แท็ก
ธปท.
ข่าวในประเทศ
1. ธปท.รายงานผลการทำธุรกรรมโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเดือน ธ.ค.43 ธปท.รายงานผลการทำธุรกรรมการโอนเงินผ่านระบบบาทเนตในเดือน ธ.ค.43 ว่า มีปริมาณธุรกรรมทั้งสิ้น 56,667 รายการ ลดลงจากเดือน พ.ย.43 ร้อยละ 16 คิดเป็นมูลค่าการทำธุรกรรมทั้งสิ้น 4,672,336 ล.บาท ลดลงจากเดือน พ.ย.43 ร้อยละ 37 โดยปริมาณธุรกรรมโอนเงินเฉลี่ยต่อวันทำการเท่ากับ 2,982 รายการต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 245,912 ล.บาท ทั้งนี้จำนวนรายการและมูลค่าลดลงร้อยละ 2 และร้อยละ 27 ตามลำดับ เนื่องจากในเดือน ธ.ค.มีวันหยุดทำการ 2 วัน และตลาดเงินใน สรอ.และยุโรปปิดทำการในวันคริสต์มาส ประกอบกับในช่วงใกล้สิ้นปีที่สถาบันการเงินต่างชะลอการทำธุรกรรม เมื่อพิจารณาธุรกรรมโอนเงินผ่านระบบบาทเนตโดยแยกตามประเภทในเดือน ธ.ค.43 เป็นการโอนเงินของบัญชีผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศมูลค่า 1,516,370 ล.บาท การโอนเงินชำระการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของสถาบันการเงิน มูลค่า 1,459,004 ล.บาท การโอนเงินผ่านระบบจากการกู้ยืมระหว่างธนาคาร 537,669 ล.บาท การโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินเดียวกัน 275,414 ล.บาท และส่วนที่เหลือเป็นรายการโอนเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาล ตราสารหนี้ และรายการอื่นๆ (กรุงเทพธุรกิจ,ผู้จัดการรายวัน 18)
2. บีโอไอสรุปภาวะการลงทุนปี 43 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในปี 43 ว่า มีจำนวน 1,116 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64 คิดเป็นวงเงินลงทุน 279,700 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 72 ส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น 225,814 คน อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์ยานยนต์จำนวน 245 โครงการ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 217 โครงการ โดยการลงทุนของคนไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23 เป็นร้อยละ 29 ขณะที่สัดส่วนการร่วมทุนกับต่างประเทศลดลงจากร้อยละ 38 เป็นร้อยละ 37 อุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 77,200 ล.บาท รองลงมาเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเคมี กระดาษ พลาสติก 72,800 ล.บาท และอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร 37,500 ล.บาท ทั้งนี้ ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่ครองอันดับหนึ่งในการลงทุนจำนวน 290 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า รองลงมาเป็นยุโรป 162 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และไต้หวัน 126 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 (มติชน 18)
3. บล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร ประเมินผลกำไร ธพ.ไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 43 บล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร เผยแพร่บทวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวเลขกำไรจากการดำเนินงานของ ธพ.ในไตรมาสที่ 4 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 43 ว่า ธพ.และ ธพ.ของรัฐ 8 แห่ง มีกำไรก่อนสำรองหนี้สงสัยจะสูญต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยลดลงเหลือร้อยละ 6 จากร้อยละ 7 ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ธนาคารไม่มีการขยายสินเชื่อต่อเนื่อง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วย้อนกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่ และสัดส่วนสินเชื่อเทียบกับเงินฝากปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างของ ธพ.8 แห่ง หดตัวร้อยละ 0.4 นับจากสิ้นเดือน ก.ย.ถึงสิ้นเดือน พ.ย.43ขณะที่สภาพคล่องมีมากเกินไป (กรุงเทพธุรกิจ 18)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. โอเปคมีมติลดการผลิตน้ำมันดิบลงวันละ 1.5 ล. บาร์เรลโดยเริ่มมีผลตั้งแต่เดือน ก.พ. 44 รายงานจากเวียนนาเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 44 Bill Richardson รมว. พลังงานของ สรอ. เปิดเผยว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเพื่อส่งออก(โอเปค) มีมติให้ลดการผลิตน้ำมันลงวันละ 1.5 ล. บาร์เรล อยู่ที่ระดับ 25.2 ล. บาร์เรลต่อวัน เพื่อตรึงราคาน้ำมันดิบให้อยู่ใกล้เคียงที่ระดับบาร์เรลละ 25 ดอลลาร์ สรอ. และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.พ. 44 เป็นต้นไป นอกจากนั้น โอเปคอาจจะลดการผลิตน้ำมันลงอีก หากมีความจำเป็นต้องรักษาระดับราคาน้ำมันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในช่วงประมาณบาร์เรลละ 22-28 ดอลลาร์ อนึ่งในวันเดียวกัน เลขาธิการโอเปค (Ali Rodriguez) กล่าวว่า โอเปคจะเรียกร้องให้ผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มฯช่วยพยุงราคาน้ำมัน โดยหลีกเลี่ยงการส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 44 (รอยเตอร์ 17)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 18 ม.ค.44 ก.แรงงาน สรอ. รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับเดือน พ.ย.43 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ย.43 การที่ CPI ในเดือน ธ.ค.43 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากราคาพลังงานเพิ่มขึ้นน้อยมากเพียงร้อยละ 0.2 และแม้ราคาเชื้อเพลิงและเครื่องอำนวยความสะดวกที่ใช้ในบ้านจะเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 1.5 แต่ก็ถูกชดเชยด้วยราคาน้ำมันเบนซินที่ลดลงมากถึงร้อยละ 1.7 สำหรับทั้งปี 43 CPI ของ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.4 จากระดับร้อยละ 2.7 ในปี 42 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับแต่ปี 33 ขณะที่ CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระดับร้อยละ 1.9 ในปี 42 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับแต่ปี 39 ทั้งนี้ แม้ CPI ของทั้งปี 43 จะเพิ่มขึ้นมาก แต่ตลาดการเงินให้ความสนใจกับตัวเลข CPI ในเดือน ธ.ค.มากกว่า โดยเฉพาะ CPI พื้นฐานที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก (รอยเตอร์ 17)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 43 ของ สรอ. ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 44 ธ. กลาง สรอ. รายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 จากที่ลดลงร้อยละ 0.3 เช่นกันในเดือน พ.ย. และเดือน ต.ค. 43 ตามลำดับ และลดลงมากที่สุดในช่วง 2 ปีครึ่งจากที่เคยลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน มิ.ย. 41 การลดลงของผลผลิตฯ จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของ สรอ. กำลังชะลอตัวลงโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้ ผลผลิตฯ ได้โน้มต่ำลงในช่วงหลังของปีที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ผลผลิตฯ ลดลงร้อยละ 1.1 นับเป็นการชะลอตัวลงครั้งแรกตั้งแต่ที่เคยตกต่ำในไตรมาสที่ 4 ปี 34 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลผลิตฯ ในไตรมาสที่ 4 จะชะลอตัวลง แต่ผลผลิตฯ โดยรวมในปี 43 ก็ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในปี 42 (รอยเตอร์ 17)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 17 ม.ค.44 43.105 (43.328)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 17 ม.ค. 44
ซื้อ 42.8952 (43.1786) ขาย 43.2025 (43.4828)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,350) ขาย 5,500 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 21.91 (22.43)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.รายงานผลการทำธุรกรรมโอนเงินผ่านระบบบาทเนตเดือน ธ.ค.43 ธปท.รายงานผลการทำธุรกรรมการโอนเงินผ่านระบบบาทเนตในเดือน ธ.ค.43 ว่า มีปริมาณธุรกรรมทั้งสิ้น 56,667 รายการ ลดลงจากเดือน พ.ย.43 ร้อยละ 16 คิดเป็นมูลค่าการทำธุรกรรมทั้งสิ้น 4,672,336 ล.บาท ลดลงจากเดือน พ.ย.43 ร้อยละ 37 โดยปริมาณธุรกรรมโอนเงินเฉลี่ยต่อวันทำการเท่ากับ 2,982 รายการต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 245,912 ล.บาท ทั้งนี้จำนวนรายการและมูลค่าลดลงร้อยละ 2 และร้อยละ 27 ตามลำดับ เนื่องจากในเดือน ธ.ค.มีวันหยุดทำการ 2 วัน และตลาดเงินใน สรอ.และยุโรปปิดทำการในวันคริสต์มาส ประกอบกับในช่วงใกล้สิ้นปีที่สถาบันการเงินต่างชะลอการทำธุรกรรม เมื่อพิจารณาธุรกรรมโอนเงินผ่านระบบบาทเนตโดยแยกตามประเภทในเดือน ธ.ค.43 เป็นการโอนเงินของบัญชีผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศมูลค่า 1,516,370 ล.บาท การโอนเงินชำระการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของสถาบันการเงิน มูลค่า 1,459,004 ล.บาท การโอนเงินผ่านระบบจากการกู้ยืมระหว่างธนาคาร 537,669 ล.บาท การโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินเดียวกัน 275,414 ล.บาท และส่วนที่เหลือเป็นรายการโอนเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาล ตราสารหนี้ และรายการอื่นๆ (กรุงเทพธุรกิจ,ผู้จัดการรายวัน 18)
2. บีโอไอสรุปภาวะการลงทุนปี 43 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในปี 43 ว่า มีจำนวน 1,116 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64 คิดเป็นวงเงินลงทุน 279,700 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 72 ส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น 225,814 คน อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์ยานยนต์จำนวน 245 โครงการ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 217 โครงการ โดยการลงทุนของคนไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23 เป็นร้อยละ 29 ขณะที่สัดส่วนการร่วมทุนกับต่างประเทศลดลงจากร้อยละ 38 เป็นร้อยละ 37 อุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 77,200 ล.บาท รองลงมาเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเคมี กระดาษ พลาสติก 72,800 ล.บาท และอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร 37,500 ล.บาท ทั้งนี้ ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่ครองอันดับหนึ่งในการลงทุนจำนวน 290 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า รองลงมาเป็นยุโรป 162 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และไต้หวัน 126 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 (มติชน 18)
3. บล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร ประเมินผลกำไร ธพ.ไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 43 บล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร เผยแพร่บทวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวเลขกำไรจากการดำเนินงานของ ธพ.ในไตรมาสที่ 4 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 43 ว่า ธพ.และ ธพ.ของรัฐ 8 แห่ง มีกำไรก่อนสำรองหนี้สงสัยจะสูญต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยลดลงเหลือร้อยละ 6 จากร้อยละ 7 ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ธนาคารไม่มีการขยายสินเชื่อต่อเนื่อง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วย้อนกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่ และสัดส่วนสินเชื่อเทียบกับเงินฝากปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างของ ธพ.8 แห่ง หดตัวร้อยละ 0.4 นับจากสิ้นเดือน ก.ย.ถึงสิ้นเดือน พ.ย.43ขณะที่สภาพคล่องมีมากเกินไป (กรุงเทพธุรกิจ 18)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. โอเปคมีมติลดการผลิตน้ำมันดิบลงวันละ 1.5 ล. บาร์เรลโดยเริ่มมีผลตั้งแต่เดือน ก.พ. 44 รายงานจากเวียนนาเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 44 Bill Richardson รมว. พลังงานของ สรอ. เปิดเผยว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเพื่อส่งออก(โอเปค) มีมติให้ลดการผลิตน้ำมันลงวันละ 1.5 ล. บาร์เรล อยู่ที่ระดับ 25.2 ล. บาร์เรลต่อวัน เพื่อตรึงราคาน้ำมันดิบให้อยู่ใกล้เคียงที่ระดับบาร์เรลละ 25 ดอลลาร์ สรอ. และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.พ. 44 เป็นต้นไป นอกจากนั้น โอเปคอาจจะลดการผลิตน้ำมันลงอีก หากมีความจำเป็นต้องรักษาระดับราคาน้ำมันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในช่วงประมาณบาร์เรลละ 22-28 ดอลลาร์ อนึ่งในวันเดียวกัน เลขาธิการโอเปค (Ali Rodriguez) กล่าวว่า โอเปคจะเรียกร้องให้ผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มฯช่วยพยุงราคาน้ำมัน โดยหลีกเลี่ยงการส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 44 (รอยเตอร์ 17)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 18 ม.ค.44 ก.แรงงาน สรอ. รายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับเดือน พ.ย.43 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน พ.ย.43 การที่ CPI ในเดือน ธ.ค.43 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากราคาพลังงานเพิ่มขึ้นน้อยมากเพียงร้อยละ 0.2 และแม้ราคาเชื้อเพลิงและเครื่องอำนวยความสะดวกที่ใช้ในบ้านจะเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 1.5 แต่ก็ถูกชดเชยด้วยราคาน้ำมันเบนซินที่ลดลงมากถึงร้อยละ 1.7 สำหรับทั้งปี 43 CPI ของ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.4 จากระดับร้อยละ 2.7 ในปี 42 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับแต่ปี 33 ขณะที่ CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระดับร้อยละ 1.9 ในปี 42 เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับแต่ปี 39 ทั้งนี้ แม้ CPI ของทั้งปี 43 จะเพิ่มขึ้นมาก แต่ตลาดการเงินให้ความสนใจกับตัวเลข CPI ในเดือน ธ.ค.มากกว่า โดยเฉพาะ CPI พื้นฐานที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก (รอยเตอร์ 17)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 43 ของ สรอ. ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 44 ธ. กลาง สรอ. รายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 จากที่ลดลงร้อยละ 0.3 เช่นกันในเดือน พ.ย. และเดือน ต.ค. 43 ตามลำดับ และลดลงมากที่สุดในช่วง 2 ปีครึ่งจากที่เคยลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน มิ.ย. 41 การลดลงของผลผลิตฯ จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของ สรอ. กำลังชะลอตัวลงโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งนี้ ผลผลิตฯ ได้โน้มต่ำลงในช่วงหลังของปีที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ผลผลิตฯ ลดลงร้อยละ 1.1 นับเป็นการชะลอตัวลงครั้งแรกตั้งแต่ที่เคยตกต่ำในไตรมาสที่ 4 ปี 34 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลผลิตฯ ในไตรมาสที่ 4 จะชะลอตัวลง แต่ผลผลิตฯ โดยรวมในปี 43 ก็ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ในปี 42 (รอยเตอร์ 17)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 17 ม.ค.44 43.105 (43.328)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 17 ม.ค. 44
ซื้อ 42.8952 (43.1786) ขาย 43.2025 (43.4828)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,350) ขาย 5,500 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 21.91 (22.43)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-