กรุงเทพฯ--17 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังการกล่าวสุนทรพจน์ ณ สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย (Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry: FICCI) ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดียเสนอให้มีการจัดตั้งคณะศึกษาความเป็นไปได้ของเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย โดยฝ่ายอินเดียแจ้งว่าจะตั้งคณะศึกษาความเป็นไปได้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่าตนจะนำเรื่องนี้เสนอในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติ (กนศ.) และจะมอบให้ ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาหารือกับภาคเอกชนไทยเรื่องการจัดตั้งคณะทำงานศึกษาร่วมกับฝ่ายอินเดีย
2. ภาคเอกชนอินเดียได้แสดงความสนใจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากประเทศอินเดียมีศักยภาพในด้านนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ จะมอบให้ ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล ซึ่งเป็นที่ปรึกษาจัดตั้งคณะทำงานด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ โดยอาจแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนพิเศษ (special envoy) นำคณะนักธุรกิจไปพบกับสมาคมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของอินเดีย
3. ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดียแสดงความสนใจให้นักธุรกิจอินเดียติดตามความเคลื่อนไหวโครงการต่างๆ ระหว่างอินเดีย พม่าและไทย โดยเฉพาะข้อเสนอของไทยเรื่องความร่วมมือของประเทศในเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue)
4. นายกสมาคมการประมงของทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสหารือกันระหว่างการเยือนครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สัมปทานประมงน้ำลึก การร่วมลงทุน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง หากมีการตกลงกฏเกณฑ์เงื่อนไขที่ชัดเจนฝ่ายไทยก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม เท่าที่ผ่านมาอินเดียไม่เปิดโอกาสให้ประเทศอื่นเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำอินเดีย จึงมีกรณีล่วงละเมิดน่านน้ำและการจับกุมชาวประมงต่างชาติ ดังนั้นหากมีการแบ่งปันผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายจะได้รับประโยชน์สูงสุด
5. ฝ่ายอินเดียตั้งภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย เช่น เมลามิน เรซิน สูงมากจึงทำให้สินค้าไทยเข้าตลาดอินเดียยาก ดังนั้น หากทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้เรื่องเขตการค้าเสรีก็จะช่วยลดกำแพงภาษีลงได้ โดยไทยจะเป็นประตูสู่ประเทศในอาเซียนและอินเดียจะเป็นประตูไปสู่ประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งจะขยายตลาดสินค้าให้กับทั้งสองประเทศ
6. การเยือนอินเดียของดร.สุรเกียรติ์ฯ ครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายได้พบและทำความรู้จักกัน ซึ่งเป็นการปูทางความร่วมมือซึ่งกันและกันในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังการกล่าวสุนทรพจน์ ณ สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย (Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry: FICCI) ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดียเสนอให้มีการจัดตั้งคณะศึกษาความเป็นไปได้ของเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย โดยฝ่ายอินเดียแจ้งว่าจะตั้งคณะศึกษาความเป็นไปได้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่าตนจะนำเรื่องนี้เสนอในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติ (กนศ.) และจะมอบให้ ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาหารือกับภาคเอกชนไทยเรื่องการจัดตั้งคณะทำงานศึกษาร่วมกับฝ่ายอินเดีย
2. ภาคเอกชนอินเดียได้แสดงความสนใจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากประเทศอินเดียมีศักยภาพในด้านนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ จะมอบให้ ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล ซึ่งเป็นที่ปรึกษาจัดตั้งคณะทำงานด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ โดยอาจแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนพิเศษ (special envoy) นำคณะนักธุรกิจไปพบกับสมาคมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของอินเดีย
3. ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดียแสดงความสนใจให้นักธุรกิจอินเดียติดตามความเคลื่อนไหวโครงการต่างๆ ระหว่างอินเดีย พม่าและไทย โดยเฉพาะข้อเสนอของไทยเรื่องความร่วมมือของประเทศในเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue)
4. นายกสมาคมการประมงของทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสหารือกันระหว่างการเยือนครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สัมปทานประมงน้ำลึก การร่วมลงทุน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง หากมีการตกลงกฏเกณฑ์เงื่อนไขที่ชัดเจนฝ่ายไทยก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม เท่าที่ผ่านมาอินเดียไม่เปิดโอกาสให้ประเทศอื่นเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำอินเดีย จึงมีกรณีล่วงละเมิดน่านน้ำและการจับกุมชาวประมงต่างชาติ ดังนั้นหากมีการแบ่งปันผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายจะได้รับประโยชน์สูงสุด
5. ฝ่ายอินเดียตั้งภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย เช่น เมลามิน เรซิน สูงมากจึงทำให้สินค้าไทยเข้าตลาดอินเดียยาก ดังนั้น หากทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้เรื่องเขตการค้าเสรีก็จะช่วยลดกำแพงภาษีลงได้ โดยไทยจะเป็นประตูสู่ประเทศในอาเซียนและอินเดียจะเป็นประตูไปสู่ประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งจะขยายตลาดสินค้าให้กับทั้งสองประเทศ
6. การเยือนอินเดียของดร.สุรเกียรติ์ฯ ครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายได้พบและทำความรู้จักกัน ซึ่งเป็นการปูทางความร่วมมือซึ่งกันและกันในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-