กรุงเทพ--2 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทางการ ณ ห้องรับรองพิเศษท่าอากาศยานนานาชาติชางงี สาธารณรัฐสิงคโปร์ ภายหลังเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการประชุมประสานงานโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ ไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 7 (7th Thailand-Singapore Civil Service Exchange Programme Co-ordinating Meeting: CSEP) รวมทั้งได้มีการหารือทวิภาคีกับนาย George Yeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ และเข้าเยี่ยมคารวะนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุม CSEP
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าการประชุมฯ ดังกล่าวมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสิงคโปร์อย่างมาก ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์ไม่มีการประชุมในลักษณะเดียวกันกับประเทศอื่น การประชุม CSEP จะส่งผลต่อการกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการและข้าราชการในทุกระดับของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุม CSEP ในครั้งนี้ จะทำให้โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการไทยและสิงคโปร์พัฒนาเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน ภายใต้กรอบ CSEP ไทยและสิงคโปร์ได้มีความร่วมมือในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของเยาวชนและคณะอาจารย์ของทั้งสองประเทศ โดยมีกระทรวงศึกษาธิการของทั้งสองประเทศผลัดกันเป็นเจ้าภาพ นอกจากนี้ ยังได้มีโครงการส่งอาจารย์จากสิงคโปร์ไปสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และในขณะเดียวกันชาวสิงคโปร์เองก็มีความสนใจที่จะเรียนภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในโอกาสที่มาประชุมครั้งนี้ ตนเสนอว่าควรจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาระหว่างสองประเทศโดยเร็วที่สุดด้วย
สาขาแรงงานก็เป็นอีกสาขาที่ได้รับความสนในมาก เนื่องจากในประเทศสิงคโปร์มีคนไทยมาทำงานมากกว่า 5 หมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน ซึ่งในการประชุม ไทยต้องการให้มีโครงการความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพของแรงงานไทยให้เป็นแรงงานที่มีทักษะปานกลางและทักษะสูงขึ้น ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์เองก็ยินดีให้การสนับสนุนในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เป็นอีกสาขาที่การประชุมฯ ให้ความสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการแลกเปลี่ยนการดูงานด้านดังกล่าวระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์มาโดยตลอด
นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ยังได้กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างไทย-สิงคโปร์ ภายใต้กรอบ CSEP สามารถที่จะขยายความร่วมมือจากสองประเทศไปสู่การส่งเสริมความร่วมมือในอาเซียนให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่การเป็น “ประชาคมอาเซียน” ในอนาคต เพื่ออาเซียนจะสามารถดำเนินบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งนี้ ไทยและสิงคโปร์จะร่วมมือกันในเวทีอาเซียนภายใต้กรอบ ARF เพื่อผลักดัน ARF ให้พัฒนาจากมาตรการการส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (confidence-building measure) ไปสู่การทูตเชิงป้องกัน (preventive diplomacy) ต่อไป
2. ความมั่นคงในช่องแคบมะละกา
ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวว่า สิงคโปร์ต้องการให้ประเทศไทยมีบทบาทมากขึ้นในการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัย ในชั้นนี้การเพิ่มบทบาทของไทยนั้นน่าจะเป็นไปในเรื่องของการฝึกอบรมและการเพิ่มขีดความสามารถ (capacity building) ในการรักษาความปลอดภัยในช่องแคบมะละกา อย่างไรก็ดียังไม่ได้มีการหารือกันร่วมกันในรายละเอียด รวมทั้งฝ่ายไทยเองก็ยังจำเป็นต้องไปพิจารณากำหนดท่าทีในรายละเอียดด้วย
3. สถานการณ์ภาคใต้
ดร. กันตธีร์ฯ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ของไทยว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การการก่อการร้ายสากลแต่อย่างใด ซึ่งสิงคโปร์เองก็เข้าใจถึงปัญหาดังกล่าวว่าเป็นปัญหาภายในของไทยและไม่ได้เป็นปัญหาด้านศาสนา นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงถึงความสำคัญของมุสลิมสายกลางซึ่งรัฐบาลต้องการให้มีบทบาทในเชิงสร้างสรรมากขึ้น ซึ่งจะช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของไทย โดยย้ำถึงการที่ทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันและการรักษาเอกลักษณ์ของแต่ละศาสนา
4. ปัญหาเกาหลีเหนือ
ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี และความคืบหน้าในการเจรจาหกฝ่ายที่มีขึ้นในจีน
5. ระบบป้องกันภัยสึนามิ
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าไทยได้มีการหารือกับสิงคโปร์ถึงความร่วมมือในการพัฒนาระบบเตือนภัยสึนามิในระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน ซึ่งทั้งไทยและสิงคโปร์ต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทางการ ณ ห้องรับรองพิเศษท่าอากาศยานนานาชาติชางงี สาธารณรัฐสิงคโปร์ ภายหลังเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการประชุมประสานงานโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ ไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 7 (7th Thailand-Singapore Civil Service Exchange Programme Co-ordinating Meeting: CSEP) รวมทั้งได้มีการหารือทวิภาคีกับนาย George Yeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ และเข้าเยี่ยมคารวะนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุม CSEP
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าการประชุมฯ ดังกล่าวมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสิงคโปร์อย่างมาก ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์ไม่มีการประชุมในลักษณะเดียวกันกับประเทศอื่น การประชุม CSEP จะส่งผลต่อการกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการและข้าราชการในทุกระดับของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุม CSEP ในครั้งนี้ จะทำให้โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการไทยและสิงคโปร์พัฒนาเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน ภายใต้กรอบ CSEP ไทยและสิงคโปร์ได้มีความร่วมมือในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของเยาวชนและคณะอาจารย์ของทั้งสองประเทศ โดยมีกระทรวงศึกษาธิการของทั้งสองประเทศผลัดกันเป็นเจ้าภาพ นอกจากนี้ ยังได้มีโครงการส่งอาจารย์จากสิงคโปร์ไปสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และในขณะเดียวกันชาวสิงคโปร์เองก็มีความสนใจที่จะเรียนภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในโอกาสที่มาประชุมครั้งนี้ ตนเสนอว่าควรจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาระหว่างสองประเทศโดยเร็วที่สุดด้วย
สาขาแรงงานก็เป็นอีกสาขาที่ได้รับความสนในมาก เนื่องจากในประเทศสิงคโปร์มีคนไทยมาทำงานมากกว่า 5 หมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน ซึ่งในการประชุม ไทยต้องการให้มีโครงการความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพของแรงงานไทยให้เป็นแรงงานที่มีทักษะปานกลางและทักษะสูงขึ้น ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์เองก็ยินดีให้การสนับสนุนในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เป็นอีกสาขาที่การประชุมฯ ให้ความสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการแลกเปลี่ยนการดูงานด้านดังกล่าวระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์มาโดยตลอด
นอกจากนี้ ดร. กันตธีร์ฯ ยังได้กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างไทย-สิงคโปร์ ภายใต้กรอบ CSEP สามารถที่จะขยายความร่วมมือจากสองประเทศไปสู่การส่งเสริมความร่วมมือในอาเซียนให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่การเป็น “ประชาคมอาเซียน” ในอนาคต เพื่ออาเซียนจะสามารถดำเนินบทบาทเชิงสร้างสรรค์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งนี้ ไทยและสิงคโปร์จะร่วมมือกันในเวทีอาเซียนภายใต้กรอบ ARF เพื่อผลักดัน ARF ให้พัฒนาจากมาตรการการส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (confidence-building measure) ไปสู่การทูตเชิงป้องกัน (preventive diplomacy) ต่อไป
2. ความมั่นคงในช่องแคบมะละกา
ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวว่า สิงคโปร์ต้องการให้ประเทศไทยมีบทบาทมากขึ้นในการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัย ในชั้นนี้การเพิ่มบทบาทของไทยนั้นน่าจะเป็นไปในเรื่องของการฝึกอบรมและการเพิ่มขีดความสามารถ (capacity building) ในการรักษาความปลอดภัยในช่องแคบมะละกา อย่างไรก็ดียังไม่ได้มีการหารือกันร่วมกันในรายละเอียด รวมทั้งฝ่ายไทยเองก็ยังจำเป็นต้องไปพิจารณากำหนดท่าทีในรายละเอียดด้วย
3. สถานการณ์ภาคใต้
ดร. กันตธีร์ฯ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ของไทยว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การการก่อการร้ายสากลแต่อย่างใด ซึ่งสิงคโปร์เองก็เข้าใจถึงปัญหาดังกล่าวว่าเป็นปัญหาภายในของไทยและไม่ได้เป็นปัญหาด้านศาสนา นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงถึงความสำคัญของมุสลิมสายกลางซึ่งรัฐบาลต้องการให้มีบทบาทในเชิงสร้างสรรมากขึ้น ซึ่งจะช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของไทย โดยย้ำถึงการที่ทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันและการรักษาเอกลักษณ์ของแต่ละศาสนา
4. ปัญหาเกาหลีเหนือ
ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี และความคืบหน้าในการเจรจาหกฝ่ายที่มีขึ้นในจีน
5. ระบบป้องกันภัยสึนามิ
ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่าไทยได้มีการหารือกับสิงคโปร์ถึงความร่วมมือในการพัฒนาระบบเตือนภัยสึนามิในระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน ซึ่งทั้งไทยและสิงคโปร์ต่างก็ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-