นับตั้งแต่เริ่มใช้เงินสกุลยูโรในตลาดเงินเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2542 นั้น เงินยูโรมีค่าอ่อนลงเรื่อยๆ จากอัตรา 1.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ยูโร และลดลงถึงระดับต่ำสุดประมาณ 83 เซนต์/ยูโร เมื่อเดือนตุลาคม 2543 ค่าเงินยูโรลดลงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) จำเป็นต้องเข้าดูแลตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมทั้งเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายตัวได้แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว ได้ส่งผลให้ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ กลับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งเป็น 95 เซนต์/ยูโรในเดือนธันวาคม 2543
เมื่อเฉลี่ยอัตราแลกเปลี่ยนยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2542 ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงร้อยละ 5 ในปี 2542 และลดลงถึงร้อยละ 13 ในปี 2543
ผลกระทบต่อการส่งออกของไทย
สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในลำดับที่ 4 รองจากญี่ปุ่น อาเซียน และสหรัฐอเมริกา โดยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไทยไปสหภาพยุโรปประมาณร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย
เมื่อพิจารณาจากการส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปในปี 2542 และ 2543 พบว่าในปี 2542 ขยายตัวต่ำเพียงร้อยละ 1.1 เนื่องจากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงประมาณร้อยละ 5 ขณะที่ค่าเงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพอยู่ในระดับเฉลี่ย 37.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีค่าแข็งขึ้นร้อยละ 9.6 ทำให้สินค้าไทยมีราคาแพงขึ้นมากในสายตาของประเทศผู้นำเข้า สำหรับในปี 2543 การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12 แม้ว่าค่าเงินยูโรจะอ่อนตัวลงมากถึงร้อยละ 13 ขณะที่ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อ่อนตัวร้อยละ 5 ค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงมากกว่าเงินบาท ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยแต่ไม่มากเท่าในปี 2542 ประกอบกับปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกขยายตัวได้ดี คือ ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่ขยายตัวถึงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปี 2542 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 จึงทำให้ความต้องการนำเข้าของสหภาพยุโรปขยายตัวสูง
ในปี 2543 สินค้าสำคัญของไทยที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีการขยายตัวต่อเนื่องในอัตราสูง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
สินค้าของไทยที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจากสหภาพยุโรปในตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สายไฟฟ้าและสายเคเบิล ส่วนสินค้าที่ประสบการแข่งขันกับสินค้าจากสหภาพยุโรปในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ ยางธรรมชาติ กุ้งปู หอย ปลาหมึกสดแช่เย็น เครื่องรับโทรทัศน์ เก้าอี้และส่วนประกอบ
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยอื่นที่อาจกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรป ได้แก่ การที่จีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย และกำลังจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกก็จะได้รับประโยชน์ในการเข้าตลาดสหภาพยุโรปได้มากขึ้น และมาตรการเข้มงวดทางการค้าของสหภาพยุโรป เช่น การถูกเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุน (AD/CVD) กฎระเบียบเรื่องสินค้า GMOs ข้อกำหนดด้านฉลากและการบรรจุหีบห่อ สมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของอาหารซึ่งจะมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยของอาหาร (general Food Law) และมีแผนปฏิบัติการออกมาเป็นลำดับ เช่น การใช้พลาสติกเป็นวัสดุบรรจุอาหาร จะเริ่มห้ามนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 การห้ามใช้สารเร่งความเจริญเติบโตหรือยาปฏิชีวนะกับสัตว์ปีก จะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจะมีกฎหมายว่าด้วยเศษเหลือทิ้งและการห้ามใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและสหภาพยุโรป
สร้างจุดแข็งสินค้าอาหารไทย ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจะต้องเตรียมรับมาตรการใหม่ๆ ของ สหภาพยุโรปที่จะคลอบคลุมลงไปถึงระดับการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ที่นำมาใช้ผลิตอาหาร ซึ่งต้องสะอาดและปลอดภัยในทุกขั้นตอน
ส่งเสริมให้มีแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยในสหภาพยุโรป เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าประเภทอาหารของไทยให้แพร่หลายในยุโรป
สร้างความไว้วางใจของสินค้าไทยในตลาดสหภาพยุโรป โดยปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและกฎเกณฑ์การค้าใหม่ๆ เช่น สินค้าไทยได้มาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 เป็นต้น
ส่งเสริมการพัฒนา และส่งออกผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงไปยังสหภาพยุโรป เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ
การผลักดันให้เวทีการประชุม ASEM เป็นช่องทางขยายการค้าและการลงทุนกับสหภาพยุโรป และให้เกิดผลเป็นรูปธรรม รวมทั้งความช่วยเหลือทางด้านวิทยาการสมัยใหม่ และเงินทุนจากสหภาพยุโรป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมทั้งเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายตัวได้แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว ได้ส่งผลให้ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ กลับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งเป็น 95 เซนต์/ยูโรในเดือนธันวาคม 2543
เมื่อเฉลี่ยอัตราแลกเปลี่ยนยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2542 ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงร้อยละ 5 ในปี 2542 และลดลงถึงร้อยละ 13 ในปี 2543
ผลกระทบต่อการส่งออกของไทย
สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในลำดับที่ 4 รองจากญี่ปุ่น อาเซียน และสหรัฐอเมริกา โดยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไทยไปสหภาพยุโรปประมาณร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย
เมื่อพิจารณาจากการส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปในปี 2542 และ 2543 พบว่าในปี 2542 ขยายตัวต่ำเพียงร้อยละ 1.1 เนื่องจากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงประมาณร้อยละ 5 ขณะที่ค่าเงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพอยู่ในระดับเฉลี่ย 37.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีค่าแข็งขึ้นร้อยละ 9.6 ทำให้สินค้าไทยมีราคาแพงขึ้นมากในสายตาของประเทศผู้นำเข้า สำหรับในปี 2543 การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12 แม้ว่าค่าเงินยูโรจะอ่อนตัวลงมากถึงร้อยละ 13 ขณะที่ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อ่อนตัวร้อยละ 5 ค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงมากกว่าเงินบาท ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยแต่ไม่มากเท่าในปี 2542 ประกอบกับปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกขยายตัวได้ดี คือ ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่ขยายตัวถึงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปี 2542 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 จึงทำให้ความต้องการนำเข้าของสหภาพยุโรปขยายตัวสูง
ในปี 2543 สินค้าสำคัญของไทยที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีการขยายตัวต่อเนื่องในอัตราสูง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
สินค้าของไทยที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจากสหภาพยุโรปในตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สายไฟฟ้าและสายเคเบิล ส่วนสินค้าที่ประสบการแข่งขันกับสินค้าจากสหภาพยุโรปในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ ยางธรรมชาติ กุ้งปู หอย ปลาหมึกสดแช่เย็น เครื่องรับโทรทัศน์ เก้าอี้และส่วนประกอบ
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยอื่นที่อาจกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรป ได้แก่ การที่จีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย และกำลังจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกก็จะได้รับประโยชน์ในการเข้าตลาดสหภาพยุโรปได้มากขึ้น และมาตรการเข้มงวดทางการค้าของสหภาพยุโรป เช่น การถูกเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุน (AD/CVD) กฎระเบียบเรื่องสินค้า GMOs ข้อกำหนดด้านฉลากและการบรรจุหีบห่อ สมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของอาหารซึ่งจะมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยของอาหาร (general Food Law) และมีแผนปฏิบัติการออกมาเป็นลำดับ เช่น การใช้พลาสติกเป็นวัสดุบรรจุอาหาร จะเริ่มห้ามนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 การห้ามใช้สารเร่งความเจริญเติบโตหรือยาปฏิชีวนะกับสัตว์ปีก จะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจะมีกฎหมายว่าด้วยเศษเหลือทิ้งและการห้ามใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและสหภาพยุโรป
สร้างจุดแข็งสินค้าอาหารไทย ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจะต้องเตรียมรับมาตรการใหม่ๆ ของ สหภาพยุโรปที่จะคลอบคลุมลงไปถึงระดับการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ที่นำมาใช้ผลิตอาหาร ซึ่งต้องสะอาดและปลอดภัยในทุกขั้นตอน
ส่งเสริมให้มีแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยในสหภาพยุโรป เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าประเภทอาหารของไทยให้แพร่หลายในยุโรป
สร้างความไว้วางใจของสินค้าไทยในตลาดสหภาพยุโรป โดยปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและกฎเกณฑ์การค้าใหม่ๆ เช่น สินค้าไทยได้มาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 เป็นต้น
ส่งเสริมการพัฒนา และส่งออกผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงไปยังสหภาพยุโรป เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ
การผลักดันให้เวทีการประชุม ASEM เป็นช่องทางขยายการค้าและการลงทุนกับสหภาพยุโรป และให้เกิดผลเป็นรูปธรรม รวมทั้งความช่วยเหลือทางด้านวิทยาการสมัยใหม่ และเงินทุนจากสหภาพยุโรป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-