1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ ผลการดำเนินงานนโยบายและมาตรการข้าวปี 2543/44
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อ การผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ปีการผลิต 2543/44 เป้าหมาย 500,000 ตัน ผลการรวบรวมข้าวเปลือก 1 พฤศจิกายน 2543 — 30 เมษายน 2544 มีปริมาณ 322,536.088 ตัน มูลค่า 1,834.94 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้าวสารของ ธกส. อคส.และ อ.ต.ก.ปีการผลิต 2543/44 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 — 20 เมษายน 2544
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ธกส.เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน อคส.และ อ.ต.ก.เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย ธกส. จำนำที่ยุ้งฉาง 109,746 ราย ปริมาณข้าว 785,855 ตัน มูลค่า 3,608.87 ล้านบาท ประทวน อคส. จำนวน 32,251 ราย ปริมาณข้าว 521,394 ตัน มูลค่า 2,558.13 ล้านบาท ประทวน อ.ต.ก. จำนวน 13,072 ราย ปริมาณข้าว 199,762 ตัน มูลค่า 1,001.66 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำที่ยุ้งฉาง 103,371 ราย ปริมาณ 668,504 ตัน มูลค่า 3,412.66 ล้านบาท ประทวน อคส. 32,180 ราย ปริมาณ 519,744 ตัน มูลค่า 2,550.20 ล้านบาท และ อ.ต.ก. 13,070 ราย ปริมาณ 199,698 ตัน มูลค่า 1,001.32 ล้านบาท
2. โครงการรับจำนำข้าวสาร ในโกดังกลางของ อคส.และ อ.ต.ก. เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย ธกส.รับจำนำใบประทวนสินค้าจากเกษตรกร จำนวน 81,571 ราย ปริมาณ 571,739 ตัน มูลค่า 4,866.095 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอน 58,452 ราย ปริมาณ 542,121 ตัน มูลค่า 4,661.511 ล้านบาท
จัดงานถ่ายทอดความรู้และขั้นตอนการผลิตข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการจัดงานวันรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลลีการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่หมู่ 4 ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีว่าจังหวัดปทุมธานีมีศักยภาพในการผลิตข้าวโดยเฉพาะพันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 และข้าวปทุมธานี 1 สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อถ่ายทอดความรู้ ขั้นตอนการผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้กับเกษตรกร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการขยายเมล็ดพันธุ์ดีสู่เกษตรกรด้วยกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีนับเป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐานที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพข้าว ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาสูงคุ้มกับการลงทุนอีกด้วย
อนึ่ง จังหวัดปทุมธานีเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคกลาง มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 257,180 ไร่ มีเกษตรกรประมาณ 23,896 ครัวเรือน โดยเฉพาะอำเภอลาดหลุมแก้วมีพื้นที่ทำนาถึง 70,500 ไร่ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไม่ไวแสง 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 และพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งขณะนี้กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก
ภาวะการซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ข้าวสาร การซื้อขายมีน้อย เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่มีสินค้าเพียงพอแก่ความต้องการบ้างแล้ว นอกจากผู้ที่จำเป็นจะต้องใช้ข้าวจึงจะออกมารับซื้อในราคาต่ำลงและมีโรงสีบางโรงยินยอมจำหน่ายให้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 9 พฤษภาคม 2544 ไทยส่งออกข้าวรวม 2,057,719,.64 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 2,022,504.87 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.74
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 5,872 บาท ลดลงจากเกวียนละ 5,897 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,394 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,411 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 18-19% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 3,582 บาท ลดลงจากเกวียนละ 3,633 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15 % ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,116.67 บาท ราคาลดลงจากเกวียนละ 4,150 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,843 บาท สูงขึ้นจากตันละ 6,785 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 165ดอลลาร์สหรัฐ (7,472 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ ฟิลิปปินส์จะไม่นำเข้าข้าวอีกในปีนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ กล่าวว่าขณะนี้มีข้าวในสต็อกจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ ประมาณว่า ขณะนี้มีข้าวในสต็อกเพียงพอกับความต้องการใช้อีก 84 วัน เริ่มจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วฟิลิปปินส์จะบริโภคข้าววันละ 24,400 ตัน และจะสำรองข้าวในสต็อกกันชนสำหรับการบริโภค 90 วัน อย่างไรก็ดี ปริมาณข้าวในสต็อกในปีนี้ที่มีเพียงพอสำหรับการบริโภค 84 วันนั้น ยังมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้วที่มีสต็อกสำหรับการบริโภคเพียง 69 วันเท่านั้น หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของข้าวในสต็อก
ปริมาณข้าวในสต็อกใน 9 เดือนแรกของปีนี้ จะรวมถึงข้าที่ทำสัญญาซื้อจากไทยและเวียดนาม ที่จะส่งมอบระหว่างเดือนเมษายนและกรกฎาคม จำนวน 650,000 ตัน ข้าวที่ได้รับจากสหรัฐอเมริกาในรูปของสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอีกจำนวน 104,000 ตัน ยังรวมไปถึงข้าวที่ภาคเอกชนนำเข้าที่เหลือค้างในสต็อก 20,000 ตัน และข้าวที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศในไตรมาสแรกและปริมาณผลผลิตที่คาดการณ์ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ที่จะรวมไว้ในสต็อกข้าวของประเทศอีกด้วย
เวียดนามจะให้อิสระแก่นักธุรกิจในการส่งออกข้าวมากขึ้น
เวียดนามจะออกกฏอนุญาตให้ธุรกิจที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง สามารถทำธุรกิจส่งออกสินค้าต่าง ๆ ได้รวมถึงข้าวด้วย และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาและให้ข้อคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐก่อนที่จะประกาศใช้ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งกลไกการส่งออแบบใหม่นี้ จะเริ่มหลังจากมีการกเลิกโควตาการส่งออกข้าวในวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 และเริ่มให้ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตในการค้าอหารและผลิตผลทางการเกษตรามารถส่งออกข้าวได้
นอกจากนั้น กระทรวงพาณิชย์เวียดนามได้เสนอมาตรการส่งเสริมการส่งออกซึ่งจะมีการใช้กองทุนสนับสนุนการส่งออกที่จะชดเชยส่วนที่ขาดทุนให้กับผู้ส่งออกข้าว กาแฟ ผลิตภัณฑ์รองเท้า สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ศิลปะ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เนื้อสัตว์และผักต่าง ๆ ซึ่งหากผ่านการรับรองของรัฐบาลแล้วจะมีเงินกองทุนที่จะมาช่วยเหลือในการส่งออกข้าวถึง 13.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกข้าวลดการขายข้าวผ่านการประมูลราคา และผู้ส่งออกสามารถจ่ายค่านายหน้าใหัก้บพ่อค้าคนกลางในการหาตลาดใหม่ ๆ ได้อย่างไม่จำกัด
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2544 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาค 2544 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 4.73 เซนต์ (4.71 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 4.01 เซนต์ (4.00 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 3.99 เซนต์ (3.97 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 2.37 เซนต์ (2.36 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 45.284 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 7-13 พ.ค. 2544--
-สส-
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อ การผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ปีการผลิต 2543/44 เป้าหมาย 500,000 ตัน ผลการรวบรวมข้าวเปลือก 1 พฤศจิกายน 2543 — 30 เมษายน 2544 มีปริมาณ 322,536.088 ตัน มูลค่า 1,834.94 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้าวสารของ ธกส. อคส.และ อ.ต.ก.ปีการผลิต 2543/44 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 — 20 เมษายน 2544
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ธกส.เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน อคส.และ อ.ต.ก.เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย ธกส. จำนำที่ยุ้งฉาง 109,746 ราย ปริมาณข้าว 785,855 ตัน มูลค่า 3,608.87 ล้านบาท ประทวน อคส. จำนวน 32,251 ราย ปริมาณข้าว 521,394 ตัน มูลค่า 2,558.13 ล้านบาท ประทวน อ.ต.ก. จำนวน 13,072 ราย ปริมาณข้าว 199,762 ตัน มูลค่า 1,001.66 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำที่ยุ้งฉาง 103,371 ราย ปริมาณ 668,504 ตัน มูลค่า 3,412.66 ล้านบาท ประทวน อคส. 32,180 ราย ปริมาณ 519,744 ตัน มูลค่า 2,550.20 ล้านบาท และ อ.ต.ก. 13,070 ราย ปริมาณ 199,698 ตัน มูลค่า 1,001.32 ล้านบาท
2. โครงการรับจำนำข้าวสาร ในโกดังกลางของ อคส.และ อ.ต.ก. เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย ธกส.รับจำนำใบประทวนสินค้าจากเกษตรกร จำนวน 81,571 ราย ปริมาณ 571,739 ตัน มูลค่า 4,866.095 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอน 58,452 ราย ปริมาณ 542,121 ตัน มูลค่า 4,661.511 ล้านบาท
จัดงานถ่ายทอดความรู้และขั้นตอนการผลิตข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการจัดงานวันรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลลีการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่หมู่ 4 ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีว่าจังหวัดปทุมธานีมีศักยภาพในการผลิตข้าวโดยเฉพาะพันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 และข้าวปทุมธานี 1 สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อถ่ายทอดความรู้ ขั้นตอนการผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้กับเกษตรกร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการขยายเมล็ดพันธุ์ดีสู่เกษตรกรด้วยกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีนับเป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐานที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพข้าว ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาสูงคุ้มกับการลงทุนอีกด้วย
อนึ่ง จังหวัดปทุมธานีเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคกลาง มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 257,180 ไร่ มีเกษตรกรประมาณ 23,896 ครัวเรือน โดยเฉพาะอำเภอลาดหลุมแก้วมีพื้นที่ทำนาถึง 70,500 ไร่ นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไม่ไวแสง 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 และพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งขณะนี้กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก
ภาวะการซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ข้าวสาร การซื้อขายมีน้อย เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่มีสินค้าเพียงพอแก่ความต้องการบ้างแล้ว นอกจากผู้ที่จำเป็นจะต้องใช้ข้าวจึงจะออกมารับซื้อในราคาต่ำลงและมีโรงสีบางโรงยินยอมจำหน่ายให้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 9 พฤษภาคม 2544 ไทยส่งออกข้าวรวม 2,057,719,.64 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 2,022,504.87 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.74
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 5,872 บาท ลดลงจากเกวียนละ 5,897 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,394 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,411 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 18-19% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 3,582 บาท ลดลงจากเกวียนละ 3,633 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15 % ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,116.67 บาท ราคาลดลงจากเกวียนละ 4,150 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,843 บาท สูงขึ้นจากตันละ 6,785 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 165ดอลลาร์สหรัฐ (7,472 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ ฟิลิปปินส์จะไม่นำเข้าข้าวอีกในปีนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ กล่าวว่าขณะนี้มีข้าวในสต็อกจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ ประมาณว่า ขณะนี้มีข้าวในสต็อกเพียงพอกับความต้องการใช้อีก 84 วัน เริ่มจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วฟิลิปปินส์จะบริโภคข้าววันละ 24,400 ตัน และจะสำรองข้าวในสต็อกกันชนสำหรับการบริโภค 90 วัน อย่างไรก็ดี ปริมาณข้าวในสต็อกในปีนี้ที่มีเพียงพอสำหรับการบริโภค 84 วันนั้น ยังมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้วที่มีสต็อกสำหรับการบริโภคเพียง 69 วันเท่านั้น หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของข้าวในสต็อก
ปริมาณข้าวในสต็อกใน 9 เดือนแรกของปีนี้ จะรวมถึงข้าที่ทำสัญญาซื้อจากไทยและเวียดนาม ที่จะส่งมอบระหว่างเดือนเมษายนและกรกฎาคม จำนวน 650,000 ตัน ข้าวที่ได้รับจากสหรัฐอเมริกาในรูปของสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำอีกจำนวน 104,000 ตัน ยังรวมไปถึงข้าวที่ภาคเอกชนนำเข้าที่เหลือค้างในสต็อก 20,000 ตัน และข้าวที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศในไตรมาสแรกและปริมาณผลผลิตที่คาดการณ์ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ที่จะรวมไว้ในสต็อกข้าวของประเทศอีกด้วย
เวียดนามจะให้อิสระแก่นักธุรกิจในการส่งออกข้าวมากขึ้น
เวียดนามจะออกกฏอนุญาตให้ธุรกิจที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง สามารถทำธุรกิจส่งออกสินค้าต่าง ๆ ได้รวมถึงข้าวด้วย และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาและให้ข้อคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐก่อนที่จะประกาศใช้ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งกลไกการส่งออแบบใหม่นี้ จะเริ่มหลังจากมีการกเลิกโควตาการส่งออกข้าวในวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 และเริ่มให้ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตในการค้าอหารและผลิตผลทางการเกษตรามารถส่งออกข้าวได้
นอกจากนั้น กระทรวงพาณิชย์เวียดนามได้เสนอมาตรการส่งเสริมการส่งออกซึ่งจะมีการใช้กองทุนสนับสนุนการส่งออกที่จะชดเชยส่วนที่ขาดทุนให้กับผู้ส่งออกข้าว กาแฟ ผลิตภัณฑ์รองเท้า สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ศิลปะ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เนื้อสัตว์และผักต่าง ๆ ซึ่งหากผ่านการรับรองของรัฐบาลแล้วจะมีเงินกองทุนที่จะมาช่วยเหลือในการส่งออกข้าวถึง 13.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกข้าวลดการขายข้าวผ่านการประมูลราคา และผู้ส่งออกสามารถจ่ายค่านายหน้าใหัก้บพ่อค้าคนกลางในการหาตลาดใหม่ ๆ ได้อย่างไม่จำกัด
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2544 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาค 2544 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 4.73 เซนต์ (4.71 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 4.01 เซนต์ (4.00 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 3.99 เซนต์ (3.97 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 2.37 เซนต์ (2.36 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 45.284 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 7-13 พ.ค. 2544--
-สส-