ในไตรมาส 2/2548 เศรษฐกิจไต้หวันเริ่มชะลอตัวลงจากภาคการส่งออกที่ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ในเดือนมิถุนายนเทียบกับร้อยละ 4 ในเดือนพฤษภาคม จากการที่การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์หดตัว และจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ธนาคารกลางไต้หวันได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานอีกร้อยละ 0.125 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.0 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนให้ชะลอตัวลง
ในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจไต้หวันจะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 4.5
ฮ่องกง
ในไตรมาส 2/2548 เศรษฐกิจฮ่องกงมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ภาวะการคลังที่ปรับตัวดีขึ้น และภาวะเงินฝืดได้คลี่คลายลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนได้ลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจจีนขยายตัวอข่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง นอกจากนี้สถาบันจัดอันดับ Standard & Poor’s Ratings Service ได้ปรับเพิ่มอันดับความ น่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาว สกุลเงินตราต่างประเทศของฮ่องกงจาก A + เป็น AA- และระยะสั้นจาก A — 1 เป็น A — 1+
ในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจฮ่องกงจะขยายตัวอย่างต่ำร้อยละ 4.6
เกาหลีใต้
ในไตรมาส 2/2548 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวไม่ชัดเจน โดยฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น กระทบต่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ซึ่งยังทรงตัว ทำให้ธนาคารกลางเกาหลีใต้ชะลอการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศที่อยู่ระดับค่อนข้างต่ำ โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางไว้ที่ร้อยละ 3.25
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2548 เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.1
สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกในครึ่งแรกปี 2548 และแนวโน้มครึ่งปีหลัง 2548
โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งแรกปี 2548 ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน จากอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นขณะที่เศรษฐกิจสหภาพยุโรปชะลอตัวลง สำหรับประเทศในเอเซียนั้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2548 จากสิงคโปร์ที่ขยายตัวได้ดีขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน แต่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัวลง สำหรับภาคการผลิตนั้นยังชะลอตัวลงจากอุปสงค์ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวลง ด้านการส่งออกของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเซียยังชะลอตัวลง ยกเว้นประเทศจีนที่ยังขยายตัวในระดับสูง สำหรับอัตราเงินเฟ้อนั้นแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อได้เริ่มลดลงในหลายประเทศ ทำให้หลายประเทศยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังทรงตัวในระดับสูงอาจสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาและเศรษฐกิจในที่สุด
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง 2548 นั้น หากไม่มีสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นโดยกะทันหัน เช่น สถานการณ์ก่อการร้ายที่ไม่คาดคิด ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เศรษฐกิจของประเทศหลักเกิดถดถอยหรือฟองสบู่แตก คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจีนจะเป็นตัวนำเศรษฐกิจโลกให้ขยายตัวในระดับสูง ส่วนสิงคโปร์ค่อนข้างมีแนวโน้มที่ดี สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังคงเติบโตแบบช้า ๆ ในส่วนของสหภาพยุโรปค่อนข้างชะลอตัวอย่างแท้จริง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจไต้หวันจะขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 4.5
ฮ่องกง
ในไตรมาส 2/2548 เศรษฐกิจฮ่องกงมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ภาวะการคลังที่ปรับตัวดีขึ้น และภาวะเงินฝืดได้คลี่คลายลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนได้ลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจจีนขยายตัวอข่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง นอกจากนี้สถาบันจัดอันดับ Standard & Poor’s Ratings Service ได้ปรับเพิ่มอันดับความ น่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาว สกุลเงินตราต่างประเทศของฮ่องกงจาก A + เป็น AA- และระยะสั้นจาก A — 1 เป็น A — 1+
ในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจฮ่องกงจะขยายตัวอย่างต่ำร้อยละ 4.6
เกาหลีใต้
ในไตรมาส 2/2548 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวไม่ชัดเจน โดยฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น กระทบต่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ซึ่งยังทรงตัว ทำให้ธนาคารกลางเกาหลีใต้ชะลอการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศที่อยู่ระดับค่อนข้างต่ำ โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางไว้ที่ร้อยละ 3.25
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2548 เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.1
สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกในครึ่งแรกปี 2548 และแนวโน้มครึ่งปีหลัง 2548
โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งแรกปี 2548 ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน จากอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นขณะที่เศรษฐกิจสหภาพยุโรปชะลอตัวลง สำหรับประเทศในเอเซียนั้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2548 จากสิงคโปร์ที่ขยายตัวได้ดีขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน แต่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัวลง สำหรับภาคการผลิตนั้นยังชะลอตัวลงจากอุปสงค์ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวลง ด้านการส่งออกของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเซียยังชะลอตัวลง ยกเว้นประเทศจีนที่ยังขยายตัวในระดับสูง สำหรับอัตราเงินเฟ้อนั้นแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อได้เริ่มลดลงในหลายประเทศ ทำให้หลายประเทศยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังทรงตัวในระดับสูงอาจสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาและเศรษฐกิจในที่สุด
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลัง 2548 นั้น หากไม่มีสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นโดยกะทันหัน เช่น สถานการณ์ก่อการร้ายที่ไม่คาดคิด ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เศรษฐกิจของประเทศหลักเกิดถดถอยหรือฟองสบู่แตก คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจีนจะเป็นตัวนำเศรษฐกิจโลกให้ขยายตัวในระดับสูง ส่วนสิงคโปร์ค่อนข้างมีแนวโน้มที่ดี สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังคงเติบโตแบบช้า ๆ ในส่วนของสหภาพยุโรปค่อนข้างชะลอตัวอย่างแท้จริง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-