ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนมิถุนายน 2544 ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยปัจจัยที่ยังเป็นบวก ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ปริมาณการซื้อ-ขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง และสินเชื่อเพื่อการบริการเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อลดลงจากเดือนก่อน รวมทั้งภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยที่เป็นลบ ได้แก่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า เงินโอนจากแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน ปริมาณผลผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ (เยื่อกระดาษและเครื่องดื่ม) และการเกินดุลการค้าชายแดนไทย-ลาว ลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคฯ เดือนนี้ลดลงจากเดือนก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ด้านการผลิตพืชผลเกษตร ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ปริมาณการกระจายของน้ำฝนไม่ดีนัก ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรไม่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ด้านการตลาด ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นข้าวโพดราคายังทรงตัว
ข้าว
การผลิตข้าวอยู่ในช่วงการเพาะปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการปักดำข้าวเสร็จแล้ว การเจริญเติบโตของข้าวไม่ดีนัก เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย และประสบปัญหาฝนมาล่าช้า ส่วนด้านราคาข้าวปรับตัวขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,600 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากเดือนก่อนเกวียนละ 4,241 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,202 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากเดือนก่อน เกวียนละ 5,056 บาท ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 916 บาท ลดลงร้อยละ 0.8 ข้าวสารเหนียวเมล็ดสั้นกระสอบละ 1,002 บาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนกระสอบละ 1,009 บาท
มันสำปะหลัง
การผลิตมันสำปะหลังอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ปริมาณผลผลิตออกสู่ท้องตลาดมีเพียงเล็กน้อย ความต้องการในตลาดภายในท้องถิ่นยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังขยับตัวสูงขึ้น โดยราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสด กิโลกรัมละ 1.06 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 0.90 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.84 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.70 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ในช่วงการเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 1 แต่พื้นที่การเพาะปลูกยังมีไม่มากนัก เนื่องจากสภาวะฝนไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดกิโลกรัมละ 4.10 บาท ภาวะด้านการตลาด พ่อค้าข้าวโพดเร่งระบายข้าวโพดในสต๊อกสู่ท้องตลาด เพื่อจะทำการรับซื้อข้าวโพดรุ่นใหม่ที่จะออกสู่ท้องตลาดในช่วงเดือนกรฏาคม ส่งผลให้ราคาข้าวโพดไม่ดีนัก และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคาข้าวโพดยังคงทรงตัว
อ้อยโรงงาน
การผลิตอ้อยอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ซึ่งจากปัญหาโรคหนอนกออ้อยซึ่งระบาดอย่างหนักในภาคฯ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้เข้าไปแก้ปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาให้หมดไปได้เป็นส่วนใหญ่
ในเดือนนี้ปริมาณผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ (เยื่อกระดาษและเครื่องดื่ม) ลดลงจากปีก่อน สำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลในช่วงนี้เป็นช่วงที่โรงงานผลิตน้ำตาลทั้ง 13 โครงการ ปิดหีบแล้ว
การส่งเสริมการลงทุน
เดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพียง 1 โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตเครื่องประดับ พลอยเจียระไน ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 47.5 ล้านบาท มีการจ้างแรงงาน 300 คน ขณะที่เดือนก่อนมีโครงการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 5 โครงการ เงินลงทุน 465.7 ล้านบาท
การจดทะเบียนธุรกิจ
เดือนมิถุนายน 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 556 ราย เงินทุน 451.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และร้อยละ 30.6 ตามลำดับ จากเดือนก่อน 530 ราย เงินทุน 346.0 ล้านบาท เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดการขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคาร และโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และมีการเพิ่มทุนจดทะเบียน 23 ราย เงินทุน 149.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.3 และร้อยละ 11.6 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มทุนของธุรกิจการก่อสร้าง และธุรกิจขายส่งฯ ส่วนการเลิกกิจการ 123 ราย ลดลงร้อยละ 11.5 ขณะที่เงินทุน 96.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 268.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.4 เนื่องจากการขยายฐานภาษี
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 706.8 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.0
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นมิถุนายน 2544 มีทั้งสิ้น 37,710.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,150 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 12.9 และรถจักรยานยนต์ 17,834 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เนื่องจากตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยังคงมีการแข่งขันกันออกแคมเปญ และกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ส่วนรถบรรทุกส่วนบุคคล 1,917 คัน ลดลงร้อยละ 4.8
อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.2 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 2.9
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.4 เนื่องจากการลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.4 และราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 6.7 เป็นผลมาจาก มีปริมาณผักและผลไม้ออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะผักคะน้า กะหล่ำปลี ทุเรียน และเงาะ เป็นต้น ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ทั้งนี้สินค้าในกลุ่มปศุสัตว์ ได้แก่ สุกร ไก่เนื้อและไข่ไก่ มีผลผลิตลดลงเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นต้น
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดยานพาหนะลดลงร้อยละ 1.4 ในขณะที่หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เนื่องจากมีการปรับขึ้นค่า Ft เป็น 2.69 สตางค์/หน่วย
มีแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศในเดือนนี้จำนวน 8,479 คน ลดลงร้อยละ 21.6 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 แรงงานในจังหวัดอุดรธานียังนิยมเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุด 1,306 คน รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 1,194 คน และจังหวัดบุรีรัมย์ 822 คน
การค้าชายแดนไทย-ลาว ในเดือนนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,595.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 24.4 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการค้าถึง 2,110.9 ล้านบาท เนื่องจากมีการส่งออก 1,238.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 25.7 เป็นผลจากการลดลงของสินค้าส่งออกเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดสินค้าทุน ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 57.5 ส่วนการนำเข้า 357.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 19.7 อย่างไรก็ตามไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 880.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนที่ไทยเกินดุลการค้าลาว 1,219.8 ล้านบาท ทั้งนี้มีรายละเอียดดังนี้ :-
การส่งออก : 1,238.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.7 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 1,665.3 ล้านบาท ทั้งนี้สินค้าส่งออกลดลงเกือบทุกหมวด
l สินค้าอุปโภคบริโภค : ส่งออก 438.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 33.1 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าบริโภคในครัวเรือน 143.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.0 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 133.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.9 เครื่องใช้ไฟฟ้า 121.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 48.3 ยารักษาโรค 15.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.8
l สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : ส่งออก 151.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.6 จากเดือนก่อน สินค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าผืน 74.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 อุปกรณ์ตัดเย็บ 40.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 เหล็กและเหล็กกล้า 17.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 46.1 กระดาษ 5.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8
l สินค้าทุน : ส่งออก 133.8 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 57.5 สินค้าสำคัญ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 93.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 18.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 87.7 แก้วและเครื่องแก้ว 7.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.6 ในขณะที่ปุ๋ย 13.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65.8
l น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ : ส่งออก 185.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9
การนำเข้า : มูลค่า 357.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.7 จากเดือนก่อนที่มียอดการนำเข้า 445.5 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 279.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 27.2 สินแร่ 18.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.9 ส่วนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ พืชไร่ 21.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 132.6 หนังโค-กระบือ 6.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และเครื่องจักรและอุปกรณ์ 0.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 147.4
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 495 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 53 สำนักงาน) เท่ากับเดือนก่อน
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 257,375.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 6.0 เนื่องจากผู้ฝากยังคงมั่นใจในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าไปลงทุนในด้านอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ในขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้าง 195,630.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 เนื่องจากมีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มขึ้นในบางธุรกรรมที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะจากธนาคารของรัฐฯ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้เป็นธนาคารนำร่องในการปล่อยสินเชื่อสู่ภาคเอกชน
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 80.2 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 76.0 ในเดือนนี้
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,860.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 ทั้งนี้จำนวนผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้เริ่มลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนนี้มียอดผู้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศทั้งสิ้น 8,479 ราย ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 21.6 เนื่องจากมาตรการลดแรงงานจากต่างประเทศของไต้หวันเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานในประเทศ ทั้งนี้ประเทศไต้หวันเป็นแหล่งแรงงานที่คนไทยนิยมไปทำงานมากที่สุด
เดือนมิถุนายน 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 12,804.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จากเดือนก่อน ขาดดุล 12,031.4 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 13,810.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากเดือนก่อน 13,221.7 ล้านบาท ผลจากรายจ่ายลงทุน 5,411.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 จากเดือนก่อน 5,093.9 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และเมื่อรวมรายจ่ายงบประมาณภาครัฐกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) 17.6 ล้านบาท ทำให้รายจ่ายรวม 13,828.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากเดือนก่อน 13,228.1 ล้านบาท ส่วนรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,005.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.5 จากเดือนก่อน 1,190.3 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงเป็นสำคัญ
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 81.1 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 94.0 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 61.0 ซึ่งยังคงมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมิถุนายน 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 65 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 45.8 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.3 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านต้นทุนการประกอบการ และด้านแนวโน้มการส่งออกแย่ลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านการจ้างงานดีขึ้น สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนหน้าคาดว่าจะทรงตัว โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.6 และปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 48.2 ในช่วง ส.ค.-ต.ค. 44
2. การแข่งขันทางธุรกิจอยู่ในระดับใกล้เคียงกับจากเดือนก่อน แต่ยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรง
3. ภาวะการเงินเดือน มิ.ย. 44 ผู้ประกอบการมีการให้เครดิตแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น แม้ว่าสภาพคล่องทางธุรกิจจะทรงตัวจากเดือนก่อน สำหรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงจากเดือนก่อน
ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1. ภาครัฐควรเร่งสร้างงานและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่น
2. ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจากราคาไม่คุ้มทุนและส่งผลต่ออำนาจซื้อของเกษตรกร รวมทั้งควรหาตลาดสินค้าเกษตรให้มากขึ้น
3. ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น
4. ภาครัฐควรมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น รวมทั้งเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ประชาชนผู้ฝากเงิน และดึงเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น
5. รัฐควรลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหลือร้อยละ 5 เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนให้สูงขึ้น
6. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ชะลอการลงทุน และยังคงประคองธุรกิจต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ด้านการผลิตพืชผลเกษตร ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ปริมาณการกระจายของน้ำฝนไม่ดีนัก ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรไม่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ด้านการตลาด ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นข้าวโพดราคายังทรงตัว
ข้าว
การผลิตข้าวอยู่ในช่วงการเพาะปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการปักดำข้าวเสร็จแล้ว การเจริญเติบโตของข้าวไม่ดีนัก เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย และประสบปัญหาฝนมาล่าช้า ส่วนด้านราคาข้าวปรับตัวขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,600 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากเดือนก่อนเกวียนละ 4,241 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,202 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากเดือนก่อน เกวียนละ 5,056 บาท ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 916 บาท ลดลงร้อยละ 0.8 ข้าวสารเหนียวเมล็ดสั้นกระสอบละ 1,002 บาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนกระสอบละ 1,009 บาท
มันสำปะหลัง
การผลิตมันสำปะหลังอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ปริมาณผลผลิตออกสู่ท้องตลาดมีเพียงเล็กน้อย ความต้องการในตลาดภายในท้องถิ่นยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังขยับตัวสูงขึ้น โดยราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสด กิโลกรัมละ 1.06 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 0.90 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.84 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.70 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ในช่วงการเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 1 แต่พื้นที่การเพาะปลูกยังมีไม่มากนัก เนื่องจากสภาวะฝนไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดกิโลกรัมละ 4.10 บาท ภาวะด้านการตลาด พ่อค้าข้าวโพดเร่งระบายข้าวโพดในสต๊อกสู่ท้องตลาด เพื่อจะทำการรับซื้อข้าวโพดรุ่นใหม่ที่จะออกสู่ท้องตลาดในช่วงเดือนกรฏาคม ส่งผลให้ราคาข้าวโพดไม่ดีนัก และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคาข้าวโพดยังคงทรงตัว
อ้อยโรงงาน
การผลิตอ้อยอยู่ในช่วงฤดูการเพาะปลูก ซึ่งจากปัญหาโรคหนอนกออ้อยซึ่งระบาดอย่างหนักในภาคฯ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้เข้าไปแก้ปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาให้หมดไปได้เป็นส่วนใหญ่
ในเดือนนี้ปริมาณผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ (เยื่อกระดาษและเครื่องดื่ม) ลดลงจากปีก่อน สำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลในช่วงนี้เป็นช่วงที่โรงงานผลิตน้ำตาลทั้ง 13 โครงการ ปิดหีบแล้ว
การส่งเสริมการลงทุน
เดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพียง 1 โครงการ ได้แก่ กิจการผลิตเครื่องประดับ พลอยเจียระไน ที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 47.5 ล้านบาท มีการจ้างแรงงาน 300 คน ขณะที่เดือนก่อนมีโครงการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 5 โครงการ เงินลงทุน 465.7 ล้านบาท
การจดทะเบียนธุรกิจ
เดือนมิถุนายน 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 556 ราย เงินทุน 451.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และร้อยละ 30.6 ตามลำดับ จากเดือนก่อน 530 ราย เงินทุน 346.0 ล้านบาท เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดการขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคาร และโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และมีการเพิ่มทุนจดทะเบียน 23 ราย เงินทุน 149.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.3 และร้อยละ 11.6 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มทุนของธุรกิจการก่อสร้าง และธุรกิจขายส่งฯ ส่วนการเลิกกิจการ 123 ราย ลดลงร้อยละ 11.5 ขณะที่เงินทุน 96.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 268.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.4 เนื่องจากการขยายฐานภาษี
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 706.8 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.0
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นมิถุนายน 2544 มีทั้งสิ้น 37,710.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,150 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 12.9 และรถจักรยานยนต์ 17,834 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เนื่องจากตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยังคงมีการแข่งขันกันออกแคมเปญ และกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ส่วนรถบรรทุกส่วนบุคคล 1,917 คัน ลดลงร้อยละ 4.8
อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.2 ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 2.9
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.4 เนื่องจากการลดลงของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.4 และราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 6.7 เป็นผลมาจาก มีปริมาณผักและผลไม้ออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะผักคะน้า กะหล่ำปลี ทุเรียน และเงาะ เป็นต้น ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ทั้งนี้สินค้าในกลุ่มปศุสัตว์ ได้แก่ สุกร ไก่เนื้อและไข่ไก่ มีผลผลิตลดลงเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นต้น
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดยานพาหนะลดลงร้อยละ 1.4 ในขณะที่หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เนื่องจากมีการปรับขึ้นค่า Ft เป็น 2.69 สตางค์/หน่วย
มีแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศในเดือนนี้จำนวน 8,479 คน ลดลงร้อยละ 21.6 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 แรงงานในจังหวัดอุดรธานียังนิยมเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุด 1,306 คน รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 1,194 คน และจังหวัดบุรีรัมย์ 822 คน
การค้าชายแดนไทย-ลาว ในเดือนนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,595.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 24.4 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการค้าถึง 2,110.9 ล้านบาท เนื่องจากมีการส่งออก 1,238.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 25.7 เป็นผลจากการลดลงของสินค้าส่งออกเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดสินค้าทุน ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 57.5 ส่วนการนำเข้า 357.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 19.7 อย่างไรก็ตามไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 880.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนที่ไทยเกินดุลการค้าลาว 1,219.8 ล้านบาท ทั้งนี้มีรายละเอียดดังนี้ :-
การส่งออก : 1,238.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.7 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 1,665.3 ล้านบาท ทั้งนี้สินค้าส่งออกลดลงเกือบทุกหมวด
l สินค้าอุปโภคบริโภค : ส่งออก 438.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 33.1 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าบริโภคในครัวเรือน 143.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.0 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 133.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.9 เครื่องใช้ไฟฟ้า 121.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 48.3 ยารักษาโรค 15.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.8
l สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : ส่งออก 151.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.6 จากเดือนก่อน สินค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าผืน 74.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 อุปกรณ์ตัดเย็บ 40.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 เหล็กและเหล็กกล้า 17.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 46.1 กระดาษ 5.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8
l สินค้าทุน : ส่งออก 133.8 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 57.5 สินค้าสำคัญ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 93.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 18.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 87.7 แก้วและเครื่องแก้ว 7.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.6 ในขณะที่ปุ๋ย 13.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65.8
l น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ : ส่งออก 185.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9
การนำเข้า : มูลค่า 357.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.7 จากเดือนก่อนที่มียอดการนำเข้า 445.5 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 279.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 27.2 สินแร่ 18.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.9 ส่วนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ พืชไร่ 21.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 132.6 หนังโค-กระบือ 6.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และเครื่องจักรและอุปกรณ์ 0.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 147.4
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 495 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 53 สำนักงาน) เท่ากับเดือนก่อน
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 257,375.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 6.0 เนื่องจากผู้ฝากยังคงมั่นใจในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าไปลงทุนในด้านอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ในขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้าง 195,630.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 เนื่องจากมีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มขึ้นในบางธุรกรรมที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะจากธนาคารของรัฐฯ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้เป็นธนาคารนำร่องในการปล่อยสินเชื่อสู่ภาคเอกชน
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 80.2 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 76.0 ในเดือนนี้
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,860.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 ทั้งนี้จำนวนผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้เริ่มลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนนี้มียอดผู้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศทั้งสิ้น 8,479 ราย ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 21.6 เนื่องจากมาตรการลดแรงงานจากต่างประเทศของไต้หวันเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานในประเทศ ทั้งนี้ประเทศไต้หวันเป็นแหล่งแรงงานที่คนไทยนิยมไปทำงานมากที่สุด
เดือนมิถุนายน 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 12,804.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จากเดือนก่อน ขาดดุล 12,031.4 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 13,810.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากเดือนก่อน 13,221.7 ล้านบาท ผลจากรายจ่ายลงทุน 5,411.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 จากเดือนก่อน 5,093.9 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และเมื่อรวมรายจ่ายงบประมาณภาครัฐกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) 17.6 ล้านบาท ทำให้รายจ่ายรวม 13,828.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากเดือนก่อน 13,228.1 ล้านบาท ส่วนรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,005.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.5 จากเดือนก่อน 1,190.3 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงเป็นสำคัญ
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 81.1 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 94.0 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 61.0 ซึ่งยังคงมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมิถุนายน 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 65 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 45.8 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.3 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านต้นทุนการประกอบการ และด้านแนวโน้มการส่งออกแย่ลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านการจ้างงานดีขึ้น สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนหน้าคาดว่าจะทรงตัว โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.6 และปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 48.2 ในช่วง ส.ค.-ต.ค. 44
2. การแข่งขันทางธุรกิจอยู่ในระดับใกล้เคียงกับจากเดือนก่อน แต่ยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรง
3. ภาวะการเงินเดือน มิ.ย. 44 ผู้ประกอบการมีการให้เครดิตแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น แม้ว่าสภาพคล่องทางธุรกิจจะทรงตัวจากเดือนก่อน สำหรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงจากเดือนก่อน
ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1. ภาครัฐควรเร่งสร้างงานและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่น
2. ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจากราคาไม่คุ้มทุนและส่งผลต่ออำนาจซื้อของเกษตรกร รวมทั้งควรหาตลาดสินค้าเกษตรให้มากขึ้น
3. ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น
4. ภาครัฐควรมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น รวมทั้งเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ประชาชนผู้ฝากเงิน และดึงเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น
5. รัฐควรลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหลือร้อยละ 5 เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนให้สูงขึ้น
6. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ชะลอการลงทุน และยังคงประคองธุรกิจต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-