ปาฐกถา
เรื่อง
"SMEs กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย"
โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
6 สิงหาคม 2544
____________________________
ท่านผู้บริหารและท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมมีความยินดีที่ได้รับเกียรติมาบรรยายในหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผมเชื่อว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายหลักก็คือการสร้างและพัฒนา SMEs ขึ้นมาให้เป็นรากฐานใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคตข้างหน้า ความจริง SMEs ไม่ได้เป็นแนวความคิดใหม่แต่ประการใด เพียงแต่ว่าเป็นสิ่งที่ถูกละเลยและขาดการให้ความสำคัญในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานับสิบ ๆ ปี ถูกละเลยด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ ทางการเมืองก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญเพราะว่าการเอาใจใส่ธุรกิจรายใหญ่นั้นมันได้ประโยชน์มากกว่า เห็นผลทันตาเร็วกว่าและบางครั้งก็ได้มีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันชัดเจนกว่าแต่ถ้าเรามองไปข้างหน้าเราจะเห็นชัดเจนว่าถ้าขาดการสร้าง SMEs รายใหม่ขึ้นมาก็เหมือนประเทศขาดพลังหรือขาดกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาวข้างหน้า เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศแต่ละประเทศจะมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่บริษัท เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นในขณะเราที่ตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมาด้วย motto ใหม่ที่ว่า "คิดใหม่ ทำใหม่" นั้น เรามองว่าประเทศจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ต้องมี engine of growth ที่กว้างพอใหญ่พอที่จะช่วยกันผลักดันให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้
ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ประเทศประสบภาวะวิกฤต บริษัทใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะยังอ่อนแอ โดยสัดส่วนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยล้วนแล้วแต่แทบจะอัมพาตอัมพฤกษ์ด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นเราก็เลยมองว่าเราจะเอาเรื่องของ SMEs นี้แหละเป็นหัวหอกในการรุกเชิงการทำ campaign หาเสียง และอนาคตของเขาฐานเสียงจะไม่เหลือเลยแต่ถ้าคุณรุกก่อนและสามารถทำให้ SMEs เติบโตขึ้นมาได้ ฐานเสียงทั่วประเทศจะเป็นของไทยรักไทยและถ้าพรรคการเมืองไหนไม่โดดเข้ามา พรรคการเมืองเหล่านั้นจะตกขบวนทันที นี่คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาและประกาศออกมาเมื่อประมาณ 2 ปีเศษที่เราตั้งพรรคขึ้นมา และผมก็ได้มีโอกาสกราบเรียนกับทางพรรคไทยรักไทยว่า ไม่มีประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศใดที่เศรษฐกิจยืนอยู่เพียงไม่กี่บริษัท ประเทศที่ยิ่งพัฒนายิ่งมี SMEs มากที่สุด ท่านดูได้ไม่ว่า สหรัฐอเมริกา ไม่ว่าญี่ปุ่น ไม่ว่าฮ่องกง ไม่ว่าสิงคโปร์ SMEs ทั้งสิ้น ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทขนาดเล็กขนาดกลางที่มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ฉะนั้นเป้าหมายของคณะทำงานชุดนี้ก็คือว่า จะทำอย่างไรที่จะให้มีการสร้าง SMEs ใหม่ๆ ขึ้นมาในอนาคตข้างหน้า
พอพูดถึงประเด็นนี้ก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า SMEs คืออะไร ก่อนที่เราจะประกาศนโยบายเกี่ยวกับ SMEs นั้น เมื่อพูดถึง SMEs คนส่วนใหญ่จะคิดถึงผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั่วประเทศ แต่มันไม่ใช่เพียงแค่นั้น พรรคการเมืองส่วนใหญ่ ข้าราชการกระทรวงต่าง ๆ ส่วนใหญ่มองว่า SMEs ก็คือ บริษัทที่อยู่ในลักษณะ ของ supporting industry คือเป็นดาวบริวารที่คอยผลิตชิ้นส่วน อะไหล่หรือ spare part ให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ผมถือว่าเป็นดาวฤกษ์ เช่น ถ้าหากอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นดาวฤกษ์ ผู้ผลิต spare part ชิ้นส่วนทั้งหลายก็คือ SMEs ไอ้นั้นถูกต้องและอันนั้นเป็นสิ่งที่ตลอดเวลา 10-20 ปีที่ผ่านมารัฐบาลพยายามที่จะสร้าง supporting industry ที่แข็งแกร่งขึ้นมา เพื่อเป็นรากฐานที่เข้มแข็งสำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นั่นคือกลุ่มหนึ่ง แต่เมื่อรัฐบาลชุดนี้ขึ้นมา SMEs อีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือสิ่งที่เราเรียกกันว่า stand alone SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ที่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองและติดต่อกับตลาดโดยตรงโดยไม่ต้องพึ่งพาบริษัทขนาดใหญ่ ในอดีตบริษัทเหล่านี้มีอยู่ค่อนข้างน้อย แต่บริษัทที่ค่อนข้างน้อยเหล่านี้ได้พิสูจน์ตัวเองว่าเมื่อยามประเทศมีวิกฤตการณ์ บริษัทเหล่านี้กลับสามารถทำกำไรได้สูงและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว กระผมและทีมงานของพรรคไทยรักไทยในขณะนั้นได้ออกไปทำการสำรวจ พบว่ากลุ่มบริษัทเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีฐานตลาดที่เข้มแข็งของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่อยู่ใน Dollar Zone หรือตลาดส่งออกเป็นสำคัญ ประเภทของธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่ในธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่มีอยู่ทั้งในอุตสาหกรรมที่อาศัยทักษะ หรือที่ผมเรียกว่า skill driven เป็นหลักเป็นต้น บ้างก็อยู่ในอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร บ้างก็อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ craft ศิลปะหัตถกรรม และล่าสุดเมื่อกี้ผมนั่งประชุมอยู่ที่บ้านพิษณุโลก เราพูดถึง SMEs ที่ทำเครื่องดื่มในชนบท เป็นเครื่องดื่มที่หมักจากผลไม้ และจำหน่ายสู่ตลาดโลก เป็นต้น
กลุ่มธุรกิจเหล่านี้แม้ว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก แต่ความคล่องตัวของเขากับความสามารถทะลุตลาดโลก ทำให้เขาสามารถยืนอยู่ได้และได้กำไร แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะมีปัญหา ผมยังจำได้ เรามีการจัด SMEs Exhibition ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อประมาณ 2 ปีมาแล้ว บางบริษัททำข้าวกระป๋องใส่เข้าไมโครเวฟ กดปุ่ม ข้าวจะสุกได้ที่พอดี จำหน่ายในตลาดโลก บริษัทนี้ขณะนี้มีสินค้าโชว์อยู่ที่ Harrods อังกฤษ มีผู้ประกอบการบางรายใช้เวลา 3-4 ปีในการคิดค้นทำมะขามอัดเม็ดที่ไม่ให้ละลายในมือทำเหมือนกับหมากฝรั่งชิกเคร็ท packaging ใหม่ ขณะที่ส่งตลาดโลก บริษัทบางบริษัท เช่น เชรียง ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงจำหน่ายในตลาดโลก เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่เราจะชี้ให้เห็น กลุ่มนี้คือกลุ่มที่การแข่งขันทางธุรกิจเริ่มต้นที่ concept ของแนวคิด ทำสินค้าให้ได้คุณภาพและถูกต้องตามรสนิยมของตลาดโลก และพยายามหาตลาดด้วยตนเอง ทีละขั้นทีละตอน และเขาก็ค่อยๆเติบโตขึ้นมา นี่คือกลุ่มที่ 2 ที่เราคิดว่าเป็น SMEs ที่มีความสำคัญยิ่ง
ในอนาคตจะมี SMEs กลุ่มใหญ่ๆ อีกกลุ่มหนึ่งที่เราเรียกว่าวิสาหกิจชุมชน เป็นลักษณะวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นมาในชนบท ผลิตสินค้าหรือบริการในท้องถิ่น จากการร่วมมือร่วมใจของประชาชนในภูมิภาคหรือในท้องถิ่นนั้นๆ สร้างสินค้าเหล่านี้ขึ้นมา รัฐบาลจะไปให้ความช่วยเหลือและให้มีการช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อให้สินค้าเหล่านี้สามารถผลิตขึ้นมา เริ่มด้วยการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคภายในชุมชน เมื่อมีส่วนเหลือก็เริ่มจำหน่ายไปชุมชนอื่น และถ้าผลิตสินค้าได้ดีขึ้นๆ วันหนึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับตลาดโลกได้ทันทีโดยผ่านอินเตอร์เน็ต อันนี้เป็นนโยบายที่เรากำลังจะใส่เข้าไปใน phase ต่อไป ฉะนั้นเมื่อพูดถึง SMEs มันไม่ใช่ร้านก๋วยเตี๋ยว หรือผู้ประกอบการรายย่อย แต่มันจะมีความหลากหลายในพื้นฐานของมันขึ้นอยู่กับว่า ณ แต่ละช่วงเวลานั้น SMEs ประเภทใดที่จะมีศักยภาพและมีโอกาสก่อนคนอื่น นี่คือ SMEs ในความหมายของพรรคไทยรักไทย ฉะนั้นคำว่าขนาด 200 ล้าน ขนาด 100 ล้านไม่มีความสำคัญเลย ผมไม่เคยสนใจในกฎระเบียบหยุมหยิมเหล่านี้ แต่ SMEs ในความหมายของผมก็คือว่า เล็ก คล่อง มีแนวคิด มีนวัตกรรม มี innovation มี flexibility มีความยืดหยุ่นสูง ปรับตัวได้เร็วกับสิ่งที่ตลาดต้องการ นั่นคือ SMEs SMEs ไม่ใช่บอกว่ามีทุนจดทะเบียน 10 ล้าน 20 ล้าน ยอดขาย 200 ล้าน อันนั้นไม่ make sense อะไรเลยในสายตาของผม นั่นเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ในเชิงราชการ
ฉะนั้นเมื่อเราทำความเข้าใจในขั้นตอนอันนี้ เราก็มาดูว่าถ้าเป็นอย่างนั้นทำไม SMEs เหล่านี้ถึงไม่ได้รับการ promote เท่าที่ควรในอดีตที่ผ่านมาและมีจำนวนอยู่ไม่มากนัก เหตุผลสำคัญก็คือว่า ในอดีตโลกของ SMEs นั้นเกิดยาก เกิดยากเพราะอะไร มีปรมาจารย์ท่านหนึ่ง ผมขอ quote ชื่อก็แล้วกัน เอาวิธีการของท่านมาอธิบายสิ่งเหล่านี้ Michael Porter ก็แล้วกัน ที่พวกเราฮือฮากันในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจะใช้คำศัพท์ของ Michael Porter มาอธิบาย Michael Porter ที่เป็นข่าวนั้นเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ที่ผมเรียกว่า เศรษฐศาสตร์สาย transaction cost เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เน้นในเชิงของการพูดถึงเรื่องของ entry barriers หรือสิ่งกีดขวางการเข้ามาในอุตสาหกรรม นักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ใช้ทฤษฎีบทนี้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงเชิงแข่งขัน ว่าบริษัทที่มีขนาดใหญ่นั้นสามารถสร้างสิ่งกีดขวางปิดกั้นไม่ให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางเข้ามามีอำนาจในอุตสาหกรรมได้ สิ่งกีดขวางเหล่านี้ประกอบไปด้วย 1.สิ่งกีดขวางในเชิงของเงินทุน เงินทุนมีไม่มาก อย่าหวังเข้ามาแข่งขัน อันนี้เห็นตัวอย่างได้ชัดเจน 2. สิ่งกีดขวางในเชิงของ channel distribution ช่องทางจัดจำหน่าย บริษัทใหญ่ไม่พอ เจรจาต่อรองกับ outlets ไม่ได้ สินค้าของ SMEs ไม่สามารถวางขายใน shelf ในจุดที่เหมาะสมได้ สิ่งกีดขวางที่สำคัญอันดับที่ 3. คือ economy of scale หรือความประหยัดต่อขนาด ยิ่งธุรกิจมีขนาดใหญ่มากขึ้นๆ ความได้เปรียบเชิงต้นทุนมันมีมาก ต้นทุนมันต่ำ cost scale ฉะนั้นในอดีตที่ผ่านมา SMEs ถูกปิดกั้นโดยตลอด ไม่สามารถกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเหล่านี้ได้เลย SMEs ก็คือธุรกิจเล็กๆ ที่ไม่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองมาโดยตลอด แต่มาวันนี้โลกของผู้ประกอบการขนาดใหญ่เริ่มมีปัญหา บริษัทขนาดใหญ่ที่เน้นแต่ว่าจะผลิตสินค้าที่มี scale ใหญ่ๆ ผลิตเยอะๆ ผลิตสินค้าที่หน้าตาเหมือนกันหมด แล้วแข่งที่ต้นทุนว่าใครต้นทุนต่ำกว่านั้น มาวันนี้เจ๊งระนาว และไม่ใช่เจ๊งเฉพาะภายในประเทศไทย เจ๊งทั้งๆ สิงคโปร์ เจ๊งทั้งประเทศจีน ในอนาคตข้างหน้าถ้าเขาไม่เปลี่ยน หมายความว่าจากวันนี้เป็นต้นไป สินค้าที่ผลิตคล้ายกันและเน้นที่ต้นทุนจะขายไม่ออก เพราะทุกประเทศนั้นที่ผ่านมา 10 กว่าปี ยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็น model ของการผลิต ยึดถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์ที่เหมือนกันหมด ตำราเศรษฐศาสตร์เขียนขึ้นมาหนึ่งเล่มใช้ไปทั้งโลก บอกว่าจะผลิตสินค้าอะไรต้องมี comparative advantage ต้องมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และไปเน้นที่ความได้เปรียบเชิงต้นทุน และ productivity ลองหลับตานึกภาพดู ประเทศไทยผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้ายี่ห้อ X ต้นทุนแค่นี้ขาย สิงคโปร์ก็ผลิตสินค้าอย่างนี้เหมือนกัน เวียดนามอีกหน่อยก็จะผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้ายี่ห้ออย่างนี้คล้ายๆ กัน จีนก็เหมือนกัน อินเดียก็เหมือนกัน ไปแข่งกันเองในตลาด แล้วมันจะเหลืออะไร differentiation หรือความแตกต่างของสินค้าที่แต่ละประเทศควรจะแสดงความแตกต่างกลับไม่มี ฉะนั้น model ทางเศรษฐศาสตร์ที่ผ่านมาได้ใช้ยึดถือวิธีนี้ผิดตลอด 10 กว่าปี 20 ปีที่ผ่านมา นานๆ เข้า Porter นี่แหละที่เป็นคนหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา
Porter ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ธรรมดา แต่เป็นเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนักยุทธศาสตร์เขาบอกว่าวิธีการแข่งขันนั้นมันมีการแข่งขันในเชิงของราคา mass production ต้นทุนต่ำ เป็น cost leader แต่ถ้าแข่งไม่ได้ก็ต้องเน้นในเชิงของ differentiation ความแตกต่างของสินค้า การสร้างความแตกต่างของสินค้า อาจสร้างความแตกต่างในมุมในมุมหนึ่ง และผลิตสินค้าขนาดใหญ่ขายเยอะๆ ก็ได้ หรือจะ focus เป็น market segment ขายสินค้าที่มีความแตกต่างและหลากหลายก็ได้ ณ จุดนี้นั่นเอง เขาก็เริ่มบอกว่า ในระดับบริษัท ถ้าบริษัทอยากจะเติบโตและแข่งขันได้ ต้องเน้นที่มุมของความแตกต่าง รู้จักวางสิ่งที่เราเรียกว่า competitive positioning หรือวางตำแหน่งเชิงแข่งขันในอุตสาหกรรมในจุดที่เราสามารถแข่งขันได้ ไม่ใช่เลียนแบบคนอื่นเขา และในระดับประเทศ ประเทศที่จะอยู่ได้และยั่งยืนได้ไม่ใช่บอกว่า GDP กี่เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องบอกว่าเราจะผลิตสินค้าอะไร และวางตำแหน่งเชิงแข่งขันอย่างไรในโลกข้างหน้า อันนี้คือจุดที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Michael Porter และเขาเริ่มทำการสำรวจทีละประเทศๆ จนมี data bank อยู่ในบริษัทวิจัยของเขา นี่คือคนที่ชื่อ Porter แต่เราพูดเยอะโดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าคนนี้คือใคร
หันกลับมาสู่เรื่องของเรา หมายความว่าในอดีตที่ผ่านมาบริษัทใหญ่อยู่ได้ กีดกันรายเล็กได้ เพราะเขามีความสามารถพิเศษในเรื่องของการกีดกันได้จากเชิงต้นทุน จากเงินทุน เหล่านี้เป็นต้น แต่บังเอิญว่าโลกยุคนี้เริ่มเปลี่ยน เปลี่ยนทั้งในเชิงของด้าน demand อุปสงค์ ประชาชนในโลกทุกวันนี้เริ่มมีความรู้มากขึ้น มีความต้องการมากขึ้น จะรับประทานโค้กขวดนึงก็ต้องมีโค้กไดเอท โค้กสารพัด จะซื้อผลไม้มาทาน ก็มีผลไม้ที่ปลอดสาร มีผักที่ปลอดสารมี packaging ที่สะอาด ความต้องการที่หลากหลายนี่เอง คนใดก็ตามที่เน้นการผลิตเชิง mass production จะเริ่มเจอปัญหาขายไม่ออก ในเชิงของเทคโนโลยีเมื่อก่อนจะบอกว่าถ้าทำสินค้าตอบสนอง segment เป็นกลุ่มๆ ทำได้ยาก เพราะว่าเทคโนโลยีไม่ให้ ต้องผลิตล็อตใหญ่ๆ ถึงจะต้นทุนถูก แต่สมัยนี้ความก้าวหน้าของ IT มันสามารถทำให้คุณในฐานะผู้ผลิตสามารถ customize การผลิตสินค้าให้มี demand ที่หลากหลาย ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอันนี้เหมือนกัน ในอดีตผมผลิตสินค้า ถ้าคุณไปถามผู้ผลิตส่วนใหญ่ในประเทศคุณจะเข้าใจเลย ผลิตสินค้าตัวหนึ่งจะไปจำหน่าย ต้องไปจำหน่ายผ่าน Central ผ่าน Lotus ผ่านอะไรทั้งหลายจิปาถะที่มันเป็น retailer ที่ผ่านมาอำนาจการต่อรองไปกระจุกตัวอยู่ที่ outlets ใครไม่สามารถมีสินค้าหลายๆ ตัวได้ หรือมียี่ห้อที่แข็งแกร่งได้ ก็ไม่สามารถเข้าสู่ร้านค้า ณ ต้นทุนที่ต่ำได้ แต่โลกวันนี้กับอนาคตมันไม่ใช่ ความก้าวหน้าเชิง IT หรือ อินเตอร์เน็ต มันทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถ design สินค้าและขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้ มีเว็บไซต์ของตัวเองสามารถโฆษณาสินค้าของตัวเองได้ผ่านสิ่งเหล่านี้ และในเวลาอนาคตข้างหน้าในไม่ช้า การซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตมันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ฉะนั้นกระบวนการของการค้าขาย มัน bypass ช่องทางจัดจำหน่ายดั้งเดิมที่คลุมตลาดอยู่ในขณะนี้ ความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงของ demand ในเชิงของ supply ในเชิงของเทคโนโลยี มันทำให้โลกแห่งการค้าในอนาคตข้างหน้าเปิดขึ้นมาสำหรับคนตัวเล็ก คนตัวใหญ่ก็ยังได้เปรียบ ถ้าเขารู้จักทำความใหญ่เหล่านั้นให้ประกอบไปด้วยกลุ่มย่อยๆ ที่เล็กๆ และมีความคล่องตัวแต่ถ้ายังหลงละเมออยู่กับว่ายักษ์ใหญ่ทำอะไรต้องใหญ่ มีสิทธิเจ๊งได้ทุกเวลา ฉะนั้น concept ของการทำธุรกิจมันเปลี่ยนไปวันต่อวัน ตำราธุรกิจวันนี้ที่เราเรียน 10 กว่าปี 20 ปีที่ผ่านมา ใครที่มัวแต่หลงละเมอบอกว่าผมจบจากสหรัฐอเมริกา 20 ปีที่แล้ว ถ้าไม่ตามโลกวันนี้ให้ทัน ขืนใช้ตำราเล่มนั้นในการบริหารธุรกิจ ท่านเจ๊งแน่นอน โลกข้างหน้ามันจึงเริ่มเปิดสำหรับคนตัวเล็ก เมื่อโลกเปิดกว้างให้กับคนตัวเล็ก รัฐบาลชุดนี้ก็ต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับให้กับคนตัวเล็ก แต่เนื่องจากคนตัวเล็กในประเทศนี้ยังอยู่ในระดับที่มีศักยภาพการแข่งขันที่ต่ำมาก เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีโอกาสฟูมฟักเขาเลย เขามีสินค้าอยู่ในใจ มีสินค้าท้องถิ่นที่ดี แต่สินค้าเหล่านั้นบางครั้งยังไม่ได้มาตรฐานที่แข่งขันได้ในตลาดโลก ผมได้มีโอกาสเดินทางไปกับท่านนายกฯ เดินทางไปหลายแห่ง เห็นสินค้าพื้นเมืองดีๆ หลายแห่ง สินค้าเหล่านั้นแม้จะเป็นสินค้าที่ดี ใช้ศิลปหัตถกรรมภายในประเทศ แต่เราต้องยอมรับว่า design ของสินค้า packaging ของสินค้า มันไม่สอดรับกับความต้องการของตลาดโลกที่ใหญ่มาก เมื่อคืนนี้ ตอนเวลาประมาณทุ่มนึง ผมพาภรรยาผมไปเดินซื้อสินค้าที่ร้านโซโก้ เพราะว่าวันเสาร์และวันอาทิตย์ผมต้องไปสัมมนาที่พัทยา กลับมาต้องชดเชยความผิด รีบพาภรรยาไป shopping ก่อน เพราะว่าเวลามันไม่มี ก็ไปเห็นมุมๆ หนึ่ง อยู่ชั้นบนสุดของโซโก้ เครื่องศิลปะหัตถกรรมทั้งหลายพอมี concept ของ designer จากตะวันตกใส่เข้ามาปั๊บ มัน upgrade สินค้าจากท้องถิ่นกลายเป็นสินค้าที่สามารถขายตลาดโลกได้ทันที ชัดเจนเลย value added ที่เราเคยซื้อสินค้าตัวนี้ ตะกร้าใบนี้ จักรสานขึ้นมาได้ราคา 200 บาท ใบนี้ที่ขายที่นี่คุณสามารถขายได้เป็นพันๆ บาท จากการใส่ design เข้าไป ซึ่งเรายังอ่อนด้อยอยู่ จัดการทำ packaging เสียใหม่ เป็นต้น
ฉะนั้นเมื่อเรารู้ว่าศักยภาพของ SMEs ในประเทศไทยนั้น ถึงแม้จะมีมากแต่จุดเริ่มต้นยังไม่ได้มาตรฐาน นโยบายของพรรคไทยรักไทยและของรัฐบาลชุดนี้ก็เลยต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยให้เขาสามารถยกระดับขึ้นมาได้ โครงสร้างพื้นฐานนั้นคือ 1. concept ของสินค้า ผมได้กราบเรียนท่านปลัดมนูฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่าพยายามใช้สถาบันอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สถาบันอาหาร สถาบันสิ่งทอ สถาบันแฟชั่น สถาบันเซรามิกส์ ฯลฯ สถาบันเหล่านี้จะต้องพยายามเข้าไปมีส่วนในการพัฒนาแนวคิดและสินค้าของ SMEs ให้ได้มาตรฐานและสามารถสอดรับกับความต้องการของตลาดโลกให้ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่เรากำลังจะทำ จาก Idea จาก Concept มันก็จะมาสู่เรื่องของกำลังทุนและกำลังเงิน ขึ้นชื่อว่า SMEs ถ้าหนี้ไม่สูง ผมไม่ถือว่าเป็น SMEs หนี้ต้องสูงแน่นอนเพราะเขายืนบนลำแข้งของเขา ทุนเขามีน้อย เมื่อทุนมีน้อยก็ต้องกู้มาก แต่เมื่อกู้มาก debt equity มันก็สูง เมื่อ debt equity สูง แบงก์ก็ไม่ปล่อยสินเชื่อ นี่เรื่องธรรมดา ฉะนั้นจะไปโทษว่าธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ SMEs โทษเขาไม่ได้ เพราะ debt equity บางทีมันสูงเกินไป ฉะนั้นจะทำยังไง สิ่งแรก venture capital ต้องเกิดขึ้นมา ขณะนี้รัฐบาลมีกองทุนอยู่แล้วกองทุนนึงแต่ยังไม่มาก อนาคตข้างหน้าเราจะ promote ธุรกิจ venture capital หรือธุรกิจร่วมทุน เมื่อ venture capital เห็นประโยชน์จากการร่วมทุน เขาบอกว่าบริษัท ก. มีศักยภาพ เขาก็จะเอาทุนของเขามาใส่ เขาจะไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับการบริหาร เมื่อเอาทุนเข้ามาใส่ debt equity ก็ดีขึ้น ธนาคารก็เริ่มปล่อยสินเชื่อเขาไป ก็ทำให้มีการเงินที่เข้มแข็งขึ้น หลากหลายขึ้น จากจุดนั้นก็ต้องมีตลาด MAI หรือตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs เพื่อให้ venture capital ที่เป็นคนลงทุนนั้นสามารถเอาหุ้นเข้าตลาด เขาจะได้ถอนตัวออกไปได้ ได้กำไรกลับคืนมา แต่แค่นั้นก็ไม่พอ สิ่งที่ SMEs ต้องการมากๆ ก็คือ ความสามารถในเชิงของการจัดการ ฉะนั้น concept ในการบริหารการเงิน บริหารการตลาด บริหารสินค้าคงคลัง บริหารหนี้ สิ่งเหล่านี้เขาขาดอยู่ ก็ต้องมีคนบางคนไปทำหน้าที่อันนี้ ผมได้ขอให้ทางปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับในการทำสิ่งเหล่านี้ ฉะนั้นมันเหมือนกับว่าถ้าเราต้องการสร้างเด็กคนนี้ให้โตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า แปลว่าคุณกำลังให้โครงสร้างพื้นฐานหลายๆ อย่าง ต้องมาเกี่ยวเข้าด้วยกัน เกาะเข้าด้วยกัน เพื่อให้เขาเดินไปข้างหน้าได้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมกับรัฐมนตรีอุตสาหกรรมได้ประชุมร่วมกันโดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด องค์กรที่เกี่ยวกับ SMEs มาประชุมร่วมกัน และบอกกับเขาว่า 20-30 ปีที่ผ่านมาที่เราไม่สามารถพัฒนา SMEs ได้ เพราะเป็นไปได้ที่แต่ละคนต่างคนต่างทำแล้ว SMEs มันจะเกิดขึ้นมาได้ ที่ผมอธิบายไป กว่าเขาจะโตขึ้นมาได้ทุกส่วนมันต้องสอดคล้องซึ่งกันและกัน ถึงไปด้วยกันได้ จะบอกว่าตลาดหลักทรัพย์มีไว้ให้ SMEs ไปเข้า เขาจะเข้าได้อย่างไร แบงก์ปล่อยสินเชื่อ SMEs แบงก์จะปล่อยได้อย่างไรถ้าทุนเขามีน้อย ที่บอกว่าเอาสินค้าเขาส่งออก เขาจะส่งออกได้อย่างไร ถ้าสินค้าของเขาไม่สามารถผลิตให้สอดคล้องกับรสนิยมตลาดโลกได้ มันไม่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ฉะนั้นถ้าเราตั้งใจจะให้ SMEs เกิดขึ้นมา ความสอดรับเชิงนโยบายขององค์กรแต่ละองค์กรต้องหนุนกันขึ้นมา กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องทันทีในส่วนนี้ ฉะนั้นแนวความคิดแบบแยกส่วนมันไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไปในอนาคตข้างหน้า
เมื่อวานนี้ที่พัทยา ผมก็ได้นำเสนอ concept อันนี้เกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐบาล ว่าแทนที่เราจะให้แต่ละกระทรวงทำแต่ละอย่าง เราจะใช้ concept ใหม่ก็คือ มองจากเรื่องของ value added หรือการสร้างมูลค่าเพิ่ม เริ่มจากทรัพยากรธรรมชาติ ต่อด้วยการผลิต ต่อด้วยการค้า ต่อด้วยการแข่งขันในตลาดโลก แล้ว design กระทรวงให้มีความเชื่อมต่อกัน ระหว่างการใช้ทรัพยากร มาสู่การผลิต มาสู่การค้า และก็มาสู่การแข่งขันในตลาดโลก design อย่างนี้แล้วมันสามารถมีความเชื่อมต่อเชิงกลยุทธ์ และทำได้ไม่ยากด้วย มันก็เกิดเป็น concept ขึ้นมาว่าเราจะเริ่มจากจุดนั้นในการดำเนินงาน ฉะนั้นถ้าเรามองออกไปอย่างนี้ แปลว่าถ้ารัฐบาลนี้อยู่ 4 ปี แปลว่านโยบาย SMEs นั้นเป็นธงชัยแน่นอนของรัฐบาลนี้ เกิดแน่นอน จะใช้งบประมาณเท่าไรเราจะทำให้มันเกิด คำถามก็คือว่าภาครัฐต้องช่วยกัน แต่ที่สำคัญคือ ในส่วนของเอกชนด้วยกัน ธนาคารถ้าหากยังใช้ concept เดิมในการปล่อยสินเชื่อ บังเอิญ 15 ปีที่ได้กลับมาจากเมืองนอกเข้ามาในเมืองไทย ได้คลุกคลีในหลาย sector แล้วเห็นการปล่อยสินเชื่อในอดีต ดูโหงวเฮ้งเป็นหลักใหญ่ เป็น business tycoon หรือเปล่า คนนี้ชื่อเสียงดี พนักงานสินเชื่อบอกว่าเห็นสมควร ก็เชื่อถือได้ เวลาปล่อยสินเชื่อมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือเปล่า syndicate role ขนาดใหญ่นี้แทบไม่ต้องพูดเลยเพราะมันแข่งกันหนักมาก
ฉะนั้นท่านในฐานะของสถาบันการเงิน ถ้าขืนปล่อยสินเชื่อด้วยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ใช้วิธีการมองว่าเป็น tycoon หรือเปล่า วันนี้ tycoon ไม่มีเหลือแล้วนะครับ tycoon ที่ว่านี้ส่วนใหญ่ NPL ทั้งนั้นในขณะนี้ ท่านจะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้เลยในชื่อของ SMEs เพราะมันมีการตัดตอนมองว่ารายนี้มาขอสินเชื่อจากคุณแล้วคุณก็ให้ แต่ถ้าคุณไม่ปล่อยสินเชื่อกับ SMEs ถามว่าอนาคตข้างหน้า แบงก์ของคุณจะอยู่ที่ไหน แบงก์ของคุณก็จะไม่มีที่ยืน เพราะคุณจะปล่อยกับใคร ในขณะนี้มีกี่กลุ่มธุรกิจที่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อย่างเข้มแข็ง มีอยู่ไม่กี่ก้อน ฉะนั้นมันก็เลยเป็นความจำเป็นเชิงบังคับที่ท่านต้องสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมา และในขบวนการสร้างนั้นก็ต้องย้อนกลับไปสู่การทำแบงก์ที่แท้จริงเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา คือเป็นลักษณะของ hand holding คือโตขึ้นมาพร้อมกับเขา พัฒนาเขาขึ้นมา และก็ปล่อยสินเชื่อเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งในการบริหารลูกค้า หมายความว่าเข้าไปหาเขา เกื้อกูลเขา พัฒนาเขา ปล่อยสินเชื่อไป พาเขาเข้าตลาดหลักทรัพย์ เขาเติบโต คุณก็เติบโตไปด้วย กำไรไปด้วย นี่คือการทำแบงก์ที่แท้จริงในสมัยเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ไม่ใช่ในยุค 10 กว่าปีที่ผ่านมา ที่บอกว่า ใครจะเข้ามาเข้ามา เอาหลักทรัพย์ค้ำประกันมาค้ำ แล้วคุณก็ให้สินเชื่อ norm อันนี้ผิดตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ฉะนั้นวันนี้ผมเดินไปทีละธนาคาร ธกส. ต้องเปลี่ยนแน่นอนแล้ว ไม่ใช่ commercial bank เด็ดขาด ทีนี้ commercial bank ในเมืองไทย ใครรุกก่อนได้ก่อน เพราะ SMEs ที่มี potential มัน shift กันได้ง่ายมาก ตลาดตอนนี้ยังเปิดอยู่ แบงก์ฝรั่งจ้องตาเป็นมัน
วันนี้พอธนาคารประชาชนหรือออมสินรุกเข้าไปเท่านั้นเอง แบงก์ฝรั่งเริ่มตาม SMEs เริ่มทำ training เขาเริ่ม identify ว่า SMEs ไหนมี potential พวกส่งออกทั้งหลายมีใครบ้าง และที่มีปัญหาทางการเงินมีใครบ้าง เริ่มเจาะเข้าไป ฉะนั้นในเชิงของเรา ในฐานะแบงก์รัฐต้องยึดหัวหาดก่อน ท่านต้องมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เพราะถ้า concept ของการปล่อยสินเชื่อเป็นอย่างที่ผมบอกมา โครงสร้างของ commercial bank ที่บอกว่านี่คือฝ่ายสินเชื่อ นี่คือฝ่ายตรวจสอบ นี่คือฝ่าย Admin. นี่คือฝ่ายกิจการสาขาอย่างนี้มันไม่ใช่แล้ว หมายความว่ามันต้องมีทีมๆ หนึ่งในการเจาะ การรุกที่มันไปพัฒนา แล้วสินเชื่อค่อยตามไป มันเป็น package ใหม่ที่ structure มันต้องผันแปรตาม strategy ถ้าคุณเข้าไปในช่วงที่เขาลำบาก เขาจะจดจำท่านได้ และจะเข้าใจว่าเมื่อเวลาเขาโตขึ้นไปเขาจะใช้บริการของท่าน ฉะนั้น timing อย่างนี้ผมถึงอยากจะกราบเรียนว่า ณ เวลานี้มันเป็นจุดหักเหของการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของวงการธุรกิจไทย ไม่ใช่เฉพาะธนาคารพาณิชย์ บริษัทธุรกิจวันนี้ถ้าไม่ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เขาก็ไม่สามารถเผชิญการแข่งขันในอนาคตข้างหน้าได้ คนหลายคนบอกว่าตลาดหุ้นที่โตขึ้นมาในวันนี้ วันนี้หุ้นขึ้นมาอย่างนี้อยู่ได้นานไหม ถ้าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ปรับโครงสร้างให้แข็งแกร่งในการแข่งขัน ไม่กี่วันก็ลงเพราะว่าอนาคตความเสียดทานทางการแข่งขันมันสูง ธนาคารก็เหมือนกัน ธนาคารพาณิชย์ไทยในวันนี้เหลือกี่ธนาคาร ส่วนใหญ่เป็นธนาคารต่างประเทศทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าท่านจะแข่งขันท่านต้องเตรียมตั้งแต่วันนี้แล้ว
ฉะนั้นในเชิงของการสร้าง SMEs ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ว่า ผมไล่มาตั้งแต่ต้น ทำไมต้องเป็น SMEs ประเทศจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ประชุมที่เชียงใหม่เราวางชัดเจนว่า 5 ปีข้างหน้าเราจะมีการเจริญเติบโต อย่างนี้ๆ งบประมาณจะเริ่มเกินดุลได้ในปีที่ 6 จากวันนี้ เกินดุลได้ในปีที่ 6 หมายความว่า รายรับจากภาษีต้องโตได้อย่างนี้ๆ ใน 6 ปีข้างหน้า รายรับจากภาษีจะโตได้ก็ต่อเมื่อต้องมีฐานธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมา ยิ่งมีฐานธุรกิจเกิดมามากเท่าไร รายได้ของรัฐบาลจะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว อันนี้เป็นสิ่งที่แน่นอนที่จะต้องเกิดขึ้น ฉะนั้นเมื่อเรามีแผนการที่ชัดเจนอย่างนี้ เราก็บอกว่าในอดีตทางการเมืองไม่ support หรอก SMEs เพราะมันไม่ได้ประโยชน์เชิงการเมือง แต่วันนี้มันเป็นทั้งความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และได้ทั้งทางการเมือง เพราะนี่คือฐานเสียงที่แท้จริงของประเทศ ฉะนั้นนโยบายอันนี้ ไม่ว่าพรรคใดมาเป็นรัฐบาล SMEs เป็นหัวหอกแน่นอน จากจุดนั้นผมก็มาบอกว่าแล้ว SMEs มันมีอะไรบ้าง ท่านอย่าไปปิดกั้นตัวเองว่ามันมีอยู่แค่นี้ มันหลากหลายทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราต้อง identify potential มันออกมา แล้วผมก็มาบอกว่า SMEs นั้นมีความต้องการอะไร ตั้งแต่ innovation ของ idea เปลี่ยน idea เป็น concept ของสินค้า จัดสินค้าทำสินค้าให้มีคุณภาพ และก็ทางการเงิน การบริหาร การจัดการ และก็เข้าตลาดหลักทรัพย์ รัฐบาลจะทำอะไรในสิ่งเหล่านี้ และท่านในฐานะธนาคารพาณิชย์จะเตรียมการอย่างไรในสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ผมไล่โยงตั้งแต่ ก.ไก่ จนถึง ฮ.นกฮูก และก็ใช้สิ่งเหล่านี้ในการดำเนินนโยบายใน 4-5 ปีข้างหน้า ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็แล้ว แต่ผมเชื่อว่าต้องเดินเส้นทางเส้นนี้แน่นอน
ที่สำคัญที่สุดถ้าเราไปดูในอเมริกา ที่ SMEs เหล่านั้นเติบโตได้เร็วมันมีเหตุผลอยู่ 2 อย่าง 1. การรวมกลุ่มของ SMEs SBA ของอเมริกา Small Business Association มีการรวมกลุ่มชมรมหรือสภาของธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลาง เอกชนต้องรวมกลุ่มกันเองก่อน ช่วยตัวเองด้วย ตรงนี้ผมยังไม่เห็น สภาอุตสาหกรรมฯ ในขณะนี้ไม่ได้สะท้อนเรื่องของ SMEs เท่าที่ควร ฉะนั้นตรงนี้ต้องมีการแก้ไข ผมเรียกร้องมาหลายครั้งแล้วว่า หอการค้าก็เช่นกันต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับ SMEs ไม่อย่างนั้นในอนาคตข้างหน้ามันจะมีสภา SMEs เกิดขึ้นมาโดยเอกเทศของเขาเอง 2. ธุรกิจขนาดใหญ่ถ้ามีความไวทางธุรกิจพอ เขาเองนั่นแหละที่จะทำหน้าที่เป็น venture capital ลองนึกภาพดูว่าถ้าท่านเป็นบริษัทขนาดใหญ่ขณะนี้ มีกำไรเยอะแยะเลย แทนที่จะเก็บกำไร แล้วปล่อยกำไรเอาไว้ฝากแบงก์ ผมจะเอาเงินกำไรเหล่านี้เป็น venture cap ไปต่อสายกับธุรกิจขนาดเล็กๆ ให้เขาได้เกิดขึ้นมา เพราะว่าลองนึกดูนะครับผมไม่ทราบว่าใครเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในที่นี้บ้าง แต่ถ้าผมมีธุรกิจขนาดใหญ่ ผมจะ identify เป็นตัวอย่าง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอาหารแปรรูป กลุ่มนี้เป็นกลุ่มของ handicraft product กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอินเตอร์เน็ตในอนาคตข้างหน้า เป็นต้น ผมจะดูว่ามีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพกี่ราย ผมจะหาทางเข้าไปมีส่วนเกื้อหนุนในการเอาทุนเข้าไปใส่ เป็นแนวร่วม และเมื่อไรก็ตามที่กลุ่มเหล่านี้เติบโตขึ้นมา เข้าตลาด ผมก็ได้ประโยชน์ทั้งในเชิงของตลาดและในเชิงของผลกำไร และในเชิงของ market share ของเศรษฐกิจของประเทศ การทำการค้ามันวัดกันที่ความกว้างไกลทางความคิด และความใจใหญ่ในการลงทุนในวันนี้เพื่อวันหน้า ฉะนั้นบริษัทขนาดใหญ่ในวันนี้ได้เปรียบมาก ถ้าท่านยืนแข็งอยู่ในตลาดได้ แต่ถ้าใช้บางส่วนในนี้ไปช่วยเหลือ SMEs ท่านจะได้ประโยชน์ทุกๆ อย่าง อันนี้เขาเรียกว่า corporate venture ผมใช้เวลาพอสมควรแล้ว อีกสักครู่หนึ่งผมจะส่งลูกไปให้ปลัดมนู ของกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านจะเรียนให้เราทราบว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีความคิดอย่างไร เพราะในขณะนี้ท่านปลัดสวมหมวก 2 ใบ 1. ท่านเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีหน้าที่โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนา SMEs 2. ท่านเป็นประธานแบงก์ บอย. ฉะนั้น ณ จุดนี้ผมคิดว่าผมจะจบการพูดเพียงเท่านี้ _______________________________
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
กรองจิตร, ชนาธิป : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-
เรื่อง
"SMEs กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย"
โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
6 สิงหาคม 2544
____________________________
ท่านผู้บริหารและท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมมีความยินดีที่ได้รับเกียรติมาบรรยายในหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผมเชื่อว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายหลักก็คือการสร้างและพัฒนา SMEs ขึ้นมาให้เป็นรากฐานใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคตข้างหน้า ความจริง SMEs ไม่ได้เป็นแนวความคิดใหม่แต่ประการใด เพียงแต่ว่าเป็นสิ่งที่ถูกละเลยและขาดการให้ความสำคัญในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานับสิบ ๆ ปี ถูกละเลยด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ ทางการเมืองก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญเพราะว่าการเอาใจใส่ธุรกิจรายใหญ่นั้นมันได้ประโยชน์มากกว่า เห็นผลทันตาเร็วกว่าและบางครั้งก็ได้มีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันชัดเจนกว่าแต่ถ้าเรามองไปข้างหน้าเราจะเห็นชัดเจนว่าถ้าขาดการสร้าง SMEs รายใหม่ขึ้นมาก็เหมือนประเทศขาดพลังหรือขาดกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาวข้างหน้า เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศแต่ละประเทศจะมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่บริษัท เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นในขณะเราที่ตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมาด้วย motto ใหม่ที่ว่า "คิดใหม่ ทำใหม่" นั้น เรามองว่าประเทศจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ต้องมี engine of growth ที่กว้างพอใหญ่พอที่จะช่วยกันผลักดันให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้
ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ประเทศประสบภาวะวิกฤต บริษัทใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะยังอ่อนแอ โดยสัดส่วนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยล้วนแล้วแต่แทบจะอัมพาตอัมพฤกษ์ด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นเราก็เลยมองว่าเราจะเอาเรื่องของ SMEs นี้แหละเป็นหัวหอกในการรุกเชิงการทำ campaign หาเสียง และอนาคตของเขาฐานเสียงจะไม่เหลือเลยแต่ถ้าคุณรุกก่อนและสามารถทำให้ SMEs เติบโตขึ้นมาได้ ฐานเสียงทั่วประเทศจะเป็นของไทยรักไทยและถ้าพรรคการเมืองไหนไม่โดดเข้ามา พรรคการเมืองเหล่านั้นจะตกขบวนทันที นี่คือสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาและประกาศออกมาเมื่อประมาณ 2 ปีเศษที่เราตั้งพรรคขึ้นมา และผมก็ได้มีโอกาสกราบเรียนกับทางพรรคไทยรักไทยว่า ไม่มีประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศใดที่เศรษฐกิจยืนอยู่เพียงไม่กี่บริษัท ประเทศที่ยิ่งพัฒนายิ่งมี SMEs มากที่สุด ท่านดูได้ไม่ว่า สหรัฐอเมริกา ไม่ว่าญี่ปุ่น ไม่ว่าฮ่องกง ไม่ว่าสิงคโปร์ SMEs ทั้งสิ้น ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทขนาดเล็กขนาดกลางที่มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ฉะนั้นเป้าหมายของคณะทำงานชุดนี้ก็คือว่า จะทำอย่างไรที่จะให้มีการสร้าง SMEs ใหม่ๆ ขึ้นมาในอนาคตข้างหน้า
พอพูดถึงประเด็นนี้ก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า SMEs คืออะไร ก่อนที่เราจะประกาศนโยบายเกี่ยวกับ SMEs นั้น เมื่อพูดถึง SMEs คนส่วนใหญ่จะคิดถึงผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั่วประเทศ แต่มันไม่ใช่เพียงแค่นั้น พรรคการเมืองส่วนใหญ่ ข้าราชการกระทรวงต่าง ๆ ส่วนใหญ่มองว่า SMEs ก็คือ บริษัทที่อยู่ในลักษณะ ของ supporting industry คือเป็นดาวบริวารที่คอยผลิตชิ้นส่วน อะไหล่หรือ spare part ให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ผมถือว่าเป็นดาวฤกษ์ เช่น ถ้าหากอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นดาวฤกษ์ ผู้ผลิต spare part ชิ้นส่วนทั้งหลายก็คือ SMEs ไอ้นั้นถูกต้องและอันนั้นเป็นสิ่งที่ตลอดเวลา 10-20 ปีที่ผ่านมารัฐบาลพยายามที่จะสร้าง supporting industry ที่แข็งแกร่งขึ้นมา เพื่อเป็นรากฐานที่เข้มแข็งสำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นั่นคือกลุ่มหนึ่ง แต่เมื่อรัฐบาลชุดนี้ขึ้นมา SMEs อีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือสิ่งที่เราเรียกกันว่า stand alone SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ที่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองและติดต่อกับตลาดโดยตรงโดยไม่ต้องพึ่งพาบริษัทขนาดใหญ่ ในอดีตบริษัทเหล่านี้มีอยู่ค่อนข้างน้อย แต่บริษัทที่ค่อนข้างน้อยเหล่านี้ได้พิสูจน์ตัวเองว่าเมื่อยามประเทศมีวิกฤตการณ์ บริษัทเหล่านี้กลับสามารถทำกำไรได้สูงและเติบโตได้อย่างรวดเร็ว กระผมและทีมงานของพรรคไทยรักไทยในขณะนั้นได้ออกไปทำการสำรวจ พบว่ากลุ่มบริษัทเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีฐานตลาดที่เข้มแข็งของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่อยู่ใน Dollar Zone หรือตลาดส่งออกเป็นสำคัญ ประเภทของธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่ในธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่มีอยู่ทั้งในอุตสาหกรรมที่อาศัยทักษะ หรือที่ผมเรียกว่า skill driven เป็นหลักเป็นต้น บ้างก็อยู่ในอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร บ้างก็อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ craft ศิลปะหัตถกรรม และล่าสุดเมื่อกี้ผมนั่งประชุมอยู่ที่บ้านพิษณุโลก เราพูดถึง SMEs ที่ทำเครื่องดื่มในชนบท เป็นเครื่องดื่มที่หมักจากผลไม้ และจำหน่ายสู่ตลาดโลก เป็นต้น
กลุ่มธุรกิจเหล่านี้แม้ว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก แต่ความคล่องตัวของเขากับความสามารถทะลุตลาดโลก ทำให้เขาสามารถยืนอยู่ได้และได้กำไร แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะมีปัญหา ผมยังจำได้ เรามีการจัด SMEs Exhibition ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อประมาณ 2 ปีมาแล้ว บางบริษัททำข้าวกระป๋องใส่เข้าไมโครเวฟ กดปุ่ม ข้าวจะสุกได้ที่พอดี จำหน่ายในตลาดโลก บริษัทนี้ขณะนี้มีสินค้าโชว์อยู่ที่ Harrods อังกฤษ มีผู้ประกอบการบางรายใช้เวลา 3-4 ปีในการคิดค้นทำมะขามอัดเม็ดที่ไม่ให้ละลายในมือทำเหมือนกับหมากฝรั่งชิกเคร็ท packaging ใหม่ ขณะที่ส่งตลาดโลก บริษัทบางบริษัท เช่น เชรียง ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงจำหน่ายในตลาดโลก เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่เราจะชี้ให้เห็น กลุ่มนี้คือกลุ่มที่การแข่งขันทางธุรกิจเริ่มต้นที่ concept ของแนวคิด ทำสินค้าให้ได้คุณภาพและถูกต้องตามรสนิยมของตลาดโลก และพยายามหาตลาดด้วยตนเอง ทีละขั้นทีละตอน และเขาก็ค่อยๆเติบโตขึ้นมา นี่คือกลุ่มที่ 2 ที่เราคิดว่าเป็น SMEs ที่มีความสำคัญยิ่ง
ในอนาคตจะมี SMEs กลุ่มใหญ่ๆ อีกกลุ่มหนึ่งที่เราเรียกว่าวิสาหกิจชุมชน เป็นลักษณะวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นมาในชนบท ผลิตสินค้าหรือบริการในท้องถิ่น จากการร่วมมือร่วมใจของประชาชนในภูมิภาคหรือในท้องถิ่นนั้นๆ สร้างสินค้าเหล่านี้ขึ้นมา รัฐบาลจะไปให้ความช่วยเหลือและให้มีการช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อให้สินค้าเหล่านี้สามารถผลิตขึ้นมา เริ่มด้วยการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคภายในชุมชน เมื่อมีส่วนเหลือก็เริ่มจำหน่ายไปชุมชนอื่น และถ้าผลิตสินค้าได้ดีขึ้นๆ วันหนึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับตลาดโลกได้ทันทีโดยผ่านอินเตอร์เน็ต อันนี้เป็นนโยบายที่เรากำลังจะใส่เข้าไปใน phase ต่อไป ฉะนั้นเมื่อพูดถึง SMEs มันไม่ใช่ร้านก๋วยเตี๋ยว หรือผู้ประกอบการรายย่อย แต่มันจะมีความหลากหลายในพื้นฐานของมันขึ้นอยู่กับว่า ณ แต่ละช่วงเวลานั้น SMEs ประเภทใดที่จะมีศักยภาพและมีโอกาสก่อนคนอื่น นี่คือ SMEs ในความหมายของพรรคไทยรักไทย ฉะนั้นคำว่าขนาด 200 ล้าน ขนาด 100 ล้านไม่มีความสำคัญเลย ผมไม่เคยสนใจในกฎระเบียบหยุมหยิมเหล่านี้ แต่ SMEs ในความหมายของผมก็คือว่า เล็ก คล่อง มีแนวคิด มีนวัตกรรม มี innovation มี flexibility มีความยืดหยุ่นสูง ปรับตัวได้เร็วกับสิ่งที่ตลาดต้องการ นั่นคือ SMEs SMEs ไม่ใช่บอกว่ามีทุนจดทะเบียน 10 ล้าน 20 ล้าน ยอดขาย 200 ล้าน อันนั้นไม่ make sense อะไรเลยในสายตาของผม นั่นเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ในเชิงราชการ
ฉะนั้นเมื่อเราทำความเข้าใจในขั้นตอนอันนี้ เราก็มาดูว่าถ้าเป็นอย่างนั้นทำไม SMEs เหล่านี้ถึงไม่ได้รับการ promote เท่าที่ควรในอดีตที่ผ่านมาและมีจำนวนอยู่ไม่มากนัก เหตุผลสำคัญก็คือว่า ในอดีตโลกของ SMEs นั้นเกิดยาก เกิดยากเพราะอะไร มีปรมาจารย์ท่านหนึ่ง ผมขอ quote ชื่อก็แล้วกัน เอาวิธีการของท่านมาอธิบายสิ่งเหล่านี้ Michael Porter ก็แล้วกัน ที่พวกเราฮือฮากันในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจะใช้คำศัพท์ของ Michael Porter มาอธิบาย Michael Porter ที่เป็นข่าวนั้นเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ที่ผมเรียกว่า เศรษฐศาสตร์สาย transaction cost เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เน้นในเชิงของการพูดถึงเรื่องของ entry barriers หรือสิ่งกีดขวางการเข้ามาในอุตสาหกรรม นักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ใช้ทฤษฎีบทนี้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงเชิงแข่งขัน ว่าบริษัทที่มีขนาดใหญ่นั้นสามารถสร้างสิ่งกีดขวางปิดกั้นไม่ให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางเข้ามามีอำนาจในอุตสาหกรรมได้ สิ่งกีดขวางเหล่านี้ประกอบไปด้วย 1.สิ่งกีดขวางในเชิงของเงินทุน เงินทุนมีไม่มาก อย่าหวังเข้ามาแข่งขัน อันนี้เห็นตัวอย่างได้ชัดเจน 2. สิ่งกีดขวางในเชิงของ channel distribution ช่องทางจัดจำหน่าย บริษัทใหญ่ไม่พอ เจรจาต่อรองกับ outlets ไม่ได้ สินค้าของ SMEs ไม่สามารถวางขายใน shelf ในจุดที่เหมาะสมได้ สิ่งกีดขวางที่สำคัญอันดับที่ 3. คือ economy of scale หรือความประหยัดต่อขนาด ยิ่งธุรกิจมีขนาดใหญ่มากขึ้นๆ ความได้เปรียบเชิงต้นทุนมันมีมาก ต้นทุนมันต่ำ cost scale ฉะนั้นในอดีตที่ผ่านมา SMEs ถูกปิดกั้นโดยตลอด ไม่สามารถกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเหล่านี้ได้เลย SMEs ก็คือธุรกิจเล็กๆ ที่ไม่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองมาโดยตลอด แต่มาวันนี้โลกของผู้ประกอบการขนาดใหญ่เริ่มมีปัญหา บริษัทขนาดใหญ่ที่เน้นแต่ว่าจะผลิตสินค้าที่มี scale ใหญ่ๆ ผลิตเยอะๆ ผลิตสินค้าที่หน้าตาเหมือนกันหมด แล้วแข่งที่ต้นทุนว่าใครต้นทุนต่ำกว่านั้น มาวันนี้เจ๊งระนาว และไม่ใช่เจ๊งเฉพาะภายในประเทศไทย เจ๊งทั้งๆ สิงคโปร์ เจ๊งทั้งประเทศจีน ในอนาคตข้างหน้าถ้าเขาไม่เปลี่ยน หมายความว่าจากวันนี้เป็นต้นไป สินค้าที่ผลิตคล้ายกันและเน้นที่ต้นทุนจะขายไม่ออก เพราะทุกประเทศนั้นที่ผ่านมา 10 กว่าปี ยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็น model ของการผลิต ยึดถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์ที่เหมือนกันหมด ตำราเศรษฐศาสตร์เขียนขึ้นมาหนึ่งเล่มใช้ไปทั้งโลก บอกว่าจะผลิตสินค้าอะไรต้องมี comparative advantage ต้องมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และไปเน้นที่ความได้เปรียบเชิงต้นทุน และ productivity ลองหลับตานึกภาพดู ประเทศไทยผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้ายี่ห้อ X ต้นทุนแค่นี้ขาย สิงคโปร์ก็ผลิตสินค้าอย่างนี้เหมือนกัน เวียดนามอีกหน่อยก็จะผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้ายี่ห้ออย่างนี้คล้ายๆ กัน จีนก็เหมือนกัน อินเดียก็เหมือนกัน ไปแข่งกันเองในตลาด แล้วมันจะเหลืออะไร differentiation หรือความแตกต่างของสินค้าที่แต่ละประเทศควรจะแสดงความแตกต่างกลับไม่มี ฉะนั้น model ทางเศรษฐศาสตร์ที่ผ่านมาได้ใช้ยึดถือวิธีนี้ผิดตลอด 10 กว่าปี 20 ปีที่ผ่านมา นานๆ เข้า Porter นี่แหละที่เป็นคนหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา
Porter ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ธรรมดา แต่เป็นเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนักยุทธศาสตร์เขาบอกว่าวิธีการแข่งขันนั้นมันมีการแข่งขันในเชิงของราคา mass production ต้นทุนต่ำ เป็น cost leader แต่ถ้าแข่งไม่ได้ก็ต้องเน้นในเชิงของ differentiation ความแตกต่างของสินค้า การสร้างความแตกต่างของสินค้า อาจสร้างความแตกต่างในมุมในมุมหนึ่ง และผลิตสินค้าขนาดใหญ่ขายเยอะๆ ก็ได้ หรือจะ focus เป็น market segment ขายสินค้าที่มีความแตกต่างและหลากหลายก็ได้ ณ จุดนี้นั่นเอง เขาก็เริ่มบอกว่า ในระดับบริษัท ถ้าบริษัทอยากจะเติบโตและแข่งขันได้ ต้องเน้นที่มุมของความแตกต่าง รู้จักวางสิ่งที่เราเรียกว่า competitive positioning หรือวางตำแหน่งเชิงแข่งขันในอุตสาหกรรมในจุดที่เราสามารถแข่งขันได้ ไม่ใช่เลียนแบบคนอื่นเขา และในระดับประเทศ ประเทศที่จะอยู่ได้และยั่งยืนได้ไม่ใช่บอกว่า GDP กี่เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องบอกว่าเราจะผลิตสินค้าอะไร และวางตำแหน่งเชิงแข่งขันอย่างไรในโลกข้างหน้า อันนี้คือจุดที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Michael Porter และเขาเริ่มทำการสำรวจทีละประเทศๆ จนมี data bank อยู่ในบริษัทวิจัยของเขา นี่คือคนที่ชื่อ Porter แต่เราพูดเยอะโดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าคนนี้คือใคร
หันกลับมาสู่เรื่องของเรา หมายความว่าในอดีตที่ผ่านมาบริษัทใหญ่อยู่ได้ กีดกันรายเล็กได้ เพราะเขามีความสามารถพิเศษในเรื่องของการกีดกันได้จากเชิงต้นทุน จากเงินทุน เหล่านี้เป็นต้น แต่บังเอิญว่าโลกยุคนี้เริ่มเปลี่ยน เปลี่ยนทั้งในเชิงของด้าน demand อุปสงค์ ประชาชนในโลกทุกวันนี้เริ่มมีความรู้มากขึ้น มีความต้องการมากขึ้น จะรับประทานโค้กขวดนึงก็ต้องมีโค้กไดเอท โค้กสารพัด จะซื้อผลไม้มาทาน ก็มีผลไม้ที่ปลอดสาร มีผักที่ปลอดสารมี packaging ที่สะอาด ความต้องการที่หลากหลายนี่เอง คนใดก็ตามที่เน้นการผลิตเชิง mass production จะเริ่มเจอปัญหาขายไม่ออก ในเชิงของเทคโนโลยีเมื่อก่อนจะบอกว่าถ้าทำสินค้าตอบสนอง segment เป็นกลุ่มๆ ทำได้ยาก เพราะว่าเทคโนโลยีไม่ให้ ต้องผลิตล็อตใหญ่ๆ ถึงจะต้นทุนถูก แต่สมัยนี้ความก้าวหน้าของ IT มันสามารถทำให้คุณในฐานะผู้ผลิตสามารถ customize การผลิตสินค้าให้มี demand ที่หลากหลาย ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอันนี้เหมือนกัน ในอดีตผมผลิตสินค้า ถ้าคุณไปถามผู้ผลิตส่วนใหญ่ในประเทศคุณจะเข้าใจเลย ผลิตสินค้าตัวหนึ่งจะไปจำหน่าย ต้องไปจำหน่ายผ่าน Central ผ่าน Lotus ผ่านอะไรทั้งหลายจิปาถะที่มันเป็น retailer ที่ผ่านมาอำนาจการต่อรองไปกระจุกตัวอยู่ที่ outlets ใครไม่สามารถมีสินค้าหลายๆ ตัวได้ หรือมียี่ห้อที่แข็งแกร่งได้ ก็ไม่สามารถเข้าสู่ร้านค้า ณ ต้นทุนที่ต่ำได้ แต่โลกวันนี้กับอนาคตมันไม่ใช่ ความก้าวหน้าเชิง IT หรือ อินเตอร์เน็ต มันทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถ design สินค้าและขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้ มีเว็บไซต์ของตัวเองสามารถโฆษณาสินค้าของตัวเองได้ผ่านสิ่งเหล่านี้ และในเวลาอนาคตข้างหน้าในไม่ช้า การซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตมันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ฉะนั้นกระบวนการของการค้าขาย มัน bypass ช่องทางจัดจำหน่ายดั้งเดิมที่คลุมตลาดอยู่ในขณะนี้ ความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงของ demand ในเชิงของ supply ในเชิงของเทคโนโลยี มันทำให้โลกแห่งการค้าในอนาคตข้างหน้าเปิดขึ้นมาสำหรับคนตัวเล็ก คนตัวใหญ่ก็ยังได้เปรียบ ถ้าเขารู้จักทำความใหญ่เหล่านั้นให้ประกอบไปด้วยกลุ่มย่อยๆ ที่เล็กๆ และมีความคล่องตัวแต่ถ้ายังหลงละเมออยู่กับว่ายักษ์ใหญ่ทำอะไรต้องใหญ่ มีสิทธิเจ๊งได้ทุกเวลา ฉะนั้น concept ของการทำธุรกิจมันเปลี่ยนไปวันต่อวัน ตำราธุรกิจวันนี้ที่เราเรียน 10 กว่าปี 20 ปีที่ผ่านมา ใครที่มัวแต่หลงละเมอบอกว่าผมจบจากสหรัฐอเมริกา 20 ปีที่แล้ว ถ้าไม่ตามโลกวันนี้ให้ทัน ขืนใช้ตำราเล่มนั้นในการบริหารธุรกิจ ท่านเจ๊งแน่นอน โลกข้างหน้ามันจึงเริ่มเปิดสำหรับคนตัวเล็ก เมื่อโลกเปิดกว้างให้กับคนตัวเล็ก รัฐบาลชุดนี้ก็ต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับให้กับคนตัวเล็ก แต่เนื่องจากคนตัวเล็กในประเทศนี้ยังอยู่ในระดับที่มีศักยภาพการแข่งขันที่ต่ำมาก เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีโอกาสฟูมฟักเขาเลย เขามีสินค้าอยู่ในใจ มีสินค้าท้องถิ่นที่ดี แต่สินค้าเหล่านั้นบางครั้งยังไม่ได้มาตรฐานที่แข่งขันได้ในตลาดโลก ผมได้มีโอกาสเดินทางไปกับท่านนายกฯ เดินทางไปหลายแห่ง เห็นสินค้าพื้นเมืองดีๆ หลายแห่ง สินค้าเหล่านั้นแม้จะเป็นสินค้าที่ดี ใช้ศิลปหัตถกรรมภายในประเทศ แต่เราต้องยอมรับว่า design ของสินค้า packaging ของสินค้า มันไม่สอดรับกับความต้องการของตลาดโลกที่ใหญ่มาก เมื่อคืนนี้ ตอนเวลาประมาณทุ่มนึง ผมพาภรรยาผมไปเดินซื้อสินค้าที่ร้านโซโก้ เพราะว่าวันเสาร์และวันอาทิตย์ผมต้องไปสัมมนาที่พัทยา กลับมาต้องชดเชยความผิด รีบพาภรรยาไป shopping ก่อน เพราะว่าเวลามันไม่มี ก็ไปเห็นมุมๆ หนึ่ง อยู่ชั้นบนสุดของโซโก้ เครื่องศิลปะหัตถกรรมทั้งหลายพอมี concept ของ designer จากตะวันตกใส่เข้ามาปั๊บ มัน upgrade สินค้าจากท้องถิ่นกลายเป็นสินค้าที่สามารถขายตลาดโลกได้ทันที ชัดเจนเลย value added ที่เราเคยซื้อสินค้าตัวนี้ ตะกร้าใบนี้ จักรสานขึ้นมาได้ราคา 200 บาท ใบนี้ที่ขายที่นี่คุณสามารถขายได้เป็นพันๆ บาท จากการใส่ design เข้าไป ซึ่งเรายังอ่อนด้อยอยู่ จัดการทำ packaging เสียใหม่ เป็นต้น
ฉะนั้นเมื่อเรารู้ว่าศักยภาพของ SMEs ในประเทศไทยนั้น ถึงแม้จะมีมากแต่จุดเริ่มต้นยังไม่ได้มาตรฐาน นโยบายของพรรคไทยรักไทยและของรัฐบาลชุดนี้ก็เลยต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยให้เขาสามารถยกระดับขึ้นมาได้ โครงสร้างพื้นฐานนั้นคือ 1. concept ของสินค้า ผมได้กราบเรียนท่านปลัดมนูฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่าพยายามใช้สถาบันอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สถาบันอาหาร สถาบันสิ่งทอ สถาบันแฟชั่น สถาบันเซรามิกส์ ฯลฯ สถาบันเหล่านี้จะต้องพยายามเข้าไปมีส่วนในการพัฒนาแนวคิดและสินค้าของ SMEs ให้ได้มาตรฐานและสามารถสอดรับกับความต้องการของตลาดโลกให้ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่เรากำลังจะทำ จาก Idea จาก Concept มันก็จะมาสู่เรื่องของกำลังทุนและกำลังเงิน ขึ้นชื่อว่า SMEs ถ้าหนี้ไม่สูง ผมไม่ถือว่าเป็น SMEs หนี้ต้องสูงแน่นอนเพราะเขายืนบนลำแข้งของเขา ทุนเขามีน้อย เมื่อทุนมีน้อยก็ต้องกู้มาก แต่เมื่อกู้มาก debt equity มันก็สูง เมื่อ debt equity สูง แบงก์ก็ไม่ปล่อยสินเชื่อ นี่เรื่องธรรมดา ฉะนั้นจะไปโทษว่าธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ SMEs โทษเขาไม่ได้ เพราะ debt equity บางทีมันสูงเกินไป ฉะนั้นจะทำยังไง สิ่งแรก venture capital ต้องเกิดขึ้นมา ขณะนี้รัฐบาลมีกองทุนอยู่แล้วกองทุนนึงแต่ยังไม่มาก อนาคตข้างหน้าเราจะ promote ธุรกิจ venture capital หรือธุรกิจร่วมทุน เมื่อ venture capital เห็นประโยชน์จากการร่วมทุน เขาบอกว่าบริษัท ก. มีศักยภาพ เขาก็จะเอาทุนของเขามาใส่ เขาจะไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับการบริหาร เมื่อเอาทุนเข้ามาใส่ debt equity ก็ดีขึ้น ธนาคารก็เริ่มปล่อยสินเชื่อเขาไป ก็ทำให้มีการเงินที่เข้มแข็งขึ้น หลากหลายขึ้น จากจุดนั้นก็ต้องมีตลาด MAI หรือตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs เพื่อให้ venture capital ที่เป็นคนลงทุนนั้นสามารถเอาหุ้นเข้าตลาด เขาจะได้ถอนตัวออกไปได้ ได้กำไรกลับคืนมา แต่แค่นั้นก็ไม่พอ สิ่งที่ SMEs ต้องการมากๆ ก็คือ ความสามารถในเชิงของการจัดการ ฉะนั้น concept ในการบริหารการเงิน บริหารการตลาด บริหารสินค้าคงคลัง บริหารหนี้ สิ่งเหล่านี้เขาขาดอยู่ ก็ต้องมีคนบางคนไปทำหน้าที่อันนี้ ผมได้ขอให้ทางปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับในการทำสิ่งเหล่านี้ ฉะนั้นมันเหมือนกับว่าถ้าเราต้องการสร้างเด็กคนนี้ให้โตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า แปลว่าคุณกำลังให้โครงสร้างพื้นฐานหลายๆ อย่าง ต้องมาเกี่ยวเข้าด้วยกัน เกาะเข้าด้วยกัน เพื่อให้เขาเดินไปข้างหน้าได้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมกับรัฐมนตรีอุตสาหกรรมได้ประชุมร่วมกันโดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด องค์กรที่เกี่ยวกับ SMEs มาประชุมร่วมกัน และบอกกับเขาว่า 20-30 ปีที่ผ่านมาที่เราไม่สามารถพัฒนา SMEs ได้ เพราะเป็นไปได้ที่แต่ละคนต่างคนต่างทำแล้ว SMEs มันจะเกิดขึ้นมาได้ ที่ผมอธิบายไป กว่าเขาจะโตขึ้นมาได้ทุกส่วนมันต้องสอดคล้องซึ่งกันและกัน ถึงไปด้วยกันได้ จะบอกว่าตลาดหลักทรัพย์มีไว้ให้ SMEs ไปเข้า เขาจะเข้าได้อย่างไร แบงก์ปล่อยสินเชื่อ SMEs แบงก์จะปล่อยได้อย่างไรถ้าทุนเขามีน้อย ที่บอกว่าเอาสินค้าเขาส่งออก เขาจะส่งออกได้อย่างไร ถ้าสินค้าของเขาไม่สามารถผลิตให้สอดคล้องกับรสนิยมตลาดโลกได้ มันไม่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ฉะนั้นถ้าเราตั้งใจจะให้ SMEs เกิดขึ้นมา ความสอดรับเชิงนโยบายขององค์กรแต่ละองค์กรต้องหนุนกันขึ้นมา กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องทันทีในส่วนนี้ ฉะนั้นแนวความคิดแบบแยกส่วนมันไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไปในอนาคตข้างหน้า
เมื่อวานนี้ที่พัทยา ผมก็ได้นำเสนอ concept อันนี้เกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐบาล ว่าแทนที่เราจะให้แต่ละกระทรวงทำแต่ละอย่าง เราจะใช้ concept ใหม่ก็คือ มองจากเรื่องของ value added หรือการสร้างมูลค่าเพิ่ม เริ่มจากทรัพยากรธรรมชาติ ต่อด้วยการผลิต ต่อด้วยการค้า ต่อด้วยการแข่งขันในตลาดโลก แล้ว design กระทรวงให้มีความเชื่อมต่อกัน ระหว่างการใช้ทรัพยากร มาสู่การผลิต มาสู่การค้า และก็มาสู่การแข่งขันในตลาดโลก design อย่างนี้แล้วมันสามารถมีความเชื่อมต่อเชิงกลยุทธ์ และทำได้ไม่ยากด้วย มันก็เกิดเป็น concept ขึ้นมาว่าเราจะเริ่มจากจุดนั้นในการดำเนินงาน ฉะนั้นถ้าเรามองออกไปอย่างนี้ แปลว่าถ้ารัฐบาลนี้อยู่ 4 ปี แปลว่านโยบาย SMEs นั้นเป็นธงชัยแน่นอนของรัฐบาลนี้ เกิดแน่นอน จะใช้งบประมาณเท่าไรเราจะทำให้มันเกิด คำถามก็คือว่าภาครัฐต้องช่วยกัน แต่ที่สำคัญคือ ในส่วนของเอกชนด้วยกัน ธนาคารถ้าหากยังใช้ concept เดิมในการปล่อยสินเชื่อ บังเอิญ 15 ปีที่ได้กลับมาจากเมืองนอกเข้ามาในเมืองไทย ได้คลุกคลีในหลาย sector แล้วเห็นการปล่อยสินเชื่อในอดีต ดูโหงวเฮ้งเป็นหลักใหญ่ เป็น business tycoon หรือเปล่า คนนี้ชื่อเสียงดี พนักงานสินเชื่อบอกว่าเห็นสมควร ก็เชื่อถือได้ เวลาปล่อยสินเชื่อมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือเปล่า syndicate role ขนาดใหญ่นี้แทบไม่ต้องพูดเลยเพราะมันแข่งกันหนักมาก
ฉะนั้นท่านในฐานะของสถาบันการเงิน ถ้าขืนปล่อยสินเชื่อด้วยการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ใช้วิธีการมองว่าเป็น tycoon หรือเปล่า วันนี้ tycoon ไม่มีเหลือแล้วนะครับ tycoon ที่ว่านี้ส่วนใหญ่ NPL ทั้งนั้นในขณะนี้ ท่านจะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้เลยในชื่อของ SMEs เพราะมันมีการตัดตอนมองว่ารายนี้มาขอสินเชื่อจากคุณแล้วคุณก็ให้ แต่ถ้าคุณไม่ปล่อยสินเชื่อกับ SMEs ถามว่าอนาคตข้างหน้า แบงก์ของคุณจะอยู่ที่ไหน แบงก์ของคุณก็จะไม่มีที่ยืน เพราะคุณจะปล่อยกับใคร ในขณะนี้มีกี่กลุ่มธุรกิจที่สามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อย่างเข้มแข็ง มีอยู่ไม่กี่ก้อน ฉะนั้นมันก็เลยเป็นความจำเป็นเชิงบังคับที่ท่านต้องสร้างธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมา และในขบวนการสร้างนั้นก็ต้องย้อนกลับไปสู่การทำแบงก์ที่แท้จริงเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา คือเป็นลักษณะของ hand holding คือโตขึ้นมาพร้อมกับเขา พัฒนาเขาขึ้นมา และก็ปล่อยสินเชื่อเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งในการบริหารลูกค้า หมายความว่าเข้าไปหาเขา เกื้อกูลเขา พัฒนาเขา ปล่อยสินเชื่อไป พาเขาเข้าตลาดหลักทรัพย์ เขาเติบโต คุณก็เติบโตไปด้วย กำไรไปด้วย นี่คือการทำแบงก์ที่แท้จริงในสมัยเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ไม่ใช่ในยุค 10 กว่าปีที่ผ่านมา ที่บอกว่า ใครจะเข้ามาเข้ามา เอาหลักทรัพย์ค้ำประกันมาค้ำ แล้วคุณก็ให้สินเชื่อ norm อันนี้ผิดตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ฉะนั้นวันนี้ผมเดินไปทีละธนาคาร ธกส. ต้องเปลี่ยนแน่นอนแล้ว ไม่ใช่ commercial bank เด็ดขาด ทีนี้ commercial bank ในเมืองไทย ใครรุกก่อนได้ก่อน เพราะ SMEs ที่มี potential มัน shift กันได้ง่ายมาก ตลาดตอนนี้ยังเปิดอยู่ แบงก์ฝรั่งจ้องตาเป็นมัน
วันนี้พอธนาคารประชาชนหรือออมสินรุกเข้าไปเท่านั้นเอง แบงก์ฝรั่งเริ่มตาม SMEs เริ่มทำ training เขาเริ่ม identify ว่า SMEs ไหนมี potential พวกส่งออกทั้งหลายมีใครบ้าง และที่มีปัญหาทางการเงินมีใครบ้าง เริ่มเจาะเข้าไป ฉะนั้นในเชิงของเรา ในฐานะแบงก์รัฐต้องยึดหัวหาดก่อน ท่านต้องมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เพราะถ้า concept ของการปล่อยสินเชื่อเป็นอย่างที่ผมบอกมา โครงสร้างของ commercial bank ที่บอกว่านี่คือฝ่ายสินเชื่อ นี่คือฝ่ายตรวจสอบ นี่คือฝ่าย Admin. นี่คือฝ่ายกิจการสาขาอย่างนี้มันไม่ใช่แล้ว หมายความว่ามันต้องมีทีมๆ หนึ่งในการเจาะ การรุกที่มันไปพัฒนา แล้วสินเชื่อค่อยตามไป มันเป็น package ใหม่ที่ structure มันต้องผันแปรตาม strategy ถ้าคุณเข้าไปในช่วงที่เขาลำบาก เขาจะจดจำท่านได้ และจะเข้าใจว่าเมื่อเวลาเขาโตขึ้นไปเขาจะใช้บริการของท่าน ฉะนั้น timing อย่างนี้ผมถึงอยากจะกราบเรียนว่า ณ เวลานี้มันเป็นจุดหักเหของการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของวงการธุรกิจไทย ไม่ใช่เฉพาะธนาคารพาณิชย์ บริษัทธุรกิจวันนี้ถ้าไม่ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เขาก็ไม่สามารถเผชิญการแข่งขันในอนาคตข้างหน้าได้ คนหลายคนบอกว่าตลาดหุ้นที่โตขึ้นมาในวันนี้ วันนี้หุ้นขึ้นมาอย่างนี้อยู่ได้นานไหม ถ้าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ปรับโครงสร้างให้แข็งแกร่งในการแข่งขัน ไม่กี่วันก็ลงเพราะว่าอนาคตความเสียดทานทางการแข่งขันมันสูง ธนาคารก็เหมือนกัน ธนาคารพาณิชย์ไทยในวันนี้เหลือกี่ธนาคาร ส่วนใหญ่เป็นธนาคารต่างประเทศทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าท่านจะแข่งขันท่านต้องเตรียมตั้งแต่วันนี้แล้ว
ฉะนั้นในเชิงของการสร้าง SMEs ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ว่า ผมไล่มาตั้งแต่ต้น ทำไมต้องเป็น SMEs ประเทศจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่ประชุมที่เชียงใหม่เราวางชัดเจนว่า 5 ปีข้างหน้าเราจะมีการเจริญเติบโต อย่างนี้ๆ งบประมาณจะเริ่มเกินดุลได้ในปีที่ 6 จากวันนี้ เกินดุลได้ในปีที่ 6 หมายความว่า รายรับจากภาษีต้องโตได้อย่างนี้ๆ ใน 6 ปีข้างหน้า รายรับจากภาษีจะโตได้ก็ต่อเมื่อต้องมีฐานธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมา ยิ่งมีฐานธุรกิจเกิดมามากเท่าไร รายได้ของรัฐบาลจะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว อันนี้เป็นสิ่งที่แน่นอนที่จะต้องเกิดขึ้น ฉะนั้นเมื่อเรามีแผนการที่ชัดเจนอย่างนี้ เราก็บอกว่าในอดีตทางการเมืองไม่ support หรอก SMEs เพราะมันไม่ได้ประโยชน์เชิงการเมือง แต่วันนี้มันเป็นทั้งความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และได้ทั้งทางการเมือง เพราะนี่คือฐานเสียงที่แท้จริงของประเทศ ฉะนั้นนโยบายอันนี้ ไม่ว่าพรรคใดมาเป็นรัฐบาล SMEs เป็นหัวหอกแน่นอน จากจุดนั้นผมก็มาบอกว่าแล้ว SMEs มันมีอะไรบ้าง ท่านอย่าไปปิดกั้นตัวเองว่ามันมีอยู่แค่นี้ มันหลากหลายทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราต้อง identify potential มันออกมา แล้วผมก็มาบอกว่า SMEs นั้นมีความต้องการอะไร ตั้งแต่ innovation ของ idea เปลี่ยน idea เป็น concept ของสินค้า จัดสินค้าทำสินค้าให้มีคุณภาพ และก็ทางการเงิน การบริหาร การจัดการ และก็เข้าตลาดหลักทรัพย์ รัฐบาลจะทำอะไรในสิ่งเหล่านี้ และท่านในฐานะธนาคารพาณิชย์จะเตรียมการอย่างไรในสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ผมไล่โยงตั้งแต่ ก.ไก่ จนถึง ฮ.นกฮูก และก็ใช้สิ่งเหล่านี้ในการดำเนินนโยบายใน 4-5 ปีข้างหน้า ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็แล้ว แต่ผมเชื่อว่าต้องเดินเส้นทางเส้นนี้แน่นอน
ที่สำคัญที่สุดถ้าเราไปดูในอเมริกา ที่ SMEs เหล่านั้นเติบโตได้เร็วมันมีเหตุผลอยู่ 2 อย่าง 1. การรวมกลุ่มของ SMEs SBA ของอเมริกา Small Business Association มีการรวมกลุ่มชมรมหรือสภาของธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลาง เอกชนต้องรวมกลุ่มกันเองก่อน ช่วยตัวเองด้วย ตรงนี้ผมยังไม่เห็น สภาอุตสาหกรรมฯ ในขณะนี้ไม่ได้สะท้อนเรื่องของ SMEs เท่าที่ควร ฉะนั้นตรงนี้ต้องมีการแก้ไข ผมเรียกร้องมาหลายครั้งแล้วว่า หอการค้าก็เช่นกันต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับ SMEs ไม่อย่างนั้นในอนาคตข้างหน้ามันจะมีสภา SMEs เกิดขึ้นมาโดยเอกเทศของเขาเอง 2. ธุรกิจขนาดใหญ่ถ้ามีความไวทางธุรกิจพอ เขาเองนั่นแหละที่จะทำหน้าที่เป็น venture capital ลองนึกภาพดูว่าถ้าท่านเป็นบริษัทขนาดใหญ่ขณะนี้ มีกำไรเยอะแยะเลย แทนที่จะเก็บกำไร แล้วปล่อยกำไรเอาไว้ฝากแบงก์ ผมจะเอาเงินกำไรเหล่านี้เป็น venture cap ไปต่อสายกับธุรกิจขนาดเล็กๆ ให้เขาได้เกิดขึ้นมา เพราะว่าลองนึกดูนะครับผมไม่ทราบว่าใครเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในที่นี้บ้าง แต่ถ้าผมมีธุรกิจขนาดใหญ่ ผมจะ identify เป็นตัวอย่าง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอาหารแปรรูป กลุ่มนี้เป็นกลุ่มของ handicraft product กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอินเตอร์เน็ตในอนาคตข้างหน้า เป็นต้น ผมจะดูว่ามีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพกี่ราย ผมจะหาทางเข้าไปมีส่วนเกื้อหนุนในการเอาทุนเข้าไปใส่ เป็นแนวร่วม และเมื่อไรก็ตามที่กลุ่มเหล่านี้เติบโตขึ้นมา เข้าตลาด ผมก็ได้ประโยชน์ทั้งในเชิงของตลาดและในเชิงของผลกำไร และในเชิงของ market share ของเศรษฐกิจของประเทศ การทำการค้ามันวัดกันที่ความกว้างไกลทางความคิด และความใจใหญ่ในการลงทุนในวันนี้เพื่อวันหน้า ฉะนั้นบริษัทขนาดใหญ่ในวันนี้ได้เปรียบมาก ถ้าท่านยืนแข็งอยู่ในตลาดได้ แต่ถ้าใช้บางส่วนในนี้ไปช่วยเหลือ SMEs ท่านจะได้ประโยชน์ทุกๆ อย่าง อันนี้เขาเรียกว่า corporate venture ผมใช้เวลาพอสมควรแล้ว อีกสักครู่หนึ่งผมจะส่งลูกไปให้ปลัดมนู ของกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านจะเรียนให้เราทราบว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีความคิดอย่างไร เพราะในขณะนี้ท่านปลัดสวมหมวก 2 ใบ 1. ท่านเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีหน้าที่โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนา SMEs 2. ท่านเป็นประธานแบงก์ บอย. ฉะนั้น ณ จุดนี้ผมคิดว่าผมจะจบการพูดเพียงเท่านี้ _______________________________
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
กรองจิตร, ชนาธิป : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-