อุตสาหกรรมเซรามิกส์ มีผลิตภัณฑ์มากมายหลายชนิด ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ของชำร่วย
เครื่องประดับ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และลูกถ้วยไฟฟ้า เป็นต้น เดิมอุตสาหกรรมเซรามิกส์ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และได้พัฒนาเทคโนโลยี
การผลิตอย่างต่อเนื่องจนสามารถผลิตเพื่อส่งออกนำรายได้เข้าประเทศปีละหมื่นล้านบาท เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก มีการ
กระจายรายได้ไปสู่ชนบท จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
1. การผลิต
โดยภาพรวมแล้วการผลิตเซรามิกส์มีการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 70 โดยการผลิตเซรามิกส์ส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ยกเว้น
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และลูกถ้วยไฟฟ้า ที่ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ
การผลิตเซรามิกส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 โดยเฉพาะการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงมีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้นและยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าก่อนเกิดวิกฤต ประกอบกับ
เริ่มมีการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ สำหรับในระยะยาวการผลิตเซรามิกส์อาจจะได้รับผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลทำให้การผลิตเซรามิกส์เพื่อการส่งออกลดลง
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ตลาดของผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ในประเทศ เริ่มมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยการ
จำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี สำหรับการแข่งขันจะเน้นส่งเสริมการขาย เช่น จัดขายสุขภัณฑ์
ครบชุดในราคาพิเศษ จัดทำสารคดีทางโทรทัศน์ จัดทำเว็บไซต์ พัฒนาตัวแทนจำหน่าย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นพัฒนาคุณภาพ
สินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 มีมูลค่า 91.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 13.48 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2544 (ดังตารางที่ 1) ยังคงมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.95 ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะสั้นยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเกิดวิกฤตในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจาก มีคำสั่งซื้อล่วงหน้า
ก่อนเกิดวิกฤต แต่ในระยะยาวการส่งออกอาจจะได้รับผลกระทบ และเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO สหภาพยุโรป ซึ่งเดิมเคยกำหนดโควต้า
การนำเข้าจากจีนต้องยกเลิกโควต้าดังกล่าว ทำให้สินค้าของจีนมีโอกาสเข้ามาแข่งขันกับสินค้าไทยในตลาดยุโรปมากขึ้น
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จะมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่น
รองลงมาคือ เครื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และของชำร่วยเครื่องประดับ ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐ
อเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหราชอาณาจักร แคนาดา ไต้หวัน ออสเตรเลีย เยอรมัน และประเทศในกลุ่มอาเซียน
ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2544 ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และ
เครื่องสุขภัณฑ์ โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.91 13.95 และ 6.93 ตามลำดับ ซึ่งผู้ผลิตได้ขยายฐานการส่งออกจาก
ตลาดหลัก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ไปยังตลาด อาเซียนและตลาดอื่น ๆ มากขึ้น หลังจากที่ตลาดสหรัฐอเมริกาเริ่มซบเซา และ
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2543 มีเพียงผลิตภัณฑ์เดียว คือ เครื่องสุขภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.37
ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2544 ได้แก่ ของชำร่วยเครื่องประดับ และลูกถ้วยไฟฟ้า โดยมีอัตรา
การขยายตัวลดลงร้อยละ 7.25 และ 39.13 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2543 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วยเครื่องประดับ และลูกถ้วยไฟฟ้า โดยมีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 5.16 4.62
38.46 และ 74.07 ตามลำดับ
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 มีมูลค่า 23.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบไตรมาสที่ 2 ปี 2544 มีอัตรา
การขยายตัวลดลง 2.91 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96 (ดังตารางที่ 2) การนำเข้า
ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพดี และบางส่วนจะเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าตลาดระดับล่าง โดยนำเข้าจากประเทศ
ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหราชอาณาจักร สเปน และไต้หวัน
3. ปัญหา
ผู้ผลิตเซรามิกส์ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ การปรับราคาก๊าซ LPG ซึ่งเป็นพลังงานหลักที่ใช้ในการผลิต
เซรามิกส์เพิ่มสูงขึ้น ค่าขนส่งระหว่างประเทศ และค่าประกันภัยที่เพิ่มขึ้น การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น และการเกิดวิกฤต
ทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลกระทบในระยะยาว ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงกับผู้ผลิตเซรามิกส์โดยตรง
4. สรุป
การผลิตเซรามิกส์เพื่อจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นตามการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ การผลิตเพื่อส่งออกในระยะสั้น
ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ในระยะยาวการส่งออกอาจจะได้รับผลกระทบ และเมื่อ
จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO สหภาพยุโรป ซึ่งเดิมเคยกำหนดโควต้าการนำเข้าจากจีน ต้องยกเลิกโควต้าดังกล่าว ทำให้สินค้าของจีนมีโอกาส
เข้ามาแข่งขันกับสินค้าไทยในตลาดยุโรปมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดเพื่อนบ้าน
และตลาดอื่น ๆ มากขึ้น
ตารางที่ 1 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
ไตรมาสที่ 3/2543 2/2544 3/2544 เทียบไตรมาส 3/2544
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับไตรมาส 3/2543
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 15.5 12.9 14.7
% การเปลี่ยนแปลง 13.95 -5.16
เครื่องสุขภัณฑ์ 21.1 20.2 21.6
% การเปลี่ยนแปลง 6.93 2.37
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 43.3 32.8 41.3
% การเปลี่ยนแปลง 25.91 -4.62
ของชำร่วยเครื่องประดับ 20.8 13.8 12.8
% การเปลี่ยนแปลง -7.25 -38.46
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.4 2.3 1.4
% การเปลี่ยนแปลง -39.13 -74.07
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ 106.1 82.0 91.8
% การเปลี่ยนแปลง 11.95 -13.48
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือกรมศุลกากร
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
ไตรมาสที่ 3/2543 2/2544 3/2544 เทียบไตรมาส 3/2544
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับไตรมาส 3/2543
ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ 20.9 24.1 23.4
% การเปลี่ยนแปลง -2.91 11.96
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือกรมศุลกากร
หมายเหตุ : คำนวณจากพิกัดศุลกากร ตอนที่ 69
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
เครื่องประดับ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และลูกถ้วยไฟฟ้า เป็นต้น เดิมอุตสาหกรรมเซรามิกส์ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และได้พัฒนาเทคโนโลยี
การผลิตอย่างต่อเนื่องจนสามารถผลิตเพื่อส่งออกนำรายได้เข้าประเทศปีละหมื่นล้านบาท เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก มีการ
กระจายรายได้ไปสู่ชนบท จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
1. การผลิต
โดยภาพรวมแล้วการผลิตเซรามิกส์มีการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 70 โดยการผลิตเซรามิกส์ส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ยกเว้น
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และลูกถ้วยไฟฟ้า ที่ผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ
การผลิตเซรามิกส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 โดยเฉพาะการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงมีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้นและยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าก่อนเกิดวิกฤต ประกอบกับ
เริ่มมีการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ สำหรับในระยะยาวการผลิตเซรามิกส์อาจจะได้รับผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลทำให้การผลิตเซรามิกส์เพื่อการส่งออกลดลง
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ตลาดของผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ในประเทศ เริ่มมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยการ
จำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี สำหรับการแข่งขันจะเน้นส่งเสริมการขาย เช่น จัดขายสุขภัณฑ์
ครบชุดในราคาพิเศษ จัดทำสารคดีทางโทรทัศน์ จัดทำเว็บไซต์ พัฒนาตัวแทนจำหน่าย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นพัฒนาคุณภาพ
สินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 มีมูลค่า 91.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 13.48 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2544 (ดังตารางที่ 1) ยังคงมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.95 ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะสั้นยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเกิดวิกฤตในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจาก มีคำสั่งซื้อล่วงหน้า
ก่อนเกิดวิกฤต แต่ในระยะยาวการส่งออกอาจจะได้รับผลกระทบ และเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO สหภาพยุโรป ซึ่งเดิมเคยกำหนดโควต้า
การนำเข้าจากจีนต้องยกเลิกโควต้าดังกล่าว ทำให้สินค้าของจีนมีโอกาสเข้ามาแข่งขันกับสินค้าไทยในตลาดยุโรปมากขึ้น
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จะมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่น
รองลงมาคือ เครื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และของชำร่วยเครื่องประดับ ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐ
อเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหราชอาณาจักร แคนาดา ไต้หวัน ออสเตรเลีย เยอรมัน และประเทศในกลุ่มอาเซียน
ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2544 ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และ
เครื่องสุขภัณฑ์ โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.91 13.95 และ 6.93 ตามลำดับ ซึ่งผู้ผลิตได้ขยายฐานการส่งออกจาก
ตลาดหลัก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ไปยังตลาด อาเซียนและตลาดอื่น ๆ มากขึ้น หลังจากที่ตลาดสหรัฐอเมริกาเริ่มซบเซา และ
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2543 มีเพียงผลิตภัณฑ์เดียว คือ เครื่องสุขภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.37
ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2544 ได้แก่ ของชำร่วยเครื่องประดับ และลูกถ้วยไฟฟ้า โดยมีอัตรา
การขยายตัวลดลงร้อยละ 7.25 และ 39.13 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2543 ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วยเครื่องประดับ และลูกถ้วยไฟฟ้า โดยมีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 5.16 4.62
38.46 และ 74.07 ตามลำดับ
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 มีมูลค่า 23.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบไตรมาสที่ 2 ปี 2544 มีอัตรา
การขยายตัวลดลง 2.91 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96 (ดังตารางที่ 2) การนำเข้า
ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพดี และบางส่วนจะเป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าตลาดระดับล่าง โดยนำเข้าจากประเทศ
ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหราชอาณาจักร สเปน และไต้หวัน
3. ปัญหา
ผู้ผลิตเซรามิกส์ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ การปรับราคาก๊าซ LPG ซึ่งเป็นพลังงานหลักที่ใช้ในการผลิต
เซรามิกส์เพิ่มสูงขึ้น ค่าขนส่งระหว่างประเทศ และค่าประกันภัยที่เพิ่มขึ้น การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น และการเกิดวิกฤต
ทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะส่งผลกระทบในระยะยาว ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงกับผู้ผลิตเซรามิกส์โดยตรง
4. สรุป
การผลิตเซรามิกส์เพื่อจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นตามการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์ การผลิตเพื่อส่งออกในระยะสั้น
ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา แต่ในระยะยาวการส่งออกอาจจะได้รับผลกระทบ และเมื่อ
จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO สหภาพยุโรป ซึ่งเดิมเคยกำหนดโควต้าการนำเข้าจากจีน ต้องยกเลิกโควต้าดังกล่าว ทำให้สินค้าของจีนมีโอกาส
เข้ามาแข่งขันกับสินค้าไทยในตลาดยุโรปมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดเพื่อนบ้าน
และตลาดอื่น ๆ มากขึ้น
ตารางที่ 1 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
ไตรมาสที่ 3/2543 2/2544 3/2544 เทียบไตรมาส 3/2544
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับไตรมาส 3/2543
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 15.5 12.9 14.7
% การเปลี่ยนแปลง 13.95 -5.16
เครื่องสุขภัณฑ์ 21.1 20.2 21.6
% การเปลี่ยนแปลง 6.93 2.37
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 43.3 32.8 41.3
% การเปลี่ยนแปลง 25.91 -4.62
ของชำร่วยเครื่องประดับ 20.8 13.8 12.8
% การเปลี่ยนแปลง -7.25 -38.46
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.4 2.3 1.4
% การเปลี่ยนแปลง -39.13 -74.07
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ 106.1 82.0 91.8
% การเปลี่ยนแปลง 11.95 -13.48
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือกรมศุลกากร
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
ไตรมาสที่ 3/2543 2/2544 3/2544 เทียบไตรมาส 3/2544
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับไตรมาส 3/2543
ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ 20.9 24.1 23.4
% การเปลี่ยนแปลง -2.91 11.96
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือกรมศุลกากร
หมายเหตุ : คำนวณจากพิกัดศุลกากร ตอนที่ 69
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--