กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้จัดสัมมนาและเปิดคลีนิคตอบข้อซักถามเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้ WTO ในเขตภาคใต้ ที่จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2544 โดยมี ผู้แทนจากกลุ่มเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์ ผู้ประกอบการธุรกิจ หอการค้าจังหวัด เจ้าหน้าที่ภาครัฐจากกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งในเขตใต้และส่วนกลางจากกรุงเทพฯ รวมจำนวน 150 คน
วัตถุประสงค์ของการสัมมนาและเปิดคลีนิคตอบข้อซักถามครั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกร และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลและทำความเข้าใจกับสถานะล่าสุดของการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ของ WTO ที่ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งปัญหาต่างๆ การผลิตและการค้าสินค้าเกษตรในเขตภาคใต้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าข้าว ปาล์มน้ำมัน และยางพารา กลุ่มสินค้าปศุสัตว์ และกลุ่มสินค้าผัก-ผลไม้ สดและแปรรูป เมล็ดกาแฟ มะพร้าวและผลิตภัณฑ์ เพื่อพิจารณาข้อคิดเห็นเบื้องต้นของการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ในแต่ละสินค้าต่อไป
จากการประเมินผลการสัมมนาโดยการออกแบบสอบถามต่างๆ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนเห็นด้วยกับการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรมากขึ้น เนื่องจากจะช่วยให้มีการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ทุกคนยังสนับสนุนให้มีการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรต่อไปอีกด้วย
ประเด็นที่ต้องการให้มีการเจรจาในเรื่องสินค้าเกษตรมากที่สุด คือเรื่องการขยายปริมาณโควตาให้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาได้แก่เรื่องการลดภาษีศุลกากร ร้อยละ 36 การยกเลิกการอุดหนุนส่งออก ร้อยละ 27 และการลดการอุดหนุนการผลิตภายใน ร้อยละ 24 ในขณะที่ ผู้สนับสนุนให้มีข้อยกเว้นที่เป็นแต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนา มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น สำหรับ คำถามว่าสินค้าเกษตรไทยพร้อมที่จะแข่งขันในตลาดโลกหรือไม่ มีความเห็นว่า มีความพร้อมที่จะ แข่งขันถึงร้อยละ 80
นอกจากนี้ ยังได้ประเมินผลความเข้าใจต่อเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ด้วยว่ามีมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 64 ตอบว่า มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 27 เห็นว่ามีความเข้าใจพอสมควร
ผลที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะนำไปประมวลกับผลการสัมมนาในเขตภาคอื่นๆ คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อสรุปผลเสนอต่อระดับนโยบายและกำหนดเป็นท่าทีการเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้ WTO เพื่อผลประโยชน์สูงสุดแก่ภาคเกษตรและประเทศไทยต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
วัตถุประสงค์ของการสัมมนาและเปิดคลีนิคตอบข้อซักถามครั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกร และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลและทำความเข้าใจกับสถานะล่าสุดของการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ของ WTO ที่ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งปัญหาต่างๆ การผลิตและการค้าสินค้าเกษตรในเขตภาคใต้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าข้าว ปาล์มน้ำมัน และยางพารา กลุ่มสินค้าปศุสัตว์ และกลุ่มสินค้าผัก-ผลไม้ สดและแปรรูป เมล็ดกาแฟ มะพร้าวและผลิตภัณฑ์ เพื่อพิจารณาข้อคิดเห็นเบื้องต้นของการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ในแต่ละสินค้าต่อไป
จากการประเมินผลการสัมมนาโดยการออกแบบสอบถามต่างๆ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนเห็นด้วยกับการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรมากขึ้น เนื่องจากจะช่วยให้มีการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ทุกคนยังสนับสนุนให้มีการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรต่อไปอีกด้วย
ประเด็นที่ต้องการให้มีการเจรจาในเรื่องสินค้าเกษตรมากที่สุด คือเรื่องการขยายปริมาณโควตาให้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 44 รองลงมาได้แก่เรื่องการลดภาษีศุลกากร ร้อยละ 36 การยกเลิกการอุดหนุนส่งออก ร้อยละ 27 และการลดการอุดหนุนการผลิตภายใน ร้อยละ 24 ในขณะที่ ผู้สนับสนุนให้มีข้อยกเว้นที่เป็นแต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนา มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น สำหรับ คำถามว่าสินค้าเกษตรไทยพร้อมที่จะแข่งขันในตลาดโลกหรือไม่ มีความเห็นว่า มีความพร้อมที่จะ แข่งขันถึงร้อยละ 80
นอกจากนี้ ยังได้ประเมินผลความเข้าใจต่อเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ด้วยว่ามีมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 64 ตอบว่า มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 27 เห็นว่ามีความเข้าใจพอสมควร
ผลที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะนำไปประมวลกับผลการสัมมนาในเขตภาคอื่นๆ คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อสรุปผลเสนอต่อระดับนโยบายและกำหนดเป็นท่าทีการเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้ WTO เพื่อผลประโยชน์สูงสุดแก่ภาคเกษตรและประเทศไทยต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-