ฉบับนี้จะมีเนื้อหาต่อจากฉบับก่อน คือจะได้กล่าวถึงโครงการ Cross-border Payments อีกประเภทหนึ่ง นั่นคือ
2. โครงการรองรับความต้องการโอนเงินทั่วไป ซึ่งอาจเป็นการโอนส่งมอบสกุลเดียวตามความต้องการของธุรกิจการค้าการพาณิชย์ โอนเงินส่วนบุคคล ระบบนี้มักจะใช้โครงสร้างการทำงานของ Clearing House ของประเทศสมาชิก และมีทั้งข้อเสนอโอนเงินเป็น batch และเป็น on demand หัวใจของระบบนี้คือมาตรฐานข้อมูลคำสั่งโอนเงินและเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ระบบอาจรับคำสั่งโอนเงินหลายมาตรฐาน และอาจทำหน้าที่ reformat คำสั่งโอนเงินก่อนส่งเข้าระบบของอีกประเทศหนึ่งด้วย ระบบนี้ช่วยสร้างความแน่นอนในเรื่องค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่การโอนเงินมีผล ระบบที่เป็น netting ได้แก่ระบบ WATCH และระบบโอนเงินระหว่างประเทศอเมริกาและแคนาดาในทวีปอเมริกาเหนือ และระบบที่อยู่ระหว่างการหารือในกลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวกับระบบ settlement ระหว่างประเทศยังไม่ชัดเจนนัก
นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินตราต่างประเทศบางสกุลเงิน ซึ่งมีธุรกรรมสูงในบางประเทศ โดยเป็นการดำเนินการภายในของแต่ละประเทศ เครื่องมือดำเนินการโดยทั่วไปคือการให้เปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (multi-currency) หรือให้สถาบันการเงินต่างประเทศร่วมในระบบการชำระเงินของประเทศโดยตรง ได้แก่
2.1 จัดตั้งระบบชำระเงินสกุลเงินตราต่างประเทศขึ้นภายในประเทศ ได้แก่ US Dollar Clearing ในประเทศอังกฤษ และ ฮ่องกง แนวทางนี้เพิ่มประสิทธิภาพให้ผลการชำระเงินสำเร็จผลรวดเร็วขึ้น แต่การใช้ settlement account เงินดอลล่าร์ มีประเด็นที่พึงพิจารณาคือ กรณีที่ settlement account ไม่ใช่บัญชีเงินฝากกับธนาคารประเทศเจ้าของสกุลเงิน ธนาคารสมาชิกที่ขาดสภาพคล่องชำระดุลจะบริหารเงินเพิ่มสภาพคล่องในระบบได้ยาก และกรณีใช้บัญชีที่ประเทศเจ้าของสกุลเงินก็จะมีประเด็นกำหนดเวลาการมี finality ของเงินเพราะความแตกต่างเรื่อง time-zone เป็นต้น
2.2 การให้สถาบันการเงินต่างประเทศร่วมในระบบการชำระเงินภายในประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงและสนองตอบความต้องการของภาคธุรกิจในระดับหนึ่ง แต่สถาบันการเงินในต่างประเทศอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลางแต่ละประเทศ จึงมีประเด็นการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูลให้สามารถติดตามฐานะและเสถียรภาพของสถาบันการเงินดังกล่าวให้ทันการ
ความร่วมมือจัดตั้งระบบ PvP ดูเหมือนจะแก้ไขปัญหาแรกเกี่ยวกับ settlement account ได้ แต่ปัญหาการประสานข้อมูลเพื่อทราบฐานะและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เป็นตัวกลางอย่างใกล้ชิด อาจจะยังเป็นปัญหาอยู่เนื่องจากธนาคารกลางของประเทศร่วมก่อตั้งเท่านั้นที่มีส่วนในการตรวจสอบกำกับความมั่นคงขององค์กรดังกล่าว
--จุลสารระบบการชำระเงิน/สิงหาคม 2544--
-ยก-
2. โครงการรองรับความต้องการโอนเงินทั่วไป ซึ่งอาจเป็นการโอนส่งมอบสกุลเดียวตามความต้องการของธุรกิจการค้าการพาณิชย์ โอนเงินส่วนบุคคล ระบบนี้มักจะใช้โครงสร้างการทำงานของ Clearing House ของประเทศสมาชิก และมีทั้งข้อเสนอโอนเงินเป็น batch และเป็น on demand หัวใจของระบบนี้คือมาตรฐานข้อมูลคำสั่งโอนเงินและเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ระบบอาจรับคำสั่งโอนเงินหลายมาตรฐาน และอาจทำหน้าที่ reformat คำสั่งโอนเงินก่อนส่งเข้าระบบของอีกประเทศหนึ่งด้วย ระบบนี้ช่วยสร้างความแน่นอนในเรื่องค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่การโอนเงินมีผล ระบบที่เป็น netting ได้แก่ระบบ WATCH และระบบโอนเงินระหว่างประเทศอเมริกาและแคนาดาในทวีปอเมริกาเหนือ และระบบที่อยู่ระหว่างการหารือในกลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวกับระบบ settlement ระหว่างประเทศยังไม่ชัดเจนนัก
นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชำระเงินตราต่างประเทศบางสกุลเงิน ซึ่งมีธุรกรรมสูงในบางประเทศ โดยเป็นการดำเนินการภายในของแต่ละประเทศ เครื่องมือดำเนินการโดยทั่วไปคือการให้เปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (multi-currency) หรือให้สถาบันการเงินต่างประเทศร่วมในระบบการชำระเงินของประเทศโดยตรง ได้แก่
2.1 จัดตั้งระบบชำระเงินสกุลเงินตราต่างประเทศขึ้นภายในประเทศ ได้แก่ US Dollar Clearing ในประเทศอังกฤษ และ ฮ่องกง แนวทางนี้เพิ่มประสิทธิภาพให้ผลการชำระเงินสำเร็จผลรวดเร็วขึ้น แต่การใช้ settlement account เงินดอลล่าร์ มีประเด็นที่พึงพิจารณาคือ กรณีที่ settlement account ไม่ใช่บัญชีเงินฝากกับธนาคารประเทศเจ้าของสกุลเงิน ธนาคารสมาชิกที่ขาดสภาพคล่องชำระดุลจะบริหารเงินเพิ่มสภาพคล่องในระบบได้ยาก และกรณีใช้บัญชีที่ประเทศเจ้าของสกุลเงินก็จะมีประเด็นกำหนดเวลาการมี finality ของเงินเพราะความแตกต่างเรื่อง time-zone เป็นต้น
2.2 การให้สถาบันการเงินต่างประเทศร่วมในระบบการชำระเงินภายในประเทศ ช่วยลดความเสี่ยงและสนองตอบความต้องการของภาคธุรกิจในระดับหนึ่ง แต่สถาบันการเงินในต่างประเทศอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลางแต่ละประเทศ จึงมีประเด็นการประสานแลกเปลี่ยนข้อมูลให้สามารถติดตามฐานะและเสถียรภาพของสถาบันการเงินดังกล่าวให้ทันการ
ความร่วมมือจัดตั้งระบบ PvP ดูเหมือนจะแก้ไขปัญหาแรกเกี่ยวกับ settlement account ได้ แต่ปัญหาการประสานข้อมูลเพื่อทราบฐานะและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เป็นตัวกลางอย่างใกล้ชิด อาจจะยังเป็นปัญหาอยู่เนื่องจากธนาคารกลางของประเทศร่วมก่อตั้งเท่านั้นที่มีส่วนในการตรวจสอบกำกับความมั่นคงขององค์กรดังกล่าว
--จุลสารระบบการชำระเงิน/สิงหาคม 2544--
-ยก-