สรุปภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรก ปี 2543
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศช่วงไตรมาสนี้คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกัน ปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับด้านการผลิตและการใช้จ่ายภายในประเทศ รวมทั้งการส่งออกที่ขยายตัวตาม การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย ด้านเสถียรภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อแม้จะปรับตัวสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะเดียวกันดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน หนี้ต่างประเทศลดลงตามการชำระหนี้ภาคเอกชน เงินสำรองทางการอยู่ในเกณฑ์ มั่นคง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจบางประการ คือ
1) ความคืบหน้าของการปฏิรูประบบสถาบันการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน
2) หนี้ภาครัฐที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น
3) ปัญหาการว่างงานที่จะต้องใช้เวลาแก้ไข
4) การฟื้นตัวช้าของภาคเอกชนทั้งด้านการลงทุนภาคเอกชนที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินของภาคอสังหาริมทรัพย์ และด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ยังมีความไม่มั่นใจในการจ้างงาน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับโครงสร้างธุรกิจเอกชนและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
5) ปัจจัยเสี่ยงภายนอก ได้แก่ ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและค่าเงินของประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
การผลิตและการใช้จ่ายในประเทศ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยังคงขยายตัวดีจากสิ้นปีก่อนสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาค อุตสาหกรรมในไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากระยะเดียวกันกับปีก่อน โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออก เช่น หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ซึ่งมีการขยายตัวสูงตามความต้องการทั้งในและนอกประเทศ การผลิตแผงวงจรไฟฟ้า และเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้การผลิตสิ่งทอจะยังซบเซาแต่มูลค่าการส่งออกเริ่มมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องกันมา 7 เดือน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังคงขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน แม้จะยังไม่เร่งตัวนัก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางรายได้ซึ่งเกิดจากการลดลงของราคาพืชผลเกษตร และการจ้างงาน อย่างไรก็ตามเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเกือบทุกหมวดยังคง ขยายตัว โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน และสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าซึ่งเป็นการบริโภคของกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งอาจสะท้อนการกระจายรายได้ที่เสื่อมลง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย เงินฝากต่ำ
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนโดยมีการขยายตัว ในหมวดของเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนจากยอดการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการลงทุนภาคก่อสร้างเริ่มมีทิศทางดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาคเอกชนเริ่มมีความมั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น
การใช้จ่ายรัฐบาล ยังคงมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดุลเงินสดภาครัฐบาล ยังคงขาดดุลต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา การค้าต่างประเทศและฐานะการเงินระหว่างประเทศ
ความสามารถในการแข่งขัน IMD ได้ประกาศอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย สูงขึ้นจากอันดับที่ 34 ในปี 2542 เป็น 33 ในปี 2543 ซึ่งสะท้อนถึงความคืบหน้าในการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจของทางการ
มูลค่าการส่งออก ขยายตัวต่อเนื่องจากสิ้นปีก่อน ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยมีสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์สูงโดยเฉพาะหมวดสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง แต่การนำเข้าขยายตัวสูงกว่า จากการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนถึงความมั่นใจที่มีมากขึ้นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทำให้ ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 1/2542 และเมื่อรวมกับดุลบริการบริจาคที่เกินดุลเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูง
เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมีนาคม อยู่ในระดับ 32.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับ หนี้ต่างประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยมีสัดส่วนของหนี้ภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนของหนี้ระยะยาวยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาวะการเงิน
สภาพคล่องระบบการเงิน ในช่วงต้นปีมีความตึงตัวเป็นระยะสั้น ๆ จากสิ้นปี เนื่องจาก 1) ประชาชนมีความต้องการถือเงินสดสูงเนื่องจากเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน 2) มีการส่งมอบเงินบาทตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (swap) ที่ครบกำหนดให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย 3) สถาบันการเงินซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 4) มีการโยกย้ายเงินฝากจากสถาบันการเงินเพื่อไปลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 5) ธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยกู้ให้กับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 6) เป็นช่วงปิดบัญชีประจำปีของธุรกิจและ ธนาคารของญี่ปุ่น สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาภาวะการเงินตึงตัวส่วนใหญ่คือสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไทยมีสภาพคล่องอยู่มาก ซึ่งสะท้อนในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี และลูกค้าชั้นดีที่ปรับตัวลดลงจากสิ้นปี
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประชาชนมีการหันไปออม ในรูปของการลงทุนในตราสารอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อาทิ หุ้นกู้เอกชน สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทำให้ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อสนับสนุน SMEs ในช่วง 3 เดือนแรกที่ได้รับอนุมัติ มีจำนวน 3,188 ราย วงเงินทั้งสิ้น 6,065.10 ล้านบาท
การระดมทุนโดยตรงในประเทศ เพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางเร่งระดมทุนเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ และหนี้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศรวมทั้ง เป็นการออกหลักทรัพย์ ที่โยงกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ภาคเอกชนได้ออกหุ้นกู้รวม 15,087 ล้านบาท ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคเอกชน
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ยอดคงเหลือของ NPLs ของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2543 ปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ ร้อยละ 38.07 ของสินเชื่อรวม ส่วนหนึ่งจากความคืบหน้าในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมีการปรับปรุงกฏระเบียบใหม่ ณ วันที่ 7 มกราคม 2543 ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความสนใจในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินมากขึ้น
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน มีความคืบหน้ามากขึ้นโดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 มีลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 1,188,961 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2543 ร้อยละ 5.57
ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ไทยดีขึ้น โดยธนาคารขนาดใหญ่บางรายเริ่มทำกำไร ในช่วงไตรมาสแรก ขณะที่ธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กมีผลขาดทุนลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศช่วงไตรมาสนี้คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกัน ปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับด้านการผลิตและการใช้จ่ายภายในประเทศ รวมทั้งการส่งออกที่ขยายตัวตาม การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย ด้านเสถียรภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อแม้จะปรับตัวสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะเดียวกันดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน หนี้ต่างประเทศลดลงตามการชำระหนี้ภาคเอกชน เงินสำรองทางการอยู่ในเกณฑ์ มั่นคง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจบางประการ คือ
1) ความคืบหน้าของการปฏิรูประบบสถาบันการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน
2) หนี้ภาครัฐที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น
3) ปัญหาการว่างงานที่จะต้องใช้เวลาแก้ไข
4) การฟื้นตัวช้าของภาคเอกชนทั้งด้านการลงทุนภาคเอกชนที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินของภาคอสังหาริมทรัพย์ และด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ยังมีความไม่มั่นใจในการจ้างงาน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับโครงสร้างธุรกิจเอกชนและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
5) ปัจจัยเสี่ยงภายนอก ได้แก่ ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและค่าเงินของประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
การผลิตและการใช้จ่ายในประเทศ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยังคงขยายตัวดีจากสิ้นปีก่อนสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาค อุตสาหกรรมในไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากระยะเดียวกันกับปีก่อน โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออก เช่น หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ซึ่งมีการขยายตัวสูงตามความต้องการทั้งในและนอกประเทศ การผลิตแผงวงจรไฟฟ้า และเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้การผลิตสิ่งทอจะยังซบเซาแต่มูลค่าการส่งออกเริ่มมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องกันมา 7 เดือน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังคงขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน แม้จะยังไม่เร่งตัวนัก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางรายได้ซึ่งเกิดจากการลดลงของราคาพืชผลเกษตร และการจ้างงาน อย่างไรก็ตามเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเกือบทุกหมวดยังคง ขยายตัว โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน และสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าซึ่งเป็นการบริโภคของกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งอาจสะท้อนการกระจายรายได้ที่เสื่อมลง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย เงินฝากต่ำ
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนโดยมีการขยายตัว ในหมวดของเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนจากยอดการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการลงทุนภาคก่อสร้างเริ่มมีทิศทางดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาคเอกชนเริ่มมีความมั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น
การใช้จ่ายรัฐบาล ยังคงมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดุลเงินสดภาครัฐบาล ยังคงขาดดุลต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา การค้าต่างประเทศและฐานะการเงินระหว่างประเทศ
ความสามารถในการแข่งขัน IMD ได้ประกาศอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย สูงขึ้นจากอันดับที่ 34 ในปี 2542 เป็น 33 ในปี 2543 ซึ่งสะท้อนถึงความคืบหน้าในการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจของทางการ
มูลค่าการส่งออก ขยายตัวต่อเนื่องจากสิ้นปีก่อน ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยมีสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์สูงโดยเฉพาะหมวดสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง แต่การนำเข้าขยายตัวสูงกว่า จากการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนถึงความมั่นใจที่มีมากขึ้นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทำให้ ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 1/2542 และเมื่อรวมกับดุลบริการบริจาคที่เกินดุลเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูง
เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมีนาคม อยู่ในระดับ 32.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับ หนี้ต่างประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยมีสัดส่วนของหนี้ภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง ส่งผลให้สัดส่วนของหนี้ระยะยาวยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาวะการเงิน
สภาพคล่องระบบการเงิน ในช่วงต้นปีมีความตึงตัวเป็นระยะสั้น ๆ จากสิ้นปี เนื่องจาก 1) ประชาชนมีความต้องการถือเงินสดสูงเนื่องจากเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน 2) มีการส่งมอบเงินบาทตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (swap) ที่ครบกำหนดให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย 3) สถาบันการเงินซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 4) มีการโยกย้ายเงินฝากจากสถาบันการเงินเพื่อไปลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 5) ธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยกู้ให้กับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 6) เป็นช่วงปิดบัญชีประจำปีของธุรกิจและ ธนาคารของญี่ปุ่น สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาภาวะการเงินตึงตัวส่วนใหญ่คือสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไทยมีสภาพคล่องอยู่มาก ซึ่งสะท้อนในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี และลูกค้าชั้นดีที่ปรับตัวลดลงจากสิ้นปี
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประชาชนมีการหันไปออม ในรูปของการลงทุนในตราสารอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อาทิ หุ้นกู้เอกชน สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทำให้ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อสนับสนุน SMEs ในช่วง 3 เดือนแรกที่ได้รับอนุมัติ มีจำนวน 3,188 ราย วงเงินทั้งสิ้น 6,065.10 ล้านบาท
การระดมทุนโดยตรงในประเทศ เพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางเร่งระดมทุนเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ และหนี้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศรวมทั้ง เป็นการออกหลักทรัพย์ ที่โยงกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ภาคเอกชนได้ออกหุ้นกู้รวม 15,087 ล้านบาท ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคเอกชน
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ยอดคงเหลือของ NPLs ของธนาคารพาณิชย์ ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2543 ปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ ร้อยละ 38.07 ของสินเชื่อรวม ส่วนหนึ่งจากความคืบหน้าในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมีการปรับปรุงกฏระเบียบใหม่ ณ วันที่ 7 มกราคม 2543 ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความสนใจในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินมากขึ้น
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน มีความคืบหน้ามากขึ้นโดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 มีลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 1,188,961 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2543 ร้อยละ 5.57
ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ไทยดีขึ้น โดยธนาคารขนาดใหญ่บางรายเริ่มทำกำไร ในช่วงไตรมาสแรก ขณะที่ธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กมีผลขาดทุนลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-