ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.4 และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.0 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่มราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.9) โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีนมีความต้องการบริโภคมาก และในเดือนเมษายนปริมาณพืชผักออกสู่ตลาดน้อยเพราะสภาพอากาศร้อน รองลงมาได้แก่ หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ร้อยละ 1.6) หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ (ร้อยละ 0.4) เนื่องจากปริมาณผลผลิตสุกร และไก่สดไม่เพียงพอต่อความต้องการ สำหรับหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารเพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ (ร้อยละ 6.3) รองลงมาได้แก่ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 3.8) ตามการขึ้นภาษีสรรพสามิตสุรา และยาสูบเมื่อปลายเดือนมีนาคม หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ร้อยละ 2.4) และหมวดเคหสถาน (ร้อยละ 1.6) จากการขึ้นค่ากระแสไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มตามต้นทุนการผลิต
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นตามราคาหมวดผลิตภัณฑ์อาหารและปิโตรเลียมเป็นหลัก
ดัชนีราคาผู้ผลิตในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในทุกหมวด โดยหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 12.4) รองลงมา ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม (ร้อยละ 4.6) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ร้อยละ 3.2) สำหรับหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาหมวดลิกไนต์ ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 23.0) จากราคาก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์ และป่าไม้เพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 5.3) เป็นผลจากมาตรการแทรกแซงราคาในตลาดปาล์มน้ำมัน ประกอบกับความต้องการเพิ่มขึ้น และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 14.8) เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดสูงขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 4.8) เนื่องจากความต้องการไก่สดเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ กอปรกับการขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบ และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์ (ร้อยละ 3.5) ตามการสูงขึ้นของราคารถยนต์นั่งและรถบรรทุก จากภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.4 และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.0 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่มราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.9) โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีนมีความต้องการบริโภคมาก และในเดือนเมษายนปริมาณพืชผักออกสู่ตลาดน้อยเพราะสภาพอากาศร้อน รองลงมาได้แก่ หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ร้อยละ 1.6) หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ (ร้อยละ 0.4) เนื่องจากปริมาณผลผลิตสุกร และไก่สดไม่เพียงพอต่อความต้องการ สำหรับหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารเพิ่มขึ้นมากที่สุด เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ (ร้อยละ 6.3) รองลงมาได้แก่ หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 3.8) ตามการขึ้นภาษีสรรพสามิตสุรา และยาสูบเมื่อปลายเดือนมีนาคม หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ร้อยละ 2.4) และหมวดเคหสถาน (ร้อยละ 1.6) จากการขึ้นค่ากระแสไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มตามต้นทุนการผลิต
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นตามราคาหมวดผลิตภัณฑ์อาหารและปิโตรเลียมเป็นหลัก
ดัชนีราคาผู้ผลิตในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในทุกหมวด โดยหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 12.4) รองลงมา ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม (ร้อยละ 4.6) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ร้อยละ 3.2) สำหรับหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาหมวดลิกไนต์ ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 23.0) จากราคาก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์ และป่าไม้เพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 5.3) เป็นผลจากมาตรการแทรกแซงราคาในตลาดปาล์มน้ำมัน ประกอบกับความต้องการเพิ่มขึ้น และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 14.8) เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดสูงขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 4.8) เนื่องจากความต้องการไก่สดเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ กอปรกับการขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบ และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์ (ร้อยละ 3.5) ตามการสูงขึ้นของราคารถยนต์นั่งและรถบรรทุก จากภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-