แท็ก
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ประชาชาติ
อาเซียน
คำปราศรัย พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาอาเซียน วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๘ ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
สวัสดีครับพี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันนี้เป็นวันครบรอบ ๓๘ ปี แห่งการสถาปนาสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ในนามของรัฐบาลไทยและพี่น้องประชาชนชาวไทย ผมขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีไปยังเพื่อนประเทศสมาชิกอาเซียน และพี่น้องประชาชนในทุก ๆ ประเทศด้วยความจริงใจเป็นอย่างยิ่ง
อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หันมาร่วมมือช่วยเหลือกันในช่วงสงครามเย็นและมีการสู้รบในอินโดจีน ซึ่งต่อมา อาเซียนได้ขยายการพัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ และกำลังก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิก ๑๐ ประเทศ ประกอบด้วยไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
พี่น้องชาวไทยที่เคารพรักทั้งหลาย
มิตรประเทศอาเซียนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย และเราได้ร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในหลายโอกาส ซึ่งความร่วมมือ ดังกล่าวได้กลายเป็นหลักสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย
ในการประชุมผู้นำอาเซียนเมื่อปี ๒๕๔๖ ที่อินโดนีเซีย อาเซียนได้กำหนดทิศทางที่จะมุ่งไปในอนาคต ด้วยการตกลงความร่วมมือที่จะรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๖๓ โดยประกอบด้วยเสาหลัก ๓ ประการได้แก่ ประชาคมความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมวัฒนธรรมแห่งอาเซียน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้มีแผนปฏิบัติงานรองรับไว้แล้ว
การรวมตัวเป็นประชาคมความมั่นคงอาเซียน จะส่งผลดีต่อประเทศสมาชิก ในด้านการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชน หากประเทศนอกภูมิภาคใดมีความประสงค์จะร่วมมือกับอาเซียนจะต้องเคารพในกฎกติการะหว่างประเทศที่อาเซียนร่วมกันกำหนดไว้ เช่น สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ระหว่างอาเซียนกับจีน เป็นต้น และทุก ๆ ปี จะมีการประชุมกับประเทศคู่เจรจา ๙ ประเทศและ ๑ องค์กรคือสหภาพยุโรป ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญต่อเสถียรภาพของภูมิภาคนี้
สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น หากสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ ก็จะเกิดตลาดขนาดใหญ่ของประชากรราว ๕๕๐ ล้านคน จะเป็นการเพิ่มศักยภาพทั้งในด้านการผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและด้านอื่น ๆ อันเป็นผลดีต่อพี่น้องประชาชนในประชาคมอาเซียนโดยตรง
พี่น้องประชาชนที่เคารพ
รัฐบาลไทยได้พยายามผลักดันเรื่องนี้ให้มีความคืบหน้าโดยเร็วที่สุด ทั้งในเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า การบริการ การลงทุน การท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น การเตรียมการในด้านสาธารณูปโภคโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ การสร้างเครือข่ายโทรคมนาคม การพลังงาน รวมทั้งการทำให้อาเซียนพร้อมที่จะเป็นฐานในการรวมตัวในกรอบที่กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม อาเซียนเองยังต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกด้วย เพื่อให้สามารถก้าวไปพร้อม ๆ กันได้อย่างมั่นคง
ส่วนในด้านประชาคมสังคมวัฒนธรรม กระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราและประเทศเพื่อนบ้านมีความผูกพันกันอย่างมาก เพราะเปิดโอกาสให้มีการติดตาม รับทราบความเคลื่อนไหว และมีความเข้าใจในวิถีทางสังคมวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซียนด้านวัฒนธรรม การศึกษา เยาวชน และสิทธิมนุษยชน จะช่วยบรรเทาผลกระทบทางสังคมที่อาจเกิดจากกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ และช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งท้าทายใหม่ ๆ ที่มาคุกคามพี่น้องประชาชนได้มากขึ้น กรณีโรคซาร์สและโรคไข้หวัดนก เป็นตัวอย่างความร่วมมือที่ทำให้ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนก้าวพ้นจากวิกฤตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว หรือในกรณีการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติภายหลังเกิดสึนามิ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้จัดทำความตกลงว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีกรอบความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้อย่างทันท่วงที
พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย
ผมมีความเชื่อมั่นว่าหากเราสามารถบูรณาการศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของอาเซียน เราจะสามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ได้ดีขึ้น ซึ่งประเทศ
สมาชิกอาเซียนจะได้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการนำมาซึ่งสันติสุข ความมั่งคั่ง และความเจริญก้าวหน้าตามกรอบแห่งการทำงานที่สร้างสรรค์ตลอดไป
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
สวัสดีครับพี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันนี้เป็นวันครบรอบ ๓๘ ปี แห่งการสถาปนาสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ในนามของรัฐบาลไทยและพี่น้องประชาชนชาวไทย ผมขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีไปยังเพื่อนประเทศสมาชิกอาเซียน และพี่น้องประชาชนในทุก ๆ ประเทศด้วยความจริงใจเป็นอย่างยิ่ง
อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หันมาร่วมมือช่วยเหลือกันในช่วงสงครามเย็นและมีการสู้รบในอินโดจีน ซึ่งต่อมา อาเซียนได้ขยายการพัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ และกำลังก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิก ๑๐ ประเทศ ประกอบด้วยไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
พี่น้องชาวไทยที่เคารพรักทั้งหลาย
มิตรประเทศอาเซียนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย และเราได้ร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในหลายโอกาส ซึ่งความร่วมมือ ดังกล่าวได้กลายเป็นหลักสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย
ในการประชุมผู้นำอาเซียนเมื่อปี ๒๕๔๖ ที่อินโดนีเซีย อาเซียนได้กำหนดทิศทางที่จะมุ่งไปในอนาคต ด้วยการตกลงความร่วมมือที่จะรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๖๓ โดยประกอบด้วยเสาหลัก ๓ ประการได้แก่ ประชาคมความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมวัฒนธรรมแห่งอาเซียน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้มีแผนปฏิบัติงานรองรับไว้แล้ว
การรวมตัวเป็นประชาคมความมั่นคงอาเซียน จะส่งผลดีต่อประเทศสมาชิก ในด้านการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชน หากประเทศนอกภูมิภาคใดมีความประสงค์จะร่วมมือกับอาเซียนจะต้องเคารพในกฎกติการะหว่างประเทศที่อาเซียนร่วมกันกำหนดไว้ เช่น สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ระหว่างอาเซียนกับจีน เป็นต้น และทุก ๆ ปี จะมีการประชุมกับประเทศคู่เจรจา ๙ ประเทศและ ๑ องค์กรคือสหภาพยุโรป ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญต่อเสถียรภาพของภูมิภาคนี้
สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น หากสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ ก็จะเกิดตลาดขนาดใหญ่ของประชากรราว ๕๕๐ ล้านคน จะเป็นการเพิ่มศักยภาพทั้งในด้านการผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและด้านอื่น ๆ อันเป็นผลดีต่อพี่น้องประชาชนในประชาคมอาเซียนโดยตรง
พี่น้องประชาชนที่เคารพ
รัฐบาลไทยได้พยายามผลักดันเรื่องนี้ให้มีความคืบหน้าโดยเร็วที่สุด ทั้งในเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า การบริการ การลงทุน การท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น การเตรียมการในด้านสาธารณูปโภคโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ การสร้างเครือข่ายโทรคมนาคม การพลังงาน รวมทั้งการทำให้อาเซียนพร้อมที่จะเป็นฐานในการรวมตัวในกรอบที่กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม อาเซียนเองยังต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกด้วย เพื่อให้สามารถก้าวไปพร้อม ๆ กันได้อย่างมั่นคง
ส่วนในด้านประชาคมสังคมวัฒนธรรม กระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราและประเทศเพื่อนบ้านมีความผูกพันกันอย่างมาก เพราะเปิดโอกาสให้มีการติดตาม รับทราบความเคลื่อนไหว และมีความเข้าใจในวิถีทางสังคมวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซียนด้านวัฒนธรรม การศึกษา เยาวชน และสิทธิมนุษยชน จะช่วยบรรเทาผลกระทบทางสังคมที่อาจเกิดจากกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ และช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งท้าทายใหม่ ๆ ที่มาคุกคามพี่น้องประชาชนได้มากขึ้น กรณีโรคซาร์สและโรคไข้หวัดนก เป็นตัวอย่างความร่วมมือที่ทำให้ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนก้าวพ้นจากวิกฤตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว หรือในกรณีการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติภายหลังเกิดสึนามิ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้จัดทำความตกลงว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีกรอบความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้อย่างทันท่วงที
พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย
ผมมีความเชื่อมั่นว่าหากเราสามารถบูรณาการศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของอาเซียน เราจะสามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ได้ดีขึ้น ซึ่งประเทศ
สมาชิกอาเซียนจะได้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะการนำมาซึ่งสันติสุข ความมั่งคั่ง และความเจริญก้าวหน้าตามกรอบแห่งการทำงานที่สร้างสรรค์ตลอดไป
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-