สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--3 มี.ค.--รอยเตอร์
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
1.1.1 หอมแดง : คชก.อนุมัติเงินแทรกแซงตลาดหอมแดงจังหวัดภาคเหนือ ปี 2542/43 (ฤดูแล้ง)
ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตร เมื่อวันที่ 25
กุมภาพันธ์ 2543 มีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 80 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทยนำไปจดสรรให้จังหวัดที่
เป็นแหล่งผลิตหอมแดงภาคเหนือ 6 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์) ตามสัดส่วนผลผลิต
เพื่อนำไปจัดสรรให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อหอมแดงจากเกษตรกรในจังหวัด เมื่อราคาหอมแดงต่ำกว่าหรือคาด
ว่าจะต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำ โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำหอมแดงจังหวัดภาคเหนือฤดูการผลิต ปี 2542/43 (ฤดูแล้ง) เทียบ
เคียงจากฐานราคาเป้าหมายนำหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ ฤดูการผลิตปี 2542/43 ที่กำหนดไว้แล้ว ด้วยวิธีให้กำหนดราคาในแต่ละ
พื้นที่เพิ่ม-ลด ตามสัดส่วนคุณภาพ (ราคาเป้าหมายนำหอมแดงศรีสะเกษหอมแดงแห้งใหญ่คละกิโลกรัมละ 10.00 บาท หอมแดงแห้ง
คละกิโลกรัมละ 6.74 บาท) กำหนดระยะเวลาแทรกแซงรับซื้อ เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2543 ระยะเวลาโครงการ เดือน
กุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2543 โดยให้ค่าใช้จ่ายดำเนินการของทางราชการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ
1.1.2 กาแฟ : ราคาโน้มลดลง
ส่งมอบเดือน มี.ค. สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 4
ราคาซื้อขาย ณ เดือน ก.พ.
มกราคม 43 43.80 40.92 40.94 40.04
กุมภาพันธ์ 43 40.33 40.03 37.78
ราคาเกษตรกรขายได้ ม.ค. 28.24 29.95 28.99 28.12
ราคาเกษตรกรขายได้ ก.พ. 28.01 27.47 25.22
แม้ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และธนาคารเพื่อการ
เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) รับจำนำเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรแล้วก็ตาม แต่ราคาที่เกษตรกรได้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
จากช่วงก่อนการแทรกแซงตลาดในเดือนมกราคาที่กิโลกรัมละ 28.24 บาท เหลือกิโลกรัมละ 25.52 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์ช่วง
หลังการแทรกแซงตลาด ทั้งนี้เนื่องจากราคาในตลาดโลกโดยเฉพาะราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดลอนดอนส่งมอบมอบเดือนมีนาคมลดลง
จากกิโลกรัมละ 43.80 บาท เหลือกิโลกรัมบะ 37.78 บาท ประกอบกับกาแฟที่อยู่ในมือเกษตรกรขณะนี้มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ทำ
ให้พ่อค้าที่รับซื้อแกแฟเก็บเข้าสต๊อคเพื่อรอส่งมอบในเดือนมีนาคม รับซื้อกาแฟจากเกษตรกรได้ในราคาประมาณกิโลกรัมละ 23.05-
25.91 บาท ขณะที่ อคส.รับจำนำเมล็ดกาแฟดิบคุณภาพมาตรฐานในราคากิโลกรัมละ 32.30 บาท
สำหรับผลการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟนั้น อคส.เข้ารับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรตั้งแต่
25 มกราคม - 22 กุมภาพันธ์ เป็นจำนวน 5,973 ตัน มูลค่า 192.94 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณเป้าหมาย จำนวน
20,000 ตัน
ข้อเสนอแนะ
เร่งรัดให้องค์การคลังสินค้ารับจำนวนเมล็ดกาแฟจากเกษตรกร ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตอีกประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิต
ทั้งหมด ในราคาที่กำหนดคุณภาพรองลงมา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
น้ำตาล : การแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
จากการที่โรงงานน้ำตาลประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
แห่งประเทศไทย (ธสน.) ลดอัตรารับจำนำน้ำตาลจากกระสอบละ 600 บาท เหลือเพียงกระสอบละ 500 บาท ซึ่งเป็นผลมาจาก
ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำ ทำให้โรงงานน้ำตาลไม่สามารถจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตปี 2542/43 ที่ราคา 450 บาท/
ตันอ้อย ตามประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย โดยจ่ายให้เพียง 350 บาท/ตันอ้อย
จากปัญหาดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และรัฐมนตรีผู้รักษาการกระทรวงการคลัง ได้เสนอแนวทางแก้ไขต่อที่ประชุมคณะรัฐบมนตรีเมื่อ
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 โดยให้โรงงานน้ำตาลที่ฐานะการเงินไม่มั่นคงจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43 แก่ชาวไร่อ้อย
ทันที 350 บาท/ตันอ้อยที่ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. และจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าอีก 100 บาท/ตัน โดยธนาคารพาณิชย์ช่วยรับซื้อ
เช็คดังกล่าวจากชาวไร่อ้อยเพื่อให้ชาวไร่อ้อยได้รับเงินค่าอ้อยในอัตรา 450 บาท/ตันอ้อย ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามระเบียบ
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่เสนอ โดยให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจำนวน 1,200 ล้านบาท
และกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 800 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ฝากไว้กับธนาคารเพื่อการส่ง
ออกและนำเข้าฯ และมอบอำนาจให้จัดสรรเงินนำนวนดังกล่าวเพื่อใช้ในการรับซื้อเช็คค่าอ้อยชั้นต้นล่วงหน้า 100 บาท/ต่ออ้อย
ให้แก่โรงงานน้ำตาลที่ฐานะการเงินไม่มั่นคง โดยพิจารณาจากข้อเสนอของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นธนาคารหลักของแต่ละโรงงานและ
ให้ดำเนินการเพื่อจัดทำเอกสารผูกพันให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มีนาคม 2543 ซึ่งในการนี้จะต้องมีการแก้ไขระเบียบสำนักนายก
รัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อยืมเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2534 เพื่อให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
สามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้ และให้กรมบัญชีกลางพิจารณาระเบียบกรมบัญชีกลาง ว่าด้วยการเงินและ
กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2534 เพื่อให้สอดคล้องกับร่างระเบียบดังกล่าว
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอเรื่องการกู้ยืมเงินจำนวน 800 ล้านบาท
ปลอดดอกเบี้ยต่อคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ
ได้พิจารณาแล้วได้มีมติอนุมัติให้จัดสรรเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 800 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อนำไปให้กองทุนอ้อย
และน้ำตาลทรายโดยมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
1. กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จะต้องได้รับการชำระคืนเงินจำนวนดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ
ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
2. หากราคาอ้อยเกินกว่าราคม 450 บาท/ตัน กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่
กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในอัตราเดียวกับที่คิดกับโครงการอื่น ๆ
3. สำหรับสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดให้มีการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบอยู่แล้ว หากมีความจำเป็นจะต้องขอ
ความช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 21-27 ก.พ. 2543--
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
1.1.1 หอมแดง : คชก.อนุมัติเงินแทรกแซงตลาดหอมแดงจังหวัดภาคเหนือ ปี 2542/43 (ฤดูแล้ง)
ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตร เมื่อวันที่ 25
กุมภาพันธ์ 2543 มีมติอนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 80 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทยนำไปจดสรรให้จังหวัดที่
เป็นแหล่งผลิตหอมแดงภาคเหนือ 6 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์) ตามสัดส่วนผลผลิต
เพื่อนำไปจัดสรรให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อหอมแดงจากเกษตรกรในจังหวัด เมื่อราคาหอมแดงต่ำกว่าหรือคาด
ว่าจะต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำ โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำหอมแดงจังหวัดภาคเหนือฤดูการผลิต ปี 2542/43 (ฤดูแล้ง) เทียบ
เคียงจากฐานราคาเป้าหมายนำหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ ฤดูการผลิตปี 2542/43 ที่กำหนดไว้แล้ว ด้วยวิธีให้กำหนดราคาในแต่ละ
พื้นที่เพิ่ม-ลด ตามสัดส่วนคุณภาพ (ราคาเป้าหมายนำหอมแดงศรีสะเกษหอมแดงแห้งใหญ่คละกิโลกรัมละ 10.00 บาท หอมแดงแห้ง
คละกิโลกรัมละ 6.74 บาท) กำหนดระยะเวลาแทรกแซงรับซื้อ เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2543 ระยะเวลาโครงการ เดือน
กุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2543 โดยให้ค่าใช้จ่ายดำเนินการของทางราชการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ
1.1.2 กาแฟ : ราคาโน้มลดลง
ส่งมอบเดือน มี.ค. สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 3 สัปดาห์ที่ 4
ราคาซื้อขาย ณ เดือน ก.พ.
มกราคม 43 43.80 40.92 40.94 40.04
กุมภาพันธ์ 43 40.33 40.03 37.78
ราคาเกษตรกรขายได้ ม.ค. 28.24 29.95 28.99 28.12
ราคาเกษตรกรขายได้ ก.พ. 28.01 27.47 25.22
แม้ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และธนาคารเพื่อการ
เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) รับจำนำเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรแล้วก็ตาม แต่ราคาที่เกษตรกรได้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
จากช่วงก่อนการแทรกแซงตลาดในเดือนมกราคาที่กิโลกรัมละ 28.24 บาท เหลือกิโลกรัมละ 25.52 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์ช่วง
หลังการแทรกแซงตลาด ทั้งนี้เนื่องจากราคาในตลาดโลกโดยเฉพาะราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดลอนดอนส่งมอบมอบเดือนมีนาคมลดลง
จากกิโลกรัมละ 43.80 บาท เหลือกิโลกรัมบะ 37.78 บาท ประกอบกับกาแฟที่อยู่ในมือเกษตรกรขณะนี้มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ทำ
ให้พ่อค้าที่รับซื้อแกแฟเก็บเข้าสต๊อคเพื่อรอส่งมอบในเดือนมีนาคม รับซื้อกาแฟจากเกษตรกรได้ในราคาประมาณกิโลกรัมละ 23.05-
25.91 บาท ขณะที่ อคส.รับจำนำเมล็ดกาแฟดิบคุณภาพมาตรฐานในราคากิโลกรัมละ 32.30 บาท
สำหรับผลการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดเมล็ดกาแฟนั้น อคส.เข้ารับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรตั้งแต่
25 มกราคม - 22 กุมภาพันธ์ เป็นจำนวน 5,973 ตัน มูลค่า 192.94 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณเป้าหมาย จำนวน
20,000 ตัน
ข้อเสนอแนะ
เร่งรัดให้องค์การคลังสินค้ารับจำนวนเมล็ดกาแฟจากเกษตรกร ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตอีกประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิต
ทั้งหมด ในราคาที่กำหนดคุณภาพรองลงมา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
น้ำตาล : การแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
จากการที่โรงงานน้ำตาลประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
แห่งประเทศไทย (ธสน.) ลดอัตรารับจำนำน้ำตาลจากกระสอบละ 600 บาท เหลือเพียงกระสอบละ 500 บาท ซึ่งเป็นผลมาจาก
ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำ ทำให้โรงงานน้ำตาลไม่สามารถจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตปี 2542/43 ที่ราคา 450 บาท/
ตันอ้อย ตามประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย โดยจ่ายให้เพียง 350 บาท/ตันอ้อย
จากปัญหาดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 และรัฐมนตรีผู้รักษาการกระทรวงการคลัง ได้เสนอแนวทางแก้ไขต่อที่ประชุมคณะรัฐบมนตรีเมื่อ
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 โดยให้โรงงานน้ำตาลที่ฐานะการเงินไม่มั่นคงจ่ายเงินค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43 แก่ชาวไร่อ้อย
ทันที 350 บาท/ตันอ้อยที่ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. และจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าอีก 100 บาท/ตัน โดยธนาคารพาณิชย์ช่วยรับซื้อ
เช็คดังกล่าวจากชาวไร่อ้อยเพื่อให้ชาวไร่อ้อยได้รับเงินค่าอ้อยในอัตรา 450 บาท/ตันอ้อย ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามระเบียบ
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่เสนอ โดยให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจำนวน 1,200 ล้านบาท
และกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 800 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ฝากไว้กับธนาคารเพื่อการส่ง
ออกและนำเข้าฯ และมอบอำนาจให้จัดสรรเงินนำนวนดังกล่าวเพื่อใช้ในการรับซื้อเช็คค่าอ้อยชั้นต้นล่วงหน้า 100 บาท/ต่ออ้อย
ให้แก่โรงงานน้ำตาลที่ฐานะการเงินไม่มั่นคง โดยพิจารณาจากข้อเสนอของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นธนาคารหลักของแต่ละโรงงานและ
ให้ดำเนินการเพื่อจัดทำเอกสารผูกพันให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มีนาคม 2543 ซึ่งในการนี้จะต้องมีการแก้ไขระเบียบสำนักนายก
รัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อยืมเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2534 เพื่อให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
สามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้ และให้กรมบัญชีกลางพิจารณาระเบียบกรมบัญชีกลาง ว่าด้วยการเงินและ
กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2534 เพื่อให้สอดคล้องกับร่างระเบียบดังกล่าว
เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอเรื่องการกู้ยืมเงินจำนวน 800 ล้านบาท
ปลอดดอกเบี้ยต่อคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ
ได้พิจารณาแล้วได้มีมติอนุมัติให้จัดสรรเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 800 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อนำไปให้กองทุนอ้อย
และน้ำตาลทรายโดยมีมติเพิ่มเติม ดังนี้
1. กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จะต้องได้รับการชำระคืนเงินจำนวนดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ
ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
2. หากราคาอ้อยเกินกว่าราคม 450 บาท/ตัน กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่
กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในอัตราเดียวกับที่คิดกับโครงการอื่น ๆ
3. สำหรับสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดให้มีการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบอยู่แล้ว หากมีความจำเป็นจะต้องขอ
ความช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 21-27 ก.พ. 2543--