ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินขึ้นภายใต้อำนาจหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีหน้าที่กำหนดทิศทางนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา รวมทั้งได้มีการปรับปรุงกระบวนการดำเนินนโยบายให้มีความโปร่งใส ชัดเจน และมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบนโยบายการเงินโดยวิธีกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) มาเป็นลำดับแล้วนั้น ในวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report) ฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับสำหรับเดือนกรกฎาคม 2543
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report) เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความเข้าใจ และสื่อสารกับสาธารณชนถึงแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน การเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับแรกในวันนี้ จึงนับเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูปกระบวนการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอีกก้าวหนึ่ง
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report) นี้ จะจัดทำทุก 3 เดือน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
ก. เสนอกรอบประมาณการเงินเฟ้อที่ชัดเจนและมองไปข้างหน้า ซึ่งช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงินของคณะกรรมการฯ
ข. ถ่ายทอดแนวความคิดของคณะกรรมการฯ ต่อสาธารณชน และอธิบายเหตุผลของการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงิน
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อแต่ละฉบับจะมีเนื้อหาสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. การประเมินและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงินและเงินเฟ้อปัจจุบัน (บทที่ 2 และบทที่ 3)
2. การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน 8 ไตรมาสข้างหน้า (บทที่ 4)
การประเมินและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงินและเงินเฟ้อในปัจจุบัน
สาระสำคัญมีดังนี้
1 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี โดยขยายวงจากการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐบาลไปสู่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ข้อมูลล่าสุดชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยไตรมาสแรกของปี 2543 เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.2 ต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ซึ่งขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.5
2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงมีต่อเนื่อง แต่ยังไม่กระจายทั่วถึงในทุกภาคเศรษฐกิจ
3. คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า แม้ว่าราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขณะนี้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประมาณร้อยละ 1.2 ในเดือนมิถุนายน และร้อยละ 1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2543
4. แม้ว่าการขยายตัวของปริมาณเงินยังอยู่ในระดับต่ำ แต่มิได้หมายความว่าระบบการเงินจะตึงตัว เพราะธุรกิจเอกชนยังได้รับบริการสินเชื่อจากตราสารหนี้และเงินทุน ดังนั้นภาวะการเงินในขณะนี้ยังคงเอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ และขณะเดียวกันยังไม่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อพื้นฐานมากจนเกินไป
การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น ได้มีการใช้แบบจำลองเศรษฐมิติเป็นเครื่องมือประกอบอย่างหนึ่ง (ซึ่งปรากฏในภาคผนวกที่ 2 ของรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับนี้) ค่าพยากรณ์ที่ได้จากแบบจำลองจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้แก่คณะกรรมการฯในการประเมินแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์และนโยบายที่สำคัญ เช่น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมัน เป็นต้น
เนื่องจากการคาดการณ์ในอนาคตกระทำภายใต้ข้อสมมติและความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น ผลของการคาดการณ์เงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจจึงแสดงในแผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ซึ่งแสดงเป็นโอกาสที่จะเกิดขึ้น มิใช่ค่าพยากรณ์ค่าเดียว สะท้อนถึงความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะยิ่งมองการณ์ไปข้างหน้าไกลเท่าใดก็ยิ่งมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ การแสดงโดยแผนภาพรูปพัดยังสามารถนำความคิดเห็นของคณะกรรมการฯเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆที่มีผลต่อการพยากรณ์ รวมทั้งแสดงดุลยพินิจของคณะกรรมการฯที่อาจไม่ตรงกันจะสะท้อนออกมาในรูปพัดที่เบ้ไปข้างใดข้างหนึ่งได้
ผลการคาดการณ์สรุปได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่จะยังคงอยู่ในช่วงเป้าหมายที่กำหนดไว้ ยกเว้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ในเดือนตุลาคม 2544 ทั้งนี้ในปี 2544 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 | 3 เทียบกับเฉลี่ยปี 2543 ที่คาดว่าประมาณร้อยละ 1-1.5 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงปี 2543 และ 2544 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2 และ 1.5-2.5 ตามลำดับ
2. คณะกรรมการฯได้คำนึงถึงปัจจัยบวกและลบที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยแล้ว ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามีโอกาสที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่าที่คาด ทั้งนี้ เฉลี่ยโอกาสที่การขยายตัวจะเกิดขึ้นในแต่ละไตรมาสแล้ว คณะกรรมการฯประมาณว่าในปี 2543 เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.5-5.5 และความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นทั้งด้านบวกและลบในปี 2544 ทำให้คาดว่าการขยายตัวจะเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4-6
เมื่อแรงกดดันด้านราคายังมีไม่มาก คณะกรรมการฯ จึงมีความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ว่า นโยบายการเงินยังจำเป็นต้องเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป จึงยังให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี
ธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการนโยบายการเงินตระหนักดีว่าการปฏิรูประบบการบริหารเศรษฐกิจในยุคใหม่นี้ ความโปร่งใสของการดำเนินการ และความรับผิดชอบของผู้ดำเนินนโยบาย จะช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับนโยบายการเงินได้ในที่สุด ดังนั้นธปท.จะใช้รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อนี้เป็นสื่อกลางในการอธิบายต่อสาธารณชนถึงเหตุผลในการตัดสินใจกำหนดทิศทางนโยบายการเงินในไตรมาสที่ผ่านมา รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลที่คณะกรรมการฯใช้ประกอบการพิจารณา ตลอดจนข้อสมมติและประเด็นที่คณะกรรมการฯให้ความสำคัญ เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนธุรกิจ การเงินของภาคเอกชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report) เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความเข้าใจ และสื่อสารกับสาธารณชนถึงแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน การเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับแรกในวันนี้ จึงนับเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูปกระบวนการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอีกก้าวหนึ่ง
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report) นี้ จะจัดทำทุก 3 เดือน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
ก. เสนอกรอบประมาณการเงินเฟ้อที่ชัดเจนและมองไปข้างหน้า ซึ่งช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงินของคณะกรรมการฯ
ข. ถ่ายทอดแนวความคิดของคณะกรรมการฯ ต่อสาธารณชน และอธิบายเหตุผลของการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงิน
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อแต่ละฉบับจะมีเนื้อหาสาระสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. การประเมินและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงินและเงินเฟ้อปัจจุบัน (บทที่ 2 และบทที่ 3)
2. การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน 8 ไตรมาสข้างหน้า (บทที่ 4)
การประเมินและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงินและเงินเฟ้อในปัจจุบัน
สาระสำคัญมีดังนี้
1 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี โดยขยายวงจากการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐบาลไปสู่การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ข้อมูลล่าสุดชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยไตรมาสแรกของปี 2543 เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.2 ต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ซึ่งขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.5
2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงมีต่อเนื่อง แต่ยังไม่กระจายทั่วถึงในทุกภาคเศรษฐกิจ
3. คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า แม้ว่าราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขณะนี้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประมาณร้อยละ 1.2 ในเดือนมิถุนายน และร้อยละ 1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2543
4. แม้ว่าการขยายตัวของปริมาณเงินยังอยู่ในระดับต่ำ แต่มิได้หมายความว่าระบบการเงินจะตึงตัว เพราะธุรกิจเอกชนยังได้รับบริการสินเชื่อจากตราสารหนี้และเงินทุน ดังนั้นภาวะการเงินในขณะนี้ยังคงเอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ และขณะเดียวกันยังไม่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อพื้นฐานมากจนเกินไป
การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น ได้มีการใช้แบบจำลองเศรษฐมิติเป็นเครื่องมือประกอบอย่างหนึ่ง (ซึ่งปรากฏในภาคผนวกที่ 2 ของรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับนี้) ค่าพยากรณ์ที่ได้จากแบบจำลองจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้แก่คณะกรรมการฯในการประเมินแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์และนโยบายที่สำคัญ เช่น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมัน เป็นต้น
เนื่องจากการคาดการณ์ในอนาคตกระทำภายใต้ข้อสมมติและความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น ผลของการคาดการณ์เงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจจึงแสดงในแผนภาพรูปพัด (Fan Chart) ซึ่งแสดงเป็นโอกาสที่จะเกิดขึ้น มิใช่ค่าพยากรณ์ค่าเดียว สะท้อนถึงความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะยิ่งมองการณ์ไปข้างหน้าไกลเท่าใดก็ยิ่งมีความไม่แน่นอนสูงขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ การแสดงโดยแผนภาพรูปพัดยังสามารถนำความคิดเห็นของคณะกรรมการฯเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆที่มีผลต่อการพยากรณ์ รวมทั้งแสดงดุลยพินิจของคณะกรรมการฯที่อาจไม่ตรงกันจะสะท้อนออกมาในรูปพัดที่เบ้ไปข้างใดข้างหนึ่งได้
ผลการคาดการณ์สรุปได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่จะยังคงอยู่ในช่วงเป้าหมายที่กำหนดไว้ ยกเว้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ในเดือนตุลาคม 2544 ทั้งนี้ในปี 2544 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 | 3 เทียบกับเฉลี่ยปี 2543 ที่คาดว่าประมาณร้อยละ 1-1.5 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงปี 2543 และ 2544 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2 และ 1.5-2.5 ตามลำดับ
2. คณะกรรมการฯได้คำนึงถึงปัจจัยบวกและลบที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจกระทบต่อการส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยแล้ว ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามีโอกาสที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่าที่คาด ทั้งนี้ เฉลี่ยโอกาสที่การขยายตัวจะเกิดขึ้นในแต่ละไตรมาสแล้ว คณะกรรมการฯประมาณว่าในปี 2543 เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.5-5.5 และความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นทั้งด้านบวกและลบในปี 2544 ทำให้คาดว่าการขยายตัวจะเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4-6
เมื่อแรงกดดันด้านราคายังมีไม่มาก คณะกรรมการฯ จึงมีความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ว่า นโยบายการเงินยังจำเป็นต้องเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป จึงยังให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี
ธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการนโยบายการเงินตระหนักดีว่าการปฏิรูประบบการบริหารเศรษฐกิจในยุคใหม่นี้ ความโปร่งใสของการดำเนินการ และความรับผิดชอบของผู้ดำเนินนโยบาย จะช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับนโยบายการเงินได้ในที่สุด ดังนั้นธปท.จะใช้รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อนี้เป็นสื่อกลางในการอธิบายต่อสาธารณชนถึงเหตุผลในการตัดสินใจกำหนดทิศทางนโยบายการเงินในไตรมาสที่ผ่านมา รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลที่คณะกรรมการฯใช้ประกอบการพิจารณา ตลอดจนข้อสมมติและประเด็นที่คณะกรรมการฯให้ความสำคัญ เพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนธุรกิจ การเงินของภาคเอกชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-