ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยถึงผลกระทบจากการที่เฟดลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อเศรฐกิจไทย ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะโฆษก ธปท. เปิดเผยว่า การที่ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 นั้นเป็นไปตามที่มีการคาดการณ์ไว้ ซึ่งการลดดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้จะทำให้เศรษฐกิจ สรอ.ดีขึ้นในช่วงปลายปี และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 3 ด้าน คือ 1) เมื่อเศรษฐกิจ สรอ.ในช่วงปลายปีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จะมีผลให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาด สรอ.เพิ่มขึ้น 2) การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธพ.ในต่างประเทศส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในไทยและต่างประเทศแคบลงทำให้เงินทุนไหลออกของไทยลดลง 3) ทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และสามารถรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำได้ และทิศทางของดอกเบี้ยในไทยและต่างประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (โลกวันนี้ 29)
2. ที่ประชุม คปน. มีมติคงบทบาทของ คปน. ต่อไปเพื่อรับผิดชอบงานให้เสร็จสิ้น ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะโฆษก ธปท. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้คงบทบาทของ คปน. ต่อไปอีกระยะหนึ่ง หรือจนถึงสิ้นปี 44 เพื่อดูแลลูกหนี้ส่วนที่ คปน. รับผิดชอบอยู่ ซึ่งภายหลังจากที่ คปน. โอนลูกหนี้รายใหญ่ที่มีเจ้าหนี้หลายรายไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยภายในวันที่ 9 ก.ค. 44 แล้ว จะยังเหลือลูกหนี้รายกลางและรายย่อยอีกประมาณ 1,314 ราย มีวงเงินประมาณ 5,378 ล.บาท ซึ่งจะต้องดูแลให้เสร็จสิ้นก่อนยุบ คปน. (ข่าวสด 29)
3. ธปท. รายงานภาวะการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในไตรมาสที่ 1 ปี 44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตของ ธพ. ในไตรมาสที่ 1 ปี 44 มีจำนวน 1.89 ล้านบัตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 43 จำนวน 130,000 บัตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ส่วนยอดการใช้จ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 55,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 43 จำนวน 3,800 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 โดยแบ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไทยภายในประเทศจำนวน 28,700 ล้านบาท และใช้จ่ายนอกประเทศจำนวน 2,000 ล้านบาท ซึ่งการใช้จ่ายนอกประเทศลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 43 ร้อยละ 9 (ไทยรัฐ 29)
4. ฐานะการคลังของไทยช่วงครึ่งปีหลัง ปี งปม. 44 ขาดดุล 81,721.7 ล. บาท นายเชิดชัย ขันธ์นะภา รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนของปีงปม.44 (ต.ค.43-มี.ค.44) ฐานะการคลังมีการขาดดุล 81,721.7 ล. บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยขาดดุลลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9,102.9 ล.บาท หรือลดลงร้อยละ 10 เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีผลการดำเนินงานที่เกินดุลสูงถึง 19,019 ล.บาท ในขณะที่รัฐบาลมีการขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสูงถึง 100,740.7 ล.บาท (แนวหน้า, เดลินิวส์ 29)
ข่าวต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการจากการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ลดลงเกินความคาดหมาย รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 28 มิ.ย.44 ก.แรงงานเปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุด 23 มิ.ย.44 ผู้ยื่นขอรับสวัสดิการจากการว่างงานเป็นครั้งแรกมีจำนวน 388,000 คน ลดลง 16,000 คน จากสัปดาก์ก่อนที่มีจำนวน 404,000 คน เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 และต่ำที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุด 5 พ.ค.44 ที่มีจำนวน 388,000 คนเช่นกัน และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 412,000 คน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่าภาวะตลาดแรงงานกำลังปรับตัวดีขึ้น แม้ตัวเลขการยื่นขอรับสวัสดิการฯ จะลดลงเกินความคาดหมายก็ตาม (รอยเตอร์ 28)
2. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงสุดแต่ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงต่ำสุดในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 มิ.ย. 44 รัฐบาลญี่ปุ่น รายงานว่า อัตราการว่างงาน ที่ปรับฤดูกาลในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.9 จากร้อยละ 4.8 ในเดือน เม.ย. 44 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ ธ.ค. 43 และ ม.ค. 44 ที่เคยมีอัตราร้อยละ 4.9 เช่นกัน ขณะที่อัตราส่วนต่ำแหน่งงานต่อผู้สมัครงาน ที่ปรับฤดูกาล อยู่ที่ระดับ 0.61 ในเดือน พ.ค. 44 ซึ่งหมายถึงมีตำแหน่งงานเปิดรับ 61 ตำแหน่ง ต่อผู้สมัครงานทุก 100 คน ซึ่งลดลงจากระดับ 0.62 ในเดือน เม.ย.44 ในวันเดียวกัน รัฐบาลเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) โดยรวมทั้งประเทศ เมื่อเทียบต่อปี ลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค. 44 จากเดือน เม.ย. 44 ที่ลดลงร้อยละ 0.4 ขณะที่ ดัชนีผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือน พ.ค. ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือน เม.ย. ที่ลดลงร้อยละ 0.5 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 และลดลงต่ำสุดตั้งแต่เริ่มมีการเก็บตัวเลขในปี 14 จากรายงานครั้งนี้ ยิ่งสนับสนุนแนวคิดที่ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (รอยเตอร์29)
3. การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นที่มีรายได้เป็นค่าจ้างลดลงร้อยละ 2.6 ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 มิ.ย.44 Ministry of Public Management, Home Affairs, Posts and Telecommunications รายงานว่า เดือน พ.ค.44 การใช้จ่ายหลังปรับตัวเลขของครัวเรือนที่มีรายได้เป็นค่าจ้าง ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดสำคัญการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีจำนวน 318,667 เยน (2,564 ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 2.6 เทียบต่อปี เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากเดือน เม.ย.44 ที่ลดลงร้อยละ 4.4 แต่เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน การใช้จ่ายฯ ในเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน เม.ย. สำหรับดัชนีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในเดือน พ.ค.กระเตื้องขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 70.6 จากระดับ 69.1 ในเดือนก่อน (รอยเตอร์ 29)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 44 รายงานจากโซลเมื่อ 29 มิ.ย. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย. 44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้ การที่ CPI ในเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากที่ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น เนื่องจากประเทศประสบปัญหาภาวะฝนแล้ง โดยราคาผักสดในเดือน มิ.ย. 44 สูงขึ้นร้อยละ 5.9 จากเดือน พ.ค. 44 ขณะเดียวกัน ราคาที่อยู่อาศัยก็เพิ่มขึ้นด้วย (รอยเตอร์29)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 28 มิ.ย. 44 45.271 (45.243)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 28 มิ.ย. 44ซื้อ 45.0601 (45.0428) ขาย 45.3749 (45.3513)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,750) ขาย 5,850 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.22 (23.12)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.19 (15.39) ดีเซลหมุนเร็ว 14.04 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยถึงผลกระทบจากการที่เฟดลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อเศรฐกิจไทย ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะโฆษก ธปท. เปิดเผยว่า การที่ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 นั้นเป็นไปตามที่มีการคาดการณ์ไว้ ซึ่งการลดดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้จะทำให้เศรษฐกิจ สรอ.ดีขึ้นในช่วงปลายปี และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 3 ด้าน คือ 1) เมื่อเศรษฐกิจ สรอ.ในช่วงปลายปีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จะมีผลให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาด สรอ.เพิ่มขึ้น 2) การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธพ.ในต่างประเทศส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในไทยและต่างประเทศแคบลงทำให้เงินทุนไหลออกของไทยลดลง 3) ทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และสามารถรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำได้ และทิศทางของดอกเบี้ยในไทยและต่างประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (โลกวันนี้ 29)
2. ที่ประชุม คปน. มีมติคงบทบาทของ คปน. ต่อไปเพื่อรับผิดชอบงานให้เสร็จสิ้น ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะโฆษก ธปท. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้คงบทบาทของ คปน. ต่อไปอีกระยะหนึ่ง หรือจนถึงสิ้นปี 44 เพื่อดูแลลูกหนี้ส่วนที่ คปน. รับผิดชอบอยู่ ซึ่งภายหลังจากที่ คปน. โอนลูกหนี้รายใหญ่ที่มีเจ้าหนี้หลายรายไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยภายในวันที่ 9 ก.ค. 44 แล้ว จะยังเหลือลูกหนี้รายกลางและรายย่อยอีกประมาณ 1,314 ราย มีวงเงินประมาณ 5,378 ล.บาท ซึ่งจะต้องดูแลให้เสร็จสิ้นก่อนยุบ คปน. (ข่าวสด 29)
3. ธปท. รายงานภาวะการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในไตรมาสที่ 1 ปี 44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตของ ธพ. ในไตรมาสที่ 1 ปี 44 มีจำนวน 1.89 ล้านบัตร เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 43 จำนวน 130,000 บัตร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ส่วนยอดการใช้จ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 55,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ปี 43 จำนวน 3,800 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 โดยแบ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไทยภายในประเทศจำนวน 28,700 ล้านบาท และใช้จ่ายนอกประเทศจำนวน 2,000 ล้านบาท ซึ่งการใช้จ่ายนอกประเทศลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 43 ร้อยละ 9 (ไทยรัฐ 29)
4. ฐานะการคลังของไทยช่วงครึ่งปีหลัง ปี งปม. 44 ขาดดุล 81,721.7 ล. บาท นายเชิดชัย ขันธ์นะภา รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนของปีงปม.44 (ต.ค.43-มี.ค.44) ฐานะการคลังมีการขาดดุล 81,721.7 ล. บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยขาดดุลลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9,102.9 ล.บาท หรือลดลงร้อยละ 10 เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีผลการดำเนินงานที่เกินดุลสูงถึง 19,019 ล.บาท ในขณะที่รัฐบาลมีการขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสูงถึง 100,740.7 ล.บาท (แนวหน้า, เดลินิวส์ 29)
ข่าวต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการจากการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ลดลงเกินความคาดหมาย รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 28 มิ.ย.44 ก.แรงงานเปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุด 23 มิ.ย.44 ผู้ยื่นขอรับสวัสดิการจากการว่างงานเป็นครั้งแรกมีจำนวน 388,000 คน ลดลง 16,000 คน จากสัปดาก์ก่อนที่มีจำนวน 404,000 คน เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 และต่ำที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุด 5 พ.ค.44 ที่มีจำนวน 388,000 คนเช่นกัน และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 412,000 คน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวว่าภาวะตลาดแรงงานกำลังปรับตัวดีขึ้น แม้ตัวเลขการยื่นขอรับสวัสดิการฯ จะลดลงเกินความคาดหมายก็ตาม (รอยเตอร์ 28)
2. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงสุดแต่ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงต่ำสุดในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 มิ.ย. 44 รัฐบาลญี่ปุ่น รายงานว่า อัตราการว่างงาน ที่ปรับฤดูกาลในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.9 จากร้อยละ 4.8 ในเดือน เม.ย. 44 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ ธ.ค. 43 และ ม.ค. 44 ที่เคยมีอัตราร้อยละ 4.9 เช่นกัน ขณะที่อัตราส่วนต่ำแหน่งงานต่อผู้สมัครงาน ที่ปรับฤดูกาล อยู่ที่ระดับ 0.61 ในเดือน พ.ค. 44 ซึ่งหมายถึงมีตำแหน่งงานเปิดรับ 61 ตำแหน่ง ต่อผู้สมัครงานทุก 100 คน ซึ่งลดลงจากระดับ 0.62 ในเดือน เม.ย.44 ในวันเดียวกัน รัฐบาลเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) โดยรวมทั้งประเทศ เมื่อเทียบต่อปี ลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน พ.ค. 44 จากเดือน เม.ย. 44 ที่ลดลงร้อยละ 0.4 ขณะที่ ดัชนีผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือน พ.ค. ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือน เม.ย. ที่ลดลงร้อยละ 0.5 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 และลดลงต่ำสุดตั้งแต่เริ่มมีการเก็บตัวเลขในปี 14 จากรายงานครั้งนี้ ยิ่งสนับสนุนแนวคิดที่ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (รอยเตอร์29)
3. การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นที่มีรายได้เป็นค่าจ้างลดลงร้อยละ 2.6 ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 มิ.ย.44 Ministry of Public Management, Home Affairs, Posts and Telecommunications รายงานว่า เดือน พ.ค.44 การใช้จ่ายหลังปรับตัวเลขของครัวเรือนที่มีรายได้เป็นค่าจ้าง ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดสำคัญการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีจำนวน 318,667 เยน (2,564 ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 2.6 เทียบต่อปี เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากเดือน เม.ย.44 ที่ลดลงร้อยละ 4.4 แต่เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน การใช้จ่ายฯ ในเดือน พ.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน เม.ย. สำหรับดัชนีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในเดือน พ.ค.กระเตื้องขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 70.6 จากระดับ 69.1 ในเดือนก่อน (รอยเตอร์ 29)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 44 รายงานจากโซลเมื่อ 29 มิ.ย. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย. 44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้ การที่ CPI ในเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากที่ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น เนื่องจากประเทศประสบปัญหาภาวะฝนแล้ง โดยราคาผักสดในเดือน มิ.ย. 44 สูงขึ้นร้อยละ 5.9 จากเดือน พ.ค. 44 ขณะเดียวกัน ราคาที่อยู่อาศัยก็เพิ่มขึ้นด้วย (รอยเตอร์29)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 28 มิ.ย. 44 45.271 (45.243)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 28 มิ.ย. 44ซื้อ 45.0601 (45.0428) ขาย 45.3749 (45.3513)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,750) ขาย 5,850 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.22 (23.12)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.19 (15.39) ดีเซลหมุนเร็ว 14.04 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-