บทสรุปนักลงทุน
อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด โดยอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์มีทั้งที่เป็นเครื่องมือขนาดใหญ่ มูลค่าสูงซึ่งยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าจากต่างประเทศ และเครื่องมือ/อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ ในการศึกษานี้มุ่งเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ทำด้วยยางประเภทผลิตภัณฑ์ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะจะแปรผันตามจำนวนประชากรและภาวะสุขภาพของประชากร แม้ว่าในช่วงปี 2539-2541 ไทยประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาจนทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าโดยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แต่สำหรับความต้องการเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นไม่ได้หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเมื่อพิจารณาจากยอดขายในช่วงปี 2539-2541 พบว่าขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 32 ต่อปี และในปี 2542 ก็ยังคงขยายตัวในระดับสูง จากการสำรวจการคาดการณ์ยอดขาย ปรากฏว่าผู้ผลิตได้คาดการณ์ว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 43 สำหรับแนวโน้มในปี 2543 คาดว่าจะยังคงขยายตัวสูงได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจะมีการขยายตลาดเพิ่มมากขึ้นจากที่จำหน่ายในประเทศเป็นหลัก เป็นการมุ่งส่งเสริมการขายโดยขยายตลาดไปยังต่างประเทศด้วย เช่น ลาว สิงคโปร์ และฮ่องกงเป็นต้น ทำให้แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ประเภทท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีลู่ทางขยายตัวดี อันเนื่องมาจากแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่น่าจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนประชากรที่เพิ่มขึ้น และถือได้ว่าสินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าที่จำเป็นตามภาวะปัญหาด้านสุขภาพ
ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยนำเข้ามาจากประเทศในแถบยุโรป ผลผลิตภายในประเทศได้ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น คู่แข่งสำคัญจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีความได้เปรียบทั้งด้านราคาที่ใกล้เคียงถึงถูกกว่าและการจัดหีบห่อ (Packing) ที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อถือกว่า
ในการลงทุนผลิตท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะมีขนาดการลงทุนในวงเงินเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณ 2.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จนกระทั่งถึงขนาดใหญ่ที่ต้องใช้วงเงินลงทุนถึงกว่า 1,200 ล้านบาท จำนวนคนงานประมาณ 50 คนขึ้นไป
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทำด้วยยางมีประเภทของผลิตภัณฑ์มากมายหลายประเภท เช่นกระบอกฉีดยา ชุดให้เลือด ชุดให้น้ำเกลือ รวมทั้งท่อสำหรับให้อาหารและหลอดดูดเสมหะ แต่เนื่องจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้จำหน่ายโดยเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทแม่ในต่างประเทศ การสำรวจในที่นี้ได้มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในประเทศ จึงได้กำหนดขอบเขตของการสำรวจเฉพาะผลิตภัณฑ์ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะ ซึ่งจากการสำรวจ พบว่า ความต้องการผลิตภัณฑ์ประเภทนี้โดยทั่วไปจะแปรผันตามจำนวนประชากรและปัญหาภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงปี 2539-2541 ไทยประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาจนทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าโดยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แต่สำหรับความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นไม่ได้หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจแต่อาจจะชะลอลงในระดับหนึ่ง โดยเมื่อพิจารณาจากยอดขายในช่วงปี 2538-2541 พบว่าขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 32 ต่อปี สำหรับในปี 2542 ยังคงขยายตัวอยู่ได้ในระดับสูง โดยจากการสำรวจการคาดการณ์ปรากฏว่าผู้ผลิตคาดการณ์ว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 43
แนวโน้มในปี 2543 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางที่ขยายตัวสูงได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจะมีการขยายตลาดเพิ่มมากขึ้นจากที่จำหน่ายในประเทศเป็นหลัก เป็นการมุ่งส่งเสริมการขายโดยขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่น ลาว และสิงคโปร์ เป็นต้น ทำให้แนวโน้มของอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีลู่ทางขยายตัวดี อันเนื่องมาจากแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่น่าจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนประชากรที่เพิ่มขึ้น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นหลักคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของความต้องการใช้ทั้งหมด โดยนำเข้ามาจากประเทศในแถบยุโรป ขณะที่การผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของความต้องการใช้ทั้งหมด โดยการผลิตภายในประเทศนั้นได้ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ดังนั้น คู่แข่งสำคัญจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งมีความได้เปรียบทั้งด้านราคาที่ใกล้เคียงถึงถูกกว่าและการจัดหีบห่อ (Packing) ที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อถือกว่า อนึ่ง จากการสัมภาษณ์ผู้ผลิตได้แสดงความคิดเห็นว่าความเสียเปรียบของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศมาจากต้นทุนในการผลิตที่สูง โดยเฉพาะจากภาระการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหลายขั้นตอนทำให้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตออกมามีราคาใกล้เคียงถึงสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศที่ไม่มีภาระในการเสียภาษีนำเข้า
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินลงทุน (บาท)
บริษัท นิชโช ผลิตเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ 1,248,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท เคนด์ ผลิตวัสดุเครื่องมือแพทย์ 77,129,167
บริษัท วุฒิอุปกรณ์ ผลิต-ซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ 8,750,000
บริษัท เชียง ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการแพทย์ 5,500,000
บริษัท พี.อาร์.พลาสติกและยาง จำกัด 2,450,000
บริษัท แกรมมาตรอน n.a.
ที่มา:กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ในปัจจุบันการจำหน่ายท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะมุ่งเน้นการจำหน่ายภายในประเทศโดยจำหน่ายโดยตรงให้กับทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนเป็นหลัก ขณะเดียวกันมีการจำหน่ายผ่านตัวแทนบ้าง ขณะที่การจำหน่ายในตลาดต่างประเทศยังมีอยู่น้อย ซึ่งหากมีก็จะเป็นการจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายเพื่อส่งต่อยังประเทศลาว
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ สัดส่วนของการใช้วัตถุดิบหลักภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 60 ประกอบด้วยเม็ดพลาสติกทั้งหมด ซึ่งมีแหล่งจัดซื้อที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท Riken (Thailand)Co.Ltd. ขณะที่การใช้วัตถุดิบนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ประกอบด้วยเรซิน ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ !40
- วัตถุดิบในประเทศ !60
- วัตถุดิบนำเข้า !40
!2. ค่าแรงงาน !30
!3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ !30
!รวม !100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 นำเม็ดพลาสติกและเรซินมาผสมกัน
ขั้นที่ 2 ทำตัวแบบ
ขั้นที่ 3 ขั้นตอนการทำท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะ
นำเม็ดพลาสติกและเรซินที่ผสมกันแล้วมาทำท่อ/สายตามตัวแบบ
|
V
เจาะท่อ/สาย
|
V
มนท่อ/สายเพื่อป้องกันการระคายเคือง
|
V
นำสายที่มนแล้วมาประกอบกับตัวควบคุมการไหล
|
V
ทำเครื่องหมายแสดงความลึกของสาย
ขั้นที่ 4 ขั้นตอนการทำความสะอาดและตรวจสอบคุณภาพ
ทำความสะอาดสายด้วยแอลกอฮอล์
|
V
ตรวจสอบคุณภาพ (QC) แล้วปิดฝาของสาย
|
V
บรรจุในหีบห่อ (Packing) แล้วนำเข้าห้อง Clean Room
|
V
ตรวจสอบการขดตัวของสาย
|
V
นำเข้าเครื่องสเตอริไลท์เพื่อฆ่าเชื้อ
|
V
สุ่มตรวจ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ขั้นที่ 5 บรรจุเข้ากล่องในห้อง Clean Room
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรสำคัญที่ใช้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ เครื่องฉีด/เป่า ซึ่งอยู่ในขั้นตอน/กระบวนการผลิตในช่วงทำตัวแบบและทำสาย โดยมีแหล่งจัดซื้อในต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่นเป็นหลักและเครื่องสเตริไรท์ ซึ่งใช้ในขั้นตอน/กระบวนการผลิตขั้นสุดท้าย โดยมีแหล่งจัดซื้อในต่างประเทศเช่นกันคือ จากประเทศเยอรมัน
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ทำด้วยยาง ในกรณีท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม กำลังการผลิต 2.2 ล้านหน่วยต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 3 ล้านบาท
2. ขนาดเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร คิดเป็นร้อยละ 96.8 ของเงินทุนเริ่มต้น ประกอบด้วยค่าที่ดิน (พร้อมค่าปรับที่) ร้อยละ 52.5 และค่าสิ่งปลูกสร้าง (โรงงาน/สำนักงาน) ร้อยละ 26.2 ค่าเครื่องจักร ร้อยละ 11.5 และค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า ร้อยละ 6.6
3. เงินทุนหมุนเวียน ร้อยละ 3.2
บุคลากร
การผลิตท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะที่เป็นโรงงานขนาดย่อมใช้บุคลากรประมาณ 50 คน ประกอบด้วย พนักงานชายร้อยละ 5 พนักงานหญิงร้อยละ 95 ทั้งนี้เนื่องจากพนักงานหญิงมีความละเอียดอ่อนกว่าพนักงานชาย โดยมีรายละเอียดของพนักงาน ดังนี้
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 ช่าง จำนวน 2 คน
1.2 พนักงานอื่นๆ จำนวน 44 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 4 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 2,800,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 2,100,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 700,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 720,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ ประมาณ 35,000-40,000 บาทต่อเดือน หรือ ประมาณ 420,000-480,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง ได้แก่ ค่าน้ำมัน และค่ายานพาหนะ ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 240,000 บาทต่อปีกำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 2.2 ล้านหน่วย ราคาเฉลี่ยประมาณ 3.2 บาทต่อชิ้น คิดเป็นรายได้ 7.04 ล้านบาทต่อปี
ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรคที่ผู้ผลิตประสบในการผลิตท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะ ที่สำคัญได้แก่
1. ภาระภาษีซ้ำซ้อนทำให้ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับสูง จากการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตแต่ละขั้นตอน ขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
2. ปัญหาสภาพคล่องของผู้ซื้อ โดยเฉพาะผู้ซื้อที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐที่มักจะชำระเงินล่าช้า เนื่องจากมีการอนุมัติเงินช้ามาก จากการระมัดระวังในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ได้ส่งผลให้ผู้ผลิตขาดสภาพคล่องทางการเงิน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด โดยอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์มีทั้งที่เป็นเครื่องมือขนาดใหญ่ มูลค่าสูงซึ่งยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าจากต่างประเทศ และเครื่องมือ/อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ ในการศึกษานี้มุ่งเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ทำด้วยยางประเภทผลิตภัณฑ์ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะจะแปรผันตามจำนวนประชากรและภาวะสุขภาพของประชากร แม้ว่าในช่วงปี 2539-2541 ไทยประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาจนทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าโดยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แต่สำหรับความต้องการเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นไม่ได้หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเมื่อพิจารณาจากยอดขายในช่วงปี 2539-2541 พบว่าขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 32 ต่อปี และในปี 2542 ก็ยังคงขยายตัวในระดับสูง จากการสำรวจการคาดการณ์ยอดขาย ปรากฏว่าผู้ผลิตได้คาดการณ์ว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 43 สำหรับแนวโน้มในปี 2543 คาดว่าจะยังคงขยายตัวสูงได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจะมีการขยายตลาดเพิ่มมากขึ้นจากที่จำหน่ายในประเทศเป็นหลัก เป็นการมุ่งส่งเสริมการขายโดยขยายตลาดไปยังต่างประเทศด้วย เช่น ลาว สิงคโปร์ และฮ่องกงเป็นต้น ทำให้แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ประเภทท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีลู่ทางขยายตัวดี อันเนื่องมาจากแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่น่าจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนประชากรที่เพิ่มขึ้น และถือได้ว่าสินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าที่จำเป็นตามภาวะปัญหาด้านสุขภาพ
ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยนำเข้ามาจากประเทศในแถบยุโรป ผลผลิตภายในประเทศได้ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น คู่แข่งสำคัญจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีความได้เปรียบทั้งด้านราคาที่ใกล้เคียงถึงถูกกว่าและการจัดหีบห่อ (Packing) ที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อถือกว่า
ในการลงทุนผลิตท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะมีขนาดการลงทุนในวงเงินเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณ 2.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จนกระทั่งถึงขนาดใหญ่ที่ต้องใช้วงเงินลงทุนถึงกว่า 1,200 ล้านบาท จำนวนคนงานประมาณ 50 คนขึ้นไป
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทำด้วยยางมีประเภทของผลิตภัณฑ์มากมายหลายประเภท เช่นกระบอกฉีดยา ชุดให้เลือด ชุดให้น้ำเกลือ รวมทั้งท่อสำหรับให้อาหารและหลอดดูดเสมหะ แต่เนื่องจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้จำหน่ายโดยเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทแม่ในต่างประเทศ การสำรวจในที่นี้ได้มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในประเทศ จึงได้กำหนดขอบเขตของการสำรวจเฉพาะผลิตภัณฑ์ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะ ซึ่งจากการสำรวจ พบว่า ความต้องการผลิตภัณฑ์ประเภทนี้โดยทั่วไปจะแปรผันตามจำนวนประชากรและปัญหาภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงปี 2539-2541 ไทยประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาจนทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าโดยส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แต่สำหรับความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นไม่ได้หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจแต่อาจจะชะลอลงในระดับหนึ่ง โดยเมื่อพิจารณาจากยอดขายในช่วงปี 2538-2541 พบว่าขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 32 ต่อปี สำหรับในปี 2542 ยังคงขยายตัวอยู่ได้ในระดับสูง โดยจากการสำรวจการคาดการณ์ปรากฏว่าผู้ผลิตคาดการณ์ว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 43
แนวโน้มในปี 2543 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางที่ขยายตัวสูงได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจะมีการขยายตลาดเพิ่มมากขึ้นจากที่จำหน่ายในประเทศเป็นหลัก เป็นการมุ่งส่งเสริมการขายโดยขยายตลาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่น ลาว และสิงคโปร์ เป็นต้น ทำให้แนวโน้มของอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีลู่ทางขยายตัวดี อันเนื่องมาจากแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่น่าจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนประชากรที่เพิ่มขึ้น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นหลักคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของความต้องการใช้ทั้งหมด โดยนำเข้ามาจากประเทศในแถบยุโรป ขณะที่การผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของความต้องการใช้ทั้งหมด โดยการผลิตภายในประเทศนั้นได้ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ดังนั้น คู่แข่งสำคัญจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งมีความได้เปรียบทั้งด้านราคาที่ใกล้เคียงถึงถูกกว่าและการจัดหีบห่อ (Packing) ที่ได้มาตรฐานและน่าเชื่อถือกว่า อนึ่ง จากการสัมภาษณ์ผู้ผลิตได้แสดงความคิดเห็นว่าความเสียเปรียบของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศมาจากต้นทุนในการผลิตที่สูง โดยเฉพาะจากภาระการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหลายขั้นตอนทำให้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตออกมามีราคาใกล้เคียงถึงสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศที่ไม่มีภาระในการเสียภาษีนำเข้า
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินลงทุน (บาท)
บริษัท นิชโช ผลิตเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ 1,248,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท เคนด์ ผลิตวัสดุเครื่องมือแพทย์ 77,129,167
บริษัท วุฒิอุปกรณ์ ผลิต-ซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ 8,750,000
บริษัท เชียง ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการแพทย์ 5,500,000
บริษัท พี.อาร์.พลาสติกและยาง จำกัด 2,450,000
บริษัท แกรมมาตรอน n.a.
ที่มา:กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ในปัจจุบันการจำหน่ายท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะมุ่งเน้นการจำหน่ายภายในประเทศโดยจำหน่ายโดยตรงให้กับทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนเป็นหลัก ขณะเดียวกันมีการจำหน่ายผ่านตัวแทนบ้าง ขณะที่การจำหน่ายในตลาดต่างประเทศยังมีอยู่น้อย ซึ่งหากมีก็จะเป็นการจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายเพื่อส่งต่อยังประเทศลาว
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ สัดส่วนของการใช้วัตถุดิบหลักภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 60 ประกอบด้วยเม็ดพลาสติกทั้งหมด ซึ่งมีแหล่งจัดซื้อที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท Riken (Thailand)Co.Ltd. ขณะที่การใช้วัตถุดิบนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ประกอบด้วยเรซิน ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ !40
- วัตถุดิบในประเทศ !60
- วัตถุดิบนำเข้า !40
!2. ค่าแรงงาน !30
!3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ !30
!รวม !100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 นำเม็ดพลาสติกและเรซินมาผสมกัน
ขั้นที่ 2 ทำตัวแบบ
ขั้นที่ 3 ขั้นตอนการทำท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะ
นำเม็ดพลาสติกและเรซินที่ผสมกันแล้วมาทำท่อ/สายตามตัวแบบ
|
V
เจาะท่อ/สาย
|
V
มนท่อ/สายเพื่อป้องกันการระคายเคือง
|
V
นำสายที่มนแล้วมาประกอบกับตัวควบคุมการไหล
|
V
ทำเครื่องหมายแสดงความลึกของสาย
ขั้นที่ 4 ขั้นตอนการทำความสะอาดและตรวจสอบคุณภาพ
ทำความสะอาดสายด้วยแอลกอฮอล์
|
V
ตรวจสอบคุณภาพ (QC) แล้วปิดฝาของสาย
|
V
บรรจุในหีบห่อ (Packing) แล้วนำเข้าห้อง Clean Room
|
V
ตรวจสอบการขดตัวของสาย
|
V
นำเข้าเครื่องสเตอริไลท์เพื่อฆ่าเชื้อ
|
V
สุ่มตรวจ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ขั้นที่ 5 บรรจุเข้ากล่องในห้อง Clean Room
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรสำคัญที่ใช้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ เครื่องฉีด/เป่า ซึ่งอยู่ในขั้นตอน/กระบวนการผลิตในช่วงทำตัวแบบและทำสาย โดยมีแหล่งจัดซื้อในต่างประเทศ คือ ประเทศญี่ปุ่นเป็นหลักและเครื่องสเตริไรท์ ซึ่งใช้ในขั้นตอน/กระบวนการผลิตขั้นสุดท้าย โดยมีแหล่งจัดซื้อในต่างประเทศเช่นกันคือ จากประเทศเยอรมัน
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ทำด้วยยาง ในกรณีท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม กำลังการผลิต 2.2 ล้านหน่วยต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 3 ล้านบาท
2. ขนาดเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร คิดเป็นร้อยละ 96.8 ของเงินทุนเริ่มต้น ประกอบด้วยค่าที่ดิน (พร้อมค่าปรับที่) ร้อยละ 52.5 และค่าสิ่งปลูกสร้าง (โรงงาน/สำนักงาน) ร้อยละ 26.2 ค่าเครื่องจักร ร้อยละ 11.5 และค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า ร้อยละ 6.6
3. เงินทุนหมุนเวียน ร้อยละ 3.2
บุคลากร
การผลิตท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะที่เป็นโรงงานขนาดย่อมใช้บุคลากรประมาณ 50 คน ประกอบด้วย พนักงานชายร้อยละ 5 พนักงานหญิงร้อยละ 95 ทั้งนี้เนื่องจากพนักงานหญิงมีความละเอียดอ่อนกว่าพนักงานชาย โดยมีรายละเอียดของพนักงาน ดังนี้
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 ช่าง จำนวน 2 คน
1.2 พนักงานอื่นๆ จำนวน 44 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 4 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 2,800,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 2,100,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 700,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 720,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ ประมาณ 35,000-40,000 บาทต่อเดือน หรือ ประมาณ 420,000-480,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง ได้แก่ ค่าน้ำมัน และค่ายานพาหนะ ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 240,000 บาทต่อปีกำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 2.2 ล้านหน่วย ราคาเฉลี่ยประมาณ 3.2 บาทต่อชิ้น คิดเป็นรายได้ 7.04 ล้านบาทต่อปี
ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรคที่ผู้ผลิตประสบในการผลิตท่อสำหรับให้อาหาร/หลอดดูดเสมหะ ที่สำคัญได้แก่
1. ภาระภาษีซ้ำซ้อนทำให้ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับสูง จากการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตแต่ละขั้นตอน ขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
2. ปัญหาสภาพคล่องของผู้ซื้อ โดยเฉพาะผู้ซื้อที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐที่มักจะชำระเงินล่าช้า เนื่องจากมีการอนุมัติเงินช้ามาก จากการระมัดระวังในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ได้ส่งผลให้ผู้ผลิตขาดสภาพคล่องทางการเงิน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--