มาตรการภาษี
1. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary
Receipt : NVDR)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 เห็นชอบร่างกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. (การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR) สาระสำคัญมีดังนี้
1) การยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลแก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย ที่มีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และเป็นผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิฯ สำหรับ (1) เงินได้ประเภท เงินปันผลที่
ได้รับจากการถือครองสินทรัพย์ ที่ถูกอ้างอิงตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (2) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ถูก
อ้างอิงตามใบแสดงสิทธิใน ผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง และ (3) เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการลงทุน หาผลประโยชน์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
2) การลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร จากอัตราร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 10 สำหรับเงินได้พึงประเมิน ที่เป็น
เงินเทียบเท่าเงินปันผล ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1) ซึ่งจ่ายแก่ผู้รับทั้งที่เป็นบุคคลและ นิติบุคคล
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
3) สำหรับผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็น เงินเทียบเท่าเงินปันผล จากบริษัท หรือห้างหุ้น
ส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1) และยอมให้ผู้จ่ายหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้นั้น ได้รับยกเว้นไม่
ต้องนำเงินเทียบเท่า เงินปันผลดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เฉพาะกรณีผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่
ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่า ทั้งหมดหรือบางส่วน)
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดวันซื้อขาย NVDR (Non-Voting Depository Receipt) ในตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน
2544 เป็นต้นไป และเมื่อมีการขาย NVDR ครั้งแรก ให้ถือว่าคณะกรรมการตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้สั่งให้รับ NVDR เป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน
2. การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน แก๊สโซฮอล์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 อนุมัติในหลักการ เรื่อง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการผลิต และการใช้เอทานอลเป็น
เชื้อเพลิง โดยกำหนดอัตราภาษีสำหรับน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในอัตรา 3.3165 บาทต่อลิตร ซึ่ง
การปรับปรุงภาษีสรรพสามิตดังกล่าวจะส่งผลกระทบที่สำคัญ ดังนี้
1) น้ำมันแก๊สโซฮอล์จะมีภาระภาษีรวม (ภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่ม) น้อยกว่าภาระภาษีของน้ำมันเบนซิน
ประมาณ 43 สตางค์ต่อลิตร
2) ในระยะแรกของการจำหน่าย น้ำมันแก๊สโซฮอล์ คาดว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ จะสามารถทดแทนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินได้
ประมาณร้อยละ 10 จึงทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี
3) ช่วยประหยัดเงินตรา ต่างประเทศจากการลดการนำเข้าสารเพิ่มค่า ออกเทน MTBE ได้ประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี
3. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากอัตราร้อยละ 30 ในระยะเวลาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน เป็นอัตราดังต่อไปนี้
1) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
2) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใน 3 ปี ตั้งแต่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
3) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ภายใน 3 ปี ตั้งแต่วันที่
พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
4. การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่ม แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้จัดสรรเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 8.5 ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เพื่อให้รายได้ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ตามที่ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
5. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ แก่บริษัทบริหาร สินทรัพย์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่…) พ.ศ…. ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ แก่บริษัทบริหาร สินทรัพย์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับและการกระทำ
ตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สิน คืนแก่สถาบันการเงินผู้โอนทรัพย์สินนั้นแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะการโอนทรัพย์สินและสำหรับการ
กระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่าง วันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้จนถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2545
6. การขยายระยะเวลาลดภาษีมูลค่าเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2544 เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่า
เพิ่ม (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….. โดยขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10.0 เป็นร้อยละ 7.0 สำหรับการขายสินค้า การให้
บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2545
7. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายน้ำมันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 ในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายน้ำมันดีเซลของผู้ค้าน้ำมันตามกฏหมายว่าด้วย
น้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ค้าน้ำมันรายย่อยอื่น และสถานีบริการขายน้ำมันกลางทะเล ซึ่งจะนำน้ำมันไปขายแก่เรือประมงในเขตต่อเนื่อง โดยมีผลบังคับใช้ถึง
วันที่ 31 ธันวาคม 2544
ข. มาตรการรายจ่าย
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พลเรือน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พลเรือน
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 และให้กำหนดกรอบวงเงินการเลื่อนขั้น เงินเดือน ดังนี้
1) การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ให้มีโควตาการเลื่อนขั้น เงินเดือนหนึ่งขั้น สำหรับผู้มีผลงานและผลสัมฤทธิ์ ดีเด่น
ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนข้าราชการ ณ วันที่ 1 มีนาคม
2) การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ให้เลื่อนได้ในวงเงินไม่เกิน ร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 กันยายน โดยให้นำวงเงินที่ได้ใช้เลื่อนเงินเดือน ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน มาหักออกก่อน
3) ให้มีเงินรางวัลประจำปี จ่ายปีละครั้งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544
4) ให้นำเงินเหลือจ่ายของ ส่วนราชการ และเงินที่ส่วนราชการประหยัดได้จากการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาใช้เพื่อดำเนิน
การ หากไม่พอจึงจะใช้งบกลาง
2. แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรคืนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2544 ที่สามารถปรับลดได้เพิ่มเติมจากเดิม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
1) การปรับลดงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีจำนวนเพิ่มเติม 1,177.5 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมที่ปรับลดครั้ง
ก่อนจะเป็นยอดที่ปรับลดทั้งสิ้น 11,844.3 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญของการปรับลดงบประมาณ ดังนี้
(1) ปรับลดครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่จำเป็น จำนวน 715.6 ล้านบาท
(2) ปรับลดโครงการลงทุนขนาดใหญ่จำนวน 144.0 ล้านบาท
(3) ปรับลดงบประมาณของ ส่วนราชการต่างๆ เพิ่มเติมอีก จำนวน 317.9 ล้านบาท
2) แนวทางและหลักเกณฑ์การ จัดสรรคืนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2544 โดยนำเงินงบประมาณปี 2544 ที่
ปรับลดได้จำนวน 11,844.3 ล้านบาท ไปดำเนินการในงาน/โครงการและกิจกรรมของ รัฐบาลตามนโยบายเร่งด่วน และนโยบายสำคัญ ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างงาน สร้าง รายได้ให้กับประชาชน
3. งบประมาณสนับสนุนโครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในพื้นที่ 6 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนิน โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครสวรรค์ พะเยา ยโสธร และยะลา ในวงเงิน 399.757 ล้านบาท จากงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ของสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
4. สนับสนุนงบประมาณปี 2544 เพิ่มเติม สำหรับโครงการประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า 15 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม เห็นชอบเรื่อง การขอสนับสนุนงบประมาณปี 2544 เพิ่มเติม สำหรับโครงการประกันสุขภาพ
ถ้วนหน้า 15 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี สุรินทร์ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ
สุโขทัย แพร่
เชียงใหม่ ภูเก็ต และนราธิวาส ในวงเงิน 1,510.266 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกัน สุขภาพจำนวน 1,100 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือ เบิกจ่ายจากงบกลาง และจากรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
5. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ตามที่
สำนักงบประมาณเสนอ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติฯ ในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2544
6. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2545 หมวดค่าจ้างชั่วคราว
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เห็นชอบให้กรมบัญชีกลางจ้างลูกจ้าง ชั่วคราว จำนวนทั้งสิ้น 273 อัตรา ในวงเงิน 51.706
พันล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 เพื่อปฏิบัติงานใน 3 โครงการสำคัญ คือ 1) โครงการพัฒนาระบบการรับ-จ่ายเงินของรัฐ 2) โครงการจัดทำสถิติการคลังภาคสาธารณะตามระบบ GFS 3) โครงการบริหาร รัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ
7. งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2545 หมวดรายจ่ายอื่นประเภทเงินราชการลับของกรมสรรพสามิต
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เห็นชอบอนุมัติตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 หมวดรายจ่ายอื่น ประเภทเงินราชการลับของกรมสรรพสามิตเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละ 2 ล้านบาท เป็น 4 ล้านบาท
ค. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
1. การกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ (Refinance) ในปีงบประมาณ 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินจำนวน 2,940 ล้านบาท จาก
ตลาดการเงินภายในประเทศ โดยมีกระทรวง การคลังค้ำประกัน เพื่อชำระหนี้เงินกู้เดิม (Refinance) ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 26
เมษายน 2544 และให้กระทรวงมหาดไทยเข้ากำกับดูแล กทพ. ตลอดจนหามาตรการปรับปรุงการดำเนินการของ กทพ. อย่างใกล้ชิดและเร่งด่วน
เพื่อให้มีฐานะการเงินที่ดีและมั่นคง
2. ความต้องการกู้เงินบาทสมทบ โครงการเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย และการประปานครหลวง กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศวงเงินรวมทั้งสิ้น 3,327 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็น เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้ต่างประเทศ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
1. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary
Receipt : NVDR)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 เห็นชอบร่างกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. (การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR) สาระสำคัญมีดังนี้
1) การยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลแก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย ที่มีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และเป็นผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิฯ สำหรับ (1) เงินได้ประเภท เงินปันผลที่
ได้รับจากการถือครองสินทรัพย์ ที่ถูกอ้างอิงตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (2) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ถูก
อ้างอิงตามใบแสดงสิทธิใน ผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง และ (3) เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการลงทุน หาผลประโยชน์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
2) การลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร จากอัตราร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 10 สำหรับเงินได้พึงประเมิน ที่เป็น
เงินเทียบเท่าเงินปันผล ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1) ซึ่งจ่ายแก่ผู้รับทั้งที่เป็นบุคคลและ นิติบุคคล
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
3) สำหรับผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทยซึ่งได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็น เงินเทียบเท่าเงินปันผล จากบริษัท หรือห้างหุ้น
ส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 1) และยอมให้ผู้จ่ายหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้นั้น ได้รับยกเว้นไม่
ต้องนำเงินเทียบเท่า เงินปันผลดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ เฉพาะกรณีผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่
ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่า ทั้งหมดหรือบางส่วน)
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดวันซื้อขาย NVDR (Non-Voting Depository Receipt) ในตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน
2544 เป็นต้นไป และเมื่อมีการขาย NVDR ครั้งแรก ให้ถือว่าคณะกรรมการตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้สั่งให้รับ NVDR เป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน
2. การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน แก๊สโซฮอล์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 อนุมัติในหลักการ เรื่อง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการผลิต และการใช้เอทานอลเป็น
เชื้อเพลิง โดยกำหนดอัตราภาษีสำหรับน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ที่มีเอทานอลผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ในอัตรา 3.3165 บาทต่อลิตร ซึ่ง
การปรับปรุงภาษีสรรพสามิตดังกล่าวจะส่งผลกระทบที่สำคัญ ดังนี้
1) น้ำมันแก๊สโซฮอล์จะมีภาระภาษีรวม (ภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่ม) น้อยกว่าภาระภาษีของน้ำมันเบนซิน
ประมาณ 43 สตางค์ต่อลิตร
2) ในระยะแรกของการจำหน่าย น้ำมันแก๊สโซฮอล์ คาดว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ จะสามารถทดแทนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินได้
ประมาณร้อยละ 10 จึงทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี
3) ช่วยประหยัดเงินตรา ต่างประเทศจากการลดการนำเข้าสารเพิ่มค่า ออกเทน MTBE ได้ประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี
3. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากอัตราร้อยละ 30 ในระยะเวลาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน เป็นอัตราดังต่อไปนี้
1) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
2) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใน 3 ปี ตั้งแต่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
3) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ภายใน 3 ปี ตั้งแต่วันที่
พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
4. การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่ม แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้จัดสรรเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 8.5 ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เพื่อให้รายได้ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีสัดส่วนต่อรายได้ของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ตามที่ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
5. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ แก่บริษัทบริหาร สินทรัพย์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่…) พ.ศ…. ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ แก่บริษัทบริหาร สินทรัพย์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับและการกระทำ
ตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สิน คืนแก่สถาบันการเงินผู้โอนทรัพย์สินนั้นแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะการโอนทรัพย์สินและสำหรับการ
กระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่าง วันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้จนถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2545
6. การขยายระยะเวลาลดภาษีมูลค่าเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2544 เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่า
เพิ่ม (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….. โดยขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10.0 เป็นร้อยละ 7.0 สำหรับการขายสินค้า การให้
บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2545
7. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายน้ำมันกลางทะเลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 ในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายน้ำมันดีเซลของผู้ค้าน้ำมันตามกฏหมายว่าด้วย
น้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ค้าน้ำมันรายย่อยอื่น และสถานีบริการขายน้ำมันกลางทะเล ซึ่งจะนำน้ำมันไปขายแก่เรือประมงในเขตต่อเนื่อง โดยมีผลบังคับใช้ถึง
วันที่ 31 ธันวาคม 2544
ข. มาตรการรายจ่าย
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พลเรือน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พลเรือน
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 และให้กำหนดกรอบวงเงินการเลื่อนขั้น เงินเดือน ดังนี้
1) การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ให้มีโควตาการเลื่อนขั้น เงินเดือนหนึ่งขั้น สำหรับผู้มีผลงานและผลสัมฤทธิ์ ดีเด่น
ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนข้าราชการ ณ วันที่ 1 มีนาคม
2) การเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ให้เลื่อนได้ในวงเงินไม่เกิน ร้อยละ 6 ของอัตราเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 กันยายน โดยให้นำวงเงินที่ได้ใช้เลื่อนเงินเดือน ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน มาหักออกก่อน
3) ให้มีเงินรางวัลประจำปี จ่ายปีละครั้งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544
4) ให้นำเงินเหลือจ่ายของ ส่วนราชการ และเงินที่ส่วนราชการประหยัดได้จากการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลมาใช้เพื่อดำเนิน
การ หากไม่พอจึงจะใช้งบกลาง
2. แนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรคืนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2544 ที่สามารถปรับลดได้เพิ่มเติมจากเดิม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
1) การปรับลดงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีจำนวนเพิ่มเติม 1,177.5 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมที่ปรับลดครั้ง
ก่อนจะเป็นยอดที่ปรับลดทั้งสิ้น 11,844.3 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญของการปรับลดงบประมาณ ดังนี้
(1) ปรับลดครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่จำเป็น จำนวน 715.6 ล้านบาท
(2) ปรับลดโครงการลงทุนขนาดใหญ่จำนวน 144.0 ล้านบาท
(3) ปรับลดงบประมาณของ ส่วนราชการต่างๆ เพิ่มเติมอีก จำนวน 317.9 ล้านบาท
2) แนวทางและหลักเกณฑ์การ จัดสรรคืนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2544 โดยนำเงินงบประมาณปี 2544 ที่
ปรับลดได้จำนวน 11,844.3 ล้านบาท ไปดำเนินการในงาน/โครงการและกิจกรรมของ รัฐบาลตามนโยบายเร่งด่วน และนโยบายสำคัญ ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างงาน สร้าง รายได้ให้กับประชาชน
3. งบประมาณสนับสนุนโครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในพื้นที่ 6 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนิน โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครสวรรค์ พะเยา ยโสธร และยะลา ในวงเงิน 399.757 ล้านบาท จากงบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ของสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
4. สนับสนุนงบประมาณปี 2544 เพิ่มเติม สำหรับโครงการประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า 15 จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม เห็นชอบเรื่อง การขอสนับสนุนงบประมาณปี 2544 เพิ่มเติม สำหรับโครงการประกันสุขภาพ
ถ้วนหน้า 15 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สระบุรี สระแก้ว เพชรบุรี สุรินทร์ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ
สุโขทัย แพร่
เชียงใหม่ ภูเก็ต และนราธิวาส ในวงเงิน 1,510.266 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกัน สุขภาพจำนวน 1,100 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือ เบิกจ่ายจากงบกลาง และจากรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
5. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ตามที่
สำนักงบประมาณเสนอ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติฯ ในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2544
6. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2545 หมวดค่าจ้างชั่วคราว
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เห็นชอบให้กรมบัญชีกลางจ้างลูกจ้าง ชั่วคราว จำนวนทั้งสิ้น 273 อัตรา ในวงเงิน 51.706
พันล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 เพื่อปฏิบัติงานใน 3 โครงการสำคัญ คือ 1) โครงการพัฒนาระบบการรับ-จ่ายเงินของรัฐ 2) โครงการจัดทำสถิติการคลังภาคสาธารณะตามระบบ GFS 3) โครงการบริหาร รัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ
7. งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2545 หมวดรายจ่ายอื่นประเภทเงินราชการลับของกรมสรรพสามิต
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 เห็นชอบอนุมัติตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 หมวดรายจ่ายอื่น ประเภทเงินราชการลับของกรมสรรพสามิตเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละ 2 ล้านบาท เป็น 4 ล้านบาท
ค. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
1. การกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ (Refinance) ในปีงบประมาณ 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินจำนวน 2,940 ล้านบาท จาก
ตลาดการเงินภายในประเทศ โดยมีกระทรวง การคลังค้ำประกัน เพื่อชำระหนี้เงินกู้เดิม (Refinance) ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 26
เมษายน 2544 และให้กระทรวงมหาดไทยเข้ากำกับดูแล กทพ. ตลอดจนหามาตรการปรับปรุงการดำเนินการของ กทพ. อย่างใกล้ชิดและเร่งด่วน
เพื่อให้มีฐานะการเงินที่ดีและมั่นคง
2. ความต้องการกู้เงินบาทสมทบ โครงการเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2544
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย และการประปานครหลวง กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศวงเงินรวมทั้งสิ้น 3,327 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็น เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้ต่างประเทศ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-