Cross-border Payment Initiatives
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร กระแสการค้าไร้พรมแดนและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนสร้างธุรกรรมและความต้องการการชำระเงินระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจภูมิภาค และระเบียบกติกาสากลการชำระเงินระหว่างประเทศที่ชี้ให้เห็นจุดที่มีความเสี่ยงแฝงอยู่ของธุรกรรม FX เนื่องจากผลของการชำระเงินแต่ละสกุลเกิดขึ้นต่างเวลาและสถานที่ (settlement risk) ทำให้มีความตื่นตัวริเริ่มโครงการ Cross-border Payments ต่าง ๆ ที่อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. โครงการเพื่อรองรับการทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange; FX) คือส่งมอบเงินตราสองสกุลที่แลกเปลี่ยนกันโดยมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ เพราะต้องรอเวลาที่จะได้รับเงินสกุลที่ซื้อ ซึ่งอาจล่าช้ากว่าด้วยเหตุผลของ time zone หรือ ขั้นตอนวิธีการชำระเงินของแต่ละประเทศ หรือ ประสิทธิภาพการยืนยันสถานะรับเงินเข้าบัญชี (finality) กับ correspondent bank วิธีจัดการหลัก ๆ มี 2 แนวคิดคือ
1.1 Payment versus Payment โดยส่งผ่านคำสั่งโอนเงินไปมาและบันทึกบัญชีเงินแต่ละสกุล ที่ต้องการส่งมอบในบัญชีที่ธนาคารกลาง เป็นการเชื่อมโยงระบบชำระเงินมูลค่าสูงของประเทศที่เป็น RTGS ให้สถาบันการเงินที่ทำธุรกรรม FX ส่งคำสั่งโอนเงินตราต่างประเทศที่ซื้อขายผ่านระบบ RTGS ในประเทศ ระบบจะจับคู่กับรายการของคู่กรณีในอีกประเทศหนึ่งภายในช่วงเวลาที่กำหนด และบันทึกรายการหรือกันเงินรายการดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง เมื่อมีเงินทั้งสองสกุลพร้อมที่จะส่งมอบให้ทั้งสองฝ่าย ก็จะตัดจากบัญชีที่ธนาคารกลางพร้อมกันและให้รายการโอนเงินทั้งสองสกุลมี finality ระยะเวลาที่ใช้ในการจับคู่คำสั่ง ตรวจสอบกับยอดเงินที่มีในบัญชี ตัดบัญชี และยืนยันแก่ทั้งสองฝ่ายเป็นแบบ realtime เว้นแต่จะมีข้อขัดข้องที่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งนานเกินช่วงเวลาที่ตั้งให้รอ ระบบก็อาจจะแจ้งปฏิเสธรายการ ระบบนี้จึงไม่ได้ประกันการได้รับชำระเงินเสมอไป แต่จะประกันว่าเมื่อจ่ายเงินสกุลหนึ่ง ก็จะได้รับอีกสกุลหนึ่งทันทีเสมอ ระบบนี้ได้แก่ระบบ TARGET ในกลุ่มประเทศยูโร EMEAP PvP ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิค และ HK PvP สำหรับประเทศที่ทำธุรกรรมสกุล US Dollar , HK Dollar และเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศสมาชิก (home currency)
1.2 Payment versus Payment โดยระบบข้อตกลงกับสถาบันกลางที่เป็น settlement intermediary และบันทึกบัญชีการซื้อขาย FX ทีละรายการแก่สมาชิกผ่านบัญชีเงินฝาก multi-currency ที่เปิดไว้กับ settlement intermediary สถาบันดังกล่าวทำหน้าที่เป็น Correspondent Bank ให้กับสมาชิก โดยจะมีบัญชีเปิดกับธนาคารกลางของประเทศเจ้าของสกุลเงินเพื่อรอรับโอนหรือโอนเงินแก่สมาชิกผ่านระบบโอนเงินมูลค่าสูงที่เป็น RTGS ในระบบนี้สมาชิกส่งคำสั่งโอนเงินให้กับ settlement intermediary ล่วงหน้าเพื่อคำนวณหักกลบและแจ้งให้ทราบยอดสุทธิเงินแต่ละสกุลที่จะได้รับหรือต้องโอนเงินมาจ่าย สมาชิกต้องบริหารเงินเข้าบัญชีของ settlement intermediary ภายในกรอบเวลาที่นัดหมาย คำสั่งโอนเงินแต่ละรายการจึงจะ flow โดยไม่ติดขัด และเนื่องจากบัญชีดังกล่าวเป็นบัญชี multi-currency สมาชิกจะได้รับเครดิตกรณีที่เงินสกุลใดสกุลหนึ่งไม่พอ ตราบเท่าที่ยอดสุทธิของบัญชี multi-currency รวมมียอดเป็นบวก สมาชิกที่เข้าร่วมระบบจะต้องเป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือสูง กรณีที่มีสมาชิกไม่ส่งมอบเงินตามพันธะ ระบบก็จะเก็บเงินอีกสกุลหนึ่งที่แลกเปลี่ยนและมีค่าเท่าเทียมกันไว้เป็นหลักประกัน และขายเปลี่ยนเป็นสกุลเงินที่ต้องชำระแก่สมาชิกอื่น จึงมีความแน่นอนกว่าที่จะได้โอนครบทุกรายการ ระบบ PvP ตามข้อตกลงนี้ได้แก่ระบบ ECHO (Exchange Clearing House) และ MIB (Multinet International Bank) ในประเทศอังกฤษที่เคยเสนอให้บริการระหว่างปี 1995-1999 ระบบ Continuous Linked Settlement โดยมี CLS Bank ในอเมริกาเป็น settlement intermediary
สำหรับโครงการ Cross-border Payment อีกประเภทหนึ่งคงต้องต่อกันในฉบับหน้า...โปรดติดตาม
--จุลสารระบบการชำระเงิน/กรกฎาคม 2544--
-ยก-
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร กระแสการค้าไร้พรมแดนและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนสร้างธุรกรรมและความต้องการการชำระเงินระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจภูมิภาค และระเบียบกติกาสากลการชำระเงินระหว่างประเทศที่ชี้ให้เห็นจุดที่มีความเสี่ยงแฝงอยู่ของธุรกรรม FX เนื่องจากผลของการชำระเงินแต่ละสกุลเกิดขึ้นต่างเวลาและสถานที่ (settlement risk) ทำให้มีความตื่นตัวริเริ่มโครงการ Cross-border Payments ต่าง ๆ ที่อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. โครงการเพื่อรองรับการทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange; FX) คือส่งมอบเงินตราสองสกุลที่แลกเปลี่ยนกันโดยมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ เพราะต้องรอเวลาที่จะได้รับเงินสกุลที่ซื้อ ซึ่งอาจล่าช้ากว่าด้วยเหตุผลของ time zone หรือ ขั้นตอนวิธีการชำระเงินของแต่ละประเทศ หรือ ประสิทธิภาพการยืนยันสถานะรับเงินเข้าบัญชี (finality) กับ correspondent bank วิธีจัดการหลัก ๆ มี 2 แนวคิดคือ
1.1 Payment versus Payment โดยส่งผ่านคำสั่งโอนเงินไปมาและบันทึกบัญชีเงินแต่ละสกุล ที่ต้องการส่งมอบในบัญชีที่ธนาคารกลาง เป็นการเชื่อมโยงระบบชำระเงินมูลค่าสูงของประเทศที่เป็น RTGS ให้สถาบันการเงินที่ทำธุรกรรม FX ส่งคำสั่งโอนเงินตราต่างประเทศที่ซื้อขายผ่านระบบ RTGS ในประเทศ ระบบจะจับคู่กับรายการของคู่กรณีในอีกประเทศหนึ่งภายในช่วงเวลาที่กำหนด และบันทึกรายการหรือกันเงินรายการดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง เมื่อมีเงินทั้งสองสกุลพร้อมที่จะส่งมอบให้ทั้งสองฝ่าย ก็จะตัดจากบัญชีที่ธนาคารกลางพร้อมกันและให้รายการโอนเงินทั้งสองสกุลมี finality ระยะเวลาที่ใช้ในการจับคู่คำสั่ง ตรวจสอบกับยอดเงินที่มีในบัญชี ตัดบัญชี และยืนยันแก่ทั้งสองฝ่ายเป็นแบบ realtime เว้นแต่จะมีข้อขัดข้องที่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งนานเกินช่วงเวลาที่ตั้งให้รอ ระบบก็อาจจะแจ้งปฏิเสธรายการ ระบบนี้จึงไม่ได้ประกันการได้รับชำระเงินเสมอไป แต่จะประกันว่าเมื่อจ่ายเงินสกุลหนึ่ง ก็จะได้รับอีกสกุลหนึ่งทันทีเสมอ ระบบนี้ได้แก่ระบบ TARGET ในกลุ่มประเทศยูโร EMEAP PvP ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิค และ HK PvP สำหรับประเทศที่ทำธุรกรรมสกุล US Dollar , HK Dollar และเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศสมาชิก (home currency)
1.2 Payment versus Payment โดยระบบข้อตกลงกับสถาบันกลางที่เป็น settlement intermediary และบันทึกบัญชีการซื้อขาย FX ทีละรายการแก่สมาชิกผ่านบัญชีเงินฝาก multi-currency ที่เปิดไว้กับ settlement intermediary สถาบันดังกล่าวทำหน้าที่เป็น Correspondent Bank ให้กับสมาชิก โดยจะมีบัญชีเปิดกับธนาคารกลางของประเทศเจ้าของสกุลเงินเพื่อรอรับโอนหรือโอนเงินแก่สมาชิกผ่านระบบโอนเงินมูลค่าสูงที่เป็น RTGS ในระบบนี้สมาชิกส่งคำสั่งโอนเงินให้กับ settlement intermediary ล่วงหน้าเพื่อคำนวณหักกลบและแจ้งให้ทราบยอดสุทธิเงินแต่ละสกุลที่จะได้รับหรือต้องโอนเงินมาจ่าย สมาชิกต้องบริหารเงินเข้าบัญชีของ settlement intermediary ภายในกรอบเวลาที่นัดหมาย คำสั่งโอนเงินแต่ละรายการจึงจะ flow โดยไม่ติดขัด และเนื่องจากบัญชีดังกล่าวเป็นบัญชี multi-currency สมาชิกจะได้รับเครดิตกรณีที่เงินสกุลใดสกุลหนึ่งไม่พอ ตราบเท่าที่ยอดสุทธิของบัญชี multi-currency รวมมียอดเป็นบวก สมาชิกที่เข้าร่วมระบบจะต้องเป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือสูง กรณีที่มีสมาชิกไม่ส่งมอบเงินตามพันธะ ระบบก็จะเก็บเงินอีกสกุลหนึ่งที่แลกเปลี่ยนและมีค่าเท่าเทียมกันไว้เป็นหลักประกัน และขายเปลี่ยนเป็นสกุลเงินที่ต้องชำระแก่สมาชิกอื่น จึงมีความแน่นอนกว่าที่จะได้โอนครบทุกรายการ ระบบ PvP ตามข้อตกลงนี้ได้แก่ระบบ ECHO (Exchange Clearing House) และ MIB (Multinet International Bank) ในประเทศอังกฤษที่เคยเสนอให้บริการระหว่างปี 1995-1999 ระบบ Continuous Linked Settlement โดยมี CLS Bank ในอเมริกาเป็น settlement intermediary
สำหรับโครงการ Cross-border Payment อีกประเภทหนึ่งคงต้องต่อกันในฉบับหน้า...โปรดติดตาม
--จุลสารระบบการชำระเงิน/กรกฎาคม 2544--
-ยก-