De Minimis ได้ รวม 6 รายการ คือ มะละกอแห้ง แป้งข้าว หอยลายต้มบรรจุในภาชนะอัดลม ลิ้นจี่และลำไยปรุงแต่ง มะละกอส่วนที่ไม่ใช่เนื้อปรุงแต่ง เครื่องรับโทรทัศน์พร้อมวีดีโอมีขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 34.29 ซม. ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้สินค้าดังกล่าวถูกระงับสิทธิ GSP แล้ว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2543 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสหรัฐฯ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสินค้าไทยที่สามารถ ส่งออกภายใต้ GSP สหรัฐฯ โดยไม่ถูกจำกัดเพดานการส่งออก เนื่องจากสหรัฐฯ คืนสิทธิ GSP กรณียกเว้นเพดานการส่งออกให้ตั้งแต่ปี 2540 และ 2541 มี 9 รายการ คือ หนังกระบือฟอก จอภาพคอมพิวเตอร์สีพร้อม อุปกรณ์ต่อพ่วง จอภาพคอมพิวเตอร์สี โทรศัพท์วีดีทัศน์ ชุดเครื่องรับโทรศัพท์ ดอกไม้ประดิษฐ์ทำด้วยวัตถุอื่น ๆ เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ เฟอร์นิเจอร์ไม้อื่น ๆ และเครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะเงินมีมูลค่าไม่เกิน 18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อโหลชิ้น ดังนั้น ผู้ส่งออกจึงควรใช้ประโยชน์จากการได้รับสิทธิ GSP ในสินค้าเหล่านี้ให้มากที่สุด
--กรมการส่งเสริมการส่งออก พฤษภาคม 2543--
-ยก-