สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ สถานการณ์โดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลผลิตยังมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับความต้องการ อย่างไรก็ตามจากการที่ได้เกิดน้ำท่วมขึ้นในบางพื้นที่ คาดว่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตสุกร ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสุกรโดยรวมมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.18 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.07 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.79 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.54 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ตลาดไก่เนื้อโดยรวมยังคงซบเซา เพราะกำลังซื้อที่มีไม่มาก ขณะที่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นค่อนข้างเงียบเพราะผลจากเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ต้องเปลี่ยนไปนำเข้าเนื้อไก่จากประเทศอื่นที่มีราคาถูกกว่าทดแทน ส่งผลให้ตลาดในประเทศซบเซาลงด้วย และมีแนวโน้มว่าราคาจะปรับลดลงราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.74 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.59 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.04 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.98 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.37 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่อ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย ภาวะการซื้อขายโดยรวมยังไม่ค่อยดีนัก แม้ว่าผลผลิตจะลดปริมาณลงโดยเฉพาะไข่ไก่เบอร์ใหญ่ ซึ่งไข่ที่เหลือในตลาดส่วนใหญ่เป็นไข่เล็กประมาณเบอร์ 3 และเบอร์ 4 ทำให้ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 147 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 149 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 150 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 152 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 143 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 152 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 165 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 172 บาท เพิ่มขึ้นจาก ร้อยฟองละ 169 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือ ร้อยฟองละ 160 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 169 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 176 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 181 บาทราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.79 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 26.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 28 ส.ค.- 3 ก.ย. 2543--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ สถานการณ์โดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลผลิตยังมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับความต้องการ อย่างไรก็ตามจากการที่ได้เกิดน้ำท่วมขึ้นในบางพื้นที่ คาดว่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตสุกร ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสุกรโดยรวมมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.18 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.07 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.79 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.54 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ตลาดไก่เนื้อโดยรวมยังคงซบเซา เพราะกำลังซื้อที่มีไม่มาก ขณะที่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นค่อนข้างเงียบเพราะผลจากเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ต้องเปลี่ยนไปนำเข้าเนื้อไก่จากประเทศอื่นที่มีราคาถูกกว่าทดแทน ส่งผลให้ตลาดในประเทศซบเซาลงด้วย และมีแนวโน้มว่าราคาจะปรับลดลงราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.74 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.59 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.04 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.98 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.37 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่อ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย ภาวะการซื้อขายโดยรวมยังไม่ค่อยดีนัก แม้ว่าผลผลิตจะลดปริมาณลงโดยเฉพาะไข่ไก่เบอร์ใหญ่ ซึ่งไข่ที่เหลือในตลาดส่วนใหญ่เป็นไข่เล็กประมาณเบอร์ 3 และเบอร์ 4 ทำให้ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 147 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 149 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 150 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 152 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 143 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 152 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 165 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 172 บาท เพิ่มขึ้นจาก ร้อยฟองละ 169 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือ ร้อยฟองละ 160 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 169 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 176 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 181 บาทราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.79 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 26.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 28 ส.ค.- 3 ก.ย. 2543--
-สส-