คุณถาม : อยากทราบข้อแนะนำในการส่งออกยางพาราไปจีน
EXIM ตอบ: ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จีนเป็นทั้งผู้บริโภคและผู้นำเข้ายางพารารายใหญ่ที่สุดของโลกโดยจะเป็นยางธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูปขั้นต้นแล้ว อาทิ ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้นเป็นต้น สำหรับปี 2546 จีนนำเข้าสูงสุดถึง 1.2 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนกว่า 40% ของการนำเข้ายางพาราทั้งหมดของโลก เพื่อใช้ในภาคการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับที่ 1 ของไทย
การส่งออกยางพาราไปจีนมีขั้นตอนสำคัญที่ควรทราบดังนี้
- การขออนุญาตนำเข้า ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2547 จีนได้เปลี่ยนแปลงระเบียบการนำเข้าให้สอดคล้องกับพันธกรณึที่ตกลงไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วยการยกเลิกระบบการกำหนดโควตานำเข้ายางพาราเป็นรายปีมาเป็นการออกใบอนุญาตนำเข้าโดยอัตโนมัติ (Automatic Import Permit) โดยผู้นำเข้าจะต้องเป็นบริษัทเอกชนของจีนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลหรือบริษัทร่วมทุนต่างชาติที่นำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทำการยื่นหลักฐานการจดทะเบียนของผู้นำเข้าพร้อมกับสัญญาซื้อขายเพื่อขอใบ Automatic Import Permit จาก The State Economic & Trade Commission ประจำมณฑลที่จะนำเข้าโดยใช้เวลาในการอนุมัติประมาณ 10 วันทำการ Automatic Import Permit 1 ใบใช้นำเข้าได้เพียงครั้งเดียวและมีอายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ได้รับอนุมัติ
- เอกสารสำคัญ ผู้ส่งออกต้องส่งเอกสารสำคัญให้ผู้นำเข้าเพื่อใช้ในการดำเนินพิธีการศุลกากร ได้แก่ สัญญาซื้อขายใบกำกับสินค้า ใบแสดงจำนวนบรรจุหีบห่อใบตราส่งสินค้าทางทะเลใบรับรองคุณภาพสินค้าที่ออกโดยหน่วยงานหรือบริษัทที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพยางพาราซึ่งเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายตามที่ตกลงกันไว้ และหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- อัตราภาษี ปัจจุบันจีนเก็บภาษีนำเข้ายางพาราทุกชนิดยกเว้นยางสังเคราะห์ในอัตรา 20 % ของราคานำเข้า และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 17 %
แม้ว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2547 ไทยส่งออกยางพาราไปจีนคิดเป็นมูลค่า 28,210.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ไทยส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นราว 90% จึงถือว่าเป็นอัตราเพิ่มขึ้นที่ลดลงมากเนื่องจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ผลผลิตที่ได้จึงลดลงส่งผลให้ราคาสูงขึ้น จีนจึงหันไปนำเข้ายางพาราจากอินโดนีเซียและมาเลเซียแทนแต่คาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้น
คุณถาม : โอกาสในการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปอินเดียเป็นอย่างไร
EXIM ตอบ: การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปอินเดียมีแนวโน้มสดใสเนื่องจากหลายปัจจัย ได้แก่
- ความต้องการเฟอร์นิเจอร์นำเข้าขยายตัวสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมาแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอนาคตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มูลค่านำเข้าเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดของอินเดียขยายตัวสูงถึง 54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546
- อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรในกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงถึงเกือบ 200 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านคน
- เฟอร์นิเจอร์ของไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ยางพาราเนื่องจากมีรูปแบบและคุณภาพเหนือคู่แข็งสำคัญอย่างจีน ขณะที่ราคายังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเฟอร์นิเจอร์จากอิตาลีและเยอรมนี ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2547 อินเดียนำเข้าจากไทยสู.ราว 4.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งนับเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 4
- รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายสนับสนุนการเปิดตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มลู่ทางการส่งออกสินค้าและลดการพึ่งพาตลาดส่งออกหลักเดิมของไทย เช่น สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่นที่การแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยการเร่งลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน อาทิ การจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ระหว่างไทยกับอินเดียซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเจาะตลาดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขยายตัวของการส่งออกราบรื่น ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ส่งออกรายใหม่ของไทยควรตระหนักถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการส่งออก อาทิ โครงสร้างอัตราภาษีและระบบกฎหมายของอินเดียที่ซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงในตลาดระดับล่างและระดับกลางซึ่งมีจีนและมาเลเซียเป็นคู่แข่งสำคัญ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2548--
-พห-
EXIM ตอบ: ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จีนเป็นทั้งผู้บริโภคและผู้นำเข้ายางพารารายใหญ่ที่สุดของโลกโดยจะเป็นยางธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูปขั้นต้นแล้ว อาทิ ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้นเป็นต้น สำหรับปี 2546 จีนนำเข้าสูงสุดถึง 1.2 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนกว่า 40% ของการนำเข้ายางพาราทั้งหมดของโลก เพื่อใช้ในภาคการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับที่ 1 ของไทย
การส่งออกยางพาราไปจีนมีขั้นตอนสำคัญที่ควรทราบดังนี้
- การขออนุญาตนำเข้า ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2547 จีนได้เปลี่ยนแปลงระเบียบการนำเข้าให้สอดคล้องกับพันธกรณึที่ตกลงไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วยการยกเลิกระบบการกำหนดโควตานำเข้ายางพาราเป็นรายปีมาเป็นการออกใบอนุญาตนำเข้าโดยอัตโนมัติ (Automatic Import Permit) โดยผู้นำเข้าจะต้องเป็นบริษัทเอกชนของจีนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลหรือบริษัทร่วมทุนต่างชาติที่นำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทำการยื่นหลักฐานการจดทะเบียนของผู้นำเข้าพร้อมกับสัญญาซื้อขายเพื่อขอใบ Automatic Import Permit จาก The State Economic & Trade Commission ประจำมณฑลที่จะนำเข้าโดยใช้เวลาในการอนุมัติประมาณ 10 วันทำการ Automatic Import Permit 1 ใบใช้นำเข้าได้เพียงครั้งเดียวและมีอายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ได้รับอนุมัติ
- เอกสารสำคัญ ผู้ส่งออกต้องส่งเอกสารสำคัญให้ผู้นำเข้าเพื่อใช้ในการดำเนินพิธีการศุลกากร ได้แก่ สัญญาซื้อขายใบกำกับสินค้า ใบแสดงจำนวนบรรจุหีบห่อใบตราส่งสินค้าทางทะเลใบรับรองคุณภาพสินค้าที่ออกโดยหน่วยงานหรือบริษัทที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพยางพาราซึ่งเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายตามที่ตกลงกันไว้ และหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- อัตราภาษี ปัจจุบันจีนเก็บภาษีนำเข้ายางพาราทุกชนิดยกเว้นยางสังเคราะห์ในอัตรา 20 % ของราคานำเข้า และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 17 %
แม้ว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2547 ไทยส่งออกยางพาราไปจีนคิดเป็นมูลค่า 28,210.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ไทยส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นราว 90% จึงถือว่าเป็นอัตราเพิ่มขึ้นที่ลดลงมากเนื่องจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ผลผลิตที่ได้จึงลดลงส่งผลให้ราคาสูงขึ้น จีนจึงหันไปนำเข้ายางพาราจากอินโดนีเซียและมาเลเซียแทนแต่คาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้น
คุณถาม : โอกาสในการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปอินเดียเป็นอย่างไร
EXIM ตอบ: การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปอินเดียมีแนวโน้มสดใสเนื่องจากหลายปัจจัย ได้แก่
- ความต้องการเฟอร์นิเจอร์นำเข้าขยายตัวสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมาแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอนาคตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 มูลค่านำเข้าเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดของอินเดียขยายตัวสูงถึง 54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546
- อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรในกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงถึงเกือบ 200 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านคน
- เฟอร์นิเจอร์ของไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ยางพาราเนื่องจากมีรูปแบบและคุณภาพเหนือคู่แข็งสำคัญอย่างจีน ขณะที่ราคายังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเฟอร์นิเจอร์จากอิตาลีและเยอรมนี ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2547 อินเดียนำเข้าจากไทยสู.ราว 4.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งนับเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 4
- รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายสนับสนุนการเปิดตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มลู่ทางการส่งออกสินค้าและลดการพึ่งพาตลาดส่งออกหลักเดิมของไทย เช่น สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่นที่การแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยการเร่งลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน อาทิ การจัดทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ระหว่างไทยกับอินเดียซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเจาะตลาดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขยายตัวของการส่งออกราบรื่น ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ส่งออกรายใหม่ของไทยควรตระหนักถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการส่งออก อาทิ โครงสร้างอัตราภาษีและระบบกฎหมายของอินเดียที่ซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงในตลาดระดับล่างและระดับกลางซึ่งมีจีนและมาเลเซียเป็นคู่แข่งสำคัญ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2548--
-พห-