กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (14 มิถุนายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า รัฐบาลไทยแสดงความยินดีและสนับสนุนต่อการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำเกาหลีทั้งสองที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2543 โดยหวังว่าจะเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การผ่อนคลายความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกและของโลกต่อไป นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสดีที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายจะได้เจรจาแก้ไขปัญหากันโดยตรงเกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี เนื่องจากการหารือที่ผ่านมาของทั้งสองฝ่ายดำเนินไปโดยผ่านประเทศที่สามเช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น หรือไม่ก็เป็นการเจรจาในระดับพหุภาคีที่มีประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐฯ และจีน เข้าร่วมในการประชุมด้วย ทั้งนี้ หากการประชุมสุดยอดประสบความสำเร็จ อาจนำไปสู่การหารือโดยตรงเป็นประจำระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ยังคั่งค้างระหว่างกันต่อไป
คาดว่าหากการประชุมสุดยอดประสบความสำเร็จ เกาหลีเหนือคงจะมีท่าทีที่ลดความแข็งกร้าวลง และคงจะมีการดำเนินการในเชิงรุกที่จะขยายความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าร่วมในกระบวนการความร่วมมือพหุภาคีและระดับภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อลดการดำเนินนโยบายโดดเดี่ยวตนเองลงกว่าในปัจจุบัน และการเปิดประเทศสู่โลกภายนอกมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของเกาหลีเหนือให้มีความพร้อมต่อการรับการลงทุนจากต่างประเทศในที่สุด--จบ--
-อน-
วันนี้ (14 มิถุนายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า รัฐบาลไทยแสดงความยินดีและสนับสนุนต่อการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำเกาหลีทั้งสองที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2543 โดยหวังว่าจะเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การผ่อนคลายความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกและของโลกต่อไป นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสดีที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายจะได้เจรจาแก้ไขปัญหากันโดยตรงเกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี เนื่องจากการหารือที่ผ่านมาของทั้งสองฝ่ายดำเนินไปโดยผ่านประเทศที่สามเช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น หรือไม่ก็เป็นการเจรจาในระดับพหุภาคีที่มีประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐฯ และจีน เข้าร่วมในการประชุมด้วย ทั้งนี้ หากการประชุมสุดยอดประสบความสำเร็จ อาจนำไปสู่การหารือโดยตรงเป็นประจำระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ยังคั่งค้างระหว่างกันต่อไป
คาดว่าหากการประชุมสุดยอดประสบความสำเร็จ เกาหลีเหนือคงจะมีท่าทีที่ลดความแข็งกร้าวลง และคงจะมีการดำเนินการในเชิงรุกที่จะขยายความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าร่วมในกระบวนการความร่วมมือพหุภาคีและระดับภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อลดการดำเนินนโยบายโดดเดี่ยวตนเองลงกว่าในปัจจุบัน และการเปิดประเทศสู่โลกภายนอกมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของเกาหลีเหนือให้มีความพร้อมต่อการรับการลงทุนจากต่างประเทศในที่สุด--จบ--
-อน-