1. สถานการณ์การผลิต คชก. อนุมัติเงินกองทุนฯ 158 ล้าน ช่วยชาวประมง
ปัญหาราคาน้ำมันโน้มสูงขึ้น และได้ส่งผลกระทบทำให้ชาวประมงจำนวนมาก ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถออกเรือทำการประมงได้ เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไม่คุ้มกับการออกเรือแต่ละเที่ยว
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุม ได้อนุมัติโครงการช่วยเหลือชาวประมง โดยการนำเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 158 ล้านบาท มาชดเชยราคาน้ำมันดีเซลในอัตรา 3 บาท/ลิตร จากราคา หน้าปั๊ม ลิตรละ 12.85 บาท และจะชดเชยให้จนกว่าจะหมดวงเงิน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (14-19 มีค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,164.91 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 539.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 625.75 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.63 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 39.99 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 80.30 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 52.91 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด จีนยังไม่ต่อใบอนุญาตนำเข้าตะพาบน้ำจากไทย
รายงานข่าวจากผู้ส่งออกตะพาบน้ำในจังหวัดระยองแจ้งว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ส่งออกตะพาบน้ำต่างประสบปัญหาราคาตะพาบน้ำตกต่ำลงเรื่อย ๆ จากต้นปีอยู่ที่ กก.ละ 270-320 บาท ขณะนี้ลดลงเหลือเพียงกก.ละ 80-106 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากว่า ในปีนี้ประเทศจีนสามารถเลี้ยงตะพาบน้ำได้ปริมาณมากและราคาในประเทศก็ลดลงด้วย ทำให้ความต้องการตะพาบน้ำจากไทยลดน้อยลง อีกทั้งจีนยังได้ตั้งข้อกีดกันการนำเข้าจากไทยมากขึ้นโดยอ้างว่าตะพาบน้ำของไทยนั้นติดเชื้อซัลโมเนลา ซึ่งเป็นเชื้อโรคประเภทอหิวาตกโรคชนิดหนึ่ง นอกจากนั้นยังอ้างว่าตะพาบน้ำที่นำเข้าจากไทยมีปัญหาด้านมาตรฐานสุขอนามัยอีกด้วย
จากข้ออ้างดังกล่าว ทำให้จีนไม่ต่อใบอนุญาตนำเข้าตะพาบน้ำให้แก่ผู้ส่งออกไทยตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 และจนถึงขณะนี้ก็ไม่มีการต่อใบอนุญาตให้ แต่อย่างใด ทำให้ผู้ส่งออกส่วนใหญ่หาทางออกในการระบายตะพาบน้ำออกสู่ตลาดจีนด้วยการลักลอบนำเข้าผ่านประเทศสิงคโปร์ จากนั้นขนถ่ายทางเรือไปประเทศจีนอีก ต่อหนึ่ง ซึ่งผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ทุกวัน เพราะหากวันไหนกรมศุลกากรตั้งด่านตรวจผู้ส่งออกจะต้องปิดตลาดการรับซื้อทันที ส่งผลให้ราคาตะพาบน้ำที่เกษตรกรขายได้ลดลงด้วย ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.84 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 355.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 364.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 252.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 257.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 15.66 บาท ลดลงจาก 16.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท 2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.81 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 20-24 มีค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.36 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 20 - 26 มี.ค.2543--
ปัญหาราคาน้ำมันโน้มสูงขึ้น และได้ส่งผลกระทบทำให้ชาวประมงจำนวนมาก ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถออกเรือทำการประมงได้ เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไม่คุ้มกับการออกเรือแต่ละเที่ยว
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุม ได้อนุมัติโครงการช่วยเหลือชาวประมง โดยการนำเงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 158 ล้านบาท มาชดเชยราคาน้ำมันดีเซลในอัตรา 3 บาท/ลิตร จากราคา หน้าปั๊ม ลิตรละ 12.85 บาท และจะชดเชยให้จนกว่าจะหมดวงเงิน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (14-19 มีค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,164.91 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 539.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 625.75 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.63 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 39.99 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 80.30 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 52.91 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด จีนยังไม่ต่อใบอนุญาตนำเข้าตะพาบน้ำจากไทย
รายงานข่าวจากผู้ส่งออกตะพาบน้ำในจังหวัดระยองแจ้งว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ส่งออกตะพาบน้ำต่างประสบปัญหาราคาตะพาบน้ำตกต่ำลงเรื่อย ๆ จากต้นปีอยู่ที่ กก.ละ 270-320 บาท ขณะนี้ลดลงเหลือเพียงกก.ละ 80-106 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากว่า ในปีนี้ประเทศจีนสามารถเลี้ยงตะพาบน้ำได้ปริมาณมากและราคาในประเทศก็ลดลงด้วย ทำให้ความต้องการตะพาบน้ำจากไทยลดน้อยลง อีกทั้งจีนยังได้ตั้งข้อกีดกันการนำเข้าจากไทยมากขึ้นโดยอ้างว่าตะพาบน้ำของไทยนั้นติดเชื้อซัลโมเนลา ซึ่งเป็นเชื้อโรคประเภทอหิวาตกโรคชนิดหนึ่ง นอกจากนั้นยังอ้างว่าตะพาบน้ำที่นำเข้าจากไทยมีปัญหาด้านมาตรฐานสุขอนามัยอีกด้วย
จากข้ออ้างดังกล่าว ทำให้จีนไม่ต่อใบอนุญาตนำเข้าตะพาบน้ำให้แก่ผู้ส่งออกไทยตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 และจนถึงขณะนี้ก็ไม่มีการต่อใบอนุญาตให้ แต่อย่างใด ทำให้ผู้ส่งออกส่วนใหญ่หาทางออกในการระบายตะพาบน้ำออกสู่ตลาดจีนด้วยการลักลอบนำเข้าผ่านประเทศสิงคโปร์ จากนั้นขนถ่ายทางเรือไปประเทศจีนอีก ต่อหนึ่ง ซึ่งผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ทุกวัน เพราะหากวันไหนกรมศุลกากรตั้งด่านตรวจผู้ส่งออกจะต้องปิดตลาดการรับซื้อทันที ส่งผลให้ราคาตะพาบน้ำที่เกษตรกรขายได้ลดลงด้วย ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.84 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.17 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 355.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 364.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 252.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 257.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 15.66 บาท ลดลงจาก 16.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท 2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.81 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 20-24 มีค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.24 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.36 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 20 - 26 มี.ค.2543--