การผลิตภาคเกษตรในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นตามผลผลิตพืชผลที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.0 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับราคาพืชผลในช่วงต้นฤดูอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชมากขึ้น และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ อ้อย (1.9%) มันสำปะหลัง (24.6%) ถั่วเหลือง (9.0%) ฝ้าย (96.0%) หอมหัวใหญ่และหอมแดง (10.9%)
สำหรับราคาสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งปีแรกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.1 ตามราคาสินค้าในหมวดพืชผล และปศุสัตว์ที่ลดลง
ผลผลิตปศุสัตว์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตามผลผลิตไก่เนื้อ สุกร และไข่ไก่ ที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลจากราคาในปีก่อนที่อยู่ในเกณฑ์สูงจูงใจให้มีการขยายการผลิต และสภาพอากาศในช่วงต้นปีที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของปศุสัตว์
ดัชนีราคาปศุสัตว์ในช่วงครึ่งแรกของปีลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 แม้ว่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูป แต่ประสบปัญหาการแข่งขันจากจีนและบราซิล ประกอบกับผลผลิตปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่การบริโภคค่อนข้างทรงตัว
ผลผลิตประมงในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 ยังคงลดลง โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.3 เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมงในน่านน้ำไทย
ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5
ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในช่วงครึ่งแรกของปี ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับปีก่อน และตลาดในต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย นำเข้ากุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากเอกวาดอร์บางส่วน ที่ผลผลิตลดลงมากจากปัญหาโรคระบาด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
สำหรับราคาสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งปีแรกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.1 ตามราคาสินค้าในหมวดพืชผล และปศุสัตว์ที่ลดลง
ผลผลิตปศุสัตว์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตามผลผลิตไก่เนื้อ สุกร และไข่ไก่ ที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลจากราคาในปีก่อนที่อยู่ในเกณฑ์สูงจูงใจให้มีการขยายการผลิต และสภาพอากาศในช่วงต้นปีที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของปศุสัตว์
ดัชนีราคาปศุสัตว์ในช่วงครึ่งแรกของปีลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 แม้ว่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่แปรรูป แต่ประสบปัญหาการแข่งขันจากจีนและบราซิล ประกอบกับผลผลิตปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่การบริโภคค่อนข้างทรงตัว
ผลผลิตประมงในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 ยังคงลดลง โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.3 เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมงในน่านน้ำไทย
ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5
ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในช่วงครึ่งแรกของปี ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับปีก่อน และตลาดในต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย นำเข้ากุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าจากเอกวาดอร์บางส่วน ที่ผลผลิตลดลงมากจากปัญหาโรคระบาด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-