บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติ
การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒
โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติ
เห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอให้นำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑, ๓ - ๑๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่ง
ที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหาร
สินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. .... ซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๓)
ขึ้นมาพิจารณารวมกัน เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ให้แยกการลงมติ เนื่องจาก
หลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติต่างกัน
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย
โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจง จนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ ไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ
ทีละฉบับ ตามลำดับ จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าวเป็นอันตกไป
ต่อจากนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทนและได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามมติที่ประชุมในลำดับถัดไป คือ
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติภาษี
สรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งเขตปลอดอากร) ตามมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทน
ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. .... ตามมาตรา
๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราช
บัญญัติทั้ง ๔ ฉบับดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หลังจากนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ดำเนินการ
ประชุมต่อ และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป คือ
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติรถยนตร์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดอัตราภาษีรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า) ตามมาตรา
๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา และลงมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นางสาวอรุณี ชำนาญยา ๒. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย
๓. นายอภิชาติ ตีรสวัสดิชัย ๔. นายเอนก หุตังคบดี
๕. นายวรวุฒิ ภุมมะกาญจนะ ๖. นายจตุพร เจริญเชื้อ
๗. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
๙. นายพรวุฒิ สารสิน ๑๐. นายพงศกร เลาหวิเชียร
๑๑. นายประเสริฐ บุญเรือง ๑๒. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๑๕ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา
๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดตั้งเขตปลอดอากร)
๒. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย
ในคดีอาญา พ.ศ. ….
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
. ร่างพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
*******************
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติ
การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒
โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติ
เห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอให้นำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑, ๓ - ๑๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่ง
ที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหาร
สินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. .... ซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๓)
ขึ้นมาพิจารณารวมกัน เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ให้แยกการลงมติ เนื่องจาก
หลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติต่างกัน
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย
โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจง จนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ ไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ
ทีละฉบับ ตามลำดับ จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าวเป็นอันตกไป
ต่อจากนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทนและได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามมติที่ประชุมในลำดับถัดไป คือ
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติภาษี
สรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งเขตปลอดอากร) ตามมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. .... ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๕. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทน
ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. .... ตามมาตรา
๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
และได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราช
บัญญัติทั้ง ๔ ฉบับดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หลังจากนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ดำเนินการ
ประชุมต่อ และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป คือ
๖. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติรถยนตร์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดอัตราภาษีรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า) ตามมาตรา
๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา และลงมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และ
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นางสาวอรุณี ชำนาญยา ๒. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย
๓. นายอภิชาติ ตีรสวัสดิชัย ๔. นายเอนก หุตังคบดี
๕. นายวรวุฒิ ภุมมะกาญจนะ ๖. นายจตุพร เจริญเชื้อ
๗. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
๙. นายพรวุฒิ สารสิน ๑๐. นายพงศกร เลาหวิเชียร
๑๑. นายประเสริฐ บุญเรือง ๑๒. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๑๕ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา
๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดตั้งเขตปลอดอากร)
๒. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย
ในคดีอาญา พ.ศ. ….
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
. ร่างพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
*******************