ผลการประชุม : คณะกรรมการจัดการการผลิตและการตลาด กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง ครั้งที่ 3/2544
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ คณะอนุกรรมการฯ ขอรายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2544 ซึ่งเห็นชอบ ดังนี้
1. แนวทางการจัดการการผลิตและการตลาดสินค้า กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และมันฝรั่งในปี 2545/46 ดังนี้
1.1 กระเทียม กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 112,700 ไร่ ผลผลิต 103,100 ตัน
1.2 หอมแดง กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 71,300 ไร่ ผลผลิต 142,650 ตัน
1.3 มันฝรั่ง กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 57,200 ไร่ ผลผลิต 98,600 ตัน
1.4 หอมหัวใหญ่ กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 15,355 ไร่ ผลผลิต 77,190 ตัน
2. ให้เปิดตลาด กระเทียม หอมหัวใหญ่และเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง ปี 2545 ดังนี้
กระเทียมเปิดตลาดตามพิกัด 0703.20.0007 0712.90.0115 และ 0712.90.0128 เป็นไปตามข้อผูกพัน WTO ทั้งปริมาณและภาษี คือ ปริมาณในโควตา 64.33 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 27 นอกโควตาอัตราภาษีร้อยละ 58.2 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า
เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ เปิดตลาดเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ตามพิกัด 1209.91 ปริมาณในโควตา 6.283 ตัน (13,850 ปอนด์) อัตราภาษีร้อยละ 0 นอกโควตาอัตราภาษีร้อยละ 222.80 รวมงานวิจัยและทดสอบความงอก 50 ปอนด์ โดยให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า
หอมหัวใหญ่ เปิดตลาดหอมหัวใหญ่ ตามพิกัด 0703.100.005, 0712.20 และ 0712.90 ปริมาณในโควตา 361.22 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 27 นอกโควตาเป็นไปตามข้อผูกพัน WTO ร้อยละ 145.20 ให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า
มันฝรั่ง เปิดตลาดมันฝรั่ง ตามพิกัด 0701 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 เห็นชอบเปิดตลาดมันฝรั่งไม่จำกัดจำนวน โดยปี 2545 อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 0 นอกโควตาร้อยละ 127.80 โดยให้นิติบุคคลเป็นผู้นำเข้าภายใต้เงื่อนไขคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง เป็นผู้กำหนด
3. การนำเข้าหัวมันฝรั่งทำพันธุ์ ปี 2545
ให้มีการนำเข้าหัวมันฝรั่ง เพื่อทำพันธุ์ในปี 2545 โดยเสียภาษีร้อยละ 0 ให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่ขอนำเข้า ดังนี้
ปริมาณ (ตัน)
- บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด 674.55
- บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด 60.00
- บริษัทยูนิแชมป์ 51.00 รวม 785.55
โดยบริษัทมีข้อตกลงจะขายหัวพันธุ์ให้เกษตรกรไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท และรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรกิโลกรัมละ 7.00-7.30 บาท
ปาล์มน้ำมัน : ชาวสวนปาล์มเดือดร้อนวอนรัฐกระตุ้นนำน้ำมันปาล์มมาใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง
ราคาผลปาล์มดิ่งลดลงตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนเป็นต้นมา โดยในสัปดาห์นี้ราคาผลปาล์มลดลงจากกิโลกรัมละ 1.06 บาท ในสัปดาห์ที่แล้วเหลือ 1.00 บาท/กก. ในสัปดาห์นี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาในขณะนี้ คือ
1. มาเลเซียและอินโดนีเซีย ส่งออกน้ำมันปาล์มได้ลดลงอันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน ทำให้ปากีสถาน อินเดีย และ EU นำเข้าน้ำมันปาล์มลดลง
2. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกและภาวะเศรษฐกิจที่ชงักงันในขณะนี้ทำให้ประชาชนใช้จ่ายอย่างระมัดระวังขึ้น ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มในตลาดโลกลดลง
3. ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่คือ อินเดียเพิ่มมาตรการนำเข้าน้ำมันปาล์มมากขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชอื่น กล่าวคือ เก็บภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบร้อยละ 75 น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ร้อยละ 92.4 ขณะที่เก็บภาษีนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองดิบร้อยละ 45 น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ร้อยละ 50.8 อีกทั้งได้กำหนดวิธีแตกต่างกันคือ ในการคำนวณภาษี กรณีน้ำมันปาล์มให้ใช้ราคากลาง (Tariff Value) เป็นฐานในการคำนวณภาษี ขณะที่น้ำมันพืชอื่นใช้ราคานำเข้าจริง (Invoice Value) เป็นฐานในการคำนวณภาษี ประกอบกับความเสี่ยงในการขนส่งจากปัญหาสงครามในอัฟกานิสถาน ส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นอีกตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้นผู้นำเข้าจึงหันมานำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปาล์ม เพราะภาษีนำเข้าถูกกว่าสำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ในสถานการณ์ปกติเป็นช่วงที่ตลาดจะมีความต้องการบริโภคน้ำมันปาล์มสูง เนื่องจากเป็นช่วงอากาศหนาว และเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาล Ramadon ของชาวมุสลิม เทศกาลกินเจ คริสมาสต์ และปีใหม่ อย่างไรก็ตามในปีนี้คาดว่าความต้องการจะโน้มตัวเพิ่มจากช่วงอื่นไม่มากนัก ดังนั้นสถานการณ์การค้าและราคาน้ำมันปาล์มในไตรมาสสุดท้ายของปีและต้นปีหน้าจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคมและมีนาคมเฉลี่ยตันละ 880 ริงกิต/ตัน (10.06 บาท/กก.) และ910 ริงกิต/ตัน (10.40 บาท/กก.) ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทยลดลงเหลือกิโลกรัมละ 8.50-9.00 บาท คิดเทียบเป็นราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 0.95-1.05 บาท/กก. ณ หน้าโรงงาน
ข้อคิดเห็น
เพื่อรักษาระดับราคาผลปาล์มภายใน ควรสนับสนุนให้มีการใช้น้ำมันปาล์มภายในประเทศเพิ่มขึ้นโดยนำไปใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ ปตท.ซื้อน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เพื่อนำไปใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่อง ตามมติ ครม.วันที่ 10 กรกฎาคม 2544 และส่งเสริมให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตนำน้ำมันปาล์มดิบไปใช้ทดแทนน้ำมันเตา โดยรัฐจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างของราคาน้ำมันเตากับราคาน้ำมันปาล์มดิบ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 8-14 ต.ค. 2544--
-สส-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ คณะอนุกรรมการฯ ขอรายงานผลการประชุมคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2544 ซึ่งเห็นชอบ ดังนี้
1. แนวทางการจัดการการผลิตและการตลาดสินค้า กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และมันฝรั่งในปี 2545/46 ดังนี้
1.1 กระเทียม กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 112,700 ไร่ ผลผลิต 103,100 ตัน
1.2 หอมแดง กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 71,300 ไร่ ผลผลิต 142,650 ตัน
1.3 มันฝรั่ง กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 57,200 ไร่ ผลผลิต 98,600 ตัน
1.4 หอมหัวใหญ่ กำหนดพื้นที่เป้าหมาย 15,355 ไร่ ผลผลิต 77,190 ตัน
2. ให้เปิดตลาด กระเทียม หอมหัวใหญ่และเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง ปี 2545 ดังนี้
กระเทียมเปิดตลาดตามพิกัด 0703.20.0007 0712.90.0115 และ 0712.90.0128 เป็นไปตามข้อผูกพัน WTO ทั้งปริมาณและภาษี คือ ปริมาณในโควตา 64.33 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 27 นอกโควตาอัตราภาษีร้อยละ 58.2 โดยให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า
เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ เปิดตลาดเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ตามพิกัด 1209.91 ปริมาณในโควตา 6.283 ตัน (13,850 ปอนด์) อัตราภาษีร้อยละ 0 นอกโควตาอัตราภาษีร้อยละ 222.80 รวมงานวิจัยและทดสอบความงอก 50 ปอนด์ โดยให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า
หอมหัวใหญ่ เปิดตลาดหอมหัวใหญ่ ตามพิกัด 0703.100.005, 0712.20 และ 0712.90 ปริมาณในโควตา 361.22 ตัน อัตราภาษีร้อยละ 27 นอกโควตาเป็นไปตามข้อผูกพัน WTO ร้อยละ 145.20 ให้ชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้นำเข้า
มันฝรั่ง เปิดตลาดมันฝรั่ง ตามพิกัด 0701 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 เห็นชอบเปิดตลาดมันฝรั่งไม่จำกัดจำนวน โดยปี 2545 อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 0 นอกโควตาร้อยละ 127.80 โดยให้นิติบุคคลเป็นผู้นำเข้าภายใต้เงื่อนไขคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง เป็นผู้กำหนด
3. การนำเข้าหัวมันฝรั่งทำพันธุ์ ปี 2545
ให้มีการนำเข้าหัวมันฝรั่ง เพื่อทำพันธุ์ในปี 2545 โดยเสียภาษีร้อยละ 0 ให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่ขอนำเข้า ดังนี้
ปริมาณ (ตัน)
- บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด 674.55
- บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด 60.00
- บริษัทยูนิแชมป์ 51.00 รวม 785.55
โดยบริษัทมีข้อตกลงจะขายหัวพันธุ์ให้เกษตรกรไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท และรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรกิโลกรัมละ 7.00-7.30 บาท
ปาล์มน้ำมัน : ชาวสวนปาล์มเดือดร้อนวอนรัฐกระตุ้นนำน้ำมันปาล์มมาใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง
ราคาผลปาล์มดิ่งลดลงตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนเป็นต้นมา โดยในสัปดาห์นี้ราคาผลปาล์มลดลงจากกิโลกรัมละ 1.06 บาท ในสัปดาห์ที่แล้วเหลือ 1.00 บาท/กก. ในสัปดาห์นี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาในขณะนี้ คือ
1. มาเลเซียและอินโดนีเซีย ส่งออกน้ำมันปาล์มได้ลดลงอันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถาน ทำให้ปากีสถาน อินเดีย และ EU นำเข้าน้ำมันปาล์มลดลง
2. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกและภาวะเศรษฐกิจที่ชงักงันในขณะนี้ทำให้ประชาชนใช้จ่ายอย่างระมัดระวังขึ้น ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มในตลาดโลกลดลง
3. ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่คือ อินเดียเพิ่มมาตรการนำเข้าน้ำมันปาล์มมากขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชอื่น กล่าวคือ เก็บภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบร้อยละ 75 น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ร้อยละ 92.4 ขณะที่เก็บภาษีนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองดิบร้อยละ 45 น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ร้อยละ 50.8 อีกทั้งได้กำหนดวิธีแตกต่างกันคือ ในการคำนวณภาษี กรณีน้ำมันปาล์มให้ใช้ราคากลาง (Tariff Value) เป็นฐานในการคำนวณภาษี ขณะที่น้ำมันพืชอื่นใช้ราคานำเข้าจริง (Invoice Value) เป็นฐานในการคำนวณภาษี ประกอบกับความเสี่ยงในการขนส่งจากปัญหาสงครามในอัฟกานิสถาน ส่งผลให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นอีกตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้นผู้นำเข้าจึงหันมานำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปาล์ม เพราะภาษีนำเข้าถูกกว่าสำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ในสถานการณ์ปกติเป็นช่วงที่ตลาดจะมีความต้องการบริโภคน้ำมันปาล์มสูง เนื่องจากเป็นช่วงอากาศหนาว และเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาล Ramadon ของชาวมุสลิม เทศกาลกินเจ คริสมาสต์ และปีใหม่ อย่างไรก็ตามในปีนี้คาดว่าความต้องการจะโน้มตัวเพิ่มจากช่วงอื่นไม่มากนัก ดังนั้นสถานการณ์การค้าและราคาน้ำมันปาล์มในไตรมาสสุดท้ายของปีและต้นปีหน้าจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมกราคมและมีนาคมเฉลี่ยตันละ 880 ริงกิต/ตัน (10.06 บาท/กก.) และ910 ริงกิต/ตัน (10.40 บาท/กก.) ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทยลดลงเหลือกิโลกรัมละ 8.50-9.00 บาท คิดเทียบเป็นราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 0.95-1.05 บาท/กก. ณ หน้าโรงงาน
ข้อคิดเห็น
เพื่อรักษาระดับราคาผลปาล์มภายใน ควรสนับสนุนให้มีการใช้น้ำมันปาล์มภายในประเทศเพิ่มขึ้นโดยนำไปใช้ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ ปตท.ซื้อน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เพื่อนำไปใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่อง ตามมติ ครม.วันที่ 10 กรกฎาคม 2544 และส่งเสริมให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตนำน้ำมันปาล์มดิบไปใช้ทดแทนน้ำมันเตา โดยรัฐจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างของราคาน้ำมันเตากับราคาน้ำมันปาล์มดิบ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 8-14 ต.ค. 2544--
-สส-