1.สถานการณ์สินค้า
1.1สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 โครงการแทรกแซง : ผลการดำเนินงานโครงการแทรกแซงตลาดข้าวสารของ อ.ต.ก.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวนาปรังปี 2543 ว่าจะมีประมาณ 4.35 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากที่ผลิตได้ 4.34 ล้านตันข้าวเปลือก ในปี 2542 ร้อยละ 0.23 ข้าวนาปรังเริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม จะเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวมาก รวมประมาณร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้รถเกี่ยวนวด ทำให้ความชื้นสูงประมาณ 20-25 % ส่งผลให้ราคาข้าวตกต่ำ ประกอบกับผลผลิตข้าวเปลือกโลก ปี 2542/2543 เท่ากับ 595.49 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจาก 585.20 ล้านตันข้าวเปลือก ร้อยละ 1.76 ส่วนการค้าข้าวของโลกลดลง ส่งผลให้ราคาตลาดโลกลดลง
ขณะนี้ผลผลิตข้าวนาปรังมีการเก็บเกี่ยวแล้วประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดและข้าวที่เก็บเกี่ยวประสบกับฝนตกชุก ทำให้ข้าวเปลือกมีความชื้นเกิน 25 % ราคายังไม่กระเตื้องขึ้นทำให้เกษตรกรออกมาเรียกร้องซึ่งรัฐบาลได้เข้ามาแทรกแซงตลาดข้าวสารเพื่อพยุงราคาข้าวเปลือกโดยให้อคส.และอตก.ประกาศรับซื้อข้าวสารแทรกแซงตลาด ปี 2542/2543 โดยประกาศรับซื้อข้าวสารจากโรงสีที่เข้าร่วมโครงการเป็นข้าว 25% เลิศ จำนวนหน่วยงานละ 300,000 กระสอบ (30,000 ตัน) ในราคากระสอบละ 850 บาท โดยโรงสีเข้าร่วมโครงการที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดฉะเชิงเทรา รับซื้อข้าวเปลือกเจ้าคุณภาพต่ำพิเศษ แยกเป็น
- ความชื้น 25 - 30% ข้าวเปลือก 100 กรัม บดเป็นข้าวกล้องได้ไม่ต่ำกว่า 50 กรัม ในราคาไม่ต่ำกว่าตันละ 3,900 บาท
- ความชื้น 25-30% ข้าวเปลือก 100 กรัม บดเป็นข้าวกล้องได้ไม่ต่ำกว่า 45 กรัม ในราคาไม่ต่ำกว่าตันละ 3,750 บาท
2.2 คชก. : อนุมัติโครงการแทรกแซงสินค้าเกษตรที่สำคัญ
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติโครงการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยโครงการแทรกแซงตลาดมะพร้าว สับปะรด ทุเรียน และลำไย ดังนี้
(1) มะพร้าว
- กำหนดราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง90% ที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 9.37 บาท
- อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 100 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทย จัดสรรให้จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวที่สำคัญตามสัดส่วนผลผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการสถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้งจากเกษตรกรในราคานำตลาด เมื่อเนื้อมะพร้าวแห้งต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำหรือคาดว่าจะต่ำกว่ากำหนด ระยะเวลารับซื้อพฤษภาคม-กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม - พฤศจิกายน 2543 โดยหักค่าใช้จ่ายของทางการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ
(2) สับปะรด
- กำหนดราคาเป้าหมายนำสับปะรดเกรดมาตรฐานโรงงาน ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 2.61 บาท
- อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 250 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำไปรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร เพื่อกระจายไปยังนอกแหล่งผลิต จำนวน 50 ล้านบาท โดยให้ อคส. หักภาระขาดทุนจากการรับซื้อกับราคาขายและการเน่าเสียได้ตามที่เกิดขึ้นจริง ระยะเวลารับซื้อเมษายน-กรกฎาคม 2543 ระยะเวลาโครงการ เมษายน-กันยายน 2543 และค่าใช้จ่ายดำเนินการได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินงานและจำนวน 200 ล้านบาท ให้ อคส. ดำเนินการรับจำนำสับปะรดกระป๋องและนำสับปะรดเข้มข้นจากโรงงานแปรรูป โดยโรงงานรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ในราคานำตลาด ระยะเวลารับจำนำเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2543 กำหนดไถ่ถอน 31 มีนาคม 2544 และให้หักค่าใช้จ่ายดำเนินการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ
(3) ทุเรียน
- กำหนดราคาเป้าหมายนำสำหรับทุเรียนพันธุ์ชะนี กิโลกรัมละ 11 บาท และพันธุ์หมอนทอง กิโลกรัมละ 18 บาท
- อนุมัติวงเงินแทรกแซงจำนวน 135.5 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 120 ล้านบาท ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตามโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียน จำนวน 90 ล้านบาท โดยนำไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรแล้วนำไปแช่เยือกแข็ง เพื่อจำหน่ายต่อไป และจำนวน 30 ล้านบาท ไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการ สถาบันเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรยืมไปแปรรูปทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ 13.5 ล้านบาท นำไปดำเนินการตามโครงการระบายทุเรียนออกนอกแหล่งผลิต โดยนำไปจัดสรรให้กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน และกลุ่มเกษตรกรกู้ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกร รวมทั้งเงินจ่ายขาด 2 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในเป็นค่าใช้จ่ายในการรณรงค์ค่าสาธารณูปโภคและประชาสัมพันธ์ตามโครงการระบายทุเรียนออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลาดำเนินการพฤษภาคม-กรกฎาคม 2543 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2543-กุมภาพันธ์ 2544
(4) ลำไย
- กำหนดราคาเป้าหมายนำ ลำไยร่วงคละที่เกษตรกรขายได้ ณ แหล่งผลิตกิโลกรัมละ 9.70 บาท ลำไยเกรดเอ ที่โรงงานลำไยกระป๋องรับซื้อ ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 25.40 บาท
- กำหนดวงเงินแทรกแซงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน จำนวน 100 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้โรงงานผลไม้กระป๋องยืมไปรับซื้อลำไยสดจากสถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร หรือ อคส. รับจำนำผลิตภัณฑ์จากโรงงาน และจำนวน 100 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริม-สหกรณ์ หน่วยงานละ 50 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรและเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนการซื้อเตาอบในปี 2539 ยืมไปใช้รับซื้อลำไยสดจากเกษตรกรในราคานำตลาด และจำนวน 100 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในจัดสรรให้โรงงานแปรรูปลำไยอบแห้งยืมไปซื้อลำไยสดจากสถาบันเกษตกร/กลุ่มเกษตรกร หรือ อคส. รับจำนำผลิตภัณฑ์จากโรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ระยะเวลาดำเนินการมิถุนายน-สิงหาคม 2543 ระยะเวลาโครงการมิถุนายน 2543- มีนาคม 2544
2) อนุมัติขยายระยะเวลาโครงการเก็บสต็อกไข่ไก่เข้าห้องเย็น ตามที่ คชก. ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2542 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 30 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2542 จำนวน 30 ล้านบาทให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อไปแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำปี 2542/43 โดยเก็บสต็อกไข่เข้าห้องเย็นและมีกำหนดคืนเงินในเดือนพฤษภาคม 2543 แต่เนื่องจากปริมาณไข่ไก่ยังมีอยู่ในท้องตลาดจำนวนมาก และราคายังต่ำอยู่ ทั้งกรมการค้าภายในและกรมส่งเสริมสหกรณ์จึงเสนอขอขยายระยะเวลาโครงการเก็บสต็อกไข่ไก่เข้าห้องเย็น จากเดิมสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2543 เป็นเดือนกันยายน 2543 ซึ่ง คชก. มีมติอนุมัติตามเสนอ
2.3 หอมหัวใหญ่ : การชุมนุมเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ อ. ฝาง
จากการที่ คชก. ได้อนุมัติเงินจำนวน 6.7 ล้านบาท ดำเนินการแทรกแซงตลาดหอมหัวใหญ่ช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ ตามวิธีการ และระเบียบของสหกรณ์เพื่อให้สมาชิกฯ ได้รับเงินค่าหอมหัวใหญ่ขั้นต้นในอัตราร้อยละ 60 ของราคาเป้าหมายนำ สถานการณ์ด้านการตลาดหอมหัวใหญ่ของอำเภอฝางล่าสุด ปรากฏว่าราคาซื้อขายหอมหัวใหญ่ของเกษตรกรกิโลกรัมละ 4.00-4.50 บาท ผลผลิตคงเหลือประมาณ 16,000-17,000 ตัน เกษตรกรยังไม่มีความพอใจราคาเกษตรกรขายได้ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงมีการรวมตัวกันขึ้นประมาณ 1,000 ราย เรียกร้องเพิ่มเติมผ่านทางอำเภอฝาง ดังนี้
1. ให้พ่อค้ารับซื้อหอมหัวใหญ่ในราคากิโลกรัมละ 6.00 บาท โดยขอให้รัฐมีหลักประกันพร้อมมาตรการไม่ให้มีการลักลอบหอมหัวใหญ่เข้ามาในประเทศ
2. ขอให้ส่วนราชการโดยรัฐมนตรีและกรมศุลกากรมีการแถลงข่าวร่วมกันให้ สาธารณชนทราบอย่างชัดเจนว่า จะมีการปราบปรามลักลอบหอมหัวใหญ่อย่างจริงจัง
3. พ่อค้าและสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด ยินดีส่งตัวแทนไปร่วมกับกรมศุลกากรในการชี้เบาะแส เพื่อจับกุมพ่อค้าที่ลักลอบหอมหัวใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาขายในตลาด
4. ขอให้ผู้แทนกรมศุลกากรมาลงนามในการเป็นพยานในการซื้อขายหอมหัวใหญ่ ระหว่างพ่อค้ากับสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด ในครั้งนี้ด้วย ขณะนี้ทางอำเภอฝางได้มีการปรึกษาหารือกับเกษตรกรที่มาชุมนุมฯ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 ได้ข้อสรุปดังนี้
1) พ่อค้าที่เคยรับซื้อหอมหัวใหญ่ จะรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อรับซื้อหอมหัวใหญ่จากเกษตรกรโดยกำหนดราคารับซื้อหอมหัวใหญ่เก็บไว้ในห้องเย็น ดังนี้
- วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2543 กิโลกรัมละ 6.00 บาท
- วันที่ 1-10 มิถุนายน 2543 กิโลกรัมละ 6.50 บาท
- วันที่ 11-20 มิถุนายน 2543 กิโลกรัมละ 7.00 บาท
- วันที่ 21 มิถุนายน 2543 กิโลกรัมละ 7.50 บาท
สำหรับหอมหัวใหญ่ตกเกรดกำลังอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือกับเกษตรกร
2) ได้มีการจัดตั้งโครงการตลาดนัดเกษตรสัญจร เพื่อนำหอมหัวใหญ่จากสมาชิก สหกรณ์ไปขายในท้องตลาด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 ได้มีการนำไป 9 คันรถสิบล้อ ขายในท้องที่จังหวัดพิษณุโลก นครราชสีมา เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ขอนแก่น และอุบลราชธานี แล้ว 3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้มีการประสานงานเป็นการภายในกับกรมศุลกากรทั้งในส่วนกลางและจังหวัดเชียงใหม่แจ้งเงื่อนไขข้อร้องเรียนของเกษตรกร เพื่อรับทราบและดำเนินการต่อไป
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 8 - 14 พ.ค. 2543--
-อน-
1.1สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 โครงการแทรกแซง : ผลการดำเนินงานโครงการแทรกแซงตลาดข้าวสารของ อ.ต.ก.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวนาปรังปี 2543 ว่าจะมีประมาณ 4.35 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากที่ผลิตได้ 4.34 ล้านตันข้าวเปลือก ในปี 2542 ร้อยละ 0.23 ข้าวนาปรังเริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป โดยช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม จะเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวมาก รวมประมาณร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้รถเกี่ยวนวด ทำให้ความชื้นสูงประมาณ 20-25 % ส่งผลให้ราคาข้าวตกต่ำ ประกอบกับผลผลิตข้าวเปลือกโลก ปี 2542/2543 เท่ากับ 595.49 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจาก 585.20 ล้านตันข้าวเปลือก ร้อยละ 1.76 ส่วนการค้าข้าวของโลกลดลง ส่งผลให้ราคาตลาดโลกลดลง
ขณะนี้ผลผลิตข้าวนาปรังมีการเก็บเกี่ยวแล้วประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดและข้าวที่เก็บเกี่ยวประสบกับฝนตกชุก ทำให้ข้าวเปลือกมีความชื้นเกิน 25 % ราคายังไม่กระเตื้องขึ้นทำให้เกษตรกรออกมาเรียกร้องซึ่งรัฐบาลได้เข้ามาแทรกแซงตลาดข้าวสารเพื่อพยุงราคาข้าวเปลือกโดยให้อคส.และอตก.ประกาศรับซื้อข้าวสารแทรกแซงตลาด ปี 2542/2543 โดยประกาศรับซื้อข้าวสารจากโรงสีที่เข้าร่วมโครงการเป็นข้าว 25% เลิศ จำนวนหน่วยงานละ 300,000 กระสอบ (30,000 ตัน) ในราคากระสอบละ 850 บาท โดยโรงสีเข้าร่วมโครงการที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดฉะเชิงเทรา รับซื้อข้าวเปลือกเจ้าคุณภาพต่ำพิเศษ แยกเป็น
- ความชื้น 25 - 30% ข้าวเปลือก 100 กรัม บดเป็นข้าวกล้องได้ไม่ต่ำกว่า 50 กรัม ในราคาไม่ต่ำกว่าตันละ 3,900 บาท
- ความชื้น 25-30% ข้าวเปลือก 100 กรัม บดเป็นข้าวกล้องได้ไม่ต่ำกว่า 45 กรัม ในราคาไม่ต่ำกว่าตันละ 3,750 บาท
2.2 คชก. : อนุมัติโครงการแทรกแซงสินค้าเกษตรที่สำคัญ
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติโครงการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยโครงการแทรกแซงตลาดมะพร้าว สับปะรด ทุเรียน และลำไย ดังนี้
(1) มะพร้าว
- กำหนดราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง90% ที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 9.37 บาท
- อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 100 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทย จัดสรรให้จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวที่สำคัญตามสัดส่วนผลผลิต เพื่อให้ผู้ประกอบการสถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้งจากเกษตรกรในราคานำตลาด เมื่อเนื้อมะพร้าวแห้งต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำหรือคาดว่าจะต่ำกว่ากำหนด ระยะเวลารับซื้อพฤษภาคม-กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม - พฤศจิกายน 2543 โดยหักค่าใช้จ่ายของทางการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ
(2) สับปะรด
- กำหนดราคาเป้าหมายนำสับปะรดเกรดมาตรฐานโรงงาน ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 2.61 บาท
- อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 250 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำไปรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร เพื่อกระจายไปยังนอกแหล่งผลิต จำนวน 50 ล้านบาท โดยให้ อคส. หักภาระขาดทุนจากการรับซื้อกับราคาขายและการเน่าเสียได้ตามที่เกิดขึ้นจริง ระยะเวลารับซื้อเมษายน-กรกฎาคม 2543 ระยะเวลาโครงการ เมษายน-กันยายน 2543 และค่าใช้จ่ายดำเนินการได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินงานและจำนวน 200 ล้านบาท ให้ อคส. ดำเนินการรับจำนำสับปะรดกระป๋องและนำสับปะรดเข้มข้นจากโรงงานแปรรูป โดยโรงงานรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ในราคานำตลาด ระยะเวลารับจำนำเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2543 กำหนดไถ่ถอน 31 มีนาคม 2544 และให้หักค่าใช้จ่ายดำเนินการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ
(3) ทุเรียน
- กำหนดราคาเป้าหมายนำสำหรับทุเรียนพันธุ์ชะนี กิโลกรัมละ 11 บาท และพันธุ์หมอนทอง กิโลกรัมละ 18 บาท
- อนุมัติวงเงินแทรกแซงจำนวน 135.5 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 120 ล้านบาท ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตามโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียน จำนวน 90 ล้านบาท โดยนำไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรแล้วนำไปแช่เยือกแข็ง เพื่อจำหน่ายต่อไป และจำนวน 30 ล้านบาท ไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการ สถาบันเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรยืมไปแปรรูปทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ 13.5 ล้านบาท นำไปดำเนินการตามโครงการระบายทุเรียนออกนอกแหล่งผลิต โดยนำไปจัดสรรให้กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน และกลุ่มเกษตรกรกู้ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกร รวมทั้งเงินจ่ายขาด 2 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในเป็นค่าใช้จ่ายในการรณรงค์ค่าสาธารณูปโภคและประชาสัมพันธ์ตามโครงการระบายทุเรียนออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลาดำเนินการพฤษภาคม-กรกฎาคม 2543 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2543-กุมภาพันธ์ 2544
(4) ลำไย
- กำหนดราคาเป้าหมายนำ ลำไยร่วงคละที่เกษตรกรขายได้ ณ แหล่งผลิตกิโลกรัมละ 9.70 บาท ลำไยเกรดเอ ที่โรงงานลำไยกระป๋องรับซื้อ ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 25.40 บาท
- กำหนดวงเงินแทรกแซงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน จำนวน 100 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้โรงงานผลไม้กระป๋องยืมไปรับซื้อลำไยสดจากสถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร หรือ อคส. รับจำนำผลิตภัณฑ์จากโรงงาน และจำนวน 100 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริม-สหกรณ์ หน่วยงานละ 50 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรและเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนการซื้อเตาอบในปี 2539 ยืมไปใช้รับซื้อลำไยสดจากเกษตรกรในราคานำตลาด และจำนวน 100 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในจัดสรรให้โรงงานแปรรูปลำไยอบแห้งยืมไปซื้อลำไยสดจากสถาบันเกษตกร/กลุ่มเกษตรกร หรือ อคส. รับจำนำผลิตภัณฑ์จากโรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ระยะเวลาดำเนินการมิถุนายน-สิงหาคม 2543 ระยะเวลาโครงการมิถุนายน 2543- มีนาคม 2544
2) อนุมัติขยายระยะเวลาโครงการเก็บสต็อกไข่ไก่เข้าห้องเย็น ตามที่ คชก. ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2542 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 30 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2542 จำนวน 30 ล้านบาทให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อไปแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำปี 2542/43 โดยเก็บสต็อกไข่เข้าห้องเย็นและมีกำหนดคืนเงินในเดือนพฤษภาคม 2543 แต่เนื่องจากปริมาณไข่ไก่ยังมีอยู่ในท้องตลาดจำนวนมาก และราคายังต่ำอยู่ ทั้งกรมการค้าภายในและกรมส่งเสริมสหกรณ์จึงเสนอขอขยายระยะเวลาโครงการเก็บสต็อกไข่ไก่เข้าห้องเย็น จากเดิมสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2543 เป็นเดือนกันยายน 2543 ซึ่ง คชก. มีมติอนุมัติตามเสนอ
2.3 หอมหัวใหญ่ : การชุมนุมเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ อ. ฝาง
จากการที่ คชก. ได้อนุมัติเงินจำนวน 6.7 ล้านบาท ดำเนินการแทรกแซงตลาดหอมหัวใหญ่ช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ ตามวิธีการ และระเบียบของสหกรณ์เพื่อให้สมาชิกฯ ได้รับเงินค่าหอมหัวใหญ่ขั้นต้นในอัตราร้อยละ 60 ของราคาเป้าหมายนำ สถานการณ์ด้านการตลาดหอมหัวใหญ่ของอำเภอฝางล่าสุด ปรากฏว่าราคาซื้อขายหอมหัวใหญ่ของเกษตรกรกิโลกรัมละ 4.00-4.50 บาท ผลผลิตคงเหลือประมาณ 16,000-17,000 ตัน เกษตรกรยังไม่มีความพอใจราคาเกษตรกรขายได้ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงมีการรวมตัวกันขึ้นประมาณ 1,000 ราย เรียกร้องเพิ่มเติมผ่านทางอำเภอฝาง ดังนี้
1. ให้พ่อค้ารับซื้อหอมหัวใหญ่ในราคากิโลกรัมละ 6.00 บาท โดยขอให้รัฐมีหลักประกันพร้อมมาตรการไม่ให้มีการลักลอบหอมหัวใหญ่เข้ามาในประเทศ
2. ขอให้ส่วนราชการโดยรัฐมนตรีและกรมศุลกากรมีการแถลงข่าวร่วมกันให้ สาธารณชนทราบอย่างชัดเจนว่า จะมีการปราบปรามลักลอบหอมหัวใหญ่อย่างจริงจัง
3. พ่อค้าและสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด ยินดีส่งตัวแทนไปร่วมกับกรมศุลกากรในการชี้เบาะแส เพื่อจับกุมพ่อค้าที่ลักลอบหอมหัวใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาขายในตลาด
4. ขอให้ผู้แทนกรมศุลกากรมาลงนามในการเป็นพยานในการซื้อขายหอมหัวใหญ่ ระหว่างพ่อค้ากับสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด ในครั้งนี้ด้วย ขณะนี้ทางอำเภอฝางได้มีการปรึกษาหารือกับเกษตรกรที่มาชุมนุมฯ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 ได้ข้อสรุปดังนี้
1) พ่อค้าที่เคยรับซื้อหอมหัวใหญ่ จะรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อรับซื้อหอมหัวใหญ่จากเกษตรกรโดยกำหนดราคารับซื้อหอมหัวใหญ่เก็บไว้ในห้องเย็น ดังนี้
- วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2543 กิโลกรัมละ 6.00 บาท
- วันที่ 1-10 มิถุนายน 2543 กิโลกรัมละ 6.50 บาท
- วันที่ 11-20 มิถุนายน 2543 กิโลกรัมละ 7.00 บาท
- วันที่ 21 มิถุนายน 2543 กิโลกรัมละ 7.50 บาท
สำหรับหอมหัวใหญ่ตกเกรดกำลังอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือกับเกษตรกร
2) ได้มีการจัดตั้งโครงการตลาดนัดเกษตรสัญจร เพื่อนำหอมหัวใหญ่จากสมาชิก สหกรณ์ไปขายในท้องตลาด เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 ได้มีการนำไป 9 คันรถสิบล้อ ขายในท้องที่จังหวัดพิษณุโลก นครราชสีมา เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ขอนแก่น และอุบลราชธานี แล้ว 3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้มีการประสานงานเป็นการภายในกับกรมศุลกากรทั้งในส่วนกลางและจังหวัดเชียงใหม่แจ้งเงื่อนไขข้อร้องเรียนของเกษตรกร เพื่อรับทราบและดำเนินการต่อไป
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 8 - 14 พ.ค. 2543--
-อน-