ประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 33 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ
ผลการประชุมมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรแก่สมาชิกใหม่อาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศได้ตกลงที่จะให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่ โดยให้แบบสองฝ่ายและไม่มีการเจรจาต่อรอง โดยไทยและมาเลเซียได้ประกาศการให้สิทธิประโยชน์ฯ แก่ประเทศเวียดนาม ลาว และพม่า ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในต้นปี 2545 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้เรียกชื่อการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว เป็น "ASEAN Integration System of Preferences (AISP)"
2. กรณีมาเลเซียชะลอการลดภาษียานยนต์ ที่ประชุมได้มีมติให้เวลาการเจรจาสองฝ่ายซึ่งกำหนดไว้ 180 วัน สามารถขยายไปได้ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2544 เพื่อให้เวลามาเลเซียในการพิจารณาให้การชดเชยแก่ไทยและจัดทำแผนการลดภาษียานยนต์
3. การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน อาเซียนได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-จีน ซึ่งเสนอแนะให้จัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและจีน ซึ่งอาเซียนเห็นว่าการเป็นเขตการค้าเสรีระหว่างกัน จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งอาเซียนและจีน ทั้งนี้ จะมีการปรับปรุงผลการศึกษาให้ละเอียดมากขึ้น ก่อนนำเสนอที่ประชุมผู้นำระหว่างอาเซียนกับจีนในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ที่ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
4. น้ำตาล อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ได้แจ้งความประสงค์อย่างเป็นทางการว่า จะขอย้ายสินค้าน้ำตาลออกจากบัญชีขอยกเว้นลดภาษีชั่วคราว เข้าสู่บัญชีอ่อนไหวสูงและอ่อนไหวตามลำดับ ซึ่งจะมีผลทำให้การลดภาษีล่าช้าไปจากเดิม และเรื่องนี้ได้ผ่านการเห็นชอบในหลักการจาก AFTA Council แล้ว
5. การลงทุนเสรีอาเซียน เพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และจูงใจให้มีการลงทุนในอาเซียนมากขึ้น อาเซียนได้มีมติร่นระยะเวลาการเปิดเสรีการลงทุนแก่นักลงทุนนอก อาเซียนในสาขาอุตสาหกรรม เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ ในรายการที่ได้ขอยกเว้นเปิดเสรีชั่วคราวจากปี 2563 (ค.ศ. 2020) เป็น ปี 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับสมาชิกเดิม และปี 2558 (ค.ศ.2015) สำหรับสมาชิกใหม่
6. การค้าบริการอาเซียน อาเซียนจะเปิดเจรจาเปิดเสรีด้านบริการรอบที่สามระหว่างปี 2545-2547 (ค.ศ. 2002-2004) โดยครอบคลุมทุกสาขาและทุกรูปแบบการให้บริการ โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนศึกษารูปแบบการเจรจารอบใหม่ ต่อไป
7. โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน นอกจากนี้ อาเซียนได้ขยายระยะเวลาการผ่อนผันข้อกำหนดเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นคนชาติอาเซียนของบริษัทที่จะขออนุมัติสิทธิ-ประโยชน์ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AICO) ที่กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ 30 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 (ค.ศ. 2002)
8. งานแสดงสินค้าอาเซียน ประเทศไทยได้เชิญชวนสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair : ATF 2002) ปี 2545 (ค.ศ. 2002) ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 14-20 ตุลาคม 2545 ซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กันยายน 2544--
-ปส-
ผลการประชุมมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรแก่สมาชิกใหม่อาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศได้ตกลงที่จะให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่ โดยให้แบบสองฝ่ายและไม่มีการเจรจาต่อรอง โดยไทยและมาเลเซียได้ประกาศการให้สิทธิประโยชน์ฯ แก่ประเทศเวียดนาม ลาว และพม่า ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในต้นปี 2545 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้เรียกชื่อการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว เป็น "ASEAN Integration System of Preferences (AISP)"
2. กรณีมาเลเซียชะลอการลดภาษียานยนต์ ที่ประชุมได้มีมติให้เวลาการเจรจาสองฝ่ายซึ่งกำหนดไว้ 180 วัน สามารถขยายไปได้ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2544 เพื่อให้เวลามาเลเซียในการพิจารณาให้การชดเชยแก่ไทยและจัดทำแผนการลดภาษียานยนต์
3. การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน อาเซียนได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-จีน ซึ่งเสนอแนะให้จัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนและจีน ซึ่งอาเซียนเห็นว่าการเป็นเขตการค้าเสรีระหว่างกัน จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งอาเซียนและจีน ทั้งนี้ จะมีการปรับปรุงผลการศึกษาให้ละเอียดมากขึ้น ก่อนนำเสนอที่ประชุมผู้นำระหว่างอาเซียนกับจีนในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ที่ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
4. น้ำตาล อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ได้แจ้งความประสงค์อย่างเป็นทางการว่า จะขอย้ายสินค้าน้ำตาลออกจากบัญชีขอยกเว้นลดภาษีชั่วคราว เข้าสู่บัญชีอ่อนไหวสูงและอ่อนไหวตามลำดับ ซึ่งจะมีผลทำให้การลดภาษีล่าช้าไปจากเดิม และเรื่องนี้ได้ผ่านการเห็นชอบในหลักการจาก AFTA Council แล้ว
5. การลงทุนเสรีอาเซียน เพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และจูงใจให้มีการลงทุนในอาเซียนมากขึ้น อาเซียนได้มีมติร่นระยะเวลาการเปิดเสรีการลงทุนแก่นักลงทุนนอก อาเซียนในสาขาอุตสาหกรรม เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ ในรายการที่ได้ขอยกเว้นเปิดเสรีชั่วคราวจากปี 2563 (ค.ศ. 2020) เป็น ปี 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับสมาชิกเดิม และปี 2558 (ค.ศ.2015) สำหรับสมาชิกใหม่
6. การค้าบริการอาเซียน อาเซียนจะเปิดเจรจาเปิดเสรีด้านบริการรอบที่สามระหว่างปี 2545-2547 (ค.ศ. 2002-2004) โดยครอบคลุมทุกสาขาและทุกรูปแบบการให้บริการ โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนศึกษารูปแบบการเจรจารอบใหม่ ต่อไป
7. โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน นอกจากนี้ อาเซียนได้ขยายระยะเวลาการผ่อนผันข้อกำหนดเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นคนชาติอาเซียนของบริษัทที่จะขออนุมัติสิทธิ-ประโยชน์ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AICO) ที่กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ 30 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 (ค.ศ. 2002)
8. งานแสดงสินค้าอาเซียน ประเทศไทยได้เชิญชวนสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair : ATF 2002) ปี 2545 (ค.ศ. 2002) ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 14-20 ตุลาคม 2545 ซึ่งได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กันยายน 2544--
-ปส-