แท็ก
WTO
ITCB (International Textiles and Clothing Bureau) ตกลงจัดทำรายการสินค้าสิ่งทอที่ต้องการให้ ประเทศผู้นำเข้าเปิดตลาดในช่วงที่ 3 ภายใต้ความตกลงสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มของ WTO ซึ่งจะเริ่ม ตั้งแต่ต้นปี 2545 โดยให้เริ่มดำเนินการจัดทำรายการสินค้าในการประชุม ITCB ที่เจนีวา นอกจากนี้ สมาชิก ITCB ยังได้ปฏิเสธเงื่อนไขของสหภาพยุโรปที่พยายามบีบบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนาเปิดตลาด เพิ่มเติมเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการเปิดเสรีสิ่งทอของสหภาพยุโรปในช่วงที่ 3 ITCB เป็นองค์กรที่เกิดจาก การรวมตัวของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ส่งออกสิ่งทอ โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2527 มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศผู้นำเข้าเพื่อลดการปกป้องและกีดกันการนำเข้าสิ่งทอ และให้ประเทศ กำลังพัฒนาได้ใช้ประโยชน์จากกฎ ระเบียบของความตกลงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Agreement on Textiles and Clothing: ATC) ของ WTO อย่างเต็มที่ โดยมีการประชุมปีละครั้งเป็นประจำทุกปี และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม — 2 มิถุนายน 2543 เป็นการประชุมครั้งที่ 31 ณ กรุงกัวเตมาลาซิตี้ ประเทศกัวเตมาลา โดยได้วิเคราะห์สภาวะธุรกิจสิ่งทอในปัจจุบันและแนวโน้มของธุรกิจในอนาคต พิจารณาทบทวนการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ ATC ของประเทศผู้นำเข้า ตลอดจนกำหนดแผนการ ดำเนินการในช่วงเวลาที่เหลือของความตกลงฯ และหลังจากสิ้นสุดความตกลงฯ ซึ่งประเด็นหนึ่งที่สมาชิก เห็นร่วมกัน คือ การให้ ITCB จัดทำรายการสินค้าที่ประเทศสมาชิกต้องการให้ประเทศ ผู้นำเข้าเปิดตลาด (Wishlist) ในช่วงที่ 3 ของความตกลง ATC เพื่อยื่นต่อประเทศผู้นำเข้า เนื่องจากการเปิดตลาดของ ประเทศผู้นำเข้าใน 2 ช่วงที่ผ่านมา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 — 2544) ประเทศผู้นำเข้าไม่ได้นำสินค้าที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้ส่งออกมาเปิดเสรี ดังนั้น ผู้ส่งออกจากประเทศกำลังพัฒนาจึงไม่ได้รับประโยชน์จาก การเปิดเสรีอย่างจริงจัง สินค้าสิ่งทอภายใต้โควตาก็ถูกนำมาเปิดเสรีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้น ยังมีความเป็นไปได้ว่าการดำเนินการเปิดตลาดในช่วงที่ 3 นี้ ประเทศผู้นำเข้าจะไม่นำรายการสินค้าที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้ส่งออกมาเปิดตลาด ดังนั้น เพื่อให้การเปิดตลาดในช่วงที่ 3 เกิดประโยชน์กับผู้ส่งออกอย่าง แท้จริง สมาชิกจึงมีมติให้ ITCB จัดทำรายการสินค้าที่สมาชิกได้รับประโยชน์ร่วมกันยื่นต่อประเทศผู้นำเข้า สิ่งทอ โดยเฉพาะ สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา สำหรับรายการสินค้าที่จะจัดทำนั้น ที่ประชุมเห็นว่า การเปิดเสรีในช่วงที่ 3 ควรครอบคลุมสินค้าภายใต้โควตาอย่างน้อยที่สุดร้อยละ 50 ของปริมาณการนำเข้า สินค้าปี 2533 แต่เนื่องจากประเทศสมาชิกมีความสนใจในรายการสินค้าที่ต่างกัน ซึ่งต้องใช้เวลาในการ ดำเนินการจัดทำรายการสินค้าเพื่อที่ประเทศสมาชิกจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้น ที่ประชุมเห็นควรเริ่ม ดำเนินการจัดทำรายการสินค้าในการประชุม ITCB ที่เจนีวา ซึ่งการดำเนินการควรเสร็จก่อนสิ้นปีนี้เพื่อ ยื่นให้ประเทศผู้นำเข้าซึ่งต้องแจ้งรายการสินค้าที่จะเปิดเสรีในช่วงที่ 3 ภายในสิ้นปี 2543 การดำเนินการ จัดทำรายการสินค้าเพื่อยื่นต่อประเทศผู้นำเข้าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศผู้ส่งออกที่ต้องการให้ การเปิดเสรีมีผลเป็นรูปธรรมและมีประโยชน์อย่างจริงจัง ซึ่งผู้ประกอบของไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องดำเนินการพิจารณาจัดทำรายการสินค้าของไทยที่ต้องการให้ประเทศผู้นำเข้าเปิดตลาด อย่างไรก็ตาม การยื่นรายการสินค้าดังกล่าวไม่อาจประกันได้ว่าจะมีผลทำให้สหภาพยุโรปหรือสหรัฐฯ นำสินค้าในรายการ มาเปิดตลาดให้ในช่วงที่ 3 เนื่องจากสหรัฐฯ ได้ประกาศรายการสินค้าที่จะเปิดตลาดทั้ง 4 ช่วงแล้ว ตั้งแต่การเปิดตลาดในช่วงแรก และสหภาพยุโรปก็ได้แสดงท่าทีที่ต้องการให้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาด เป็นการแลกเปลี่ยนกับการเปิดตลาด (reciprocal market access) สินค้าที่สหภาพยุโรปมีความอ่อนไหว อย่างไรก็ดี ITCB ได้มีมติโดยเอกฉันท์ปฏิเสธเงื่อนไขของสหภาพยุโรปดังกล่าว โดยเห็นว่าประเทศ พัฒนาแล้วควรปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ ATC อย่างเคร่งครัด และไม่ควรกำหนดเงื่อนไขนอกเหนือ พันธกรณีที่ได้ตกลงกันไว้ ความตกลงสิ่งทอฯ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างสมาชิก WTO จากผลการเจรจา รอบอุรุกวัยได้กำหนดให้มีการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอในระยะเวลา 10 ปี (จากปี 2538 — 2547) ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และแคนาดา ต้องยกเลิกระบบการใช้โควตานำเข้า อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการยกเลิกโควตาถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วง การเปิดเสรีช่วงที่ 3 จะเริ่มขึ้นในต้นปี 2545 และภายในปี 2547 การค้าสิ่งทอทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของแกตต์ซึ่งไม่อนุญาตให้ มีการใช้ระบบโควตานำเข้าอีกต่อไป
--กรมส่งเสริมการส่งออก มิถุนายน 2543--
-ยก-
--กรมส่งเสริมการส่งออก มิถุนายน 2543--
-ยก-