กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (26 กันยายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงว่า เมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2543 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนนอร์เวย์อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นการตอบแทนการเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศของนาย Knut Vollebaek รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ (ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6-7 มกราคม 2543 โดยมีผลการเยือน ดังนี้
1. การบรรยายทางวิชาการเรื่อง ASEAN Regional Cooperation and Security: Thailand ’s Perspective ที่ The Norwegian Institute of International Affairs (NUPI) ดร.สุรินทร์ฯ ได้บรรยายให้ผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นนักวิชาการนอร์เวย์ในสาขาต่างๆ ทราบถึงพัฒนาการและการปรับตัวของประเทศในภูมิภาคอาเซียนหลังจากที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเหตุการณ์ในติมอร์ตะวันออกที่ได้ส่งผลทำให้อาเซียนมีความร่วมมือในด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพซึ่งถือเป็นประสบการณ์ด้านใหม่ของอาเซียน นอกจากนี้ ดร.สุรินทร์ฯยังได้สรุปการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคโดยเฉพาะบทบาทการเข้ารับหน้าที่ประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASC) และประธานการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ของไทยในช่วงปี 2542-2543 ซึ่งมีความสำเร็จในด้านต่างๆ เช่น การดำเนินนโยบาย Enhanced Interaction การผลักดันการจัดตั้งกลุ่มผู้ประสานงานอาเซียน (ASEAN Troika) และการนำเกาหลีเหนือให้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม ARF ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 และในโอกาสเดียวกันนี้ ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้เข้าพบนาย Sverre Lodgaard ผู้อำนวยการสถาบัน NUPI
2. การหารือกับนาง Anne Kristin Sydnes รัฐมนตรีกิจการการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ ดร.สุรินทร์ฯ ได้แสดงความชื่นชมที่ Norwegian Church Aid (NCA) ได้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานเรื่องปัญหาโรค AIDS ในไทยโดยเฉพาะโครงการพัฒนาชาวเขาในภาคเหนือทางด้านสาธารณสุขพื้นฐาน การส่งเสริมอาชีพและการศึกษา การวางแผนครอบครัว การฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และไทยมีความยินดีที่จะร่วมมือกับนอร์เวย์ต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว และ ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้เน้นให้ฝ่ายนอร์เวย์ทราบถึงการให้ความสำคัญของไทยต่อการพัฒนาสังคมและมนุษย์ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งในการช่วยแก้ไขและป้องกันปัญหาโรค AIDS ในสังคม ซึ่งในขณะนี้ไทยและอาเซียนร่วมกับองค์การสหประชาชาติพยายามที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้เชิญให้ทางการนอร์เวย์พิจารณาส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติด “In Pursuit of A Drug Free ASEAN 2015” ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2543 ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์กร UNDCP (UN International Drug Control Programme) ด้วย นาง Sydnes เห็นว่า โรค AIDS เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศซึ่งนอร์เวย์ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานในประเด็นเรื่องนี้เป็นอย่างมากทั้งความร่วมมือในกรอบทวิภาคีและระหว่างประเทศโดยทางการนอร์เวย์พยายามที่จะระดมทรัพยากรในสาขาต่างๆ ของนอร์เวย์ เช่น ธุรกิจเอกชน กีฬา องค์กรทางศาสนา ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด
3. การพบปะภาคเอกชนของนอร์เวย์ ดร.สุรินทร์ฯ ได้มีโอกาสพบเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสภาหอการค้านอร์เวย์และ นักธุรกิจชั้นนำของนอร์เวย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีกิจการลงทุนในไทย เช่น บริษัทสีโจตัน และ ได้ให้ความมั่นใจต่อภาคเอกชนถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยและเชิญชวนให้นักธุรกิจและ นักท่องเที่ยวนอร์เวย์เดินทางมาไทยให้มากขึ้น
4. การเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีฮาราลด์ ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮาราลด์ ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.สุรินทร์ฯ เข้าเฝ้าฯ ณ พระบรมมหาราชวัง ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้ไปลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติของเจ้าหญิงมาร์ทา ลูอิส พระราชธิดาของสมเด็จพระราชาธิบดี ฮาราลด์ ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และสมเด็จพระราชินีซอนยา แห่งนอร์เวย์ ในวันที่ 22 กันยายน ด้วย 5. การหารือกับนาย Thorbjorn Jagland รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ ดร.สุรินทร์ฯ ได้เชิญนาย Jagland ให้เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศในช่วงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน ซึ่งนาย Jagland ตอบรับคำเชิญดังกล่าวด้วยความยินดี ฝ่ายไทยได้แสดงความชื่นชมที่นอร์เวย์ได้ให้ความสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและ มั่นคงสำหรับการสมัครของ ฯพณฯ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ในขณะเดียวกัน ฯพณ ฯ รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งให้ทราบว่า ไทยยินดีที่จะสนับสนุนนอร์เวย์ในการสมัตรเข้าเป็นสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในวาระปี ค.ศ. 2001-2002 ฝ่ายไทยแจ้งให้ฝ่ายนอร์เวย์ทราบว่า ไทยยินดีที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้าน พลังงานกับนอร์เวย์ ในการนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เชิญชวนให้ฝ่ายนอร์เวย์พิจารณาความเป็นไปได้ในการมาลงทุน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในด้านการพัฒนาทางด้านพลังงานของไทย เช่น ด้านปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะในโครงการพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-กัมพูชาในบริเวณอ่าวไทย ซึ่งฝ่ายนอร์เวย์รับที่จะพิจารณาคำขอของไทยในเรื่องนี้ด้วยดี นาย Jagland แจ้งให้ทราบว่า นอร์เวย์ยินดีที่จะให้ความสนับสนุนไทยในการสมัครเข้าเป็น Partners for Cooperation ของไทยในองค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือ ในยุโรป (OSCE) ดร.สุรินทร์ฯ แจ้งว่า ไทยยินดีที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน ด้านความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) และด้านการกวาดทุ่นระเบิดสังหารบุคคลกับ นอร์เวย์ให้มีความใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งฝ่ายนอร์เวย์ได้แสดงความพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ด้านต่างๆ เหล่านี้กับไทยด้วยดี
6. การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษและสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาไทย-นอร์เวย์ ดร.สุรินทร์ฯ และนาย Jagland ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษและสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาไทย-นอร์เวย์ ซึ่งได้มีการลงนามระหว่าง ดร.สุรินทร์ฯ กับนาย Knut Vollebaek อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ (กันยายน 2540 — มีนาคม 2543) ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ครั้งที่ 1 ที่เมือง Bergen นอร์เวย์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 7. หลังจากการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาฯ ทั้งสองฉบับข้างต้น ดร.สุรินทร์ฯ และนาย Jagland ได้แถลงข่าวร่วมกันต่อสื่อมวลชนนอร์เวย์ โดยเห็นพ้องร่วมกัน ว่า ทั้งสองประเทศได้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด และเห็นว่า การเดินทางมาเยือนนอร์เวย์ของ ดร.สุรินทร์ฯ ในโอกาสนี้ ได้เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้าง ความร่วมมือและความเข้าใจของทั้งสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีให้มีความ แน่นแฟ้นมากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (26 กันยายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงว่า เมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2543 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนนอร์เวย์อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นการตอบแทนการเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศของนาย Knut Vollebaek รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ (ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6-7 มกราคม 2543 โดยมีผลการเยือน ดังนี้
1. การบรรยายทางวิชาการเรื่อง ASEAN Regional Cooperation and Security: Thailand ’s Perspective ที่ The Norwegian Institute of International Affairs (NUPI) ดร.สุรินทร์ฯ ได้บรรยายให้ผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นนักวิชาการนอร์เวย์ในสาขาต่างๆ ทราบถึงพัฒนาการและการปรับตัวของประเทศในภูมิภาคอาเซียนหลังจากที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเหตุการณ์ในติมอร์ตะวันออกที่ได้ส่งผลทำให้อาเซียนมีความร่วมมือในด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพซึ่งถือเป็นประสบการณ์ด้านใหม่ของอาเซียน นอกจากนี้ ดร.สุรินทร์ฯยังได้สรุปการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคโดยเฉพาะบทบาทการเข้ารับหน้าที่ประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASC) และประธานการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ของไทยในช่วงปี 2542-2543 ซึ่งมีความสำเร็จในด้านต่างๆ เช่น การดำเนินนโยบาย Enhanced Interaction การผลักดันการจัดตั้งกลุ่มผู้ประสานงานอาเซียน (ASEAN Troika) และการนำเกาหลีเหนือให้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม ARF ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 และในโอกาสเดียวกันนี้ ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้เข้าพบนาย Sverre Lodgaard ผู้อำนวยการสถาบัน NUPI
2. การหารือกับนาง Anne Kristin Sydnes รัฐมนตรีกิจการการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ ดร.สุรินทร์ฯ ได้แสดงความชื่นชมที่ Norwegian Church Aid (NCA) ได้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานเรื่องปัญหาโรค AIDS ในไทยโดยเฉพาะโครงการพัฒนาชาวเขาในภาคเหนือทางด้านสาธารณสุขพื้นฐาน การส่งเสริมอาชีพและการศึกษา การวางแผนครอบครัว การฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และไทยมีความยินดีที่จะร่วมมือกับนอร์เวย์ต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว และ ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้เน้นให้ฝ่ายนอร์เวย์ทราบถึงการให้ความสำคัญของไทยต่อการพัฒนาสังคมและมนุษย์ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งในการช่วยแก้ไขและป้องกันปัญหาโรค AIDS ในสังคม ซึ่งในขณะนี้ไทยและอาเซียนร่วมกับองค์การสหประชาชาติพยายามที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาเพื่อรณรงค์แก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้เชิญให้ทางการนอร์เวย์พิจารณาส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติด “In Pursuit of A Drug Free ASEAN 2015” ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2543 ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์กร UNDCP (UN International Drug Control Programme) ด้วย นาง Sydnes เห็นว่า โรค AIDS เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศซึ่งนอร์เวย์ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานในประเด็นเรื่องนี้เป็นอย่างมากทั้งความร่วมมือในกรอบทวิภาคีและระหว่างประเทศโดยทางการนอร์เวย์พยายามที่จะระดมทรัพยากรในสาขาต่างๆ ของนอร์เวย์ เช่น ธุรกิจเอกชน กีฬา องค์กรทางศาสนา ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด
3. การพบปะภาคเอกชนของนอร์เวย์ ดร.สุรินทร์ฯ ได้มีโอกาสพบเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสภาหอการค้านอร์เวย์และ นักธุรกิจชั้นนำของนอร์เวย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีกิจการลงทุนในไทย เช่น บริษัทสีโจตัน และ ได้ให้ความมั่นใจต่อภาคเอกชนถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยและเชิญชวนให้นักธุรกิจและ นักท่องเที่ยวนอร์เวย์เดินทางมาไทยให้มากขึ้น
4. การเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีฮาราลด์ ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮาราลด์ ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.สุรินทร์ฯ เข้าเฝ้าฯ ณ พระบรมมหาราชวัง ดร.สุรินทร์ฯ ยังได้ไปลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติของเจ้าหญิงมาร์ทา ลูอิส พระราชธิดาของสมเด็จพระราชาธิบดี ฮาราลด์ ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และสมเด็จพระราชินีซอนยา แห่งนอร์เวย์ ในวันที่ 22 กันยายน ด้วย 5. การหารือกับนาย Thorbjorn Jagland รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ ดร.สุรินทร์ฯ ได้เชิญนาย Jagland ให้เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศในช่วงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน ซึ่งนาย Jagland ตอบรับคำเชิญดังกล่าวด้วยความยินดี ฝ่ายไทยได้แสดงความชื่นชมที่นอร์เวย์ได้ให้ความสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและ มั่นคงสำหรับการสมัครของ ฯพณฯ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ในขณะเดียวกัน ฯพณ ฯ รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งให้ทราบว่า ไทยยินดีที่จะสนับสนุนนอร์เวย์ในการสมัตรเข้าเป็นสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในวาระปี ค.ศ. 2001-2002 ฝ่ายไทยแจ้งให้ฝ่ายนอร์เวย์ทราบว่า ไทยยินดีที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้าน พลังงานกับนอร์เวย์ ในการนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เชิญชวนให้ฝ่ายนอร์เวย์พิจารณาความเป็นไปได้ในการมาลงทุน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในด้านการพัฒนาทางด้านพลังงานของไทย เช่น ด้านปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะในโครงการพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-กัมพูชาในบริเวณอ่าวไทย ซึ่งฝ่ายนอร์เวย์รับที่จะพิจารณาคำขอของไทยในเรื่องนี้ด้วยดี นาย Jagland แจ้งให้ทราบว่า นอร์เวย์ยินดีที่จะให้ความสนับสนุนไทยในการสมัครเข้าเป็น Partners for Cooperation ของไทยในองค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือ ในยุโรป (OSCE) ดร.สุรินทร์ฯ แจ้งว่า ไทยยินดีที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน ด้านความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) และด้านการกวาดทุ่นระเบิดสังหารบุคคลกับ นอร์เวย์ให้มีความใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งฝ่ายนอร์เวย์ได้แสดงความพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ด้านต่างๆ เหล่านี้กับไทยด้วยดี
6. การแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษและสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาไทย-นอร์เวย์ ดร.สุรินทร์ฯ และนาย Jagland ได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษและสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาไทย-นอร์เวย์ ซึ่งได้มีการลงนามระหว่าง ดร.สุรินทร์ฯ กับนาย Knut Vollebaek อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ (กันยายน 2540 — มีนาคม 2543) ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ครั้งที่ 1 ที่เมือง Bergen นอร์เวย์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 7. หลังจากการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารสนธิสัญญาฯ ทั้งสองฉบับข้างต้น ดร.สุรินทร์ฯ และนาย Jagland ได้แถลงข่าวร่วมกันต่อสื่อมวลชนนอร์เวย์ โดยเห็นพ้องร่วมกัน ว่า ทั้งสองประเทศได้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด และเห็นว่า การเดินทางมาเยือนนอร์เวย์ของ ดร.สุรินทร์ฯ ในโอกาสนี้ ได้เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้าง ความร่วมมือและความเข้าใจของทั้งสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีให้มีความ แน่นแฟ้นมากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-