เศรษฐกิจของจังหวัดสตูลในปี 2543 ขยายตัวเล็กน้อยต่อเนื่องจากกลางปีก่อน ทั้งในภาคการค้า การก่อสร้างคึกคักขึ้น ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่เริ่มชะลอลงบ้างในช่วงปลายปี ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่ขึ้น
กับภาคการเกษตร ทั้งการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การทำสวนยางพารา และการทำสวนผลไม้ ซึ่งในปีนี้อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งภาวะด้านราคาและ
การผลิต อย่างไรก็ตามในด้านการทำประมงชะลอลง ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลง เนื่องจากปัญหาอุปสรรคในด้านทรัพยากร และการทำประมง
นอกน่านน้ำไทย
ภาคการเกษตร
ยางพารา ผลผลิตยางพาราในปีนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากพื้นที่ให้ผลมากขึ้น ร้อยละ 6.6 และ
สภาพอากาศเอื้ออำนวย ขณะเดียวกันราคายางพาราที่เกษตรกรจำหน่ายได้สูงขึ้นตามความต้องการของตลาดโลก โดยปีนี้ยางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ย
กิโลกรัมละ 21.13 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 22.1
ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นเช่นกัน จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดผลผลิตปาล์มน้ำมันในปี 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น
176,227.15 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 29.1 ขณะที่ตลาดมีความต้องการน้อยลง ส่งผลให้ราคาผลปาล์มร่วงลดต่ำลงจากปีก่อน
ร้อยละ 51.8 เป็นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.19 บาทในปีนี้
ประมง การทำประมงทะเลในจังหวัดสตูลไม่ขยายตัวเท่าที่ควรดังจะเห็นได้จากปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงขององค์
การสะพานปลาในจังหวัดสตูลปีนี้ มีปริมาณ 14,047 เมตริกตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 23.2 โดยมีมูลค่ารวม 138.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
22.4 เนื่องจากข้อจำกัดของทรัพยากรสัตว์น้ำที่ร่อยหรอลง ประกอบกับการทำประมงในนอกน่านน้ำของประเทศประสบปัญหาข้อตกลงการทำ
ประมงร่วม ทั้งนี้ สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นปลาเป็ดมีปริมาณ 8,415 เมตริกตัน เปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.7 ขณะที่การ
เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดสตูลขยายตัว ราคากุ้งกุลาดำที่สามารถจำหน่ายได้ขยับตัวสูงขึ้นในปีนี้ตามภาวะตลาดโลกซึ่งมีความต้องการซื้อ
อย่างต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงกันมากขึ้น การจำหน่ายกุ้งกุลาดำของเกษตรกรมีทั้งการจำหน่ายให้กับโรงงานแปรรูป
ในจังหวัดสงขลา และการจำหน่ายที่ตลาดสัตว์น้ำมหาชัย โดยราคาจำหน่ายอยู่ในช่วง กิโลกรัมละ 285-375 บาท ผลผลิตกุ้งกุลาดำเป็นกุ้ง
ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เนื่องจากปัญหาพันธุ์กุ้งด้อยคุณภาพทำให้ลูกกุ้งโตช้าและเกษตรกรลดระยะเวลาการเลี้ยงเพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก
การเกิดโรคระบาด
นอกภาคการเกษตร
การค้า ในระยะปี 2543 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่
อยู่ในช่วงซบเซาทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น โดยในภาคการค้าและการลงทุนภายในจังหวัดได้รับผลเช่นเดียวกัน จะเห็นได้จากการค้า
ยานพาหนะในจังหวัดสตูลในปีนี้มีการจดทะเบียนรถใหม่ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 108 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
80.0 ส่วนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 319 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.1 และรถจักรยานยนต์ 4,116 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4
ด้านการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว อย่างไรก็ตามมูลค่าการค้าที่ผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดสตูลยังมีไม่มากนัก โดยการส่งสินค้า
ออกมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 25.2 ล้านบาท และการนำเข้า 23.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 19.7 และ 29.6 ตามลำดับ
การลงทุน กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดสตูลปีนี้จำนวน 3 ราย เงินลงทุนรวม 196.7 ล้านบาท และมี
การจ้างงาน 415 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีการส่งเสริมการ ลงทุนเพียง 1 ราย เงินลงทุนรวม 60.0 ล้านบาท และจ้างงาน 72 คน
ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลของธุรกิจรายใหม่ในจังหวัด 28 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 51.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
33.3 และ 22.3 ตามลำดับ
การลงทุนในด้านธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดสตูลฟื้นตัว ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในเขตชุมชน
จากรายงานของเทศบาลในจังหวัดสตูลพื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 9,104 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.2 จาก
ปีก่อน เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 6,113 ตารางเมตร ที่เหลือเป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ 2,826 ตารางเมตร เพื่อการบริการ
138 ตารางเมตร และอื่น ๆ
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดสตูล ในปีนี้มีการประกาศตำแหน่งงานว่างทั้งสิ้น 2,575 อัตรา เปรียบ
เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.8 และมีการบรรจุงาน 961 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 ส่วนผู้มาสมัครงานมีจำนวน 2,400 ใกล้เคียงกับปีก่อน
การคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดสตูลปี 2543 ชะลอลงเล็กน้อยโดยมีจำนวน 2,437.3
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.1 จากปีก่อน ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีมีจำนวนรวม 123.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.8 จากปีก่อน ในจำนวน
นี้เป็นภาษีสรรพากร 119.7 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 1.4 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 2.7 ล้านบาท
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของจังหวัดสตูล ขยายตัว เนื่องจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ผู้แทน
ธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดสตูลมีเงินสดรับเข้า 1,973.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 ขณะที่มีเงินสดจ่าย 2,960.2 ล้านบาท ลดลง
จากปีก่อนร้อยละ 0.9 ขณะที่การโอนเงินระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กับผู้แทนฯ ปีนี้มีการโอนเงินออก 5,651.8 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.5 ส่วนการโอนเงินเข้า 6,949.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
การใช้เช็คในจังหวัดสตูลชะลอตัวลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการใช้วงเงินเบิกเกินบัญชี จำนวนเช็คที่ผ่านสำนัก
หักบัญชีในจังหวัดสตูลปีนี้ 55,699 ฉบับ ลดลงจาก ปีก่อนร้อยละ 2.8 เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,861.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ เช็คคืน
ในจังหวัดสตูลมีสัดส่วนลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย โดยมีสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมร้อยละ 2.3 ลดลงจากปีก่อนซึ่งมีสัดส่วน
ร้อยละ 2.7
ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสตูลขยายตัวจากปีก่อน ณ สิ้นเดือนธันวาคมยอดคงค้าง 3,488.3 ล้านบาท เปรียบเทียบ
กับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 3,057.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จำแนกเป็นเงินฝากประจำ 2,160.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.2 เงินฝากออมทรัพย์ 1,226.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 และเงินฝากกระแสรายวัน 101.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ส่วนการ
ให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสตูลลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงทำให้ความต้องการกู้สินเชื่อไม่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันธนาคาร
พาณิชย์ยังคงพิจารณาการปล่อยกู้อย่างเข้มงวด ส่งผลให้ยอดคงค้างเงินสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2,803.5 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 9.7 จำแนกได้เป็นเงินให้กู้ 1,676.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.0 เงินเบิกเกินบัญชี 957.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.2 และเงินกู้
จากตั๋วเงินและอื่น ๆ 169.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.2 โดยมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากร้อยละ 80.4 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่
มีสัดส่วนร้อยละ 101.5 เมื่อพิจารณาเงินสินเชื่อจำแนกตามวัตถุประสงค์ พบว่าสินเชื่อในจังหวัดสตูลส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการค้าปลีกค้าส่ง
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล และ สินเชื่อเกษตร 986.3 ล้านบาท 593.1 ล้านบาท และ 550.2 ล้านบาท ตามลำดับ
ด้านการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอื่น ๆ ไม่ขยายตัวเช่นเดียวกัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรปล่อยสินเชื่อ
ทั้งสิ้น 549.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.7 ขณะที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปล่อยสินเชื่อในจังหวัดสตูลจำนวน 4 ราย
เป็นเงินสินเชื่อรวม 12.4 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 5 ราย เงินสินเชื่อรวม 103.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 และ 88.0 ตามลำดับ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสตูลในปี 2544
เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดสตูลในปี 2544 ยังคงขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรเป็นสำคัญ คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปีนี้
เพราะแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของทางการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้
ภาวะการค้าและการผลิตสินค้าสัตว์น้ำจะขยายตัว โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งกุลาดำราคาผลผลิตกุ้งที่ยังอยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะ
เลี้ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลผลิตกุ้งจากประเทศผู้ผลิตรายใหม่ อาทิ เวียดนาม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยง
อาจทำให้ภาวะราคาเกิดความผันผวนตามสภาพการแข่งขันในตลาดโลก
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดสตูล
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 22.76 17.31 21.13 22.1
ปาล์มร่วงคละ 5.01 4.54 2.19 -51.8
1.2 ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 17,281 18,282 14,047 -23.2
มูลค่า (ล้านบาท) 287.9 178 138.2 -22.4
ปลาเป็ด ปริมาณ (เมตริกตัน) 8,294 7,599 8,415 10.7
มูลค่า (ล้านบาท) 29.5 23.3 21 -9.9
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) 332.67 340 2.2
2. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 24,266 21,735 25,624 17.9
มาเลเซีย 16,115 12,196 13,769 12.9
สิงคโปร์ 198 129 217 68.2
ชาติอื่น ๆ 7,953 9,410 11,638 23.7
3. การค้า
3.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 34 60 108 80
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 184 204 319 56.4
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 3,387 2,700 4,116 52.4
3.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 63.5 31.4 25.2 -19.7
มูลค่าการนำเข้า 23.4 32.8 23.1 -29.6
4. การลงทุน
4.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 0 1 3 200
เงินลงทุน (ล้านบาท) 0 60 196.7 227.8
การจ้างงาน (คน) 0 72 415 476.4
4.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 16 21 28 33.3
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 16 42.1 51.5 22.3
4.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 11,818 5,225 9,104 74.2
ที่อยู่อาศัย 4,369 3,911 6,113 56.3
การพาณิชย์ 6,501 240 2,826 1,077.50
การบริการ 948 450 138 -69.3
อื่น ๆ - 624 27 -95.7
5. ค่าจ้างและการจัดหางาน
5.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
5.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 3,330 1,632 2,575 57.8
ผู้สมัครงาน (คน) 1,542 2,392 2,400 0.3
การบรรจุงาน (คน) 639 793 961 21.2
6. การคลัง (ล้านบาท)
6.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 2,341.50 2,540.80 2,437.30 -4.1
6.2 การจัดเก็บภาษีอากร 153.7 131.4 123.8 -5.8
สรรพากร 151.4 126.8 119.7 -5.6
สรรพสามิต 0.3 0.9 1.4 55.6
ศุลกากร 2 3.7 2.7 -27
7. การเงิน
7.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 1,910.90 1,513.60 1,973.50 30.4
เงินสดจ่าย 2,919.90 2,986.80 2,960.20 -0.9
7.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 5,468.40 5,623.40 5,651.80 0.5
เงินโอนเข้า 6,742.00 6,603.80 6,949.20 5.2
7.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 62,591 57,304 55,699 -2.8
มูลค่า (ล้านบาท) 4,071.50 2,962.60 2,861.80 -3.4
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 3.2 2.7 2.3
7.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 10 10 10 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 3,073.60 3,057.80 3,488.30 14.1
กระแสรายวัน 64.7 96.1 101.6 5.7
ออมทรัพย์ 745.6 828.1 1,226.60 48.1
ประจำ 2,263.20 2,133.60 2,160.00 1.2
อื่น ๆ 0.1 0 0.1
สินเชื่อ (ล้านบาท) 3,399.40 3,103.30 2,803.50 -9.7
เงินเบิกเกินบัญชี 1,425.60 1,199.80 957.3 -20.2
เงินให้กู้ 1,633.20 1,693.60 1,676.70 -1
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 340.6 209.9 169.5 -19.2
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 550.3 589.9 550.2 -6.7
เหมืองแร่ 31.9 22.8 31.2 36.8
การอุตสาหกรรม 577.9 319.2 290.8 -8.9
การรับเหมาก่อสร้าง 156.6 151.9 150 -1.3
การค้าส่งออก 1.9 1.5 12.8 753.3
การค้าปลีกค้าส่ง 1,118.10 1,039.30 986.3 -5.1
ธุรกิจการเงิน 10.9 1 0.9 -10
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 72.5 67.6 56.6 -16.3
สาธารณูปโภค 13.5 22.9 18.1 -21
การบริการ 153 289.3 284.1 -1.8
การบริโภคส่วนบุคคล 712.8 597.9 593.1 -0.8
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 110.6 101.5 80.4
7.5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 518.4 540.4 549.6 1.7
7.6 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 2 5 4 -20
สินเชื่อ (ล้านบาท) 5 103 12.4 88
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
เนื่องจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่เริ่มชะลอลงบ้างในช่วงปลายปี ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่ขึ้น
กับภาคการเกษตร ทั้งการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การทำสวนยางพารา และการทำสวนผลไม้ ซึ่งในปีนี้อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งภาวะด้านราคาและ
การผลิต อย่างไรก็ตามในด้านการทำประมงชะลอลง ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ลดลง เนื่องจากปัญหาอุปสรรคในด้านทรัพยากร และการทำประมง
นอกน่านน้ำไทย
ภาคการเกษตร
ยางพารา ผลผลิตยางพาราในปีนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากพื้นที่ให้ผลมากขึ้น ร้อยละ 6.6 และ
สภาพอากาศเอื้ออำนวย ขณะเดียวกันราคายางพาราที่เกษตรกรจำหน่ายได้สูงขึ้นตามความต้องการของตลาดโลก โดยปีนี้ยางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ย
กิโลกรัมละ 21.13 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 22.1
ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นเช่นกัน จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดผลผลิตปาล์มน้ำมันในปี 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น
176,227.15 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 29.1 ขณะที่ตลาดมีความต้องการน้อยลง ส่งผลให้ราคาผลปาล์มร่วงลดต่ำลงจากปีก่อน
ร้อยละ 51.8 เป็นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.19 บาทในปีนี้
ประมง การทำประมงทะเลในจังหวัดสตูลไม่ขยายตัวเท่าที่ควรดังจะเห็นได้จากปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงขององค์
การสะพานปลาในจังหวัดสตูลปีนี้ มีปริมาณ 14,047 เมตริกตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 23.2 โดยมีมูลค่ารวม 138.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
22.4 เนื่องจากข้อจำกัดของทรัพยากรสัตว์น้ำที่ร่อยหรอลง ประกอบกับการทำประมงในนอกน่านน้ำของประเทศประสบปัญหาข้อตกลงการทำ
ประมงร่วม ทั้งนี้ สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นปลาเป็ดมีปริมาณ 8,415 เมตริกตัน เปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.7 ขณะที่การ
เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในจังหวัดสตูลขยายตัว ราคากุ้งกุลาดำที่สามารถจำหน่ายได้ขยับตัวสูงขึ้นในปีนี้ตามภาวะตลาดโลกซึ่งมีความต้องการซื้อ
อย่างต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงกันมากขึ้น การจำหน่ายกุ้งกุลาดำของเกษตรกรมีทั้งการจำหน่ายให้กับโรงงานแปรรูป
ในจังหวัดสงขลา และการจำหน่ายที่ตลาดสัตว์น้ำมหาชัย โดยราคาจำหน่ายอยู่ในช่วง กิโลกรัมละ 285-375 บาท ผลผลิตกุ้งกุลาดำเป็นกุ้ง
ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เนื่องจากปัญหาพันธุ์กุ้งด้อยคุณภาพทำให้ลูกกุ้งโตช้าและเกษตรกรลดระยะเวลาการเลี้ยงเพื่อป้องกันความเสี่ยงจาก
การเกิดโรคระบาด
นอกภาคการเกษตร
การค้า ในระยะปี 2543 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่
อยู่ในช่วงซบเซาทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น โดยในภาคการค้าและการลงทุนภายในจังหวัดได้รับผลเช่นเดียวกัน จะเห็นได้จากการค้า
ยานพาหนะในจังหวัดสตูลในปีนี้มีการจดทะเบียนรถใหม่ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 108 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
80.0 ส่วนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 319 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.1 และรถจักรยานยนต์ 4,116 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4
ด้านการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว อย่างไรก็ตามมูลค่าการค้าที่ผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดสตูลยังมีไม่มากนัก โดยการส่งสินค้า
ออกมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 25.2 ล้านบาท และการนำเข้า 23.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 19.7 และ 29.6 ตามลำดับ
การลงทุน กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดสตูลปีนี้จำนวน 3 ราย เงินลงทุนรวม 196.7 ล้านบาท และมี
การจ้างงาน 415 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีการส่งเสริมการ ลงทุนเพียง 1 ราย เงินลงทุนรวม 60.0 ล้านบาท และจ้างงาน 72 คน
ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลของธุรกิจรายใหม่ในจังหวัด 28 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 51.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
33.3 และ 22.3 ตามลำดับ
การลงทุนในด้านธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดสตูลฟื้นตัว ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในเขตชุมชน
จากรายงานของเทศบาลในจังหวัดสตูลพื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 9,104 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.2 จาก
ปีก่อน เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 6,113 ตารางเมตร ที่เหลือเป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ 2,826 ตารางเมตร เพื่อการบริการ
138 ตารางเมตร และอื่น ๆ
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดสตูล ในปีนี้มีการประกาศตำแหน่งงานว่างทั้งสิ้น 2,575 อัตรา เปรียบ
เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.8 และมีการบรรจุงาน 961 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 ส่วนผู้มาสมัครงานมีจำนวน 2,400 ใกล้เคียงกับปีก่อน
การคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดสตูลปี 2543 ชะลอลงเล็กน้อยโดยมีจำนวน 2,437.3
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.1 จากปีก่อน ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีมีจำนวนรวม 123.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.8 จากปีก่อน ในจำนวน
นี้เป็นภาษีสรรพากร 119.7 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 1.4 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 2.7 ล้านบาท
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของจังหวัดสตูล ขยายตัว เนื่องจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ผู้แทน
ธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดสตูลมีเงินสดรับเข้า 1,973.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 ขณะที่มีเงินสดจ่าย 2,960.2 ล้านบาท ลดลง
จากปีก่อนร้อยละ 0.9 ขณะที่การโอนเงินระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กับผู้แทนฯ ปีนี้มีการโอนเงินออก 5,651.8 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.5 ส่วนการโอนเงินเข้า 6,949.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
การใช้เช็คในจังหวัดสตูลชะลอตัวลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการใช้วงเงินเบิกเกินบัญชี จำนวนเช็คที่ผ่านสำนัก
หักบัญชีในจังหวัดสตูลปีนี้ 55,699 ฉบับ ลดลงจาก ปีก่อนร้อยละ 2.8 เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,861.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ เช็คคืน
ในจังหวัดสตูลมีสัดส่วนลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย โดยมีสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมร้อยละ 2.3 ลดลงจากปีก่อนซึ่งมีสัดส่วน
ร้อยละ 2.7
ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสตูลขยายตัวจากปีก่อน ณ สิ้นเดือนธันวาคมยอดคงค้าง 3,488.3 ล้านบาท เปรียบเทียบ
กับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 3,057.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จำแนกเป็นเงินฝากประจำ 2,160.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.2 เงินฝากออมทรัพย์ 1,226.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 และเงินฝากกระแสรายวัน 101.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ส่วนการ
ให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสตูลลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงทำให้ความต้องการกู้สินเชื่อไม่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันธนาคาร
พาณิชย์ยังคงพิจารณาการปล่อยกู้อย่างเข้มงวด ส่งผลให้ยอดคงค้างเงินสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2,803.5 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 9.7 จำแนกได้เป็นเงินให้กู้ 1,676.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.0 เงินเบิกเกินบัญชี 957.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.2 และเงินกู้
จากตั๋วเงินและอื่น ๆ 169.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.2 โดยมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากร้อยละ 80.4 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่
มีสัดส่วนร้อยละ 101.5 เมื่อพิจารณาเงินสินเชื่อจำแนกตามวัตถุประสงค์ พบว่าสินเชื่อในจังหวัดสตูลส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการค้าปลีกค้าส่ง
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล และ สินเชื่อเกษตร 986.3 ล้านบาท 593.1 ล้านบาท และ 550.2 ล้านบาท ตามลำดับ
ด้านการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอื่น ๆ ไม่ขยายตัวเช่นเดียวกัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรปล่อยสินเชื่อ
ทั้งสิ้น 549.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.7 ขณะที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปล่อยสินเชื่อในจังหวัดสตูลจำนวน 4 ราย
เป็นเงินสินเชื่อรวม 12.4 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 5 ราย เงินสินเชื่อรวม 103.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 และ 88.0 ตามลำดับ
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสตูลในปี 2544
เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดสตูลในปี 2544 ยังคงขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรเป็นสำคัญ คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปีนี้
เพราะแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของทางการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้
ภาวะการค้าและการผลิตสินค้าสัตว์น้ำจะขยายตัว โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งกุลาดำราคาผลผลิตกุ้งที่ยังอยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะ
เลี้ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลผลิตกุ้งจากประเทศผู้ผลิตรายใหม่ อาทิ เวียดนาม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยง
อาจทำให้ภาวะราคาเกิดความผันผวนตามสภาพการแข่งขันในตลาดโลก
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดสตูล
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 22.76 17.31 21.13 22.1
ปาล์มร่วงคละ 5.01 4.54 2.19 -51.8
1.2 ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 17,281 18,282 14,047 -23.2
มูลค่า (ล้านบาท) 287.9 178 138.2 -22.4
ปลาเป็ด ปริมาณ (เมตริกตัน) 8,294 7,599 8,415 10.7
มูลค่า (ล้านบาท) 29.5 23.3 21 -9.9
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) 332.67 340 2.2
2. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 24,266 21,735 25,624 17.9
มาเลเซีย 16,115 12,196 13,769 12.9
สิงคโปร์ 198 129 217 68.2
ชาติอื่น ๆ 7,953 9,410 11,638 23.7
3. การค้า
3.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 34 60 108 80
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 184 204 319 56.4
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 3,387 2,700 4,116 52.4
3.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 63.5 31.4 25.2 -19.7
มูลค่าการนำเข้า 23.4 32.8 23.1 -29.6
4. การลงทุน
4.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 0 1 3 200
เงินลงทุน (ล้านบาท) 0 60 196.7 227.8
การจ้างงาน (คน) 0 72 415 476.4
4.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 16 21 28 33.3
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 16 42.1 51.5 22.3
4.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 11,818 5,225 9,104 74.2
ที่อยู่อาศัย 4,369 3,911 6,113 56.3
การพาณิชย์ 6,501 240 2,826 1,077.50
การบริการ 948 450 138 -69.3
อื่น ๆ - 624 27 -95.7
5. ค่าจ้างและการจัดหางาน
5.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
5.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 3,330 1,632 2,575 57.8
ผู้สมัครงาน (คน) 1,542 2,392 2,400 0.3
การบรรจุงาน (คน) 639 793 961 21.2
6. การคลัง (ล้านบาท)
6.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 2,341.50 2,540.80 2,437.30 -4.1
6.2 การจัดเก็บภาษีอากร 153.7 131.4 123.8 -5.8
สรรพากร 151.4 126.8 119.7 -5.6
สรรพสามิต 0.3 0.9 1.4 55.6
ศุลกากร 2 3.7 2.7 -27
7. การเงิน
7.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 1,910.90 1,513.60 1,973.50 30.4
เงินสดจ่าย 2,919.90 2,986.80 2,960.20 -0.9
7.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 5,468.40 5,623.40 5,651.80 0.5
เงินโอนเข้า 6,742.00 6,603.80 6,949.20 5.2
7.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 62,591 57,304 55,699 -2.8
มูลค่า (ล้านบาท) 4,071.50 2,962.60 2,861.80 -3.4
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 3.2 2.7 2.3
7.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 10 10 10 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 3,073.60 3,057.80 3,488.30 14.1
กระแสรายวัน 64.7 96.1 101.6 5.7
ออมทรัพย์ 745.6 828.1 1,226.60 48.1
ประจำ 2,263.20 2,133.60 2,160.00 1.2
อื่น ๆ 0.1 0 0.1
สินเชื่อ (ล้านบาท) 3,399.40 3,103.30 2,803.50 -9.7
เงินเบิกเกินบัญชี 1,425.60 1,199.80 957.3 -20.2
เงินให้กู้ 1,633.20 1,693.60 1,676.70 -1
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 340.6 209.9 169.5 -19.2
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 550.3 589.9 550.2 -6.7
เหมืองแร่ 31.9 22.8 31.2 36.8
การอุตสาหกรรม 577.9 319.2 290.8 -8.9
การรับเหมาก่อสร้าง 156.6 151.9 150 -1.3
การค้าส่งออก 1.9 1.5 12.8 753.3
การค้าปลีกค้าส่ง 1,118.10 1,039.30 986.3 -5.1
ธุรกิจการเงิน 10.9 1 0.9 -10
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 72.5 67.6 56.6 -16.3
สาธารณูปโภค 13.5 22.9 18.1 -21
การบริการ 153 289.3 284.1 -1.8
การบริโภคส่วนบุคคล 712.8 597.9 593.1 -0.8
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 110.6 101.5 80.4
7.5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 518.4 540.4 549.6 1.7
7.6 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 2 5 4 -20
สินเชื่อ (ล้านบาท) 5 103 12.4 88
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-