กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (24 มีนาคม) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนภายหลังจากการหารือกับนาย Stanley Roth ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับปัญหาและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่มีความสนใจร่วมกัน ทั้งนี้ นายสุรินทร์ ได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ ขยายระยะเวลาของโครงการเร่งรัดฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชียที่มีสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลืออยู่นั้นออกไปอีก เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาและฟื้นฟูอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางอย่างยั่งยืน
2. นายสุรินทร์ฯ ได้แจ้งกับนาย Roth แสดงความห่วงกังกลต่อสวัสดิภาพ สิทธิ และ เสรีภาพของบุคคลสัญชาติไทย 2 คนที่ถูกทางการสหรัฐฯ จับกุม โดยได้ย้ำถึงบัญชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีที่ให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยประสานและดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลทั้งสอง ซึ่งนาย Roth ได้ยืนยันที่จะให้ความเป็นธรรมภายใต้กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ
3. นายสุรินทร์ฯ ได้กล่าวด้วยว่า ตามที่ได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ดูแลและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ แก่บุคคลทั้งสองนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิสว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543 กงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ได้เดินทางไปเยี่ยมบุคคลทั้งสองที่เรือนจำกลางเมือง ซานดิเอโก (Metropolitan Correction Center) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย พบว่าบุคคลทั้งสองมีความเป็นอยู่ปกติ มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ดี และได้รับการปฏิบัติเยี่ยงผู้ต้องขังอื่น ๆ นอกจากนั้น ทางการสหรัฐฯ ได้จัดทนายให้บุคคลทั้งสองเพื่อต่อสู้คดี โดยบุคคลทั้งสองได้พบและหารือกับทนายแล้วและในวันที่ 27 มีนาคม 2543 จะมีการพิจารณาในเรื่องการประกันตัวบุคคลทั้งสอง ซึ่งหากฝ่ายผู้ต้องหายังหาหลักทรัพย์ประกันตัวไม่ทันก็สามารถร้องขอได้ในวันถัดไป และในวันที่ 4 เมษายน 2543 จะมีการพิจารณาคดีเป็นครั้งแรกในลักษณะของการไต่สวนมูลฟ้องว่าคดีมีมูลหรือไม่ นายสุรินทร์ฯ ได้กล่าวย้ำว่า ตามหลักสากล บุคคลสัญชาติไทยทั้งสองยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับคำพิพากษาดังนั้น สิทธิและเสรีภาพของบุคคลทั้งสองจะต้องได้รับการดูแลและปกป้อง และกรณีดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิรัก การค้า การลงทุน และความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทย-อิรัก ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่ออิรักยังคงเป็นไปอย่างราบรื่น--จบ--
วันนี้ (24 มีนาคม) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนภายหลังจากการหารือกับนาย Stanley Roth ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับปัญหาและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่มีความสนใจร่วมกัน ทั้งนี้ นายสุรินทร์ ได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ ขยายระยะเวลาของโครงการเร่งรัดฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชียที่มีสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลืออยู่นั้นออกไปอีก เพื่อเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาและฟื้นฟูอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางอย่างยั่งยืน
2. นายสุรินทร์ฯ ได้แจ้งกับนาย Roth แสดงความห่วงกังกลต่อสวัสดิภาพ สิทธิ และ เสรีภาพของบุคคลสัญชาติไทย 2 คนที่ถูกทางการสหรัฐฯ จับกุม โดยได้ย้ำถึงบัญชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีที่ให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยประสานและดูแลเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลทั้งสอง ซึ่งนาย Roth ได้ยืนยันที่จะให้ความเป็นธรรมภายใต้กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ
3. นายสุรินทร์ฯ ได้กล่าวด้วยว่า ตามที่ได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ดูแลและอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ แก่บุคคลทั้งสองนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิสว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543 กงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ได้เดินทางไปเยี่ยมบุคคลทั้งสองที่เรือนจำกลางเมือง ซานดิเอโก (Metropolitan Correction Center) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย พบว่าบุคคลทั้งสองมีความเป็นอยู่ปกติ มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ดี และได้รับการปฏิบัติเยี่ยงผู้ต้องขังอื่น ๆ นอกจากนั้น ทางการสหรัฐฯ ได้จัดทนายให้บุคคลทั้งสองเพื่อต่อสู้คดี โดยบุคคลทั้งสองได้พบและหารือกับทนายแล้วและในวันที่ 27 มีนาคม 2543 จะมีการพิจารณาในเรื่องการประกันตัวบุคคลทั้งสอง ซึ่งหากฝ่ายผู้ต้องหายังหาหลักทรัพย์ประกันตัวไม่ทันก็สามารถร้องขอได้ในวันถัดไป และในวันที่ 4 เมษายน 2543 จะมีการพิจารณาคดีเป็นครั้งแรกในลักษณะของการไต่สวนมูลฟ้องว่าคดีมีมูลหรือไม่ นายสุรินทร์ฯ ได้กล่าวย้ำว่า ตามหลักสากล บุคคลสัญชาติไทยทั้งสองยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับคำพิพากษาดังนั้น สิทธิและเสรีภาพของบุคคลทั้งสองจะต้องได้รับการดูแลและปกป้อง และกรณีดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิรัก การค้า การลงทุน และความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทย-อิรัก ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่ออิรักยังคงเป็นไปอย่างราบรื่น--จบ--