1. ตรรกะหรือภูมิปัญญาของโลกาภิวัฒน์เสนอว่า การค้าเสรีและการแข่งขันจะเสริมสร้างประสิทธิภาพ ความแข็งแกร่ง ความเติบโตหรือการมีกำไร ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อตรรกะดังกล่าว
- เห็นด้วย เพราะการค้าเสรีจะเปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน โดยปราศจากการใช้มาตรการทั้งในส่วนที่เป็นมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีมาเป็นอุปสรรคขวางกั้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการบิดเบือนทางการค้า ทำให้บางประเทศสามารถผลิตสินค้าที่มีต้นทุนสูงมาขายแข่งกับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง- บนพื้นฐานของการแข่งขันเสรี แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าโดยพิจารณาจากความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)และจะจัดซื้อสินค้าที่ตนเองไม่สามารถผลิตสู้ประเทศอื่นได้ ทำให้การใช้ทรัพยากร/ปัจจัยการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง ถ้าทุกประเทศทำอย่างนี้ ทุกคนก็สามารถจะบริโภคสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง
- การค้าเสรีเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ สามารถเลือกใช้ทรัพยากร/ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ และมีราคาที่เหมาะสมจากประเทศอื่นได้ ซึ่งจะช่วยให้การใช้/การจัดสรรทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น- การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งผลิตสินค้าที่ตนเองไม่สามารถแข่งขันได้ จะโดยมีการใช้มาตรการคุ้มครองในลักษณะใดก็ตามแต่เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าโดยการใช้ทรัพยากรอย่างไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากราคาสินค้าที่ผลิตได้ไม่ได้สะท้อนต้นทุนตามที่เป็นจริง ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคต้องบริโภคสินค้าในราคาแพงขึ้นและเป็นการจำกัดทางเลือกในการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคในประเทศแล้ว ยังทำให้สังคมต้องแบกรับภาระที่เกิดขึ้นจากความด้อยประสิทธิภาพในการผลิตอีกด้วย
2. มีความเชื่ออยู่ว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากการกระโจนเข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์โดยที่ประเทศยังไม่มีความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวนี้
ไม่เห็นด้วย ต้องยอมรับว่ากระแสโลกาภิวัฒน์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่ประเทศที่ค่อนข้างจะมีแนวคิดปิดกั้นทางเศรษฐกิจ เช่น จีน และพม่า ก็ไม่สามารถหลีกพ้นจากกระแสดังกล่าวได้ จะเห็นว่าขณะนี้จีนกำลังอยู่ในกระบวนการของการสมัครเข้าเป็นสมาชิก WTO หรือพม่า ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจปิด ก็ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว และมีพันธกรณีที่จะต้องเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบ AFTA ด้วย การเข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ของไทย ถ้าศึกษาให้ดีจะเห็นว่าไม่ได้เป็นการกระโจนเข้าใส่แต่เป็นการดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีกระบวนการ/ขั้นตอนในการเปิดเสรีที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีภายใต้กรอบ WTO หรือ AFTA ต่างก็มีกรอบเวลาที่กำหนดไว้ชัดเจนล่วงหน้าเพื่อให้สามารถปฎิบัติตามพันธกรณีได้ ทั้งนี้ การกำหนดเงื่อนเวลาสำหรับแต่ละประเทศก็คำนึงถึงความพร้อมและระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ด้วย ปัญหาความไม่พร้อมที่เกิดขึ้น น่าจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ 1)การขาดนโยบาย/แนวทาง/การวางแผนที่แน่นอนและชัดเจนว่าจะดำเนินการตามพันธกรณีในเรื่องต่าง ๆ อย่างไร
2) ไม่มีการมอง/แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบการมองปัญหาและการหาแนวทางในการแก้ไขยังมีลักษณะเป็นเอกเทศตามแนวคิดของหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ ทำให้ขาดความเชื่อมโยงกับนโยบายภาพรวม
3)เหตุผลที่มักจะใช้เป็นข้ออ้างประกอบการกำหนดนโยบายยังมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก ทำให้การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือในบางกรณีมีข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน แต่ระดับนโยบายไม่กล้าตัดสินใจ
4) เรามองระยะเวลาที่ได้มาเป็นเพียงว่าสิ่งนั้นยังมาไม่ถึง แต่ไม่ได้มองว่าจะใช้เงื่อนเวลาที่ได้มานั้นให้เป็นโอกาสในการปรับตัวได้อย่างไรบ้าง ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอคือ เมื่อถึงกำหนดเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณี สภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เคยมีอยู่ก็คงมีอยู่ตามเดิม ประสิทธิภาพการผลิตหรือความสามารถในการแข่งขันก็ไม่ได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้น
3. ในความคิดเห็นของท่าน เท่าที่ผ่านมาประเทศไทยปรับตัวได้ดีพอหรือไม่กับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่หลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย
ในภาพรวมประเทศไทยสามารถปรับตัวได้ดีกับกระแสโลกาภิวัฒน์ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าความสามารถในการปรับต้วจะดีเพียงใดไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่คนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการปรับตัวเพื่อรองรับกระแสการเปิดเสรีได้ดีนั้นคือ ผู้ประกอบการ จริง ๆ แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในเรื่องการเปิดเสรีนั้น ในหลาย ๆ ด้านเป็นเพียงการคงสถานะเดิมของการเปิดเสรีเท่านั้น สิ่งที่เรามีพันธกรณีที่จะต้องมาปรับเปลี่ยนนโยบาย/มาตรการต่างๆ หรือแม้แต่การลดภาษีมีน้อยมาก ตัวอย่างในเรื่องภาษีภายใต้กรอบ WTO อัตราที่ประเทศไทยไปผูกพันไว้แล้วเป็นภาระให้ต้องกลับมาดำเนินการเพื่อลดภาษีให้เป็นไปตามที่ได้ผูกพันไว้ นับว่ามีจำนวนน้อยมากเพราะเราเจรจาลดภาษีจากฐานอัตราภาษีตามกฎหมาย (base rate) ไม่ใช่ลดจากฐานอัตราภาษีที่เรียกเก็บในขณะนั้น (applied rate) 4. อำนาจการแข่งขันในตลาดโลกเชื่อกันว่าสำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดของประเทศ โดยประเทศไทยนั้นยึดถือการส่งออกเป็นหลักในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะนี้สถานภาพทางการส่งออกของไทยเป็นอย่างไร เข้มแข็งพอหรือไม่ที่จะสร้างความอยู่รอดและความเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
เศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้นมาภายใต้การพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พิจารณาได้จากการขยายตัวของการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบมูลค่าการค้ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10 ในปี 2504 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.7 โดยเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 46.8 และการนำเข้าร้อยละ 39.9 การส่งออกของไทยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นมาตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ในปี 2539 การส่งออกเริ่มชะลอตัวลงอย่างมาก โดยส่งออกลดลงเป็นปีแรกถึงร้อยละ 1.4 สำหรับปี 2540 การส่งออกกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยขยายตัวร้อยละ 4.3 มีผลจากการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ แต่ในปี 2541 ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2540 ทั้งของประเทศไทยเองและภูมิภาคเอเซีย ทำให้การส่งออกเริ่มลดลงอีกครั้ง โดยปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 54,490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2540 ร้อยละ 6.6 การส่งออกที่ลดลงอย่างมากส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหดตัวลงเช่นกัน ปี 2541 เศรษฐกิจหดตัวลงร้อยละ 10.2 รัฐบาลตระหนักว่า การส่งออกเท่านั้นที่จะเป็นตัวจักรสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ จึงได้พยายามแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคทางการค้า มุ่งส่งเสริมและเร่งรัดการส่งออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เร่งรัดการคืนภาษี แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดใหม่ จัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูงออกไปขายสินค้าในต่างประเทศ เป็นต้น ผลจาการดำเนินการดังกล่าว ประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศที่มีผลให้กำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น ปี 2542 การส่งออกของไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมีมูลค่า 58,463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 และยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2543 โดยในระยะ 2 เดือนแรก ส่งออกได้ 11,074 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 สูงถึงร้อยละ 33.5 การส่งออกที่เพิ่มขึ้น ในระยะ 2 เดือนแรกของปี 2543 เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า เช่น สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 เกษตรกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 อุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 แร่และเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 135.7 สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะและอุปกรณ์ เม็ดพลาสติก ยางพารา เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ วงจรพิมพ์ ไดโอดทรานซิสเตอร์ เป็นต้น การส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นทุกตลาดเช่นกัน โดยส่งออกไป สหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 39.0 18.9 และ 33.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในโลกการค้าเสรีที่มีการแข่งขันรุนแรงและมีการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้นทุกรูปแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการค้าในทุกวิถีทาง โดยมีมาตรการที่สำคัญ ดังนี้ 1. เร่งรัดแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออกที่ยังคั่งค้างอยู่ให้สำเร็จและมีผลโดยเร็วโดยเฉพาะปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยรวม ได้แก่ - การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบทั้งระบบ โดยเฉพาะเหล็กและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของสินค้าส่งออกหลายรายการ
-แก้ไขปัญหาสภาพคล่องและกระจายสภาพคล่องอย่างทั่วถึงและพอเพียงให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก โดยเฉพาะระดับกลางและระดับเล็ก -ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ เช่น ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
2. การดูแลด้านการตลาด โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านการรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดเดิมและเพิ่มสัดส่วนการส่งออกในตลาดใหม่ โดยมุ่งเน้นกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสร้างภาพลักษณ์ของประเทศและสินค้าไทย การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Brand Name)การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้า (Distribution Network) ส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (Border Trade) เป็นต้น รวมทั้งเร่งรัดผลักดันธุรกิจบริการที่มีลู่ทางและมีศักยภาพ 3.พัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการกระจายตลาด
4.เน้นนโยบายทีมไทยแลนด์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศโดยให้สายงานที่ดูแลด้านการเมืองและสามารถประสานกับผู้บริหารระดับสูงของต่างประเทศเข้ามาช่วยสายงานด้านการพาณิชย์และสายงานด้านอื่น เพื่อเสริมบทบาทของไทยในต่างประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น
5.สนับสนุนและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) โดยผ่านระบบ internet เพื่อให้มีการค้าที่สะดวกรวดเร็วและกว้างขวางขึ้น
5. อุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือสิ่งที่ประเทศไทยควรยึดถือพึ่งพา เพื่อความอยู่รอดและความเติบโตทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ ท่านคิดว่ามีอะไรบ้าง
จากการที่ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยส่งออกทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม
ด้านการส่งออกสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ พบว่า ข้าว ยางพารา กุ้งสดแช่เย็น อาหารทะเลกระป๋อง เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก สำหรับเนื้อไก่ แม้ว่าประเทศไทยจะมีศักยภาพในการส่งออก แต่ก็ยังประสบปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในเรื่องของมาตรการสุขอนามัย และปัญหาการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า มันสำปะหลังที่คาดว่าจะส่งออกได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหา เนื่องจากต้องพึ่งพาตลาดส่งออกในสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยเฉพาะมันสำปะหลังอัดเม็ดที่ต้องเผชิญกับการปฏิรูปนโยบายการเกษตรของยุโรป CAP Reform 1992 และ CAP Reform 2000 ส่งผลให้การส่งออกยากลำบากมากขึ้น
ในปัจจุบันได้นำประเด็นใหม่ ๆมาเป็นอุปสรรคในทางการค้า ได้แก่ สิ่งแวดล้อม การตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) และบางประเทศสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคอาหารจากธรรมชาติ (Organic food) เป็นต้น
สินค้าอุตสาหกรรมของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปขายในตลาดต่างประเทศมีหลายกลุ่มสินค้า ที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ( เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ฯลฯ ) กลุ่มยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เพราะมีการผลิตมานาน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แรงงานมีทักษะ ประกอบกับมีการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ ทำให้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมาใช้
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสินค้าส่งออกของไทยจะมีศักยภาพในการผลิตและส่งออก แต่ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยบางอย่างที่เป็นอุปสรรคทำให้อุตสาหกรรมนั้นไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เช่น อัตราภาษีวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกของไทยสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอาเซียนและนอกอาเซียน ขาดสภาพคล่อง การพัฒนาเทคโนโลียีการผลิตมีน้อย และข้อกีดกันทางการค้าเกี่ยวกับคุณภาพและสิ่งแวดล้อมจากประเทศผู้นำเข้า
ดังนั้น เพื่อให้มีการเจริญทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และความอยู่รอดของภาคเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ควรมีแนวทางในการปรับตัว ดังนี้
ภาครัฐ
-ต้องมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อประมวลสถานะปัจจุบันของไทยและติดตามความเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้าและกระแสผลักดันในการเปิดเสรี เพื่อเตรียมการรองรับในการเจรจาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยสูงสุด
-ปรับปรุงกฎหมายและมาตรการของไทยให้มีความพร้อมในการป้องกันและตอบรับการใช้นโยบายการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ ที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น กฎหมาย AD/CVD กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช กฎหมายประกันภัย กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ที่อาจส่งผลต่อการค้าในอนาคต เช่น กฎระเบียบการกำกับดูแลการค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ และการคาบริการอื่น ๆ
- ปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรทั้งระบบให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสอดคล้องกับข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และอื่น ๆ
ภาคเอกชน
- ต้องมีความตื่นตัว ติดตามความเคลื่อนไหวและมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับทิศทางการค้าโลกอยู่เสมอ- ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่* ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีการเชื่อมโยงการผลิตภายในประเทศ* พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุน* พัฒนาความรู้ด้านการจัดการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก* พัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ให้มีความรู้และทักษะที่สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ* ปรับปรุงกลยุทธ์ทางการค้า เช่น เจาะขยายตลาด พัฒนาคุณภาพของสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด สร้างภาพลักษณ์ หรือ Brand Name ของสินค้าไทย เร่งใช้ประโยชน์จาก E-Commerce ปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายต่าง ๆ ให้เหมาะสมและยืดหยุ่นต่อการประกอบธุรกิจ* ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมด้สยการเสริมสร้างความเป็นธรรมและความโปร่งใส
6. เดิมประเทศไทยมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันกับต่างประเทศตรงที่แรงงานถูก และทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่ขณะนี้ ความได้เปรียบดังกล่าวกำลังจะหมดไป ท่านคิดว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างไร
เดิมประเทศไทยมีการขยายการผลิตในอุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบและมีศักยภาพในการส่งออก โดยใช้แรงงานราคาถูกและการแปรรูปที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ แต่ปัจจุบันการเปิดเสรีการค้าทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทไม่สามารถแข่งขันได้ และมีผลกระทบต่อแรงงาน ปัญหาการกีดกันการค้า และขาดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หากประเทศไทยจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จำเป็นต้องดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยมีทิศทาง ดังนี้
มุ่งสู่การผลิตสินค้าระดับกลาง และระดับสูงมากขึ้น เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สินค้าที่ผลิตจะต้องมีการพัฒนารูปแบบ มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี และเครื่องจักรเก่าที่ล้าสมัย รวมทั้งปรับปรุงระบบการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีมาตรฐานคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ลดต้นทุนการผลิต และปรับปรุงการส่งมอบสินค้าให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในยุคการค้าเสรีด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต ปรับลดขั้นตอนในกระบวนการผลิต การบริหารและการจัดการธุรกิจ ยกระดับความรู้ความสามารถของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงแรงงาน พนักงานระดับผู้บังคับบัญชาและผู้ประกอบการ ให้สามารถรับเทคโนโลยีใหม่ ตลอดจนระบบการผลิตแบบใหม่ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม สามารถบริหารธูรกิจให้สามารถปรับตัวในสภาวะการแข่งขันเสรี สร้างพันธมิตรทางการผลิต และการค้ากับธุรกิจทั้งในตลาดต่างประเทศและประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถเจาะและขยายช่องทางการตลาดได้มากขึ้น และเพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทย ปรับไปสู่การผลิตที่ลดมลภาวะจากอุตสาหกรรม ด้วยการจัดเขตอุตสาหกรรมเฉพาะประเภทสำหรับบางอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถจัดระบบบำบัดมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดปริมาณมลพิษ ณ จุดกำเนิด นอกจากจะเป็นผลดีต่อประชาชนและสังคมไทยโดยส่วนรวมแล้ว ยังมีส่วนลดภาระต้นทุนในการจัดการของเสียโรงงานและการเอาใจใส่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งถูกใช้เป็นประเด็นต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญประเด็นหนึ่ง กระจายการผลิตไปสู่ส่วนภูมิภาคและชนบท เพื่อให้มีการจ้างงานรองรับแรงงานที่เคลื่อนย้ายออกไปจากเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตลอดจนเมืองใหญ่ และเป็นแหล่งรายได้เสริมสำหรับแรงงานภาคเกษตรกับสมาชิกของครอบครัวของชนบทเป็นการส่งเสริมให้แรงงานคงอยู่ในชนบท และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของครอบครัวสังคมชนบท อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ไทยควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแยกเป็นอุตสาหกรรมรายสาขา ตามผลการศึกษาเพื่อประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก ของบริษัททีทีไอเอส จำกัด เสนอต่อกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อพฤษภาคม 2541 เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก จำนวน 14 อุตสาหกรรม ดังนี้ - อุตสาหกรรมอาหาร- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง- อุตสาหกรรมสิ่งทอ- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์- อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน-อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ-อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า- อุตสาหกรรมรองเท้าและชิ้นส่วน- อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เซรามิก- อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
7. กระแสโลกาภิวัฒน์ส่งผลอย่างไรต่อสังคมไทยโดยรวมในทัศนะของท่าน
-กระแสโลกาภิวัฒน์เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสาร- กระแสโลกาภิวัฒน์มีทั้งผลดีและผลเสีย เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค- โดยรวมแล้ว ค่านิยม กฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศจะถูกกำหนดโดยสังคมโลก
กระแสโลกาภิวัฒน์ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านสารสนเทศที่สามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ขจัดเขตแดนระหว่างประเทศ ย่อโลกให้เล็กลง โลกาภิวัฒน์โดยตัวของมันเองจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะช่วยให้กระบวนการรับรู้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ โดยธรรมชาติของข้อมูลข่าวสารนั้น ย่อมประกอบด้วยข้อมูลด้านบวกและด้านลบเสมอ ผลจากการรับข้อมูล จึงขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ของผู้รับ โดยสามารถเลือกที่จะรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์หรือเลือกที่จะไม่รับข้อมูลที่ไม่เป็นที่ต้องการ ข่าวสารหรือการกระทำของบุคคลหนึ่ง หรือของสังคมใด ณ จุดหนึ่งของโลก ก็ย่อมจะถูกรับรู้และตีความอย่างรวดเร็วโดยอีกบุคคลหนึ่งหรืออีกสังคมหนึ่งเกือบจะทันที ซึ่งมีนัยสำคัญว่าการกระทำใด ๆ ที่ไม่ถูกต้อง (โดยการตีความของสังคมโลก) จะไม่ถูกยอมรับและอาจถูกต่อต้านอย่างรุนแรง สรุปผลต่อสังคม * สังคมมีความโปร่งใสมากขึ้น ความรับผิดชอบของแต่ละปัจเจกชนต่อสังคมมีความชัดเจน* สังคมจะเรียกร้องมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูงขึ้นตามมาตรฐานของสังคมโลก* การหลั่งไหลเข้ามาของแนวคิดที่ขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยจะเพิ่มสูงขึ้น* การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะในเรื่องใด ย่อมควบคู่ไปกับความไม่แน่นอนเสมอส่งผลให้ความเป็นอยู่ของประชาชนจะมีรูปแบบของการแข่งขันสูง มีความเสี่ยงในการ ดำเนินกิจกรรมเพิ่ม* การบริหารของรัฐจะมีข้อจำกัดมากขึ้น กติการะหว่างประเทศจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการกำหนดนโยบายบริหารของรัฐ
โดยภาพรวมแล้วค่านิยม กฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศจะถูกกำหนดโดยสังคมโลก กระแสโลกาภิวัฒน์จึงเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคขึ้นอยู่กับการพิจารณาเลือกรับ และการสร้างภูมิคุ้มกันตนเองของสังคมไทย 8. ประเทศไทยจะเตรียมคนรุ่นใหม่อย่างไร ( เช่น โดยระบบการศึกษา) เพื่อให้อยู่รอดและก้าวทันกับกระแสโลกาภิวัฒน์)
- เศรษฐกิจพึ่งพาความรู้ (Knowledge-based economy) มีความหมายมากกว่าการปฏิวัติทางข้อมูล (information revolution) หรือ เศรษฐกิจยุคไอที (information society)- ข้อมูล (information) เป็นเพียงปัจจัยการผลิตหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยการผลิตใหม่- การเตรียมคนรุ่นใหม่จะเน้นการพัฒนาความรู้ โดยมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงพื้นฐานสนับสนุน
ความอยูรอดและความสำเร็จในอดีตทั้งในแง่ส่วนบุคคลหรือธุรกิจขึ้นอยู่กับ* ความสามารถในการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดิน ป่าไม้ น้ำมัน เหมืองแร่ สินมีค่า ฯลฯ* ขนาดของการผลิตที่มีขนาดใหญ่* บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลก : บริษัทน้ำมัน (ร็อคกี้ เฟลเลอร์) ความอยู่รอดและความสำเร็จในปัจจุบันขึ้นอยู่กับ* ความสามารถหรืออำนาจในการควบคุมความรู้ (Knowledge)* ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อปรับปรุงเทคโนโลยี* ความสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์* บริาทที่ใหญ่ที่สุดของโลก: บริษัทไมโครซอพท์ ซึ่งมีขนาดโรงงานที่เล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในอดีต ดังนั้น องค์ประกอบของคนรุ่นใหม่ที่จะประสบความสำเร็จในกระแสโลกาภิวัฒน์ จึงจึ้นอยู่กับการพัฒนาความรู้ (knowledge) ของตนเป็นหลัก โดยมีความสามารถที่จะนำข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง จากการใช้ E-Commerce : ผู้ที่จะประสบความสำเร็จใน E-Commerce ไม่ใช่ผู้ที่มีความสารถในการใช้อินเทอร์เนตแต่เพียงประการเดียว แต่หากเป็นผู้ที่มีความรู้ที่จะพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ พัฒนาปัจจัยการผลิตใหม่ ๆ โดยการใช้สื่อกลางทางธุรกิจ (อินเทอร์เนต) ที่มีประสิทธิภาพ การเตรียมคนรุ่นใหม่ของประเทศไทย* สร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาและสังคม ให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรและการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง* ปูพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์ในด้านต่าง ๆ* เตรียมเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
- เห็นด้วย เพราะการค้าเสรีจะเปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน โดยปราศจากการใช้มาตรการทั้งในส่วนที่เป็นมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีมาเป็นอุปสรรคขวางกั้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการบิดเบือนทางการค้า ทำให้บางประเทศสามารถผลิตสินค้าที่มีต้นทุนสูงมาขายแข่งกับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง- บนพื้นฐานของการแข่งขันเสรี แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าโดยพิจารณาจากความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)และจะจัดซื้อสินค้าที่ตนเองไม่สามารถผลิตสู้ประเทศอื่นได้ ทำให้การใช้ทรัพยากร/ปัจจัยการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง ถ้าทุกประเทศทำอย่างนี้ ทุกคนก็สามารถจะบริโภคสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง
- การค้าเสรีเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ สามารถเลือกใช้ทรัพยากร/ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ และมีราคาที่เหมาะสมจากประเทศอื่นได้ ซึ่งจะช่วยให้การใช้/การจัดสรรทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น- การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งผลิตสินค้าที่ตนเองไม่สามารถแข่งขันได้ จะโดยมีการใช้มาตรการคุ้มครองในลักษณะใดก็ตามแต่เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าโดยการใช้ทรัพยากรอย่างไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากราคาสินค้าที่ผลิตได้ไม่ได้สะท้อนต้นทุนตามที่เป็นจริง ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคต้องบริโภคสินค้าในราคาแพงขึ้นและเป็นการจำกัดทางเลือกในการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคในประเทศแล้ว ยังทำให้สังคมต้องแบกรับภาระที่เกิดขึ้นจากความด้อยประสิทธิภาพในการผลิตอีกด้วย
2. มีความเชื่ออยู่ว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากการกระโจนเข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์โดยที่ประเทศยังไม่มีความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวนี้
ไม่เห็นด้วย ต้องยอมรับว่ากระแสโลกาภิวัฒน์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่ประเทศที่ค่อนข้างจะมีแนวคิดปิดกั้นทางเศรษฐกิจ เช่น จีน และพม่า ก็ไม่สามารถหลีกพ้นจากกระแสดังกล่าวได้ จะเห็นว่าขณะนี้จีนกำลังอยู่ในกระบวนการของการสมัครเข้าเป็นสมาชิก WTO หรือพม่า ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจปิด ก็ได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว และมีพันธกรณีที่จะต้องเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบ AFTA ด้วย การเข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ของไทย ถ้าศึกษาให้ดีจะเห็นว่าไม่ได้เป็นการกระโจนเข้าใส่แต่เป็นการดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีกระบวนการ/ขั้นตอนในการเปิดเสรีที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีภายใต้กรอบ WTO หรือ AFTA ต่างก็มีกรอบเวลาที่กำหนดไว้ชัดเจนล่วงหน้าเพื่อให้สามารถปฎิบัติตามพันธกรณีได้ ทั้งนี้ การกำหนดเงื่อนเวลาสำหรับแต่ละประเทศก็คำนึงถึงความพร้อมและระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ด้วย ปัญหาความไม่พร้อมที่เกิดขึ้น น่าจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ 1)การขาดนโยบาย/แนวทาง/การวางแผนที่แน่นอนและชัดเจนว่าจะดำเนินการตามพันธกรณีในเรื่องต่าง ๆ อย่างไร
2) ไม่มีการมอง/แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบการมองปัญหาและการหาแนวทางในการแก้ไขยังมีลักษณะเป็นเอกเทศตามแนวคิดของหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ ทำให้ขาดความเชื่อมโยงกับนโยบายภาพรวม
3)เหตุผลที่มักจะใช้เป็นข้ออ้างประกอบการกำหนดนโยบายยังมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก ทำให้การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือในบางกรณีมีข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน แต่ระดับนโยบายไม่กล้าตัดสินใจ
4) เรามองระยะเวลาที่ได้มาเป็นเพียงว่าสิ่งนั้นยังมาไม่ถึง แต่ไม่ได้มองว่าจะใช้เงื่อนเวลาที่ได้มานั้นให้เป็นโอกาสในการปรับตัวได้อย่างไรบ้าง ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอคือ เมื่อถึงกำหนดเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณี สภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เคยมีอยู่ก็คงมีอยู่ตามเดิม ประสิทธิภาพการผลิตหรือความสามารถในการแข่งขันก็ไม่ได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้น
3. ในความคิดเห็นของท่าน เท่าที่ผ่านมาประเทศไทยปรับตัวได้ดีพอหรือไม่กับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่หลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย
ในภาพรวมประเทศไทยสามารถปรับตัวได้ดีกับกระแสโลกาภิวัฒน์ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าความสามารถในการปรับต้วจะดีเพียงใดไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่คนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการปรับตัวเพื่อรองรับกระแสการเปิดเสรีได้ดีนั้นคือ ผู้ประกอบการ จริง ๆ แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในเรื่องการเปิดเสรีนั้น ในหลาย ๆ ด้านเป็นเพียงการคงสถานะเดิมของการเปิดเสรีเท่านั้น สิ่งที่เรามีพันธกรณีที่จะต้องมาปรับเปลี่ยนนโยบาย/มาตรการต่างๆ หรือแม้แต่การลดภาษีมีน้อยมาก ตัวอย่างในเรื่องภาษีภายใต้กรอบ WTO อัตราที่ประเทศไทยไปผูกพันไว้แล้วเป็นภาระให้ต้องกลับมาดำเนินการเพื่อลดภาษีให้เป็นไปตามที่ได้ผูกพันไว้ นับว่ามีจำนวนน้อยมากเพราะเราเจรจาลดภาษีจากฐานอัตราภาษีตามกฎหมาย (base rate) ไม่ใช่ลดจากฐานอัตราภาษีที่เรียกเก็บในขณะนั้น (applied rate) 4. อำนาจการแข่งขันในตลาดโลกเชื่อกันว่าสำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดของประเทศ โดยประเทศไทยนั้นยึดถือการส่งออกเป็นหลักในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะนี้สถานภาพทางการส่งออกของไทยเป็นอย่างไร เข้มแข็งพอหรือไม่ที่จะสร้างความอยู่รอดและความเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
เศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้นมาภายใต้การพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พิจารณาได้จากการขยายตัวของการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบมูลค่าการค้ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10 ในปี 2504 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.7 โดยเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 46.8 และการนำเข้าร้อยละ 39.9 การส่งออกของไทยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นมาตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ในปี 2539 การส่งออกเริ่มชะลอตัวลงอย่างมาก โดยส่งออกลดลงเป็นปีแรกถึงร้อยละ 1.4 สำหรับปี 2540 การส่งออกกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยขยายตัวร้อยละ 4.3 มีผลจากการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ แต่ในปี 2541 ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2540 ทั้งของประเทศไทยเองและภูมิภาคเอเซีย ทำให้การส่งออกเริ่มลดลงอีกครั้ง โดยปี 2541 ส่งออกได้มูลค่า 54,490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2540 ร้อยละ 6.6 การส่งออกที่ลดลงอย่างมากส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหดตัวลงเช่นกัน ปี 2541 เศรษฐกิจหดตัวลงร้อยละ 10.2 รัฐบาลตระหนักว่า การส่งออกเท่านั้นที่จะเป็นตัวจักรสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ จึงได้พยายามแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคทางการค้า มุ่งส่งเสริมและเร่งรัดการส่งออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น การแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เร่งรัดการคืนภาษี แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดใหม่ จัดคณะผู้แทนการค้าระดับสูงออกไปขายสินค้าในต่างประเทศ เป็นต้น ผลจาการดำเนินการดังกล่าว ประกอบกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศที่มีผลให้กำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น ปี 2542 การส่งออกของไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นมีมูลค่า 58,463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 และยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2543 โดยในระยะ 2 เดือนแรก ส่งออกได้ 11,074 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 สูงถึงร้อยละ 33.5 การส่งออกที่เพิ่มขึ้น ในระยะ 2 เดือนแรกของปี 2543 เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า เช่น สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 เกษตรกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 อุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 แร่และเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 135.7 สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะและอุปกรณ์ เม็ดพลาสติก ยางพารา เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ วงจรพิมพ์ ไดโอดทรานซิสเตอร์ เป็นต้น การส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นทุกตลาดเช่นกัน โดยส่งออกไป สหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 39.0 18.9 และ 33.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในโลกการค้าเสรีที่มีการแข่งขันรุนแรงและมีการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้นทุกรูปแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการค้าในทุกวิถีทาง โดยมีมาตรการที่สำคัญ ดังนี้ 1. เร่งรัดแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออกที่ยังคั่งค้างอยู่ให้สำเร็จและมีผลโดยเร็วโดยเฉพาะปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยรวม ได้แก่ - การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบทั้งระบบ โดยเฉพาะเหล็กและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของสินค้าส่งออกหลายรายการ
-แก้ไขปัญหาสภาพคล่องและกระจายสภาพคล่องอย่างทั่วถึงและพอเพียงให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก โดยเฉพาะระดับกลางและระดับเล็ก -ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ เช่น ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
2. การดูแลด้านการตลาด โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านการรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดเดิมและเพิ่มสัดส่วนการส่งออกในตลาดใหม่ โดยมุ่งเน้นกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสร้างภาพลักษณ์ของประเทศและสินค้าไทย การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Brand Name)การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้า (Distribution Network) ส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (Border Trade) เป็นต้น รวมทั้งเร่งรัดผลักดันธุรกิจบริการที่มีลู่ทางและมีศักยภาพ 3.พัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการกระจายตลาด
4.เน้นนโยบายทีมไทยแลนด์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศโดยให้สายงานที่ดูแลด้านการเมืองและสามารถประสานกับผู้บริหารระดับสูงของต่างประเทศเข้ามาช่วยสายงานด้านการพาณิชย์และสายงานด้านอื่น เพื่อเสริมบทบาทของไทยในต่างประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น
5.สนับสนุนและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) โดยผ่านระบบ internet เพื่อให้มีการค้าที่สะดวกรวดเร็วและกว้างขวางขึ้น
5. อุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือสิ่งที่ประเทศไทยควรยึดถือพึ่งพา เพื่อความอยู่รอดและความเติบโตทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ ท่านคิดว่ามีอะไรบ้าง
จากการที่ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยส่งออกทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม
ด้านการส่งออกสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ พบว่า ข้าว ยางพารา กุ้งสดแช่เย็น อาหารทะเลกระป๋อง เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก สำหรับเนื้อไก่ แม้ว่าประเทศไทยจะมีศักยภาพในการส่งออก แต่ก็ยังประสบปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในเรื่องของมาตรการสุขอนามัย และปัญหาการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า มันสำปะหลังที่คาดว่าจะส่งออกได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหา เนื่องจากต้องพึ่งพาตลาดส่งออกในสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยเฉพาะมันสำปะหลังอัดเม็ดที่ต้องเผชิญกับการปฏิรูปนโยบายการเกษตรของยุโรป CAP Reform 1992 และ CAP Reform 2000 ส่งผลให้การส่งออกยากลำบากมากขึ้น
ในปัจจุบันได้นำประเด็นใหม่ ๆมาเป็นอุปสรรคในทางการค้า ได้แก่ สิ่งแวดล้อม การตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) และบางประเทศสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคอาหารจากธรรมชาติ (Organic food) เป็นต้น
สินค้าอุตสาหกรรมของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปขายในตลาดต่างประเทศมีหลายกลุ่มสินค้า ที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ( เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ฯลฯ ) กลุ่มยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เพราะมีการผลิตมานาน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แรงงานมีทักษะ ประกอบกับมีการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ ทำให้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมาใช้
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสินค้าส่งออกของไทยจะมีศักยภาพในการผลิตและส่งออก แต่ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยบางอย่างที่เป็นอุปสรรคทำให้อุตสาหกรรมนั้นไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เช่น อัตราภาษีวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกของไทยสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอาเซียนและนอกอาเซียน ขาดสภาพคล่อง การพัฒนาเทคโนโลียีการผลิตมีน้อย และข้อกีดกันทางการค้าเกี่ยวกับคุณภาพและสิ่งแวดล้อมจากประเทศผู้นำเข้า
ดังนั้น เพื่อให้มีการเจริญทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และความอยู่รอดของภาคเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ควรมีแนวทางในการปรับตัว ดังนี้
ภาครัฐ
-ต้องมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อประมวลสถานะปัจจุบันของไทยและติดตามความเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางการค้าและกระแสผลักดันในการเปิดเสรี เพื่อเตรียมการรองรับในการเจรจาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยสูงสุด
-ปรับปรุงกฎหมายและมาตรการของไทยให้มีความพร้อมในการป้องกันและตอบรับการใช้นโยบายการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ ที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น กฎหมาย AD/CVD กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช กฎหมายประกันภัย กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ที่อาจส่งผลต่อการค้าในอนาคต เช่น กฎระเบียบการกำกับดูแลการค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ และการคาบริการอื่น ๆ
- ปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรทั้งระบบให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสอดคล้องกับข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และอื่น ๆ
ภาคเอกชน
- ต้องมีความตื่นตัว ติดตามความเคลื่อนไหวและมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับทิศทางการค้าโลกอยู่เสมอ- ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่* ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีการเชื่อมโยงการผลิตภายในประเทศ* พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุน* พัฒนาความรู้ด้านการจัดการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก* พัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ให้มีความรู้และทักษะที่สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ* ปรับปรุงกลยุทธ์ทางการค้า เช่น เจาะขยายตลาด พัฒนาคุณภาพของสินค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด สร้างภาพลักษณ์ หรือ Brand Name ของสินค้าไทย เร่งใช้ประโยชน์จาก E-Commerce ปรับปรุงกฎระเบียบและนโยบายต่าง ๆ ให้เหมาะสมและยืดหยุ่นต่อการประกอบธุรกิจ* ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ปัญหาเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมด้สยการเสริมสร้างความเป็นธรรมและความโปร่งใส
6. เดิมประเทศไทยมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันกับต่างประเทศตรงที่แรงงานถูก และทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่ขณะนี้ ความได้เปรียบดังกล่าวกำลังจะหมดไป ท่านคิดว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างไร
เดิมประเทศไทยมีการขยายการผลิตในอุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบและมีศักยภาพในการส่งออก โดยใช้แรงงานราคาถูกและการแปรรูปที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ แต่ปัจจุบันการเปิดเสรีการค้าทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทไม่สามารถแข่งขันได้ และมีผลกระทบต่อแรงงาน ปัญหาการกีดกันการค้า และขาดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หากประเทศไทยจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จำเป็นต้องดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยมีทิศทาง ดังนี้
มุ่งสู่การผลิตสินค้าระดับกลาง และระดับสูงมากขึ้น เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สินค้าที่ผลิตจะต้องมีการพัฒนารูปแบบ มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี และเครื่องจักรเก่าที่ล้าสมัย รวมทั้งปรับปรุงระบบการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีมาตรฐานคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ลดต้นทุนการผลิต และปรับปรุงการส่งมอบสินค้าให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในยุคการค้าเสรีด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต ปรับลดขั้นตอนในกระบวนการผลิต การบริหารและการจัดการธุรกิจ ยกระดับความรู้ความสามารถของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงแรงงาน พนักงานระดับผู้บังคับบัญชาและผู้ประกอบการ ให้สามารถรับเทคโนโลยีใหม่ ตลอดจนระบบการผลิตแบบใหม่ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม สามารถบริหารธูรกิจให้สามารถปรับตัวในสภาวะการแข่งขันเสรี สร้างพันธมิตรทางการผลิต และการค้ากับธุรกิจทั้งในตลาดต่างประเทศและประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถเจาะและขยายช่องทางการตลาดได้มากขึ้น และเพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทย ปรับไปสู่การผลิตที่ลดมลภาวะจากอุตสาหกรรม ด้วยการจัดเขตอุตสาหกรรมเฉพาะประเภทสำหรับบางอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถจัดระบบบำบัดมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดปริมาณมลพิษ ณ จุดกำเนิด นอกจากจะเป็นผลดีต่อประชาชนและสังคมไทยโดยส่วนรวมแล้ว ยังมีส่วนลดภาระต้นทุนในการจัดการของเสียโรงงานและการเอาใจใส่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งถูกใช้เป็นประเด็นต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญประเด็นหนึ่ง กระจายการผลิตไปสู่ส่วนภูมิภาคและชนบท เพื่อให้มีการจ้างงานรองรับแรงงานที่เคลื่อนย้ายออกไปจากเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตลอดจนเมืองใหญ่ และเป็นแหล่งรายได้เสริมสำหรับแรงงานภาคเกษตรกับสมาชิกของครอบครัวของชนบทเป็นการส่งเสริมให้แรงงานคงอยู่ในชนบท และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของครอบครัวสังคมชนบท อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ไทยควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแยกเป็นอุตสาหกรรมรายสาขา ตามผลการศึกษาเพื่อประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก ของบริษัททีทีไอเอส จำกัด เสนอต่อกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อพฤษภาคม 2541 เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก จำนวน 14 อุตสาหกรรม ดังนี้ - อุตสาหกรรมอาหาร- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง- อุตสาหกรรมสิ่งทอ- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์- อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน-อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ-อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า- อุตสาหกรรมรองเท้าและชิ้นส่วน- อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เซรามิก- อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
7. กระแสโลกาภิวัฒน์ส่งผลอย่างไรต่อสังคมไทยโดยรวมในทัศนะของท่าน
-กระแสโลกาภิวัฒน์เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสาร- กระแสโลกาภิวัฒน์มีทั้งผลดีและผลเสีย เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค- โดยรวมแล้ว ค่านิยม กฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศจะถูกกำหนดโดยสังคมโลก
กระแสโลกาภิวัฒน์ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านสารสนเทศที่สามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ขจัดเขตแดนระหว่างประเทศ ย่อโลกให้เล็กลง โลกาภิวัฒน์โดยตัวของมันเองจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะช่วยให้กระบวนการรับรู้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ โดยธรรมชาติของข้อมูลข่าวสารนั้น ย่อมประกอบด้วยข้อมูลด้านบวกและด้านลบเสมอ ผลจากการรับข้อมูล จึงขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ของผู้รับ โดยสามารถเลือกที่จะรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์หรือเลือกที่จะไม่รับข้อมูลที่ไม่เป็นที่ต้องการ ข่าวสารหรือการกระทำของบุคคลหนึ่ง หรือของสังคมใด ณ จุดหนึ่งของโลก ก็ย่อมจะถูกรับรู้และตีความอย่างรวดเร็วโดยอีกบุคคลหนึ่งหรืออีกสังคมหนึ่งเกือบจะทันที ซึ่งมีนัยสำคัญว่าการกระทำใด ๆ ที่ไม่ถูกต้อง (โดยการตีความของสังคมโลก) จะไม่ถูกยอมรับและอาจถูกต่อต้านอย่างรุนแรง สรุปผลต่อสังคม * สังคมมีความโปร่งใสมากขึ้น ความรับผิดชอบของแต่ละปัจเจกชนต่อสังคมมีความชัดเจน* สังคมจะเรียกร้องมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูงขึ้นตามมาตรฐานของสังคมโลก* การหลั่งไหลเข้ามาของแนวคิดที่ขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยจะเพิ่มสูงขึ้น* การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะในเรื่องใด ย่อมควบคู่ไปกับความไม่แน่นอนเสมอส่งผลให้ความเป็นอยู่ของประชาชนจะมีรูปแบบของการแข่งขันสูง มีความเสี่ยงในการ ดำเนินกิจกรรมเพิ่ม* การบริหารของรัฐจะมีข้อจำกัดมากขึ้น กติการะหว่างประเทศจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการกำหนดนโยบายบริหารของรัฐ
โดยภาพรวมแล้วค่านิยม กฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศจะถูกกำหนดโดยสังคมโลก กระแสโลกาภิวัฒน์จึงเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคขึ้นอยู่กับการพิจารณาเลือกรับ และการสร้างภูมิคุ้มกันตนเองของสังคมไทย 8. ประเทศไทยจะเตรียมคนรุ่นใหม่อย่างไร ( เช่น โดยระบบการศึกษา) เพื่อให้อยู่รอดและก้าวทันกับกระแสโลกาภิวัฒน์)
- เศรษฐกิจพึ่งพาความรู้ (Knowledge-based economy) มีความหมายมากกว่าการปฏิวัติทางข้อมูล (information revolution) หรือ เศรษฐกิจยุคไอที (information society)- ข้อมูล (information) เป็นเพียงปัจจัยการผลิตหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยการผลิตใหม่- การเตรียมคนรุ่นใหม่จะเน้นการพัฒนาความรู้ โดยมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงพื้นฐานสนับสนุน
ความอยูรอดและความสำเร็จในอดีตทั้งในแง่ส่วนบุคคลหรือธุรกิจขึ้นอยู่กับ* ความสามารถในการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดิน ป่าไม้ น้ำมัน เหมืองแร่ สินมีค่า ฯลฯ* ขนาดของการผลิตที่มีขนาดใหญ่* บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลก : บริษัทน้ำมัน (ร็อคกี้ เฟลเลอร์) ความอยู่รอดและความสำเร็จในปัจจุบันขึ้นอยู่กับ* ความสามารถหรืออำนาจในการควบคุมความรู้ (Knowledge)* ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อปรับปรุงเทคโนโลยี* ความสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์* บริาทที่ใหญ่ที่สุดของโลก: บริษัทไมโครซอพท์ ซึ่งมีขนาดโรงงานที่เล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในอดีต ดังนั้น องค์ประกอบของคนรุ่นใหม่ที่จะประสบความสำเร็จในกระแสโลกาภิวัฒน์ จึงจึ้นอยู่กับการพัฒนาความรู้ (knowledge) ของตนเป็นหลัก โดยมีความสามารถที่จะนำข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง จากการใช้ E-Commerce : ผู้ที่จะประสบความสำเร็จใน E-Commerce ไม่ใช่ผู้ที่มีความสารถในการใช้อินเทอร์เนตแต่เพียงประการเดียว แต่หากเป็นผู้ที่มีความรู้ที่จะพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ พัฒนาปัจจัยการผลิตใหม่ ๆ โดยการใช้สื่อกลางทางธุรกิจ (อินเทอร์เนต) ที่มีประสิทธิภาพ การเตรียมคนรุ่นใหม่ของประเทศไทย* สร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาและสังคม ให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรและการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง* ปูพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์ในด้านต่าง ๆ* เตรียมเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-